ข้อมูลใด ไม่ จัดว่าเป็น big data

ในยุคปัจจุบันที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ผู้คนพึ่งพิงข้อมูลในการตัดสินใจต่างๆ กระบวนการคิดของคนทั่วไปหรือแม้แต่องค์กรต่างๆในทุกวันนี้ส่วนใหญ่อยู่บนฐานของการรวบรวมข้อมูล ประมวลผล เพื่อประกอบการตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง

แต่ด้วยความที่ข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมายและกระจัดกระจาย คำถามสำคัญ คือ เราจะเข้าถึงข้อมูลมหาศาลเหล่านั้นและใช้ข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร จากคำถามดังกล่าวจึงทำให้คนหันมาสนใจสิ่งที่เรียกว่า Big data กันมากขึ้นจนกลายเป็นกระแสสังคมในปัจจุบัน

What is big data?

Big data คือ ข้อมูลที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 อย่างคือ

1. Volume — size ของข้อมูลมีขนาดใหญ่ มีปริมาณข้อมูลมาก ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อมูลแบบ offline หรือ online

2. Variety — ข้อมูลมีความหลากหลาย สามารถเป็นได้ทั้งที่มีโครงสร้างและข้อมูลที่ไม่สามารถจับ pattern ได้

3. Velocity — ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว มีการส่งผ่านข้อมูลอย่างต่อเนื่องในลักษณะ streaming ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ manual มีข้อจำกัด

4. Veracity — ข้อมูลมีความไม่ชัดเจน (untrusted, uncleaned)

โดยรูปแบบของข้อมูลของ big data ก็สามารถเป็นไปได้หลากหลาย ตั้งแต่

1. Behavioral data: ข้อมูลเชิงพฤติกรรมการใช้งานต่างๆเช่น server log, พฤติกรรมการคลิกดูข้อมูล, ข้อมูลการใช้ ATM เป็นต้น

2. Image & sounds: ภาพถ่าย, วีดีโอ, รูปจาก google street view, ภาพถ่ายทางการแพทย์, ลายมือ, ข้อมูลเสียงที่ถูกบันทึกไว้ เป็นต้น

3. Languages: text message, ข้อความที่ถูก tweet, เนื้อหาต่างๆในเว็บไซต์ เป็นต้น

4. Records: ข้อมูลทางการแพทย์, ข้อมูลผลสำรวจที่มีขนาดใหญ่, ข้อมูลทางภาษี เป็นต้น

5. Sensors: ข้อมูลอุณหภูมิ, accelerometer, ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

Big data analytics

การวิเคราะห์ข้อมูล Big data อาศัยหลักการพื้นฐานบางอย่างเพื่อพัฒนาเป็นเทคนิคในการดึงข้อมูลสำคัญออกจากชุดฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยข้อมูลหลากหลายรูปแบบ เพื่อนำมาหา pattern ของข้อมูลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หารูปแบบความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ หาแนวโน้มการตลาด เทรนด์ความชอบของลูกค้า และข้อมูลอื่นๆที่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจ

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล Big data ทำให้มีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ โดยระดับของการวิเคราะห์ก็เป็นได้หลากหลาย แล้วแต่รูปแบบการนำไปใช้งาน

1. Descriptive analytics

เป็นการวิเคราะห์ในระดับที่บอกว่าเกิดอะไรขึ้น จำนวนเท่าไหร่ ถี่แค่ไหน
เกิดเหตุการณ์สำคัญๆตอนไหน ตรงไหนบ้าง เป็นต้น โดยสามารถทำในรูปแบบของ

- Standard report: “เกิดอะไรขึ้น”

- Ad hoc report: “จำนวนเท่าไหร่ บ่อยแค่ไหน ที่ไหน”

- Query: “อะไรคือปัญหาที่แท้จริง”

- Alerts: “ต้องเกิด action อะไร”

2. Predictive analytics

เป็นการวิเคราะห์ในลักษณะที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งคือ เป็นการประเมินว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป มีการให้ข้อมูลตัวชี้วัดของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าแนวโน้มยังเป็นอย่างนี้ต่อไป โดยผลการวิเคราะห์อาจออกมาในรูปแบบของ

- Statistical analysis: “ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้”

- Randomized testing: “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราทดลองทำวิธีการนี้”

- Predictive modeling: “จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป”

- Optimization: “อะไรคือสถานการณ์ที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้น”

3. Prescriptive analytics

เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มและเสนอทางเลือกในการตัดสินใจที่เหมาะสมกับการคาดการณ์บนฐานของข้อมูล

Why big data now?

