สถานที่บําบัดยาเสพติด มีที่ไหนบ้าง

�������Ѻ��ԡ����Ф�Һ�ԡ�úӺѴ�ѡ��


�������Ѻ��ԡ��
�������Ѻ��úӺѴ��ͧ�ٴ��¡Ѻ�����������Ѥ������Ѻ��úӺѴ��͹��úӺѴ�ѡ�Ҷ֧����Ŵ� ��к���Ѥ�����͡��� ��ͺѵû�ЪҪ��ͧ����������Ѥ�����ѹ�Ҫ��� �ѹ�ѹ��� - �ѹ�ء�� ��ǧ����Դ�Ӻѵ����� 07.30-12.00 �. ��ǧ�����Դ�Ӻѵ����� 13.00-15.30 �.

��Һ�ԡ�úӺѴ�ѡ�Ҽ��������������ʾ�Դ
ʶҺѹ�ӺѴ�ѡ����п�鹿ټ��Դ���ʾ�Դ��觪ҵԺ���Ҫ����
**********************************************

อีกหนึ่งประเด็นร้อนที่สังคมให้ความสนใจถึงกรณีผู้ปกครองร้องเรียนไปยังเพจเฟซบุ๊ก "หมอปลา" ว่า ลูกชายที่อยู่ในศูนย์บำบัดยาเสพติดของวัดท่าพุราษฎร์ จังหวัดกาญจนบุรี ถูกทรมานร่างกาย จนนำไปสู่การช่วยเหลือผู้บำบัดทั้งหมดออกมาจากที่ดังกล่าวได้สำเร็จ รวมทั้ง กระแสดังกล่าวยังถูกนำมานั่งล้อมวงคุยในรายการโหนกระแส ทางช่อง 3 หลายเทปด้วยกัน ซึ่งคุณหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย นั่งเป็นพิธี ซึ่งเรื่องนี้ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างมาก 

 

ปัญหายาเสพติดกับสังคมไทย

 

เมื่อปี 2562 เว็บไซต์สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้ระบุข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตถึงสถานการณ์ผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทยว่า พบผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง ใน 1 ปี จำนวน 1.4 ล้านคน เป็นผู้ใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง จำนวน 1.1 ล้านคน และเป็นผู้ติดสารเสพติด จำนวน 3.2 แสนคน ในจำนวนนี้เข้าสู่ระบบการบำบัดของกรมสุขภาพจิต จำนวน 24,196 คน ซึ่งพบว่า เป็นผู้ป่วยจิตเวชติดสารเสพติดรุนแรง จำนวน 5,757 คน และเป็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) จำนวน 577 คน

 

นอกจากนี้ ยังพบสถิติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรงในสังคมเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น 3.92 เท่า ในปี 2561 ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุรุนแรง จำนวน 267 ราย แบ่งเป็นชายจำนวน 259 ราย และเป็นหญิงจำนวน 7 ราย 

 

ขณะที่ ยังมีรายงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. (The Narcotics Control Board) ระบุว่าจังหวัดกรุงเทพมหานครมีจำนวนผู้เข้ารับการรักษาอาการติดยาเสพติดมากที่สุด รวมถึงการบำบัดอาการติดยาเสพติดประเภทอื่น ๆ ด้วย 

 

จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าในสังคมไทยมีจำนวนผู้ติดยาเสพติด ตกเป็นทาสยามากขึ้น และประเด็นศูนย์บำบัดยาเสพติดของวัดท่าพุราษฎร์ จังหวัดกาญจนบุรี ทรมานทำร้ายร่างกายผู้เข้ารับการบำบัดนั้น ทำให้เห็นว่ายังคงมีหลายครอบครัวที่ต้องการให้บุตรหลานไม่ตกเป็นทาสยาเสพติด 

 

ทำไมต้องบำบัดยาเสพติด?

