โซ ล่า เซลล์ ยี่ห้อ ไหน ดี

เป็นแผงที่แผ่นเซลล์มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมตัด มีสีเข้ม ทำมาจากผลึกซิลิกอนเชิงเดี่ยวที่มีความบริสุทธิ์สูง

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์แบบนี้คือ เป็นโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับโซล่าเซลล์ประเภทอื่น มีอายุการใช้งานเฉลี่ยยาวนานกว่า 25 ปี และผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุดแม้อยู่ในภาวะแสงน้อย

2. แผงโซล่าเซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์แบบนี้ แผ่นเซลล์บนแผงจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ไม่มีการตัดมุม และมีสีน้ำเงินไม่เข้มมาก ผลิตจากผลึกซิลิกอนเช่นเดียวกับแบบโมโนคริสตัลไลน์ แต่ใช้จำนวนน้อยกว่า

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์คือ มีประสิทธิภาพการทำงานในขณะที่อุณหภูมิสูงดีกว่าแบบโมโนคริสตัลไลน์ และมีราคาถูกกว่า

3. แผงโซล่าเซลล์ฟิล์มบางหรืออะมอร์ฟัสโซล่าเซลล์ (Amorphous Silicon Solar Cells)

เป็นแผงที่มีลักษณะเป็นชั้นฟิล์มบาง ๆ เกิดจากการนำสารนำแสงมาฉาบเป็นชั้นฟิล์มซ้อนกันจนได้เป็นแผงโซล่าเซลล์ มีประสิทธิภาพรวมถึงอายุการใช้งานน้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ประเภทอื่น

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์แบบฟิล์มบางคือ มีราคาถูกที่สุด ค่าซ่อมบำรุงและดูแลรักษาถูก เหมาะกับคนที่มีพื้นที่บ้านมาก

โซล่าเซลล์ควรเลือกอย่างไร?

การเลือกแผงโซล่าเซลล์นั้นต้องคำนึงถึงการใช้งานว่ามีจุดประสงค์นำไปใช้เพื่ออะไร ในปัจจุบันนี้แผงโซล่าเซลล์มีการใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ใช่แค่ในครัวเรือนเท่านั้น ยังมีทั้งภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ออฟฟิศในเมืองก็มีให้เห็นเช่นกัน จากปัญหาค่าไฟต่อหน่วยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เราจึงมีโอกาสได้เห็นแผงโซล่าเซลล์ผ่านตาบ่อยขึ้น

การเลือกโซล่าเซลล์ไม่ใช่จะดูแต่ราคาที่ถูกที่สุดเท่านั้น เราต้องดูถึงประสิทธิภาพการใช้งานรวมถึงพื้นที่ที่เรามีในการติดตั้งแผงด้วย จากที่กล่าวในข้างต้นว่าโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 20 ปี การเลือกซื้อก่อนติดตั้งควรต้องศึกษาข้อมูลและเลือกโซล่าเซลล์ยี่ห้อที่มีคุณภาพ และมีการดูแลหลังการขายที่ดีด้วย

เลือกโซล่าเซลล์ยี่ห้อไหนดี?

 

 

โซล่าเซลล์ในท้องตลาดมีอยู่หลายแบบ หลายยี่ห้อ ก่อนที่จะเลือกซื้อคุณควรจะต้องรู้วิธีการดูสเปคของแผงโซล่าเซลล์เสียก่อน ซึ่ง สเปคโซล่าเซลล์ไม่ยากอย่างที่คิด คำถามคือ เมื่อดูสเปคเป็นแล้วจะเลือกยี่ห้อไหนดีล่ะ? เพราะการซื้อแผงโซล่าเซลล์ครั้งหนึ่งมันจะอยู่กับเราไปอีกนับสิบปี เราจึงต้องมองหาโซล่าเซลล์ที่ดี และมีประสิทธิภาพ