มีหลายคนที่เกิดคำถามว่าทำไมเรื่อง big data จึงกลายเป็นกระแสในปัจจุบัน อ.ธีรณีได้ให้ความเห็นว่า กระแสนี้เป็นผลที่จากเกิดหลายๆองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น

  • Demand for better data เกิดกระแสกดดันภายใต้บริบทของการปฏิรูป สภาวะทางเศรษฐกิจ และนวัตกรรมใหม่ๆ
  • Supply of relevant data at scale มีการแพร่หลายและไหลเวียนของข้อมูลทั้งข้อมูลทางการแพทย์และข้อมูลอื่นๆที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วไป
  • Technical capability มีการพัฒนาเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่ทันสมัย ทำงานง่ายขึ้นและเข้าถึงได้แพร่หลาย
  • Government catalyzing market change มีแรงส่งจากภาครัฐที่ถูกกดดันให้มีการเปิดเผยข้อมูลให้โปร่งใสจนกระจายไปสู่ภาคธุรกิจอื่นๆ

จากนี้เราคงเห็นเทรนด์ในการใช้ Big Data ในการสร้างสรรนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกเรื่อย ๆ เป็นกระแสที่น่าติดตามอีกกระแสหนึ่งเลยทีเดียว

ในยุคสมัยนี้ ในนาทีนี้ จะมีคำเท่ๆคำหนึ่งที่ผู้บริหารองค์กรไม่ว่ารัฐหรือเอกชนทั้งขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก มักจะกล่าวกันอยู่เสมอๆว่าเราจะนำมาใช้เพื่อทำให้องค์เราได้เปรียบ ทันสมัย มีความก้าวหน้า คือ Big Data ว่าแต่ Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่คืออะไร ทำงานอย่างไร และนำไปใช้อะไรได้บ้าง

คำจำกัดความของ Big Data

เพื่อให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Big Data มีมากขึ้นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำจัดความของคำว่า Big Data กันก่อน ในราวๆปี 2001 Gartner ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า Big Data ไว้ว่า เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลาย มีปริมาณมากๆ และมีความเร็วมากๆ ซึ่งรู้จักกันในนาม 3Vs (สามวี)

พูดให้ง่ายๆคือ Big Data คือปริมาณข้อมูลที่มาก มีความซับซ้อน โดยเฉพาะที่มาจากแหล่งข้อมูลใหม่ๆ ด้วยปริมาณที่มากมายมหาศาลทำให้ไม่สามารถประเมินและวิเคราะห์ด้วยวิธีการ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์แบบเดิมๆ แต่ข้อมูลมากมายมหาศาลเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทางธุรกิจที่ในอดีตไม่สามารถใช้ได้

3Vs ของ Big Data

V ที่1 คือ VOLUME

ปริมาณข้อมูลที่มากเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ ในปริมาณข้อมูลที่มากมายมหาศาลนั้นที่เราจะต้องประมวลผลนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง มีความหนาแน่นของข้อมูลต่ำ และข้อมูลพวกนี้อาจเป็นข้มมูลที่ไม่ทราบค่า เช่น ฟีดข้อมูลของเฟสบุ๊ค ทวีทเตอร์ การคลิ๊กบนเวปไซท์หรืออุปกรณ์แอพพลิเคชั่นต่างๆ หรืออุปกรณ์ที่มีเซนเซอร์ บางองค์การอาจมีข้อมูลให้ประมวลผลเป็นสิบๆเทราไบต์ หรือบางองกรค์อาจมีเป็น ร้อยๆเพตะไบต์

