บริเวณใดได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากที่สุด

หลายคนที่อาศัยและใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครยังรู้สึกว่า “แผ่นดินไหว” คือภัยที่ห่างไกลตัวซะเหลือเกิน เพราะรอยเลื่อนมีพลังเกือบทั้งหมดอยู่แถบภาคเหนือ รวมถึงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจากที่ไกลๆ ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความรุนแรงมากพอที่จะทำอาคารหรือทรัพย์สินในเมืองหลวงแห่งนี้ได้รับความเสียหาย

แต่ถ้าเราลองย้อนนึกดีๆ ผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานหรืออาศัยอยู่ในอาคารสูงในกรุงเทพฯ จะได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว “จนรู้สึกได้” เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว แม้ว่าจุดกำเนิดแผ่นดินไหวจะอยู่ไกลจากกรุงเทพฯ เป็นพันกิโลเมตรก็ตาม สดๆ ร้อนๆ ก็คือแผ่นดินไหว ขนาด 5.9 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นใน สปป.ลาว ช่วงปลายปี พ.ศ.2562

ระยะทางอาจไม่ใช่ปัญหา

แม้กรุงเทพฯ จะยังไม่พบรอยเลื่อน แต่ต้องไม่ลืมว่าเรามีรอยเลื่อนมีพลังที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ นั่นคือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ รอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์ ในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีบางส่วนที่เชื่อมต่อกับรอยเลื่อนสะกายในประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่มีพลังสูงมากอาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้

 

รศ.ดร. เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าโครงการวิจัย “การลดความเสี่ยงของอาคารสูงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในระยะไกล” และเป็นหัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกสว. ระบุว่า “จากการศึกษาวิจัยในช่วงที่ผ่านมาได้บ่งชี้ว่ากรุงเทพฯ เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหว แต่ลักษณะความเสี่ยงของกรุงเทพฯ นั้นแตกต่างจากของเมืองอื่นๆ เนื่องจากไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีแผ่นดินไหวชุกชุม ความเสี่ยงจึงมิได้เกิดจากแผ่นดินไหวในระยะใกล้ แต่กลับเป็นผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในระยะไกล”

“อัตราที่กรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงแบ่งเป็นมี 3 แบบด้วยกัน  คือ แผ่นดินไหว ขนาด 7 ริกเตอร์จากรอยเลื่อนมีพลังในจังหวัดกาญจนบุรี หรือแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนสะกาย ขนาด 8 ริกเตอร์ ในประเทศเมียนมาร์ และแผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน ขนาด 8.9 ริกเตอร์ ตามแนวรอยต่อของเปลือกโลก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้กรุงเทพฯ เสี่ยงได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวสูงเป็นเพราะตั้งอยู่บริเวณแอ่งดินอ่อน”

แอ่งดินอ่อนปัจจัยขยายกำลังแผ่นดินไหว

          ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หนึ่งในปัจจัยหลัก คือ คุณลักษณะบริเวณที่ตั้งของชั้นดิน (Site characteristics) ข้อมูลจากงานวิจัยในโครงการ “การสำรวจและศึกษาอิทธิพลของแอ่งดินอ่อนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสำหรับผลบริเวณที่ตั้งต่อคลื่นแผ่นดินไหว” ซึ่งมี รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ระบุว่า พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวจากระยะไกลบ่อยครั้ง เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวถูกขยายกำลังในแอ่งดินอ่อนที่มีความลึก ซึ่งลักษณะพื้นที่นี้เป็นที่ราบที่มีชั้นดินตะกอนดินเหนียวอ่อนและมีความหนามากบนแผ่นดินตะกอนแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า “ดินเหนียวกรุงเทพฯ” เป็นแอ่งดินขนาดใหญ่ (Soil basin) ลักษณะธรณีวิทยาแบบนี้มีคุณสมบัติขยายความรุนแรงแผ่นดินไหวได้

รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม

          เนื่องจากแผ่นดินไหวเป็นคลื่นพลังงานที่วิ่งมามาตามธรณี เมื่อเข้าไปในแอ่งนี้ คลื่นจะทะลุออกไม่ได้แต่จะเกิดปรากฎการณ์สั่นพ้องไปมา (Basin resonance) ทำให้เกิดการสะสมพลังงานอยู่ในแอ่ง เป็นการขยายคลื่นแผ่นดินไหวในแอ่งดินอ่อน (Basin amplification) เหมือนที่เคยเกิดขึ้นที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งแผ่นดินไหวอยู่ไกลประมาน 300-400 กิโล แต่เมื่อคลื่นพลังงานเคลื่อนที่มาถึงแอ่งลักษณะนี้ส่งผลให้กรุงเม็กซิโกซิตี้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก อาคารถล่มจนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 10,000 คน