โซล่าเซลล์ PSI คือสิ่งที่ตอบโจทย์ในทุกข้อที่กล่าวมาเพราะแผงโซล่าเซลล์ของ PSI ทำจากวัสดุเกรดพรีเมียม ผ่านมาตรฐานการรับรองระดับสากล มีศูนย์บริการทั่วประเทศ คุณจึงหมดห่วงเรื่องการบริการหลังการขาย เราไม่ได้เป็นเพียงแต่ผู้นำในด้านจานดาวเทียมเท่านั้น แต่เรายังมุ่งมั่นและพัฒนาที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเรามีทั้งผู้ที่จะใช้ในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมที่มาพร้อมโปรโมชั่นและของแถมอีกจำนวนมาก คลิกดูโปรโมชันโซล่าเซลล์ที่นี่

อีกทั้งโซล่าเซลล์ของ PSI คุณสามารถเช็กความประหยัดแบบวันต่อวันได้ทางแอปพลิเคชัน “PSI Hybrid Energy” (ดาวน์โหลดได้ผ่าน Google Play Store และ App Store) ที่จะบอกรายละเอียดปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ บอกการใช้ไฟและย้อนดูประวัติการทำงานของแผงโซล่าเซลล์ได้อีกด้วย และโซล่าเซลล์ของ PSI มีการรับประกันสินค้าถึง 5 ปี ประกันประสิทธิภาพ 25 ปี จัดส่งรวดเร็ว ติดตั้งโดยช่างที่ได้มาตรฐาน ของดีโปรเด็ดแบบนี้บอกเลยไม่มีไม่ได้แล้ว

สามารถติดต่อขอซื้อโซล่าเซลล์รวมถึงขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการติดตั้งได้ที่  PSI.CO.TH รวมทั้งที่ช่องทางออนไลน์ของ PSI ทุกช่องทาง LINE : @PSI1247 FB : //www.facebook.com/psisats

โซล่าเซลล์ PSI ช่วยคุณประหยัดไฟได้ล้านเปอร์เซ็นต์!

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

  • SOLAR ROOFTOP คือ….?
  • ประหยัดค่าไฟต่อปีได้ถึง 2,500 ด้วย Easy Plug เสียบปุ๊บประหยัดปั๊บ

แผงโซล่าเซลล์มีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ประหยัดไฟเหมือนกันหรือไม่ และเราควรเลือกโซล่าเซลล์ยี่ห้อไหนดี มีหลักการเลือกอย่างไร.

ปัจจุบันมีการรณรงค์ในการหันมาใช้พลังงานธรรมชาติมากขึ้นเพื่อช่วยประหยัด ไฟฟ้าซึ่งในอนาคตมีสิทธิ์หมดโลกได้“แผงโซล่าเซลล์”จึงกลายเป็นอีกทางเลือกที่ ได้รับความนิยมสูง เพราะเป็นพลังงานที่ได้มาจากแสงอาทิตย์โดยตรง นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาใช้เองแล้ว ยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีผลต่อภาวะโลกร้อน และไม่ต้องเสียเงินค่าไฟแพง ๆ อีกต่างหาก แล้ว แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี ที่กำลังมาแรงในปีนี้ล่ะ

ซึ่งเหมาะกับคนที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะๆ ในบ้านไม่ว่าจะเป็น ไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำอุ่น พัดลมไอเย็น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ที่ชอบกินไฟบ่อยๆ เป็นต้น

แนะนำ แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี

  • แผงโซล่าเซลล์ Solar Besttech 100W Mono รุ่น CNSDPV100M
  • แผงโซล่าเซลล์ Genius 340W รุ่น 340 วัตต์ Soler Panel
  • แผงโซล่าเซลล์ TreeTools รุ่น TRE-POLY-340
  • แผงโซล่าเซลล์ Iwachi รุ่น IWC-SOLAR-PANEL-165W
  • แผงโซล่าเซลล์ CSUN 460W MONO Half Cut