V ที่2 คือ VELOCITY

คือความเร็วของการรรับข้อมูลหรืออาจเป็นการกระทำใดๆ โดยปกติก็เป็นความเร็วสูงสุดที่ทำการสตีมข้อมูลลงในหน่วยความจำโดยตรงกับการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับอินเตอร์เนตในสมัยนี้ก็เป็นการทำงานแบบเรียลไทม์หรือเกือบๆจะเรียลไทม์ ซึ่งจะต้องมีการประมวลผลแบบเรียลไทม์

V ที่ 3 คือ VARIETY

Variety คือความหลากหลายของชนิดข้อมูล ข้อมูลในสมัยก่อนมักเป็นพวกข้อมูลที่เป็นโครงสร้างและมีความพอดีกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ปัจจุบันข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้าง เช่น ข้อมูลแบบตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง ซึ่งต้องการการประมวลผลเพิ่มเติม เพื่อที่จะแปลความหมาย และหารายละเอียดคำอธิบายของข้อมูล (meta data)

คุณค่าและความจริงของข้อมูล Big Data

Big Data ในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้ได้เพิ่มมาอีก 2 Vs คือ Value และ veracity ซึ่งคุณค่าและความจริง ซึ่งข้อมูลมันมีค่าอยู่ในตัวของมันเอง แต่มันจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราค้นไม่พบคุณค่าของมัน และความจริงของข้อมูลและความน่าเชื่อถือว่าเราจะเชื่อถือได้มากแค่ไหน ก็มีความสำคัญเท่าเทียมกันทั้งคุณค่าและความจริงของข้อมูล

ในปัจจุบัน Big Data ได้กลายเป็นทุนหรือทรัพย์สินไปแล้ว ในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่บางบริษัทมูลค่าของบริษัทเกิดมาจากข้อมูลของเขา และในขณะนี้เขาก็วิเคราะห์และประมวลผลเพื่อเพิ่มมูลค่าของข้อมูลให้สูงชึ้นไปอีก

และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งเสริมให้ราคาของอุปกรณ์การเก็บข้อมูลและคอมพิวเตอร์ลดลงแบบก้าวกระโดด ทำให้การเก็บข้อมูลง่ายและมีราคาถูก การเก็บข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่สามารถทำได้ง่ายๆและมีราคาถูก ทำให้การตัดสินใจด้านธุรกิจมีความแม่นยำและถูกต้องมากขึ้น

การค้นหามูลค่าของข้อมูล Big Data มันไม่ใช่แค่การวิเคราะห์ธรรมดาเท่านั้น แต่มันต้องมีกระบวนการขั้นตอนทั้งหมด ซึ่งมีตั้งแต่การวิเคราะห์เชิงลึก ความต้องการของธุรกิจ ความสามารถในการถามข้อมูลที่ถูกต้องจากผู้บริหาร การจดจำรูปแบบ การให้ข้อมูลสำหรับสมมุติฐานต่างๆ และการทำนายพฤติกรรม เป็นต้น

ประวัติและความเป็นมาของ Big Data

ถึงแม้ว่าแนวคิดเรื่องข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data จะเป็นของใหม่และมีการเริ่มทำกันในไม่กี่ปีมานี้เอง แต่ต้นกำเนิดของชุดข้อมูลขนาดใหญ่ได้มีการริเริ่มสร้างมาตั้งแต่ยุค 60 และในยุค 70 โลกของข้อมูลก็ได้เริ่มต้น และได้พัฒนาศูนย์ข้อมูลแห่งแรกขึ้น และทำการพัฒนาฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ขึ้นมา

ประมาณปี 2005 เริ่มได้มีการตะหนักถึงข้อมูลปริมาณมากที่ผู้คนได้สร้างข้นมาผ่านสื่ออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ยูทูป และสื่ออนไลน์แบบอื่นๆ  Hadoop เป็นโอเพ่นซอร์สเฟรมเวิร์คที่ถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกันให้เป็นที่เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และในช่วงเวลาเดียวกัน NoSQL ได้ก็เริ่มขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้น

