คณะนิติศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง ค่าเทอม

นิติศาสตร์ แต่ละม. ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ตั้งกระทู้ใหม่

ตั้งกระทู้ใหม่

นิติศาสตร์ แต่ละมหาวิทยาลัย  ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

พวกค่าที่ต้องเสียต่างๆ บลาๆ

ใครรู้ของมหาลัยไหนก็ช่วยบอกหน่อยนะค่ะ

ทุกมหาลัยเลยค่ะ  ต้องเอามาเปรียบเทียบกัน

คือเราทำงานส่งครูอ่ะค่ะTOT

ปล.บอร์ดนี้คนเยอะ และธรรมดาสิงอยู่แต่บอร์ดนี้ เลยขอตั้งบอร์ดนี้(ผิดหมวด)

PS.  ฉันอยากเป็นแบบคุณป้าคนนั้นจังเลย เขาคงมีความสุขเนอะ แล้วแกล่ะ?? <<<คำน่ารักๆจากโฆษณาเลย์

เนยทาขนมปัง 24 ม.ค. 53 เวลา 12:11 น.

1

like

442

views

Facebook Twitter

รายชื่อผู้ถูกใจกระทู้นี้ คน

ยกเลิก

อยากเป็น ทนายความ ต้องเรียนด้านไหน? เชื่อได้เลยว่าอาชีพทนายความต้องเป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของน้อง ๆ หลายคน แต่น้อง ๆ รู้หรือไม่ว่าใช่ว่าทุกคนจะสามารถเรียนสายกฎหมายได้ ถึงแม้ว่าน้อง ๆ จะเรียนจบมาในสายวิทย์-คณิต สายศิลป์ต่าง ๆ หรือสายอาชีวะก็ตาม แต่การเรียนด้านนี้น้อง ๆ จะต้องมีความชอบ มุ่งมั่น รอบคอบ และใจรักด้วย ไม่งั้นรับรองเลยว่าเรียนไม่รู้เรื่องแน่นอน –  เรียนนิติศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร

เรียนนิติศาสตร์ จบแล้วทำงานอะไร ?

สำหรับน้อง ๆ ที่มีใจรักอยากจะเป็นนักกฎหมายจริง ๆ เราก็ต้องเข้าศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน ทั้งของรัฐและเอกชน แต่ว่าจะเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง และจบออกมาทำงานอะไรได้บ้างนั้น ในบทความนี้ แคมปัส-สตาร์ มีคำตอบมาให้น้อง ๆ ได้ศึกษากันก่อนตัดสินใจเข้าศึกษาต่อกันด้วยนะ

นิติศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law) เป็นคณะที่เรียนกับกฎหมาย หรือวิชาที่มีกฏหมายเป็นวัถตุประสงค์การศึกษา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ความประพฤติของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีการกำหนดออกมาเป็น กฎหมาย เพื่อทำให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีระเบียบ

ดังนั้น การเรียนในคณะนิติศาสตร์ก็คือ การเรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้กฎหมายอย่างถูกต้องและมีจริยธรรม ซึ่งกฎหมายมีทั้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. กฎหมายมหาชน (Public Law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบระหว่างรัฐกับราษฎร เช่น รัฐธรรมนูญ, กฎหมายปกครอง และกฎหมายอาญา ฯลฯ

2. กฎหมายเอกชน (Private Law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับรัฐ เช่น กฎหมายแพ่ง, กฎหมายพาณิชย์ และกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ฯลฯ

3. กฎหมายต่างประเทศ (International Law) เป็นกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับด้วยรัฐและมีความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งมีความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศด้วย เช่น กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ และกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ฯลฯ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน มีที่ไหนบ้าง?

มหาวิทยาลัยของรัฐ

  • คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : Link คลิกที่นี่
  •  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา : Link คลิกที่นี่
  • สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ : Link คลิกที่นี่
  • สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : Link คลิกที่นี่

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี : Link คลิกที่นี่

มหาวิทยาลัยเอกชน

  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยตาปี : Link คลิกที่นี่

วิทยาลัยที่เปิดสอน

  • คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา : Link คลิกที่นี่
  • คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย : Link คลิกที่นี่

สถาบันการศึกษา

  • คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) : Link คลิกที่นี่

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

1. ทนายความ

สำหรับอาชีพทนายความ เป็นอาชีพสายตรงของผู้ที่เรียนจบมาจากคณะนิติศาสตร์เลย โดยที่ทนายความจะมีหน้าที่ในการดำเนินการแทนลูกความในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทั้งทางอาญาและทางแพ่ง เป็นผู้ที่จัดทำเอกสารด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ว่าความ และดำเนินกระบวนการพิจารณาต่าง ๆ ในศาล เพื่อช่วยให้บุคคลและองค์กรต่าง ๆ ได้รับความยุติธรรม

2. ที่ปรึกษาทางกฎหมาย

สำหรับคนที่เรียนจบมาในคณะนิติศาสตร์สามารถเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายให้กับองค์กรของรัฐ เอกชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำ และให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้กับองค์กรนั้น ๆ เป็นทนายความให้กับองค์กรนั้น ๆ ร่างสัญญาระหว่างบริษัทคู่ค้า ฯลฯ

3. ผู้พิพากษา

เป็นอาชีพในฝันของใครหลาย ๆ คน เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีค่าตอบแทนค่อนข้างสูง ผู้พิพากษามีหน้าที่ในการพิจารณาคดีความทั้งปวงในราชอาณาจักร ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในศาลยุติธรรม ก่อนที่เราจะสามารถเป็นผู้พิพากษาได้นั้น เมื่อเรียนจบแล้วเราะจะต้องไปสอบเนติบัณฑิต หลังจากนั้นก็ต้องรอให้มีอายุครบ 25 ปี พร้อมทั้งกับคุณสมบัติอื่น ๆ ตรงตามที่คณะกรรมการตุลาการกำหนด จึงจะสามารถเข้าสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา และค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปเรื่อยตามลำดับขั้น

4. พนักงานอัยการ

พนักงานอัยการจะมีหน้าที่ในการประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความและกฏหมายบัญญัติ รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนวยความยุติธรรมในสังคม มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล

5. นิติกร

เป็นก้าแรกของอาชีพของผู้ที่จบนิติศาสตร์ใหม่ ๆ เพราะเป็นอาชีพที่อาจจะไม่ต้องมีใบอนุญาตว่าความหรือตั๋วทนาย และยังถือว่าเป็นการสะสมประสบการณ์ก่อนก้าวเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นไป นิติกรคือผู้ที่ดูแลงานด้านที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการ วางระเบียบ เสนอความเห็น งานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายขององค์กรและระหว่างหน่วยงาน ความเป็นธรรมและระเบียบของพนักงาน เป็นต้น

6. งานด้านธนาคาร 

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าการเรียนจบนิติศาสตร์มาก็สามารถเข้าทำงานที่ธนาคารได้เหมือนกัน โดยสามารถทำงานเร่งรัดหนี้ งานสินเชื่อซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ พิจารณาการให้สินเชื่อ แจกแจงข้อกฎหมายตามที่ระบุหากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด และส่งต่อให้ฝ่ายกฎหมายเป็นผู้จัดการต่อ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย และกฎระเบียบด้านการเงินต่าง ๆ เป็นอย่างดี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้