ประเทศใดที่มีการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับหนึ่ง

ด้วยจำนวนประชากร 650 ล้านคนและอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เฉลี่ยร้อยละ 5 มูลค่าเกือบ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งประชากรในวัยหนุ่มสาวที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศรวมกันจึงเป็นภูมิภาคที่เปี่ยมพลวัตที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก สหรัฐอเมริกาและอาเซียนทำงานร่วมกันตลอด 42 ปีที่ผ่านมาเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรือง ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียนเริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520 ก่อนยกระดับเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ในปี 2558 ทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นว่า หลักการที่เชิดชูไว้ในมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิดอินโด–แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) อันได้แก่ การมีส่วนร่วม การเปิดกว้าง การเป็นภูมิภาคซึ่งยึดถือหลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล และการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ หลักการเหล่านี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ว่าด้วยภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง ตลอดจนแนวทางดำเนินการในภูมิภาคของพันธมิตร หุ้นส่วน และมิตรประเทศของสหรัฐฯ

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันเข้มแข็งของสหรัฐฯ และอาเซียน

เศรษฐกิจอันอุดมพลวัตและอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงของอาเซียนทำให้อาเซียนเป็นตลาดการส่งออกและการลงทุนที่สำคัญของสหรัฐฯ

  • อาเซียนคือจุดหมายปลายทางการลงทุนอันดับ 1 ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด–แปซิฟิก การลงทุนของสหรัฐฯ ในอาเซียน (ปริมาณการลงทุนรวมสะสม 329,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นั้นมากกว่าปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) หรือ FDI ของสหรัฐฯ ในจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และอินเดียรวมกัน
  • อาเซียนเป็นตลาดส่งออกสินค้าอันดับที่ 4 ของสหรัฐฯ การส่งออกของสหรัฐฯ ไปยังอาเซียนสนับสนุนตำแหน่งงานกว่า 500,000 ตำแหน่ง ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 4 ของอาเซียน
  • โครงการระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) หรือ ASW ซึ่งพัฒนาโดยได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากสหรัฐฯ เมื่อ พ.ศ. 2551 ได้ช่วยให้อาเซียนลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการการค้าขายสินค้าให้ยิ่งกระชับขึ้น องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้ให้ความช่วยเหลือในการยกระดับซอฟต์แวร์ด้านเทคนิคและการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อรองรับระบบ ASW ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลศุลกากรระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนกับสหรัฐฯ ได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น
  • เครือข่ายการดำเนินงานและความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (Infrastructure Transaction and Assistance Network) หรือ ITAN ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงและมีความยั่งยืนทางการเงินในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เพื่อช่วยอาเซียนตอบสนองความจำเป็นในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เครือข่าย ITAN ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ฟิลิปปินส์ สนับสนุนเวียดนามในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ (Power Development Plan) และดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชน ตลอดจนร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าแห่งอินโดนีเซียปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้ทันสมัยและแสวงหาแหล่งพลังงานที่หลากหลายยิ่งขึ้น
  • กองทุนให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ (Transaction Advisory Fund) ของ ITAN ประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2561 จะบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและมอบความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ชาติสมาชิกอาเซียน เพื่อประเมินศักยภาพของโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการจะประกาศภายในปลายปี 2562
  • บรรษัทการลงทุนภาคเอกชนในต่างประเทศ (OPIC) มุ่งเน้นความสำคัญของโครงการในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และเมียนมา โดยมีโครงการปัจจุบัน อาทิ การดำเนินงานเชื่อมโยงผู้ให้กู้ยืมเงินทุนกับผู้ผลิตสินค้าเกษตรในเมียนมา มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการริเริ่ม มูลค่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับพัฒนาฟาร์มกังหันลมในอินโดนีเซีย

โครงการหุ้นส่วนเมืองอัจฉริยะสหรัฐฯ–อาเซียน (USASCP) – การลงทุนในนวัตกรรม

เมืองอัจฉริยะ คือเมืองที่นำเทคโนโลยีด้านข้อมูลมาใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมและบริหารจัดการทรัพยากรของเมือง อันเป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในสหรัฐฯ และอาเซียน

