พระเมรุมาศ ร.9 จัดตั้งบริเวณใด

ในวันอังคาร (25 เมษายน 2560) นี้ รัฐบาลได้เปิดเผยหมายกำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ได้มีพระราชวินิจฉัยให้เป็นวันที่ 25-29 ตุลาคม 2560 ตามที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทูลเกล้าฯ เสนอ

“คณะกรรมการอำนวยการที่ท่านนายกฯ เป็นประธานได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลฯ พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงมีพระราชวินิจฉัยแล้วให้เป็นไปตามกำหนดวันที่คณะกรรมการฯเสนอขึ้นไป คือ 25-29 ตุลาคม โดยในแต่ละวันจะมีพระราชพิธีต่างๆ วันนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติเฉพาะวันที่ 26 เป็นวันหยุดราชการ” พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยต่อเบนาร์นิวส์ผ่านโทรศัพท์

“พิธีการอื่นๆ ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว เช่น วันที่ 25 ตุลาคม เป็นพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ วันสุดท้ายก่อนเคลื่อนย้ายพระบรมศพฯ หมายกำหนดการจะเป็นไปตามที่เสนอไปทั้งหมด” พล.ท.สรรเสริญ กล่าวเพิ่มเติม​

หมายกำหนดการที่คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีฯได้กำหนดมี ดังนี้

วันที่ 1 พระราชกุศลออกพระเมรุ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

วันที่ 2 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

วันที่ 3 เก็บพระบรมอัฐิ ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

วันที่ 4 งานพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง

วันที่ 5 เลี้ยงพระ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานพระวิมานบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

สำหรับ การจัดขบวนพระบรมราชอิสริยยศเพื่ออัญเชิญพระบรมศพ พระโกศพระบรมอัฐิ และ พระบรมราชสรีรางคาร กำหนดไว้ 6 ขบวน โดยจะมีการฝึกซ้อมย่อยและฝึกซ้อมใหญ่ในสถานที่จริงเพื่อให้มีความพร้อมเพรียงและสง่างามสมพระเกียรติยศ การจัดแสดงมหรสพสมโภช ประกอบด้วย การจัดแสดงโขนหน้าไฟหน้าพระเมรุมาศ เรื่อง รามเกียรติ์ ชุดพระรามข้ามสมุทร ยกรบ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ การแสดงมหรสพสมโภชบริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือ ประกอบด้วย การแสดงหนังใหญ่และโขนพระราชทาน ตอน รามาวตาร การแสดงละคร หุ่นหลวงและหุ่นกระบอก และการบรรเลงดนตรีสากล “ธ คือ ดวงใจไทยทั่วหล้า” การจัดนิทรรศการเย็นศิระเพราะพระบริบาล รวมไปถึงการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจการทรงงานในแต่ละพื้นที่ของจังหวัด นิทรรศการด้านการพระราชไมตรีที่เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

ขณะที่ การจัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ของภาคประชาชนจะดำเนินการทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดและอำเภอทั่วประเทศ ตลอดจนในต่างประเทศด้วย ซึ่งในกรุงเทพมหานครจะจัดตั้งซุ้มถวายดอกไม้จันทน์บริเวณใกล้ท้องสนามหลวง 11 ซุ้ม และตามมุมเมือง 4 ซุ้ม ซุ้มขนาดกลางตามแนวถนนราชดำเนินและถนนอรุณอมรินทร์ 19 ซุ้ม และซุ้มขนาดเล็กตามวัดต่าง ๆ 67 ซุ้ม ส่วนภูมิภาคมีซุ้มขนาดใหญ่ 76 ซุ้ม (อำเภอร่วมกับจังหวัด) และซุ้มขนาดกลางทุกอำเภอ/วัดต่าง ๆ 802 ซุ้ม ส่วนในต่างประเทศจะมีซุ้มขนาดกลาง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยและสถานกงสุล 96 ซุ้ม และซุ้มขนาดเล็กตามวัดไทย 539 ซุ้ม รวมทั้งยังได้เชิญชวนจิตอาสาร่วมกันทำดอกไม้จันทน์เพื่อใช้สำหรับประชาชนที่ไปร่วมงานสามารถนำดอกไม้จันทน์ไปถวายได้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งครองราชย์นานกว่า 70 ปี และทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวของพสกนิกรชาวไทยท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองและเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองหลายครั้ง เสด็จสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ด้วยพระชนมายุ 89 พรรษา ตามการประกาศของสำนักพระราชวัง หลังจากที่คณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราชถวายการรักษามาตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2557

เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมานี้ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายงานว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย กล่าวอ้างอิงถึงคำพูดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า ภายหลังจากพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสร็จสิ้นลงแล้ว คาดว่า จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ในเดือนธันวาคม ศกนี้

HOME ISSUE

SECTION

ABOUT

STATE OF THE ARTS

เบื้องหลังการออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ต้องระดมสรรพกำลังจากช่างศิลป์หลากแขนง

ภารกิจยิ่งใหญ่ของวงการศิลปะไทยในการถ่ายทอด 70 ปีแห่งพระราชวิสัยทัศน์อันล้ำสมัยผ่านขนบธรรมเนียมศิลป์จากครั้งโบราณ

     ขณะเขียนบทความนี้ ประชาชนร่วม 7 ล้านคนได้หลั่งไหลมายังท้องสนามหลวงเพื่อถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระผู้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 โดยไม่มีใครหวั่นไหวกับการเข้าแถวหลายชั่วโมงในอากาศร้อนจัดเพื่อแลกกับโอกาสเข้าถวายสักการะพระมหากษัตริย์ผู้ได้ตรากตรำทรงงานเป็นเวลากว่า 7 ทศวรรษเพื่อพสกนิกรของพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย

     ในขณะเดียวกัน ที่บริเวณสนามหลวง ช่างศิลป์หลายร้อยคนก็กำลังเร่งมือสร้าง พระเมรุมาศตามการออกแบบของก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม และธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกจากสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกันยายน โดยองค์ประกอบของงานมีตั้งแต่สระอโนดาตประดับปูนปั้น พระที่นั่งทรงธรรม และหมู่อาคารอื่นๆ อีก 7 หลัง ซึ่งมุ่งแสดงความตระการยิ่งใหญ่ของจักรวาลตามหลักไตรภูมิ ทั้งนี้ เฉพาะองค์พระเมรุมาศเพียงอย่างเดียวก็ประดับประดาด้วยประติมากรรมกว่า 600 ชิ้น ในขณะที่บุษบก 9 ยอดซึ่งแกะสลักอย่างวิจิตรก็นับเป็นพระเมรุมาศที่สูงที่สุดนับตั้งแต่มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 2454 เป็นต้นมา

ภารกิจครั้งเดียวในชีวิต

     นับเป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปที่จะจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ของภารกิจนี้ได้อย่างแท้จริง ครั้งสุดท้ายที่ประเทศได้เห็นการจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ก็คือพระราชพิธีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลในปี 2493 ก่อนจะตามมาด้วยพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในปี 2538 และพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในปี 2551 กระนั้น แม้พระราชพิธีของทุกพระองค์จะมีความสมพระเกียรติ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชย่อมจะยิ่งใหญ่ล้นพ้นกว่านั้น ด้วยงบประมาณ 1 พันล้านบาท มณฑลพิธีถูกวางผังล้อมพระเมรุมาศซึ่งกว้าง 60 เมตรและสูง 50.49 เมตร หรือใหญ่กว่าพระเมรุมาศซึ่งถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ร่วมเกือบ 2 เท่า อีกทั้งแทบทุกตารางนิ้วของพระเมรุมาศยังได้รับการวาดภาพเขียนเป็นพระราชกรณียกิจตลอดรัชกาล ควบคู่ไปกับการสลักเสลาสัญลักษณ์ทางพุทธและพราหมณ์โดยละเอียด

     เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ขอความช่วยเหลือไปยังช่างศิลป์จำนวน 150 คนจากสำนักช่างสิบหมู่ และประกาศหาช่างฝีมือทั่วประเทศที่มีความชำนาญมาร่วมคณะด้วย โดยในที่สุดสามารถระดมช่างฝีมือได้ 250 คน โดยมี 175 คนมาจากสำนักช่างสิบหมู่ และอาสาสมัครอีกนับร้อยชีวิต นับเป็นการระดมสรรพกำลังเพื่อสร้างงานในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

     บวรลักษณ์ สุขชัย ช่างปั้นชาวราชบุรีวัย 52 ปี คือหนึ่งในอาสาสมัครผู้ตอบรับการระดมพลดังกล่าว เขามีอาชีพทำนาในช่วงฤดูฝนและใช้เวลาในช่วงหน้าแล้งรับปั้นพระพุทธรูปและรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ให้กับวัด หน่วยงานราชการ หรือลูกค้าเอกชน บวรลักษณ์เล่าว่า “พอผมรู้จากเพื่อนว่าเขากำลังหาช่างฝีมือ ผมทิ้งทุกอย่างแล้วไปทันที สำหรับผมไม่มีอะไรเป็นเกียรติไปกว่าการได้ถวายงานเพื่อพระองค์ท่าน เป็นโอกาสครั้งเดียวของชีวิต”

     ก่อนเข้าร่วมงาน อาสาสมัครเช่นบวรลักษณ์ต้องสอบปั้นรูปปั้นเล็กๆ ขนาด 30 เซนติเมตร ซึ่งเขาผ่านฉลุย หลังจบการศึกษาจากแผนกช่างปั้นที่โรงเรียนเพาะช่าง (โรงเรียนศิลปะไทยแห่งแรกของประเทศ ก่อตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี 2456 เพื่อรักษาศิลปะไทยท่ามกลางกระแสอิทธิพลตะวันตกที่กำลังไหลบ่าเข้าประเทศ) บวรลักษณ์ได้เข้าทำงานที่บริษัทผลิตของเล่น Apex เขาเล่าย้อน ด้วยความภาคภูมิใจถึงสมัยที่เคยปั้นต้นแบบรูปปั้นช้างไชโยขนาดยักษ์ เพื่อใช้เป็นมาสคอตในพิธีเปิด Asian Games ในปี 2551 ทุกวันนี้บวรลักษณ์ใช้เวลา 1 ชั่วโมงขับรถจากราชบุรีไปยังนครปฐมสัปดาห์ละ 2 ครั้งเพื่อช่วยสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ

     แค่การบวกลบเลขง่ายๆ ก็จะทำให้รู้ว่าพรสวรรค์อย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับทำงานนี้ให้สำเร็จ บรรดาช่างต้องทุ่มเวลารวมกันให้ได้หลายหมื่นชั่วโมงเพื่อเร่งสร้างประติมากรรมจำนวน 600 ชิ้นให้เสร็จทันกำหนด ซึ่งถือเป็นภารกิจท้าทายอย่างยิ่ง ปกติสำนักช่างสิบหมู่จะใช้เวลา 18 เดือนในการสร้างประติมากรรม 1 ชิ้นให้แก่หน่วยงานราชการหรือภาคเอกชน แต่เนื่องจากงานนี้พวกเขามีเวลาเพียง 9 เดือน จึงเป็นที่มาของการขอความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกเพื่อเสริมทัพดังกล่าว

มณฑลพิธีถูกวางผังล้อมพระเมรุมาศซึ่งกว้าง 60 เมตรและสูง 50.49 เมตร หรือใหญ่กว่าพระเมรุมาศซึ่งถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ร่วม 2 เท่า