การพัฒนาโอเพนซอร์สเฟรมเวิร์ค เช่น Hadoop (และเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มี Spark) มีความสำคัญต่อการเติบโตของข้อมูลขนาดใหญ่ เนื่องจากทำให้ข้อมูลขนาดใหญ่ทำงานได้ง่าย และประหยัดกว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้คนยังคงสร้างข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่แค่มนุษย์ที่ทำมันขึ้นมา

การพัฒนาการของ IOT (Internet of Thing) ซึ่งเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เนตก็ทำการเก็บและรวบรวมข้อมูลซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า ประสิทธิภาพของสินค้า หรือการเรียนรู้ของเครื่องจักรพวกนี้ล้วนทำให้มีข้อมูลขนาดใหญ่

แม้ว่ายุคของข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data มาถึงและได้เริ่มต้นแล้ว แต่มันก็ยังเป็นเพียงแต่ช่วงแรกๆ และระบบระบบคลาวด์คอมพิวติ้งก็ได้ขยายความเป็นไปได้มากขึ้น คลาวด์มีความสามารถในการในการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นได้

ตัวอย่างการนำ Big Data ไปใช้

ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ช่วยให้เราสามารถจัดการงานทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ตั้งแต่การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เป็นต้น ต่อนี้ไปเป็นตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่งของการใช้ข้อมูล Big Data

การพัฒนาผลิตภัณฑ์

บริษัท Netflix และ บริษัท  Procter & Gamble ได้ใช้ข้อมูล Big Data ช่วยในการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า พวกเขาสร้างโมเดลเชิงคาดการณ์สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยการจำแนกคุณลักษณะที่สำคัญของผลิตภัณฑ์หรือบริการในอดีตและปัจจุบันและสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะเหล่านี้กับความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ของข้อเสนอ นอกากนี้ยังมีบริษัท P&G ยังใช้ข้อมูลของสื่อสังคมออนไลน์ในการวิเคราะห์ ในการทดสอบตลาดและเปิดตัวสินค้าในช่วงต้น เพื่อวางแผนการผลิตและเปิดตัวสินค้าใหม่

การคาดการณ์เพื่อการบำรุงรักษาเครื่องจักร

ปัจจัยที่ใช้ทำนายการชำรุดของเครื่องจักรนี้ มาจากข้อมูลทั้งที่เป็นแบบมีโครงสร้างเช่น วันเดือนปี ที่ผลิต รุ่น และข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง เช่นข้อมูลจากเว็นเซอร์ต่างๆ เช่นอุณภูมิของเครื่องยนต์ การทำงานผิดปกติของเครืองจักร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการวิเคราะห์ก่อนที่จะเกิดปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อกำหนดตารางซ่อมบำรุง เพื่อประหยัดงบการซ่อมบำรุง และรวมไปถึงการสต๊อกอะไหล่ต่างๆ เพืท่อให้การซ่อมบำรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทันเวลา และประหยัดงบประมาณ

สร้างประสบการณืที่ดีให้กับลูกค้า

ในสภาวะการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบัน การเสนอประสบการณ์และข้อเสนอที่ดีที่สุดและตรงใจแก่ลูกค้าที่สุดก็จะเป็นผู้ได้เปรียบในการแข่งขัน ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ช่วยให้ธุรกิจรวบรวมข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ ผู้เข้าชมเว๊ปไซท์ ผู้เข้าใช้แอพพลิเคชั่น ข้อมูลการตอบโต้ทางโทรศัพท์ ข้อมูลการสนทนาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อช่วยให้ปรับปรุงการสื่อสารกับลูกค้า และเพิ่มมูลค่าให้ได้มากที่สุดด้วยการส่งข้อเสนอสุดพิเศษให้ตรงใจกับลูกค้า และยังช่วยแก้ปัญหาที่เกิดกับลูกค้า เป็นการแก้ปัญหาเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจสอบการโกงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

การโกงในระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตไม่ได้มีเฉพาะจากแฮกเกอร์เท่านั้น ซึ่งเราจะต้องเผชิญกับผู้เช่ยวชาญในหลายๆรูปแบบ ในระบบการรักษาความปลอดภัยสมัยใหม่นี้ได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถทำให้เราระบุรูปแบบของข้อมูลที่เข้าในรูปที่มิชอบ และไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของเราได้