ประเภทของแผงโซล่าเซลล์ที่ใช้งานกันในปัจจุบัน

ทุกวันนี้ตัวแผงโซล่าเซลล์จะมีการผลิตเพื่อนำมาใช้งานทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ผลิตต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล

1.  โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

ผลิตจากซิลิคอนเชิงเดี่ยว (ซิลิคอนที่มีมาตรฐานสูงสุด) แล้วผ่านขั้นตอนการดึงผลึก คือการทำผลึกให้รวมกันอยู่บริเวณแกนกลางจนเป็นรูปทรงแท่งกระบอก แล้วตัดออกให้เป็นแผ่น ลักษณะภายนอกที่โดดเด่นของอุปกรณ์ประเภทนี้คือ ทั้ง 4 มุม จะถูกตัดลบออกจนเป็นสี่เหลี่ยม สีจะเข้มกว่าประเภทอื่น ใช้งานได้ทนทาน ยาวนานที่สุด ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะและผลิตกระแสไฟได้สูงสุด แต่ก็แลกมาด้วยราคาที่ถือว่าสูงพอตัว

2.  โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

ผลิตจากตัวผลึกซิลิคอน ซึ่งผ่านกระบวนการหลอมละลายด้วยการเทซิลิคอนแบบเหลวเทใส่ลงโมลด์ แล้วอัดเข้ารูป ตัดออกให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมไม่ตัดมุม สีจะออกน้ำเงินไม่เข้มเหมือนแบบแรกซึ่งการใช้งานจะมีประสิทธิภาพไม่ได้สูงมากทว่าราคาก็ถูกลงกว่าอย่างชัดเจน

3.  แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

จริง ๆ แล้วชนิดนี้อาจยังไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนักเนื่องจากยังมีคนใช้งานกันน้อย ผลิตจากการฉาบสารชนิดหนึ่งลงไปบาง ๆ บนแผงโซล่าเซลล์ คุณสมบัติของสารดังกล่าวนี้จะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของการใช้งานอาจไม่สูงมากนัก (ประมาณ 7-13%) ขึ้นอยู่กับตัววัสดุที่ใช้ผลิตเป็นฟิล์มฉาบ การใช้งานตามบ้านเรือนจึงยังถือว่าไม่เยอะเท่าไหร่

รูปแบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์

1.  ระบบออนกริด (On Grid)

กระบวนการทำงานประเภทนี้จะมีระบบเปลี่ยนพลังงานกระแสตรง (DC) ให้เป็นพลังงานกระแสสลับ (AC) ผ่านตัว Tie Inverter เพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านเรือน แต่จะไม่มีตัวแบตเตอรี่ที่ใช้สำรองไฟ

ความพิเศษคือ สามารถนำกระแสไฟไปขายต่อการไฟฟ้าได้ หรือในกรณีที่กำลังไฟจากแผงผลิตออกมาไม่ได้เต็มที่ ตัวควบคุมก็จะดึงเอากระแสไฟจากการไฟฟ้ามาทดแทน เหมาะกับการใช้งานตามบ้านเรือนในเมืองทั่ว ๆ ไปที่กระแสไฟฟ้าเข้าถึงปกติ

2.  ระบบออฟกริด (Off Grid)

ระบบนี้จะตรงข้ามกับแบบออนกริดกันอย่างสิ้นเชิง โดยเป็นระบบแบบปิด ไม่มีการนำเอากระแสไฟของการไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงนิยมใช้งานกับพื้นที่ห่างไกลต่าง ๆ หลักการทำงานเบื้องต้นคือ เมื่อตัวแผงรับเอาพลังงานกระแสตรง (AC) มาไว้ที่ตัวคอนโทรลชาร์จ จะมีการสะสมพลังงานเก็บเอาไว้ที่แบตเตอรี่ พอเกิดการใช้งาน กระแสไฟดังกล่าวจะส่งผ่านต่อไปยัง Inverter เปลี่ยนเป็นกระแสไฟสลับ (DC) เพื่อกระจายไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ต่อไป