สิ้นยุคสมัย

      ช่างฝีมือทั้ง 250 คนจากหลายสาขาของกรมศิลปากร ไม่เพียงได้รับมอบหมายให้ทำงานศิลปะแบบตามโบราณ แต่ยังต้องสามารถเล่าเรื่องราวน่าประทับใจของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระผู้ทรงสืบเชื้อสายพระราชวงศ์อันเก่าแก่ หากทรงมีพระราชวิสัยทัศน์ล้ำสมัย และทรงชำนาญการใช้วิทยาการของโลกสมัยใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาของราษฎร

     ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างแห่งกรมศิลปากร คือหนึ่งในผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ร้อยเรียงประวัติศาสตร์กว่า 2 ศตวรรษของราชวงศ์จักรี แต่ดูเหมือนเพียงระยะเวลาในพระชนม์ชีพของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์เดียวก็ครอบคลุมประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่เกือบทั้งหมด นับตั้งแต่ยุคการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปฏิวัติสยาม การสละราชสมบัติของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 การขึ้นครองราชย์ของพระองค์เมื่อพระชนมายุได้ 22 พรรษา จวบจนกระทั่งวันสวรรคต เป็นที่ประจักษ์ว่า ระยะเวลา 70 ปีภายใต้พระเศวตฉัตรได้ช่วยแผ่พระบารมีแห่งราชวงศ์จักรีให้ขจรขจายในระดับซึ่งแทบไม่เคยปรากฏเทียบเท่านับตั้งแต่สิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา

      “นานมาแล้วที่เราคิดกันว่าศิลปะไทยร่วมสมัยหน้าตาเป็นอย่างไร แต่พอสิ้นสุดรัชกาลทุกอย่างชัดเจนเลย สิ่งที่เรากำลังทำนี่แหละคือศิลปะร่วมสมัยในแบบรัชกาลที่ 9 เราจะนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีทั้งหมดที่เราได้ร่ำเรียนในช่วงเวลาของพระองค์มาถ่ายทอดศิลปะไทยในแบบที่สูงส่งที่สุด” ก่อเกียรติกล่าว

     โครงสร้างภายนอกของพระเมรุมาศนั้นรักษาขนบธรรมเนียมเดิมไว้ทุกกระเบียด ทุกตารางนิ้วตกแต่งด้วยประติมากรรมและจิตรกรรมรูปเทวดาและสัตว์หิมพานต์ตามคติความเชื่อของพุทธและพราหมณ์ องค์พระเมรุมาศนั้นเป็นการจำลองเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลซึ่งเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ส่วนยอดบุษบกของพระเมรุมาศนั้นสืบรูปแบบมาจากครั้งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

     กระนั้น การก่อสร้างพระเมรุมาศก็ไม่ได้คงรูปแบบของพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเดิมไว้ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่เรื่องความสูง นี่เป็นครั้งแรกที่ใช้พระเมรุมาศทรงบุษบก 9 ยอด ล้ำจำนวนบุษบก 5 ยอดบนพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนอกจากนั้น งานจิตรกรรมก็สะท้อนให้เห็นถึงยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พระราชพิธีครั้งนี้ยึดรูปแบบ จิตรกรรมจากฝาผนังภายในพระพุทธรัตนสถานพระอุโบสถขนาดเล็กภายในพระบรมมหาราชวังซึ่งในปี 2536 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเขียนภาพจิตรกรรมขึ้นใหม่จากของเดิมที่เสียหาย โดยจิตรกรรมนี้มีลักษณะต่างจากรูปทรงอุดมคติและสีเรียบแบนในแบบจิตรกรรมไทยเดิม เพราะมีรายละเอียดสมจริงในแบบสัจนิยม (realism) หรือแม้กระทั่งอภิสัจนิยม (hyper-realism) สังเกตได้จากใบหน้าต่างๆ ที่มีสีแดงระเรื่อ อากัปกริยา สัดส่วนร่างกาย หรือการเล่นแสงเงาที่ดูเหมือนมีชีวิตจริง