การเรียนรู้ของเครื่องจักร Learning Machine

การเรียนรู้ของเครื่องจักร หรือ Learning Machine กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ ข้อมูลโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลขนาดใหญ่เป็นเหตุผลที่เราสามารถสอนเครื่องจักรได้ การมีข้อมูลขนาดใหญ่ทำให้ง่ายในการเตรียมข้อมูลในการสอนเครื่องจักรให้สามารถเรียนรู้ได้

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

โดยปกติประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเรามักไม่ทราบว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพเพียงใด แต่ในพื้นที่ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ ด้วยข้อมูลมูลขนาดใหญ่นี้ทำให้เราสามารถวิเคราะห์ และเข้าถึง การผลิตหรือการปฏิบัติงานได้ การตอบรับของลูกค้า รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่จะทำให้ธุรกิจหยุดชะงักหรือขัดข้องได้ และสามารถคาดการณ์ความต้องการล่วงหน้าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data นี้ยังสามารถใช้เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันได้อีกด้วย

การขับเคลื่อนในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถช่วยคุณในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล สถาบัน หน่วยงาน องค์กร และกระบวนการ และดำเนินการกำหนดวิธีการใหม่ในการใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้น ใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจเกี่ยวกับการพิจารณาเรื่องการเงิน วางแผนและพิจารณาแผนงาน ตรวจสอบแนวโน้มและสิ่งที่ลูกค้าต้องการ นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ใช้การกำหนดราคาแบบไดนามิก ที่มีความเป็นไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด

Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ มันทำงานอย่างไร

ข้อมูลขนาดใหญ่ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ เพื่อเปิดโอกาสและรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ การเริ่มต้นใช้งานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญดังนี้

การรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลของ Big Data เป็นการรวบรวมข้อมูลของจากหลากหลายทั้งที่มาและการใช้งานที่แตกต่างกันอย่างมากมาย ซึ่งกลไกและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม ETL (extract, transform, and load) ไม่สามารถทำได้ ซึ่ง Big Data หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ต้องการเทคนิค วิธีการ และเทคโนโลยีใหม่ในการรวบรวมข้อมูลขนาด เทราไบต์ และอาจจะเป็นระดับเพธาไบต์เลยก็มี

ในการรวบรวมข้อมูลนั้นต้องมีการประมวลผล จัดรูปแบบ ให้เหมาะสำหรับการใช้ในการวิเคราะห์หรือใช้งานสำหรับธุรกิจหรือวัตถุประสงค์นั้นๆ

การจัดการข้อมูล

ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data นั้นมีความต้องการสถานที่จัดเก็บขนาดใหญ่ การจัดเก็บข้อมูลมูลขนาดใหญ่จะเป็นชนิดใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นแบบ on premises หรือ แบบ cloud ขึ้นกับความต้องการหรือความสะดวกในการใช้ ซึ่งเราสามารถใช้และประเมินผลได้เช่นเดียวกัน บางครั้งก็มีความจำเป็นที่ต้องจัดเก็บไว้ใกล้กับแหล่งข้อมูล หรือข้อมูลบางอันต้องการความยืดหยุ่นสูงและไม่ต้องการบริหารจัดการก็ใช้เป็นแบบ Cloud ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก

การวิเคราะห์

การลงทุนสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big data จะมีประโยชน์หรือคุ้มค่าก็ต่อเมื่อคุณใช้และวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทำให้เกิดความกระจ่างและชัดเจนในชุดข้อมูลที่คุณมีอยู่ การสำรวจข้อมูลยังทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ แชร์สิ่งที่ค้นพบใหม่ๆต่อคนอื่น สร้างรูปแบบจำลองข้อมูล ด้วยการเรียนรู้ของเครื่องจักรและปัญญาประดิษฐ์ AI และนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน

เครดิตภาพ

Designed by Alvaro_Cabrera / Freepik
Designed by rawpixel.com / Freepik

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้