กรุงศรีอยุธยาสถาปนาเมื่อใด

3 เมษายน ของทุกปีเป็นวัน "สถาปนากรุงศรีอยุธยา" ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา...

Posted by Ayutthaya City Park on Sunday, April 2, 2017

กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย บริเวณที่แม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้ออำนวยต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก จนทำให้เมืองอยุธยาเติบโตเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และการค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียในช่วง พุทธศตวรรษที่ 20 - 23

พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาได้ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดยมีหลักฐานในพระราชพงศาวดารที่กล่าวถึงการสร้างพระเจ้าพแนงเชิงเมื่อ พุทธศักราช 1867 เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ที่แสดงให้เห็นว่าขณะนั้นชุมชนบริเวณนี้มีขนาดใหญ่ มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง จึงมีทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์ในการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ขึ้นได้

จนกระทั่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองเมื่อ พุทธศักราช 1893 โดยรวบรวมกลุ่มเมืองที่มีความสัมพันธ์ทางด้านเครือญาติเข้าด้วยกัน อาทิ เมืองลพบุรี เมืองสุพรรณบุรี เป็นต้น ต่อจากนั้นกรุงศรีอยุธยาได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ มีการขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง สืบต่อมาถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินสืบต่อกันมา 34 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายก่อนที่กรุงศรีอยุธยา จะสิ้นสุดลงใน พุทธศักราช 2310 ทำให้ศูนย์กลางของประเทศไทยต้องย้ายลงมากรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานครตราบจนถึงทุกวันนี้

ลักษณะทางกายภาพของเมืองโบราณกรุงศรีอยุธยา

ศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยา คือ ส่วนที่เป็นเกาะเมือง มีแม่น้ำล้อมรอบ 3 สาย ตัวเกาะมีกำแพงเมืองล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง เมื่อแรกสร้างเมืองในสมัยพระเจ้าอู่ทองนั้นกำแพงเมืองทำด้วยดิน มาเป็นกำแพงอิฐสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กำแพงเมืองมีความยาวโดยรอบประมาณ 12.5 กิโลเมตร หนา 5 เมตร สูง 6 เมตร มีป้อมปืนประจำอยู่โดยรอบ จำนวน 16 ป้อม มีประตุเมือง 18 ประตู ประตูช่องกุด 16 ประตู ประตูน้ำ 20 ประตู รวมทั้งสิ้น 99 ประตู

อยุธยาถูกออกแบบให้เป็นเมืองน้ำ ผังเมืองที่สมบูรณ์และสวยงามเกิดจากความรู้จากธรรมชาติอย่างลึกซึ่ง เพราะแม่น้ำหลัก 3 สาย นอกจากจะนำความอุดมสมบูรณ์มาสู่เมืองอยุธยาแล้ว เมื่อถึงฤดูฝน ปริมาณน้ำจะมีมาก และไหลหลากลงมามากเกินความจำเป็น ดังนั้นการสร้างเมืองของชาวอยุธยาจึงได้รักษาแม่น้ำลำคลองของเดิมเอาไว้ และมีการขุดคูคลองเพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวเหนือใต้ ให้เป็นแนวตรง เชื่อมต่อกับแม่น้ำลำคลองเดิม ทำให้กระแสน้ำระบายออกไปจากตัวเมืองได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้เมืองอยุธยา มีแม่น้ำลำคลองจำนวนมาก เป็นเครือข่ายโยงใยกัน ทั้งนอกเมืองและในเมือง และแนวคลองต่างๆก็แบ่งพื้นที่ให้เป็นลักษณะเกาะขนาดเล็กจำนวนมาก สำหรับเป็นเขตวัด เขตวัง และที่อยู่อาศัย

นอกจากนี้ยังมีแนวถนนที่ขนานไปกับแนวคูคลอง มักสร้างเป็นถนนดิน ถนนอิฐ โดยมีสะพานจำนวนมากสร้างข้ามคลอง มีทั้งสะพานไม้ สะพานอิฐ สะพานก่อด้วยศิลาแลง สะพานสายโซ่ สะพานยก รวมทั้งสิ้นกว่า 30 สะพาน นอกตัวเมืองเป็นที่ต่ำกว่าใช้เป็นพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม มีแม่น้ำลำคลองนำน้ำเข้าไปหล่อเลี้ยงอย่างทั่วถึง สองฝั่งน้ำเหล่านั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวอยุธยาซึ่งจะปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นกลุ่มๆ สลับไปกับวัดวาอาราม

การปกครองสมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาปกครองรูปแบบที่มีกษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองแผ่นดินพระองค์ทรงมอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครองดูแลเมืองลูกหลวงหลานหลวง และเมืองหน้าด่านต่างพระเนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชมีเจ้านายในราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาเมืองราชธานี

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง ลดทอนอำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ในฝ่ายพลเรือนนั้นยังแบ่งออกเป็น 4 กรม หรือจตุสดมภ์ คือสี่เสาหลัก ได้แก่ กรมเวียงหรือนครบาลทำหน้าที่ปกครองดูแลบ้านเมือง กรมวังหรือธรรมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับงานต่างๆ ในพระราชวังและราชสำนัก กรมคลังหรือโกษาธิบดี ทำหน้าที่ดูแลด้านการค้า และการต่างประเทศกรมนา หรือเกษตราธิการ ทำหน้าที่ดูแลเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบการปกครองนี้ใช้สืบต่อมาตลอดสมัยอยุธยา