แค่การบวกลบเลขง่ายๆ ก็จะทำให้รู้ว่าพรสวรรค์อย่างเดียวไม่พอสำหรับทำงานนี้ให้สำเร็จ บรรดาช่างต้องทุ่มเวลารวมกันให้ได้หลายหมื่นชั่วโมงเพื่อเร่งสร้างประติมากรรมจำนวน 600 ชิ้นให้เสร็จทันกำหนด

อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี

      พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพไม่เพียงแสดงถึงความสำเร็จในการรวบรวมนายช่างฝีมือเอกทั่วราชอาณาจักรไทย แต่ยังชี้ให้เห็นถึงกลไกการอนุรักษ์ทักษะฝีมือดังกล่าวให้คงอยู่ต่อไปด้วย สำนักช่างสิบหมู่นั้นมีประวัติสืบทอดยาวนานกว่า 235 ปี ตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกบรรดา ‘ช่างหลวง’ เหล่านี้มีหน้าที่อนุรักษ์ศิลปกรรมแบบสมัยอยุธยาเอาไว้ และขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกเพื่อเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งแผ่นดินใหม่ โดยสมัยแรกๆ ช่างฝีมือยังกระจัดกระจายอยู่ตามกรมกองต่างๆ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้นำช่างเหล่านี้มาสังกัดกรมวังในปี 2430 และย้ายไปขึ้นกับกรมศิลปากรในสมัยรัชกาลที่ 6 ตราบจนปัจจุบัน

     แม้แต่คนนอกอย่างบวรลักษณ์ก็ตระหนักถึงบทบาทสำคัญยิ่งของสำนักช่างสิบหมู่ “สำนักช่างสิบหมู่เป็นเหมือนมาตรฐานว่าศิลปะไทยควรเป็นแบบไหน ถ้าไม่มีคนเหล่านี้ก็คงหายนะ บางครั้งผมเห็นพระพุทธรูปที่ปั้นได้แย่มาก ถ้าน้ำท่วมโลกแล้วพระพุทธรูปนี้ผุดขึ้นมาจากน้ำ คงบอกไม่ได้ว่ามาจากยุคไหน เพราะอย่างนี้ถึงต้องมีช่างสิบหมู่เพื่อดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานศิลปะไทย” เขากล่าว

     แน่นอน ในการทำงานจริง การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีย่อมหมายถึงการปรับอย่างสมควรตามยุคสมัยด้วย กัมพล จันทะรังษีรักษาการหัวหน้ากลุ่มประณีตศิลป์ สำนักช่างสิบหมู่ ได้เคยถวายงานออกแบบแหวน กำไล และมงกุฎให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นหน่วยงานออกแบบเอกสารราชการทั่วไป อาทิ ใบสำคัญการสมรสและใบสำคัญการหย่า หน่วยงานของเขาได้ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร และใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น แต่กัมพลก็ยืนกรานว่าในชิ้นงานจริงต้องอาศัยงานมือของช่างแกะ ช่างสลัก ช่างหล่อ ช่างบุ หรือช่างรักเท่านั้น

     มณเฑียร ชูเสือหึง รักษาการจิตรกรเชี่ยวชาญ สำนักช่างสิบหมู่ ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่เห็นด้วยกับการปรับวิธีการให้เข้ากับยุคสมัย เช่น เขาชื่นชมสีอะคริลิกที่ติดทนกว่าสีในยุคเก่า และเห็นความจำเป็นของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเทคนิคการอนุรักษ์ให้มากขึ้น โดยเฉพาะในเมื่อวัสดุบางประเภทอาจหาไม่ได้อีกแล้ว เช่น ดินสีอ่อนเนื้อเนียนจากจังหวัดปทุมธานีซึ่งแต่เดิมใช้ในงานปั้นของช่างสิบหมู่ แต่หาคนซื้อยาก ปัจจุบันธุรกิจต้องปิดตัวลง ซึ่งประสพสุข รัตน์ใหม่ หัวหน้ากลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ เผยว่า หากต้องหาดินใหม่ คงต้องไปขอความช่วยเหลือจากห้องแล็บวิจัยดินของวิทยาลัยเพาะช่างเพื่อหาวัสดุทดแทน