 

เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเรื้อรังที่อยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งเกิดปัญหาเป็นวงกว้างทั้งด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สิ่งที่น่ากังวลคือ วัยรุ่นที่ใช้สารเพสติดมีแนวโน้มที่จะอายุน้อยลงเรื่อย ๆ  โดยกลุ่มอายุ 12 – 19 ปี มีการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น โดยเริ่มต้นตั้งแต่การติดยาเสพติดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ก่อนจะนำไปสู่สารเสพติดชนิดอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดนั้น เป็นการดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น 3 ระบบที่ต้องทำความเข้าใจคือ

 

1. ระบบสมัครใจ

 

ผู้ติดยาเสพติดสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน


3. ระบบต้องโทษ 

 

ผู้ติดยาเสพติดที่กระทำความผิดและถูกคุมขัง จะได้รับการบำบัดรักษา ในสถานพยาบาลที่กำหนดได้ตามกฎหมาย เช่น ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรมหรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง กระทรวงยุติธรรม

 

4. ระบบบังคับบำบัด

 

ผู้ที่ทางราชการตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย จะต้องถูกบังคับบำบัดตาม

 

โดยต้องได้รับความร่วมมือจากคนในครอบครัวที่ต้องร่วมด้วยช่วยกันในการสื่อสาร โน้มน้ามให้ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้เนิ่นนานไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ แต่ยังก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น การเกิดอาชญากรรมมากขึ้น เป็นต้น 

 

ดังนั้น ครอบครัวขจึงเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยกันผลักดันให้ผู้ที่ตกเป็นทาสยาได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี อย่าให้ต้องเป็นบาดแผลซ้ำ ๆ อย่างกรณีวัดท่าพุ ซึ่งสถานบำบัดยาเสพติดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ได้รวบรวมมาสถานพยาบาลต่าง ๆ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล และเอกชน ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาคให้แล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่ต้องการพาบุตรหลาน หรือคนที่รักเข้ารับการบำบัด รักษายาเสพติด

 

สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดยาเสพติด หรือผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 

 

สำหรับสถาบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่

 

1. โรงพยาบาล

 

  • โรงพยาบาลราชวิถี โทร. 0 - 2246 - 0052 ต่อ 4302 1.2
  • โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. 0 - 2246 - 1400 ถึง 1428 ต่อ 3187 1.3
  • โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 0 - 2411 - 24191 1.4
  • โรงพยาบาลนิติจิตเวช โทร 0 - 2441 - 9026 - 9 1.5
  • โรงพยาบาลตากสิน โทร. 0 - 2863 - 1371 ถึง 2, 0 - 2437 - 0123 ต่อ 1153,1248 


2. คลินิกยาเสพติดในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม. 

 

  • คลินิกยาเสพติด 1 ลุมพินี โทร. 0 - 2250 - 0286 1.7
  • คลินิกยาเสพติด 2 สี่พระยา โทร. 0 - 2236 - 4174 1.8
  • คลินิกยาเสพติด 3 บางอ้อ โทร. 0 - 2424-6933 1.9
  • คลินิกยาเสพติด 4 บางซื่อ โทร. 0 - 2587 - 0873 1.10
  • คลินิกยาเสพติด 5 ดินแดน โทร. 0 - 2245 - 0640 1.11
  • คลินิกยาเสพติด 6 วัดธาตุทอง โทร. 0 - 2391 - 8539 1.12
  • คลินิกยาเสพติด 7 สาธุประดิษฐ์ โทร. 0 - 2284 - 3244 1.13
  • คลินิกยาเสพติด 8 ซอยอ่อนนุช โทร. 0 - 2321 - 2566 1.14
  • คลินิกยาเสพติด 9 บางขุนเทียน โทร. 0 - 2468 - 2570 1.15
  • คลินิกยาเสพติด 10 สโมสรวัฒนธรรม โทร. 0 - 2281 - 9730 1.16
  • คลินิกยาเสพติด 11 ลาดพร้าว โทร. 0 - 2513 - 2509 1.17
  • คลินิกยาเสพติด 12 วงศ์สว่าง โทร. 0 - 2585 - 1672 1.18
  • คลินิกยาเสพติด 13 ภาษีเจริญ โทร. 0 - 2413 - 2435 1.19
  • คลินิกยาเสพติด 14 คลองเตย โทร. 0 - 2249 - 1852 1.20
  • คลินิกยาเสพติด 15 วัดไผ่ตัน โทร. 0 - 2270 - 1985 2. 

 

 
ในส่วนภูมิภาค มีสถานบำบัด ได้แก่

 

1. โรงพยาบาล 

 

  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สายด่วนปรึกษาปัญหายาเสพติด โทร. 02 - 1165 และ โทร. 0 - 2531 - 0080 ถึง 8 2.2
  • โรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 

 

2. ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

 

  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 297 - 976 ถึง 7 2.4
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. (074) 467 - 453, (074) 467 - 468 2.5
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. (043) 245 - 366 2.6
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. (053) 612 - 607 2.7
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โทร. (073) 333 - 291 3. 

