จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ที่ไหน

สำหรับคู่รักคู่ไหนที่จดทะเบียนแต่งงานกันมาก็นานแล้ว แต่ก็ยังไม่มีข่าวดีตั้งครรภ์สักที (วิธีตรวจสอบว่าท้องหรือไม่หรือประจำเดือนไม่มาเช็คความผิดปกติของร่างกาย) และพวกคุณเองก็อยากมีลูกมาก ๆ แต่ด้วยปัจจัยอะไรหลาย ๆ อย่างที่ทำให้คุณมีลูกยาก บางคนก็เลือกจะไปทำกิ๊ฟท์และเด็กหลอดแก้วแทน หรือบางคนก็เลือกที่จะรับบุตรบุญธรรมมาเป็นลูก ซึ่งที่เรามักเห็นกันบ่อย ๆ เลยในประเทศไทยหรือแม้แต่ต่างประเทศเองโดยคุณอาจจะเดินทางไปยังบ้านเด็กกำพร้าหรือสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ แต่การมีบุตรบุญธรรมนั้น คุณจะต้องทำเรื่องให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อนนะคะ ไม่ใช่ว่าแค่เอาเด็กมาเลี้ยงก็เป็นอันเสร็จ แบบนั้นไม่ถูกต้องค่ะ และวันนี้เราจะมาบอกถึงขั้นตอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมกัน ว่ามีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

เงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรม

เงื่อนไขของผู้ที่รับบุตรบุญธรรม (ตัวคุณ)

    1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และที่สำคัญผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุแก่กว่าเด็กอย่างน้อย 15 ปี
    2. เป็นคนสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
    3. ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
    4. คุณจะต้องมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ รวมถึงสุขภาพทางใจด้วย
    5. ต้องเป็นผู้ที่ไม่ไร้ความสามารถ, ต้องไม่เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ, ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย,  ตามมาตรา 1587 แห่งประมวลกฎหมายทางแพ่งและพาณิชย์
    6. คุณจะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้อยู่ในเกณฑ์ฐานะที่จะสามารถเลี้ยงดูเด็กให้มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีได้ หรือมีฐานะที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน และไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้
    7. คุณจะต้องมีเวลามากพอสำหรับการดูแลเอาใจใส่เด็ก
    8. คุณจะต้องไม่เคยเป็นผู้ต้องโทษหรือจำคุก จากการกระทำผิดอาญา เว้นแต่ว่าจะเป็นโทษประเภทกระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
    9. ต้องผ่านการทดลองเลี้ยงดูเด็กครบตามกำหนดแล้ว (อย่างน้อย 6 เดือน) ภายใต้การสังเกตกาณ์ของเจ้าหน้าที่
    10. เป็นครอบครัวที่อบอุ่น สมบูรณ์ และมีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี
    11. มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง ถูกสุขลักษณะที่ควรจะเป็น มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ห่างไกลชุมชนเกินไป
    12. ต้องไม่มีบุตรหรือมีเด็กในความอุปการะจำนวนมากเกินไป เพื่อที่คุณจะสามารถดูแลเด็กได้อย่างเต็มที่เต็มกำลัง




เงื่อนไขของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (ตัวเด็ก)

    1. ผู้เป็นบุตรบุญธรรม หรือตัวเด็กเองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และเด็กจะต้องมีความยินยอมอยากเป็นบุตรบุญธรรมด้วยตนเอง
    2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่ยังเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กก่อน
    3. หากผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
    4. กรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นอยู่ แล้วจะมาเป็นบุตรบุญธรรมของคุณต่อในขณะเดียวกัน แบบนี้ไม่ได้ค่ะ ยกเว้นว่าเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของคุณ

ขั้นตอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์

โดยคุณจะต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

    • กรณีที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือต่างประเทศ คุณจะต้องไปยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของผู้มี่มีอำนาจ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือกรมประชาสงเคราะห์
    • กรณีที่คุณมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างจังหวัด คุณจะต้องไปยื่นคำขอพร้อมหนังสือแสดงความยินยอมของผู้มี่มีอำนาจ ณ ที่ว่าการอำเภอ, กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานประชาสงเคราะห์ประจำจังหวัดนั้น ๆ

เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม อนุมัติให้ผ่านหรืออนุมัติให้คุณสามารถรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ให้คุณนำหนังสือแจ้งคำอนุมัติที่ได้ ไปร้องขอการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ณ ที่ว่าการอำเภอ, กิ่งอำเภอ หรือเขตที่ไหนก็ได้

กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

คุณ (ผู้จะรับบุตรบุญธรรม) หรือตัวเด็ก (ผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม) สามารถดำเนินการ ณ ที่ว่าการอำเภอ, กิ่งอำเภอ หรือเขตที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

หลักฐานหรือเอกสาร ที่จะ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะรับบุตรบุญธรรม (ถ้ามีคู่สมรสจะต้องใช้ทะเบียนบ้านของคู่สมรสด้วย) คนละ 1 ฉบับ
  2. สำเนาทะเบียนของตัวเด็กที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรม และของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก คนละ 1 ฉบับ
  3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จะรับบุตรบุญธรรม (และคู่สมรส) คนละ 1 ฉบับ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก และของเด็ก (หากเด็กมีอายุ 7 ปีขึ้นไปต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนด้วย) คนละ 1 ฉบับ
  5. สำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าของผู้จะรับบุตรบุญธรรม 1 ฉบับ
  6. สำเนาทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก ในกรณีที่พ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้เป็นทะเบียนรับรองบุตร 1 ฉบับ
  7. ใบรับรองแพทย์ของผู้จะรับบุตรบุญธรรม รวมถึงคู่สมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรมด้วย ว่ามีความพร้อมทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจหรือไม่ โดยจะเป็นผลการตรวจสภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยา (ไม่เกิน 6 เดือน)
  8. ในกรณีที่คุณต้องการขอรับเด็กมาเลี้ยงจาก “กรมกิจการเด็กและเยาวชน” เนื่องจากคุณไม่สามารถมีลูกได้ คุณจะต้องนำหลักฐานทางการแพทย์หรือใบรับรองแพทย์มายืนยันด้วย
  9. ผลการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม
  10. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 2 นิ้วเท่านั้น คนละ 1 รูป ทั้งของผู้จะรับบุตรบุญธรรม (และคู่สมรส) ของเด็ก  และของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก (ของทุกคนที่เกี่ยวข้อง) โดยต้องถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน
  11. สูติบัตรของเด็กที่จะรับมาเป็นบุตรบุญธรรม
  12. สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) 1 ฉบับ
  13. สำเนาใบมรณะบัตรในกรณีที่คู่สมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรมเสีย หรือของคู่สมรสของพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กเสีย 1 ฉบับ
  14. สำเนาผู้รับรอง 1 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 1 ฉบับ
  15. เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งอาจจะแล้วแต่กรณีไป โดยรวมแล้ว 1-14 คือเอกสารที่ควรจะเตรียมไว้ให้เรียบร้อยค่ะ

หมายเหตุ

  • ให้นำเอกสารทุกอย่างแบบฉบับจริงมาแสดงด้วย ณ วันที่จะมอบเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต่อเจ้าหน้าที่
  • พ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กต้องมาลงนามแสดงความยินยอมที่จะมอบเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ต่อเจ้าหน้าที่ แม้ว่าทั้งคู่จะไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม ก็ต้องมาทั้งสองคนค่ะ ยกเว้นว่าเว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต หรือถูกถอนอำนาจปกครองเด็กไปแล้ว
  • กรณีเด็กมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ตัวเด็กจะต้องมาลงนามแสดงความยินยอมเป็นบุตรบุญธรรม ต่อเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง
  • กรณีเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป เด็กสามารถเขียนระบุเหตุผลที่ต้องการ และยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมได้