     โดยนัยนี้ การก่อสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จึงถือเป็นโอกาสพิเศษที่เหล่าช่างฝีมือเอกจะได้ร่วมมือกันทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือการอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติไว้ ทักษะจากงานประจำของช่างทันตกรรมอย่างภูวดลท์ พมาวัฒนากุล ทำให้เขาได้มีส่วนร่วมในการบูรณะพระที่นั่งราเชนทรยาน ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปีและใช้งานมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เนื่องด้วยขนาดของงาน ภูวดลท์จึงขออนุญาตไม่ใช้เครื่องมือดั้งเดิมของสำนักช่างสิบหมู่ และนำเครื่องมือทำฟันของเขามาใช้แทน เช่น เครื่องกรอฟันและตะขอเกี่ยวฟัน ทำให้ขณะนี้สำนักช่างสิบหมู่ได้เริ่มจัดซื้อเครื่องมือทันตกรรมเพิ่มเติม อาทิ เครื่องมือขูดหินปูน เพื่อให้ช่างปั้นใช้ในการทำความสะอาดพื้นผิวที่จะต้องได้รับการชุบทองใหม่

โดยนัยนี้ การก่อสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จึงถือเป็นโอกาสพิเศษที่เหล่าช่างฝีมือเอกจะได้ร่วมมือกันทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือการอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติไว้

ช่างฝีมือรุ่นหลัง

      นอกเหนือจากการใช้เครื่องมือและเทคนิคอันทันสมัยแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องการฝึกสอนช่างฝีมือรุ่นใหม่อีกด้วย โรงเรียนเพาะช่างนั้นฝึกสอนนักเรียนราวปีละ 200 คน และยังมีการเรียนการสอนหลักสูตรวิจิตรศิลป์ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย จักรพันธ์ หิรัญสาลี นักศึกษาคณะจิตรกรรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยทำงานร่วมกับมณเฑียรมาก่อน โดยทั้งสองเคยร่วมกันวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังให้แก่วัดไทยกุสินาราในประเทศอินเดีย แต่ทว่าพระเมรุมาศนั้นเป็นความท้าทายในอีกระดับโดยสิ้นเชิง“ผมทำงานมา 5 ปี แต่ก็ยังไม่เชี่ยวชาญเทคนิคดั้งเดิมทั้งหมด ที่นี่เป็นแหล่งความรู้ชั้นครู ยังมีอะไรอีกหลายอย่างให้ผมได้เรียนรู้” จักรพันธ์กล่าว

     เขาได้รับมอบหมายให้วาดภาพบนฉากบังเพลิงสำหรับพระเมรุมาศ โดยทั้ง 4 ด้านจะเขียนภาพเกี่ยวกับโครงการพระราชดำริโดยแบ่งกลุ่มตามธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ นอกจากนั้นยังมีภาพตำนานนารายณ์ 10 ปาง ซึ่งเขียนออกมาเพียง 8 ปาง เพื่อสื่อนัยลึกซึ้งว่าอวตารปางที่ 9 กำลังประทับ ณ พระเมรุมาศก่อนจะเสด็จกลับสู่ไวกูณฐ์

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสถาบันฝึกสอนช่างฝีมือรุ่นใหม่ๆ ในปี 2525 ขณะทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานงานบูรณะพระบรมมหาราชวัง สำหรับงานสมโภชน์การสถาปนาราชวงศ์จักรี 200 ปี พระองค์ทรงพบปัญหาการหาช่างฝีมือชั้นครู ในปี 2532 สำนักพระราชวังและกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (วิทยาลัยในวังชาย) ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปี 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยังมีพระราชดำริให้ก่อตั้งกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวงขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และมีสาขาที่ศาลายา จังหวัดนครปฐม