ความพิเศษคือ แม้ช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์หรือตอนกลางคืนก็ยังคงใช้พลังงานได้ตามปกติ เนื่องจากมีการสำรองไฟกับแบตเตอรี่เอาไว้แล้ว

แหล่งที่มา :  //www.gump.in.th/article/535

คลิปวิดีโอการติดตั้งและใช้งานแผงโซล่าเซลล์

วิธีดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์ให้ใช้งานได้ยาวนาน

ต้องอธิบายให้เข้าใจว่า ปกติแล้วแผงโซล่าเซลล์จะมีอายุการใช้งานได้ถึง 20 ปี แต่ทั้งนี้ใช่ว่าจะเหมือนกันหมดเพราะถ้าขาดการดูแลรักษาที่ดีอาจทำให้ต้องเสียเงินในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่บ่อย ๆ ได้ จึงควรรู้วิธีดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

1.  ทำความสะอาดเป็นประจำ

ด้วยความที่แผงโซล่าเซลล์จะต้องอยู่ด้านนอกตัวบ้านหรือนอกอาคารเสมอ จึงมีโอกาสพบเจอกับสิ่งสกปรกได้บ่อยครั้ง อาทิ เศษใบไม้, คราบน้ำมัน, ฝุ่นละออง, มูลสัตว์ ฯลฯซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อระบบการทำงานและการหมุนเวียนไฟฟ้าโดยตรง จึงต้องทำความสะอาดบ่อย ๆ

ซึ่งวิธีทำความสะอาดแนะนำว่าควรใช้น้ำเปล่าไม่ต้องผสมสารหรือน้ำยาใด ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวแผงเพราะบางทีน้ำยาที่ใช้อาจมีสารเคมีบางชนิดไปทำปฏิกิริยากับระบบไฟฟ้าหรือวัสดุบนแผงโซล่าเซลล์จนพังเสียหายได้

2.  ตรวจสอบการใช้งานเป็นประจำ

นอกจากการทำความสะอาดแล้วควรหมั่นตรวจสอบบริเวณต่าง ๆ ของตัวแผงเป็นประจำด้วย เช่น นอตที่ใช้ยึดระหว่างแผงกับเสาตั้งต้องแน่นหนา ไม่คลายตัว แผ่นกระจกด้านบนไม่ควรมีรอยแตกร้าวใด ๆ เกิดขึ้น สายไฟที่เชื่อมต่อต้องไม่มีรอยรั่วหรือฉีกขาด เป็นต้น หากพบเจอบริเวณใดผิดปกติต้องรีบแก้ไขทันที

3.  การดูแลเพิ่มเติมหากตั้งแผงบนพื้น

สำหรับบางแห่งที่ไม่ได้มีการยกแผงโซล่าเซลล์ไว้บนเสาหรือไม่ได้อยู่บนหลังคา แต่เลือกวางไว้กับพื้นดินทั่วไป แนะนำว่าควรมีการระวังความเสียหายจากคนและสัตว์ด้วย เช่น มีการล้อมคอกเพื่อให้คนอื่นสังเกตเห็นง่าย อีกทั้งยังป้องกันสัตว์เข้าไปเดินเหยียบด้วย

แหล่งที่มา://www.solarexpertshop.com/article/2/วิธีการดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์โซล่าเซลล์แบบง่ายๆ

รีวิว แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี น่าใช้งาน

เมื่อเข้าใจถึงความสำคัญ ระบบการทำงานและวิธีดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์ไปแล้ว ใครที่สนใจและกำลังมองหาอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ใช้งานอยู่ก็ขอแนะนำให้รู้จักกับตัวเลือกดี ๆ ที่จะช่วยให้การใช้ไฟฟ้าประหยัดและรักโลกยิ่งกว่าเดิม