          แอ่งดินอ่อนกรุงเทพฯ ไม่ได้ครอบคลุมแต่เพียงกรุงเทพฯ แต่เพียงจังหวัดเดียว แต่กินพื้นที่ครอบคลุมกว่า 14 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา นนทบุรี นครปฐม นครนายก เพชรบุรี ปราจีนบุรี ปทุมธานี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ และชลบุรี ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ผลตอบสนองของพื้นจากแบบจำลองชั้นดินและคลื่นแผ่นดินไหวพบว่า บริเวณที่พื้นดินแข็ง เช่น ในจังหวัดเพชรบุรีนครนายก และชลบุรี จะมีกำลังขยายคลื่นแผ่นดินไหวไม่มาก (ประมาณ 2-3 เท่า) แต่สำหรับพื้นที่ดินอ่อนจะมีกำลังขยายมากกว่า เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ ที่มีกำลังขยายแผ่นดินไหวมากถึง 5.5 เท่า ส่วนพื้นที่แถบกรุงเทพฯ จะมีกำลังขยายคลื่นแผ่นดินไหวประมาณ 3-4 เท่า ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้ได้นำไปสู่แนวทางการพิจารณาปรับปรุงค่าที่กำหนดในมาตรฐานการออกแบบสิ่งปลูกสร้างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ลางเนื้อชอบลางยา แอ่งดินอ่อนก็ชอบคลื่นพลังงานความถี่เพียงบางช่วง

รศ.ดร. เป็นหนึ่ง กล่าวว่า “แอ่งดินอ่อนไม่ได้ขยายคลื่นพลังงานจากแผ่นดินไหวในทุกย่านความถี่ มันขยายเฉพาะบางความถี่ คือ ในช่วงความถี่ต่ำหรือว่าเป็นค่าการสั่นยาวๆ ประมาณ 1-3 วินาที ซึ่งเราเรียกว่า “การสั่นสะเทือนแบบคาบยาว” คือสั่นสะเทือนแบบช้าๆ ใช้เวลาครบรอบอาจจะประมาณ 2 วินาที ซึ่งคลื่นลักษณะนี้จะมีผลต่ออาคารสูง แต่ไม่ค่อยมีผลต่ออาคารขนาดเล็กเท่าไหร่

ข้อมูลจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าแต่ละจังหวัดในบริเวณแอ่งดินอ่อนกรุงเทพฯ นั้นมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น อาคารขนาดกลางในกรุงเทพฯ นั้นจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ จากรอยเลื่อนมีพลังในจังหวัดกาญจนบุรี หรือ อาคารขนาดสูงในกรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 8.5 ริกเตอร์ จากแนวมุดตัวของเปลือกโลกในประเทศเมียนมาร์ หรือ อาคารขนาดสูงในจังหวัดราชบุรีนั้นจะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มากกว่า 8.5 ริกเตอร์ จากรอยเลื่อนสะกายและแนวมุดตัวของเปลือกโลกในประเทศเมียนมาร์ เป็นต้น

แผ่นดินไหวจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวคนกรุงเทพฯ และพื้นที่ปริมณฑลโดยรอย การเตรียมพร้อม โดยเฉพาะการออกแบบอาคารสิ่งปลูกสร้างใหม่ให้ทนแผ่นดินไหวได้ และการประเมินความเสี่ยงของอาคารที่มีอยู่เดิม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะลดความเสียหายจากภัยแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จากปัจจัยเสี่ยงของที่ตั้งที่มีลักษณะเป็นแอ่งดินอ่อนที่สามารถขยายกำลังแผ่นดินไหวได้

 

เรียบเรียงและอ้างอิงข้อมูลจาก

โครงการวิจัย “การลดความเสี่ยงของอาคารสูงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในระยะไกล”

นักวิจัย ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

หัวหน้าชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย

โครงการวิจัย “การสำรวจและศึกษาอิทธิพลของแอ่งดินอ่อนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลสำหรับผลบริเวณที่ตั้งต่อคลื่นแผ่นดินไหว”

บริเวณใดที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (อังกฤษ: Intensity) ต่างจากขนาดแผ่นดินไหว เนื่องจากความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาถึงผู้สังเกตว่าห่างมากน้อยเพียงใด ความเสียหายจะเกิดมากที่สุดบริเวณใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและค่อย ๆ ลดทอนออกมาตามระยะทาง โดยมาตราวัดความรุนแรงมีหลาย ...

ภาคใดมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย พ.ศ. 2548 ได้มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยออกเป็น 5 ระดับ พบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุดของประเทศไทยคือพื้นที่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเมย และรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน

แผ่นดินไหวส่งผลกระทบต่ออะไรบ้าง

สำหรับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียใน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้