 


3. สถานพยาบาลที่ดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

  • บ้านพิชิตใจ แขวงประเวศ กทม. โทร. 0 - 2329 - 1353, 0 - 2329 - 1566 3.2
  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คอมมูนิต้า อินคอน - อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โทร. 0 - 2563 - 1006 - 7, 01 - 2132505 -
  • อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โทร. 01 - 937 - 1345 -
  • อำเภอท่าแร่ จังหวัดสกลนคร โทร.01 - 2120804 3.3
  • ศูนย์เกิดใหม่ (ชาย) อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี โทร. (032) 261038 - 40 3.4
  • ศูนย์เกิดใหม่ (หญิง) อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. (038) 541693 3.5
  • บ้านสันติสุข อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี โทร. 01 - 2181343 3.6
  • บ้านตะวันใหม่ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โทร. 01 - 2101573 3.7
  • บ้านนิมิตใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 277049, (053) 282495 11.

 

หากใครที่ต้องการบำบัดยาเสพติด ลองโทรสอบถามรายละเอียด ขั้นตอนในการเข้ารับการรักษา เช็กประวัติของโรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หรือคลลินิกยาเสพติด ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้เข้าใจอย่างถูกต้อง พร้อมเช็กความน่าเชื่อถือ หรือปรึกษาหน่อยงานที่ดูและ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต ฯลฯ 

 

พลังจากครอบครัว คนในชุมชน ทุกคนช่วยผู้ติดยาเสพติดได้

 

คนในครอบครัว ชุมชน และสังคมสามารถมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังดูแลได้ ด้วยหลัก 4 ข้อง่าย ๆ จากกรมสุขภาพจิตที่อยากขอให้ร่วมด้วยช่วยกัน

 

1. ครอบครัว/ญาติ/อสม./บุคคลที่พบเหตุ สามารถประเมินสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่มีอาการกำเริบ เฝ้าระวัง สังเกตสัญญาณเตือนในการก่อความรุนแรง เช่น ขีดข่วนหรือกรีดตัวเองเป็นรอยแผล ตะโกนด่าผู้อื่นด้วยคำหยาบคายรุนแรง ข่มขู่จะทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ พกพาหรือสะสมอาวุธโดยไม่สมเหตุสมผล รื้อหรือขว้างปาข้าวของกระจัดกระจาย ทำลายสิ่งของจนแตกหัก เป็นต้น ควรควบคุมพฤติกรรม หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ประสานและส่งต่อข้อมูล

 

2. แกนนำ/ผู้นำชุมชน/เจ้าหน้าที่/ตำรวจ รับแจ้งเหตุ และช่วยประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยเจรจาต่อรอง หลังจากผู้ป่วยหายป่วยแล้วลงเยี่ยมบ้านให้กำลังใจ

 

3. เทศบาลและองค์กรบริหารส่วนตำบล/หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนรถและสวัสดิการต่างๆ ในการประสานและนำส่งต่อ

 

4. ประชาชนทั่วไป ร่วมเฝ้าระวัง สังเกตอาการผิดปกติ และสัญญาณเตือนต่าง ๆ หากพบเห็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในสังคม สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งเหตุฉุกเฉิน โทร. 1669 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำตัวเข้ารักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลจิตเวชต่อไป

 

มาร่วมเติมพลังให้ผู้ติดยาเสพติดได้กลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่และห่างไกลยาเสพติดกันได้อีกครั้ง

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

Tag

#กรรชัย กำเนิดพลิย#ข่าวทั่วไป#ข่าวล่าสุด#ข่าววันนี้#คลินิกยาเสพติด#ทาสยาเสพติด#ยาเสพติด#รายการโหนกระแส#วัดท่าพุราษฎร์#ศูนย์บำบัดยาเสพติดของวัดท่าพุราษฎร์#ศูนย์บำบัดยาเสพติดของวัดท่าพุราษฎร์ จังหวัดกาญจนบุรี#ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด#ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคเหนือ#ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคใต้#ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ#หนุ่มกรรชัย#หนุ่มกรรชัยกำเนิดพลอย#หมอปลา#เสพยา#โรงพยาบาล#โรงพยาบาลธัญญารักษ์#โหนกระแส

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้