1. แผงโซล่าเซลล์ Solar Besttech 100W Mono รุ่น CNSDPV100M

แผงโซล่าเซลล์รุ่นนี้เป็นแบบโมโนคริสตัลไลน์ ผลิตจากซิลิคอนบริสุทธิ์สูง ทำตามกระบวนการอย่างถูกต้องทั้งหมด จึงทำให้มีคุณภาพการใช้งานเฉลี่ยอยู่ในระดับ 15-20% ให้แสงสว่างได้อย่างเต็มที่แม้อยู่ในสภาวะแสงน้อย มีอายุการใช้งานถึง 25 ปี จำนวนแผงเซลล์ 36 แผง ให้กำลังสูงสุด 100 วัตต์ ให้กำลังแรงดันไฟฟ้า (โวลต์) สูงสุดที่ 18.9 V

เฟรมด้านนอกทำจาก Anodized Aluminum-alloy อันเป็นกระบวนการเพิ่มระดับความหนาของตัวออกไซด์แล้วนำไปเคลือบทับกับผิวของอะลูมิเนียมอีกชั้น จึงมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมทุกประเภท ไมหัก งอ แตก หรือพังเสียหายง่าย ขนาด 1,196 x 522 x 35 mm.

พร้อมรับประกันการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี จากคุณสมบัติที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงถือว่าเป็นแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับการนำไปใช้งานภายในบ้านเรือนเป็นอย่างมาก เพราะกำลังไฟไม่สูงมากจนเกินไป ซึ่งกำลังพอดีกับความต้องการของครอบครัวทั่ว ๆ ไป

จุดเด่น

  • วัสดุด้านนอกผลิตจาก Anodized Aluminum-alloy จึงมีความแข็งแรง ทนทานอย่างมาก
  • กำลังไฟสูงสุด 100 วัตต์ และกำลังแรดันไฟฟ้าสูงสุดถึง 18.9 โวลต์
  • ให้กำลังแสงสว่างได้เต็มที่แม้เป็นสภาวะแสงน้อยก็ตามที

ตรวจสอบราคา LAZADA

2. แผงโซล่าเซลล์ Genius 340W รุ่น 340 วัตต์ Soler Panel

รุ่นนี้เป็นแผงโซล่าเซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ ที่มีความโดดเด่นมากกว่าแผงในรูปแบบเดียวกันหลายด้านไม่ว่าจะเป็นกำลังไฟสูงสุดถึง 330 วัตต์ ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบแลรับรองโดยสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก ทนทานต่อระดับอุณหภูมิที่ร้อนจัด รับประกันไฟออกยาวนาน 25 ปี

ตัววัสดุภายนอกมีการรับประกัน 10 ปีเต็ม จึงช่วยให้สบายใจแม้ว่าต้องอยู่กับสภาวะแดดร้อนจัดก็ตาม หรือถ้าช่วงไหนมีเมฆฝนปกคลุม ท้องฟ้าไม่สดใส แผงโซล่าเซลล์รุ่นนี้ก็ยังคงทำงานได้อย่างไร้ที่ติ เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบใหม่ในชื่อ twin แม้อีกด้านของแผงจะไม่ค่อยได้สัมผัสกับแสงมากนักด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น มีฝุ่นเกาะ, แดดร่ม ก็ยังคงให้พลังงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ระดับการทำงานจะถดถอยลงทีละน้อยซึ่งต่างจากแผงรุ่นอื่น ๆ ที่เมื่อเข้าสู่การเสื่อมสภาพแล้วระดับการถดถอยจะรวดเร็วมาก โดยรวมถือว่ารุ่นนี้สามารถใช้งานได้กับบ้านเรือนทั่วไปและสำนักงาน โรงงานขนาดเล็ก แบบสบาย ๆ

จุดเด่น

  • กำลังไฟสูงถึง 330 วัตต์ จึงให้พลังในการใช้งานได้สูงมาก
  • ผ่านการรับรองโดยสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอันเป็นไปตามมาตรฐานโลก
  • เทคโนโลยี twin จึงผลิตไฟได้เต็มที่แม้อีกด้านจะไม่ค่อยได้รับแสงแดด