  • กิจกรรมแรกของโครงการ U.S.-ASEAN Smart Cities Partnership หรือ USASCP จัดขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนกรกฎาคม โดยผู้แทนจาก 26 เมืองนำร่องในเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network) มาแลกเปลี่ยนมุมมองกับภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองอัจฉริยะ พร้อมทั้งศึกษาบริการโซลูชั่นเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ เพื่อตอบรับความท้าทายของเมืองอัจฉริยะ สหรัฐฯ ลงทุนเบื้องต้นในโครงการนี้ คิดเป็นมูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การสร้างศักยภาพของอาเซียนในโลกดิจิทัล

เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้ยังคงเผชิญกับปัญหาท้าทายในด้านการเชื่อมโยงและความมั่นคงทางไซเบอร์ ซึ่งสหรัฐฯ ได้นำความรู้ความชำนาญมาช่วยจัดการ

  • สหรัฐฯ เตรียมต่อยอดจากโครงการหุ้นส่วนการเชื่อมโยงด้านดิจิทัลและความมั่นคงทางไซเบอร์ (Digital Connectivity and Cybersecurity Partnership – DCCP) และถ้อยแถลงผู้นำสหรัฐฯ-อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ (U.S.-ASEAN Leaders’ Statement on Cybersecurity Cooperation) โดยวางแผนจัดการหารืออาเซียน–สหรัฐฯ เกี่ยวกับนโยบายไซเบอร์ (U.S.-ASEAN Cyber Policy Dialogue) ขึ้นเป็นครั้งแรกในงาน Singapore International Cyber Week ระหว่างวันที่ 1-3 ตุลาคมนี้
  • ภายใต้กรอบความร่วมมือ DCCP สำนักงานส่งเสริมการค้าและการพัฒนาแห่งสหรัฐอเมริกา (USTDA) ได้สนับสนุนกิจกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาค เช่น สนับสนุนเงินทุนสำหรับความช่วยเหลือทางเทคนิคที่มอบแก่ฟิลิปปินส์ เพื่อดำเนินโครงการโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ (National Broadband Network Project) ความช่วยเหลือนี้จะช่วยขัดเกลาแผนออกแบบทางเทคนิคและปฏิบัติการให้สามารถขยายการเข้าถึงบรอดแบนด์ไปยังตลาดที่ขาดแคลนทั่วฟิลิปปินส์
  • โครงการฝึกอบรมประเทศที่สามระหว่างสหรัฐฯ–สิงคโปร์ (U.S.–Singapore Third Country Training Program) U.S.-ASEAN Connect และ DCCP มุ่งลดช่องว่างทางการพัฒนาในภูมิภาคผ่านการฝึกอบรมบุคลากรจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศและติมอร์-เลสเต เกี่ยวกับการเชื่อมโยงทางดิจิทัล ความมั่นคงทางไซเบอร์ ตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ ในปีนี้ สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถด้านแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศว่าด้วยการวางนโยบายไซเบอร์แห่งชาติด้วยการปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองเหตุ เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ และพัฒนาแรงงานไซเบอร์
  • โครงการ Digital Economy Series ภายใต้ U.S.-ASEAN Connect นำเสนอกิจกรรมเชื่อมโยงผู้กำหนดนโยบายในอาเซียนกับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ เพื่อแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในภาคดิจิทัล และช่วยอำนวยการจัดพื้นที่ดิจิทัลที่เปิดกว้างและทันสมัย

หุ้นส่วนความมั่นคงด้านพลังงาน

มีการประมาณการว่า ความต้องการพลังงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ใน 3 ภายในปี 2583 การสนับสนุนของสหรัฐฯ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตอบสนองความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโตพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

  • แผนดำเนินงานส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานสหรัฐฯ–อาเซียน (U.S.-ASEAN Energy Cooperation Work Plan) สนับสนุนความมุ่งหมายและจุดประสงค์ด้านพลังงานระดับภูมิภาคของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาตลาดไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติในภูมิภาค การใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดขั้นสูง และการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
  • ภายใต้โครงการ Clean Power Asia Program สหรัฐฯ เตรียมทุ่มงบประมาณ 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐลงทุนด้านพลังงานสะอาดเป็นระยะเวลา 5 ปีผ่านการฝึกอบรมภาครัฐสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือก ให้สามารถจัดการประมูลย้อนกลับ (reverse auction) ในการประมูลเสนอบริการพลังงานหมุนเวียน รูปแบบการประมูลเช่นนี้อาศัยการแข่งขันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ได้
  • Asia EDGE (Enhancing Development and Growth through Energy) ซึ่งริเริ่มดำเนินโครงการโดยสหรัฐฯ จะสนับสนุนคณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม (ASEAN Council on Petroleum) เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศว่าด้วยการบริหารจัดการท่อส่งปิโตรเลียมข้ามพรมแดนและการกำหนดมาตรฐานคุณภาพก๊าซธรรมชาติ อันเป็นส่วนสำคัญในการบูรณาการด้านพลังงานของอาเซียน