ยื่นคำร้องขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ได้ที่ไหน

  1. หากคุณมีภูมิลำเนาตามทะเบียนที่อยู่ในเขตกรุงเทพ ให้ยื่นคำร้อง ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมกิจการเด็กและเยาวชน 255 ถนน ราชวิถี แขวง ทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 ณ ตึก 60 ปี กรมประชาสงเคราะห์ ชั้น 2 ภายในสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี
  2. หากคุณมีภูมิลำเนาตามทะเบียนที่อยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด

ผู้จะรับบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับการทดลองเลี้ยงดูเด็กเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งจะอยู่ในการดูแลและสังเกตกาณ์ของเจ้าหน้าที่ แต่หากผู้จะรับบุตรบุญธรรมเป็นญาติกับตัวเด็กที่สายเลือกโดยตรง อาทิเช่น ปู่ย่า, ตายาย, ลุงป้า, น้าอา เป็นต้น การจะรับเป็นบุตรบุญธรรมได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจก่อนค่ะ

สิทธิตามกฎหมายของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  1. ผู้ที่จะมาเป็นบิดาหรือมารดาบุญธรรมกับตัวบุตรบุญธรรมที่จะรับมาเลี้ยงจะต้องไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน
  2. ต้องเกิดจากความยินยอมทั้งสองฝ่าย ระหว่างตัวผู้จะรับบุตรบุญธรรม และพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็ก รวมถึงตัวเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรมด้วย
  3. การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั้น ตามกฎหมายแล้วจะให้สิทธิคุ้มครองเด็ก ให้มีฐานะเหมือนเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้จะรับบุตรบุญธรรมโดยทันทีนับแต่วันที่จดทะเบียน  อาทิเช่น สามารถใช้นามสกุลของผู้จะรับบุตรบุญธรรมได้, ตัวเด็กมีสิทธิได้รับมรดก แต่สำหรับตัวผู้จะรับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิที่จะมารับมรดกเด็ก
  4. ตัวเด็กเองก็ยังไม่ได้สิทธิที่ควรได้หรือพึ่งมีตามกฎหมายจากครอบครัวเดิม อาทิเช่น เด็กยังสามารถได้รับมรดกจากพ่อแม่ที่แท้จริงได้ และพ่อแม่ที่แท้จริงก็ยังมีสิทธิมาหาหรือมาเยี่ยมเยี่ยนลูกได้ตามสมควร
  5. นอกจากนี้กฎหมายยังคุ้มครองเด็ก โดยที่ผู้จะรับบุตรบุญธรรมจะไม่สามารถเลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม นอกจากจะได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กก่อน และพ่อแม่ที่แท้จริงของเด็กก็สามารถฟ้องให้เลิกรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ หากเกิดเหตุอันไม่ควร

หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเต็มสามารถสอบถามรายละเอียดได้จาก กรมกิจการเด็กและเยาวชน หมายเลขโทรศัพท์ 0 2255 5850-7,0 2253 9116-7 (อัตโนมัติ) หมายเลขโทรสาร (FAX) : 0 2651 6483 หรือ E-mail : central@dcy.go.th หรือไปที่เว็บโซต์ dcy.go.th

จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้.
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม ฉบับจริง.
หนังสืออนุมัติของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรณีเป็นผู้เยาว์).
หนังสือยินยอมจากคู่สมรส (ถ้ามี).
พยานอย่างน้อย 2 คน.

การรับรองบุตรและการรับบุตรบุญธรรมแตกต่างกันอย่างไร

การรับรองบุตรคือการรับรองบุตรของตนเองให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการรับบุตรบุญธรรมคือการรับบุตรของผู้อื่นมาเป็นบุตรของตนเอง 1) ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี 2) ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอม

ผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมสมรสกันได้ไหม

- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น - ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้ - หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ * คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น

บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้อย่างไร

บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้อย่างไร? ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้