ตรวจสอบราคา LAZADA

3. แผงโซล่าเซลล์TreeTools รุ่น TRE-POLY-340

แผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ให้กำลังไฟสูงสุดถึง 340 วัตต์ โดดเด่นด้วยการผลิตด้วยเทคโนโลยี twin แม้ว่าแผงด้านหนึ่งจะไม่โดนแสงแดดหรือโดนบดบังจากสิ่งแวดล้อมภายนอก อาทิ ฝุ่นละออง, มูลสัตว์, ใบไม้ ฯลฯ ก็ยังคงให้พลังงานได้ตามปกติ

ผ่านการทดสอบจากหน่วยงานระดับโลก จึงถือเป็นรุ่นที่ได้มาตรฐานอีกตัว ตัววัสดุมีความแข็งแรงทนทานสุด ๆ จึงกล้าการแตกหักยาวนานถึง 10 ปี ไม่มีปัญหาเรื่องไฟรั่ว หรือกำลังไฟหลุดออกไปด้านนอกอย่างแน่นอน มีขนาดเซลล์เล็กจึงทำหน้าที่ในการไหลเวียนของกระแสไฟได้ดีกว่า

ขณะที่เรื่องการสะสมความร้อนน้อยกว่า จึงไม่มีอันตรายใด ๆ ให้ต้องกังวลใจ กันน้ำระดับความลึก IP65 รับประกันการใช้งานของสินค้ายาวนาน 25 ปี ตัววัสดุภายนอกทั้งหมดคัดสรรเฉพาะเกรด A จึงส่งผ่านพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น ปริมาณการผลิตไฟที่ได้ก็สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

จุดเด่น

  • มีเทคโนโลยี twin แม้เกิดปัญหาแผงด้านหนึ่งไม่ได้รับแสงก็ยังคงทำงานตามปกติ
  • วัสดุภายนอกเกรด A แสงอาทิตย์ส่องผ่านมากขึ้น ผลิตไฟสูงขึ้น ไม่หักแตกง่าย
  • รับประกันการใช้งานสินค้ายาวนานถึง 25 ปี

ตรวจสอบราคา LAZADA

4. แผงโซล่าเซลล์ Iwachi รุ่น IWC-SOLAR-PANEL-165W

ถือว่าเป็นยี่ห้อดังในเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ยี่ห้อนี้จริง ๆ แล้วมีหลายรุ่นมาก แต่ที่เลือกมานำเสนอเพราะจัดเป็นขนาดที่กำลังเหมาะสมต่อการใช้งานในครัวเรือน ให้กำลังไฟได้สูงสุด 165 วัตต์ (+ – 3%) แรงดันไฟฟ้าสูงสุด 18.9 โวลต์

วัสดุภายนอกมีความแข็งแรงทนทาน จึงไม่มีปัญหาเรื่องการต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมทุกประเภท ให้ประสิทธิภาพการใช้งานสูง มีส่วนสำคัญในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าภายในบ้าน จ่ายค่าไฟน้อยลงแบบเห็นได้ชัด กักเก็บพลังงานได้เยอะกว่าจึงสามารถใช้งานไฟได้เต็มที่

ประหยัดเงินสำหรับจ่ายค่าไฟ ไม่สร้างพิษกับสิ่งแวดล้อม ติดตั้งง่ายด้วยการให้ขนาดสายยาวกว่าปกติ ขนาดแผง 148 x 67 x 3.5 cm. ไม่ใหญ่จนเกินไปจึงไม่เกะกะ ส่งผ่านแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานได้รวดเร็ว 

จุดเด่น

  • มีหลากหลายขนาดให้เลือกตามความเหมาะสมของผู้ใช้งาน
  • ยี่ห้อมีความน่าเชื่อถือเพราะเป็นที่รู้จักสำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามาอย่างยาวนาน
  • ขนาดสายยาวกว่าปกติ ช่วยให้การติดตั้งง่ายยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ตรวจสอบราคา LAZADA