ความช่วยเหลือทางทะเลเพื่อความมั่นคงอาเซียน

อาเซียนที่เข้มแข็งและมีความสามารถ ณ ใจกลางของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกนั้นมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาโครงสร้างระดับภูมิภาคซึ่งส่งเสริมการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยและสามารถระงับข้อพิพาทโดยสันติด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ

  • สหรัฐฯ ฝึกฝนหน่วยยามฝั่ง (Coast Guards) และฝึกอบรมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผ่านกรอบความร่วมมือ Southeast Asia Maritime Lane Enforcement Initiative (ชื่อทางการคือ ความร่วมมืออ่าวไทย) เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
  • โครงการความช่วยเหลือด้านความมั่นคง อาทิ โครงการเงินช่วยเหลือทางทหารต่างประเทศ (Foreign Military Financing) โครงการศึกษาและฝึกอบรมทางการทหารระหว่างประเทศ (International Military Education and Training) และข้อริเริ่มด้านความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security Initiative) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความชำนาญของกองกำลังทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียนในแต่ละประเทศ ตลอดทั้งเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลและพัฒนาความสามารถในการตระหนักรู้สถานการณ์ทางทะเลของชาติสมาชิก
  • ในเดือนกันยายนนี้ สหรัฐฯ กับไทยจะร่วมเป็นเจ้าภาพจัด การฝึกผสมทางทะเลระหว่างอาเซียน–สหรัฐฯ (ASEAN-U.S. Maritime Exercise) การฝึกครั้งนี้มุ่งเสริมสร้างความสามารถด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ทางทะเล การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการขัดขวางการลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายทางทะเล

การส่งเสริมผู้นำเยาวชนผ่านความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน

ประชากรอาเซียนร้อยละ 65 มีอายุน้อยกว่า 35 ปี การส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่ให้มีบทบาทนำในชุมชนอาเซียนย่อมเป็นการรับรองว่าสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองจะธำรงสืบต่อไป

  • นักท่องเที่ยวจากอาเซียนเพิ่มมูลค่าแก่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ถึง 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • นักเรียนนักศึกษาจากอาเซียนนำเงินเข้าสู่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ มากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • โครงการ Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) อบรมผู้นำรุ่นใหม่รวมเกือบ 5,000 คนตั้งแต่ พ.ศ. 2556 โดยมีเยาวชนอายุระหว่าง 18-35 ปี มากกว่า 142,000 คนเข้าร่วมเป็นสมาชิกออนไลน์ของโครงการ YSEALI
  • โครงการแข่งขันชิงทุน YSEALI Seeds for the Future มอบทุนรวมกว่า 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เพื่อสนับสนุนเงินทุนเริ่มต้นแก่โครงการพัฒนาชุมชน
  • แต่ละปี มีนักเรียนนักศึกษาจากประเทศในอาเซียนเกือบ 60,000 คนศึกษาอยู่ในสหรัฐฯ
  • โครงการ Fulbright ASEAN Research Program สำหรับนักวิชาการจากสหรัฐฯ ได้มอบทุนจำนวน 14 ทุนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เพื่อดำเนินงานศึกษาวิจัยร่วมระหว่างสหรัฐฯ กับอาเซียน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของคณะผู้แทนสหรัฐอเมริกาประจำสำนักเลขาธิการอาเซียน //asean.usmission.gov/

*การแปลนี้จัดทำขึ้นโดยความอนุเคราะห์และเฉพาะต้นฉบับภาษาอังกฤษเท่านั้นที่ควรถือว่าเชื่อถือได้

โดย U.S. Embassy Bangkok | 2 สิงหาคม, 2019 | ประเภท: ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก, เอกสารข้อเท็จจริง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้