     นภัสชนา รัตนศรีชัยวรา นักเรียนช่างทองชั้นปีที่ 1 ที่วิทยาลัยช่างทองวัย 19 ปี กล่าวว่า “เมื่อเรียนจบ เราสามารถทำงานในธุรกิจเครื่องประดับ หรือโรงงานที่ผลิตงานฝีมือก็ได้ แต่ความฝันก็คือการได้ทำงานในสำนักช่างสิบหมู่ ถ้าเรียนจบแล้วหนูจะรีบไปสมัครเลย”

     แม้ไม่ใช่พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สำนักช่างสิบหมู่ก็ไม่ใช่หนทางเดียวที่จะได้ทำภารกิจอันทรงเกียรติ กัมพลอธิบายว่าทางสำนักได้เก็บรวบรวมรายชื่อของช่างฝีมือเอกทั่วประเทศเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของสำนักช่างสิบหมู่หรือไม่ก็ตาม “พวกเขากระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะที่ตั้งของอารยธรรมโบราณอย่างนครศรีธรรมราช ซึ่งมีชื่อเสียงในการผลิตเครื่องถมทอง หรือจังหวัดน่านที่ขึ้นชื่อเรื่องการผลิตเครื่องเงิน ถึงพวกเขาจะไม่ได้ทำงานที่นี่แต่ก็ได้รับการฝึกสอนจากครอบครัวช่างฝีมือเก่าแก่หรือผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นมาแล้ว”

     ขณะที่ช่างฝีมือบางคนไต่ระดับขึ้นมาจากโครงการระดับจังหวัด อย่างเช่น โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) จักรกฤษณ์ สุขสวัสดิ์ ช่างจิตอาสาผู้รับหน้าที่แกะสลักต้นจันทน์สำหรับพระโกศและพระหีบจันทน์ เป็นช่างฝีมือประดับมุกผู้ซึ่งทำงานให้กับโครงการโอทอปจังหวัดนครปฐม โดยทักษะทั้งหมดนั้นเขาฝึกด้วยตนเอง เขาค่อนข้างชื่นชมภารกิจของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) ในเรื่องการสนับสนุนหัตถกรรมไทย “ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศทำงานร่วมกับช่างฝีมือท้องถิ่น ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ แถมยังหาตลาดและจัดเวิร์กช็อปหรือวิดีโอเพื่อสอนเทคนิคใหม่ๆ ให้แก่ช่างฝีมือท้องถิ่นอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างเครือข่ายของช่างฝีมือเอกกับช่างฝีมือท้องถิ่นได้ดีมาก”

     ในวันที่ 26 ตุลาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะถวายพระเพลิงพระบรมศพในพระเมรุมาศ เป็นสัญลักษณ์ว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จสู่สรวงสวรรค์เบื้องบน พร้อมกับที่พระที่นั่งและพลับพลาต่างๆ จะถูกรื้อถอนลง เพื่อทิ้งความอาดูรแห่งการสวรรคตไว้เบื้องหลัง ในยามนั้น ท่ามกลางความพากเพียรนับไม่ถ้วนชั่วโมงของช่างศิลป์ที่สลายเป็นอากาศธาตุเพื่อแสดงธรรมแห่งอนิจจัง สิ่งหนึ่งที่จะยังดำรงอยู่ต่อไปคือชีวิตและความงอกงามของศิลปะไทย อันเป็นของขวัญอีกชิ้นที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานแก่พสกนิกรของพระองค์

Unseen Siam นัยสําคัญของภารกิจอนุรักษ์มรดกภาพถ่ายของชาติท่ามกลางสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นไม่เป็นใจ
Gaining Independence หนังนอกกระแสของไทยกวาดคำชมมาแล้วทั่วโลก ต่างกับกระแสตอบรับในบ้านเกิดลิบลับ
Molam Mania เสียงเพลงจากชนบทห่างไกลของเมืองไทย กําลังสร้างชื่อเสียงขจรไกลไประดับโลก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้