5. แผงโซล่าเซลล์ CSUN 460W MONO Half Cut

แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนให้กำลังไฟสูงสุด 460 วัตต์ รับประกันการใช้งานสินค้ายาวนานถึง 10 ปี และอายุการใช้งานจะยาวนานถึงกว่า 25 ปี ขึ้นไป สามารถใช้งานได้แม้อยู่ในภาวะแสงน้อย

สามารถนำไปวางตั้งในบริเวณต่าง ๆ ของบ้านและอาคารต่าง ๆ เพื่อรับแสงอาทิตย์ได้อย่างสะดวกสบาย วัสดุภายนอกมีความแข็งแรงทนทาน ไม่ต้องกลัวแม้ต้องเจอกับสภาวะของปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลม ฝน หรือแม้กระทั่งเศษฝุ่นละออง มูลสัตว์ คราบน้ำมันต่าง ๆ เพียงทำความสะอาดออกก็ใช้งานได้ปกติเหมือนใหม่ นิยมติดตั้งเพื่อพ่วงต่อกับไฟหน้าบ้านและไฟสวนช่วยให้ประหยัดค่าไฟมากขึ้นกว่าเดิม

จุดเด่น

  • แผงโซล่าเซลล์ให้กำลังไฟสูงสุด 460 วัตต์
  • อายุการใช้งาน ยาวนานมากกว่า 25 ปี
  • สามารถใช้งานได้แม้อยู่ในภาวะเสียงน้อย

ตรวจสอบราคา LAZADA

บทสรุป แผงโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี ปี 2023

ทุกวันนี้การใช้พลังงานในแต่ละวันของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ จนมีการณรงค์ถึงแนวทางประหยัดไฟฟ้าเพื่ออนาคตของคนรุ่นต่อ ๆ ไป แผงโซล่าเซลล์ จึงถูกนำมาใช้งานกันมากขึ้นเพราะด้วยคุณสมบัติเด่นคือ ไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้าที่ได้จากการไฟฟ้าทั้งหมด ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนลงไปได้พอสมควร

อีกทั้งยังไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นตัวการสำคัญของภาวะเรือนกระจก โลกจึงน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันแผงโซล่าเซลล์มีหลายขนาด สามารถเลือกซื้อได้ตามความเหมาะสมถือว่าคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ในทุกภาคส่วน

สำหรับแผงโซล่าเซลล์ ยอดนิยมในปีนี้ เราขอยกให้ Iwachi แผงโซล่าเซลล์ รุ่น IWC-SOLAR-PANEL-165W เป็นขนาดที่กำลังเหมาะสมต่อการใช้งานในครัวเรือน ให้กำลังไฟได้สูงสุด 165 วัตต์ ใช้แล้วประหยัดค่าไฟได้อย่างแน่นอนเป็นยี่ห้อที่หลายคนรู้จัก ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือไปอีกระดับ

ระบบโซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี

อันดับที่ 1:EVE|แผงโซลาร์เซลล์ ชุดโซล่ารูฟท็อป 1.5kW 1 เฟส อันดับที่ 2:IWACHI|แผงโซลาร์เซลล์ รุ่น IWC-SOLAR-PANEL. อันดับที่ 3:ECOFLOW|แผงโซลาร์เซลล์ 110W Solar Panel. อันดับที่ 4:GENIUS|แผงโซลาร์เซลล์ รุ่น POLY 340W.

อินเวอร์เตอร์โซล่าเซลล์ ยี่ห้อไหนดี

รีวิว 5 ตัวท๊อป Inverter Solar Cell ยี่ห้อไหนดี ที่ผู้ติดตั้งโซ....
1. Huawei Inverter. ... .
2. SOFAR Inverter. ... .
3. INVT Inverter. ... .
4. Growatt Inverter. ... .
5. GoodWe Inverter..

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้