การปกครองสมัยอยุธยา

สังคมอยุธยามีการแบ่งเป็นชนชั้นต่างๆ แยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ชนชั้นสูงหรือมูลนาย ประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดในฐานะพระประมุข ระดับรองลงมาคือ พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าเมืองและขุนนาง ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรสามัญชนทำหน้าที่ควบคุมชนชั้นใต้ปกครอง นั่นก็คือ ไพร่และทาส

ไพร่ คือพลเมืองสามัญ เป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม ซึ่งกฎหมายกำหนด ให้ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย เป็นระบบควบคุมกำลังคน ของทางราชการ ไพร่ถูกเกณฑ์แรงงานไปทำราชการให้หลวงปีละ 6 เดือน แต่หากไพร่คนใดที่ไม่ต้องการ จะถูกเกณฑ์แรงงาน จะต้องจ่ายเงินหรือสิ่งของเพื่อทดแทนแรงงาน เรียกว่าส่วย แรง งานไพร่ จะไม่มีเงินเดือนเป็นค่าตอบ แทน แต่สิ่งที่ไพร่จะได้รับคือการปกป้องคุ้มครองจากมูลนายที่ตนสังกัด

ทาส คือแรงงานของมูลนายตลอดชีวิต อันเนื่องมาจากเหตุผลทาง ด้านสงครามด้านเศรษฐกิจ การสืบสายเลือดทาสนั้นจะถูกเลี้ยงดูโดยมูลนายไปตลอดชีวิต

เศรษฐกิจและการค้า

อาชีพหลักของชาวอยุธยาคือ เกษตรกรรม มีข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญสามารถผลิตได้มากเพียงพอสำหรับพลเมืองของประเทศและยังเป็นสินค้าสำคัญอย่างหนึ่งที่อยุธยาส่งไปขายตลาดต่างชาติ

เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญของโลก ดังนั้นอยุธยาจึงมีรายได้จากการค้าทั้งจากการส่งสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศและจากการเป็นพ่อค้าคนกลางโดยราชสำนักตั้งพระคลังสินค้าขึ้นมาผูกขาดสินค้าสำคัญบางประเภทซึ่งพ่อค้าต่างชาติ จะต้องซื้อขายกับราชสำนักเท่านั้น

การค้าขายต่างประเทศ อยู่ภายใต้กรมคลังมีออกญาศรีธรรมราชเป็นผู้ควบคุมดูแล ในระยะแรกนั้นมีการแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือกรมท่าขวา สังกัดออกพระจุฬาราชมนตรีขุนนางแขกซึ่งจะดูแลการค้ากับโลกตะวันตก กับกรมท่าซ้ายสังกัดพระยาโชฎึกราชเศรษฐี ขุนนางจีนซึ่งจะดูแลการค้าฝ่ายตะวันออก ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อมีชาวยุโรปเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้นจึงเกิดมีกรมท่ากลางขึ้นมาอีกกรมหนึ่งมีขุนนางฝรั่งดูแล

พระมหากษัตริย์และขุนนางมีสำเภาค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนมากมีชาวจีนรับจ้างเป็นนายเรือและลูกเรือ สินค้าส่งออกของอยุธยาคือผลิตผลทางการเกษตรเครื่องสังคโลก และผลิตผลจากป่า เช่น งาช้าง หนังสัตว์ ไม้ เครื่องเทศ และแร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น

รายได้หลักของราชสำนักอีกส่วนหนึ่งมากจากบรรณาการ ส่วยและภาษีอากรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีการค้าขายกับต่างประเทศ ด้านการค้าภายในย่านการค้าและตลาดใหญ่น้อยตั้งอยู่ทั้งในเมืองและนอกเมือง ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและเปลี่ยนสินค้า

ส่วนตลาดในกรุงศรีอยุธยามี 2 ประเภท คือ ตลาดน้ำขนาดใหญ่มีอยู่ 4 แห่ง และตลาดบกอีกราว 72 แห่ง อยู่นอกเมือง 32 แห่ง อยู่ในเมือง 40 แห่ง ย่านการค้าและตลาดเหล่านี้มีทั้งตลาดขายของสดเช้าเย็น ตลาดขายสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต (ของชำ) และสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของย่านไม่เหมือนกับที่อื่น

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

อยุธยามีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างชาติทั้งประเทศเอเชีย และประเทศตะวันตก ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า มอญ เขมร ลาว ญวน และมลายู ส่วนมากเกี่ยวกันทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการค้า ในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เครือญาติ หรือในฐานะเมืองประเทศราช ซึ่งบางครั้งก็ต้องทำสงคราม เพื่อชิงความเป็นใหญ่เหนือแผ่นดินของกันและกัน

ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เปอร์เซีย มักจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในด้านวัฒนธรรมการค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนและเปอร์เซีย ได้เข้ามารับราชการในกรมคลังดูแลเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศ ให้ราชสำนักอยุธยา ในงานศิลปกรรมสมัยอยุธยาก็มีอิทธิพลของศิลปะจีน อินเดีย และเปอร์เซีย ปรากฏอยู่

สำหรับประเทศตะวันตกนั้นอยุธยาติดต่อ กับชาวโปรตุเกสเป็นชาติแรกในรัชกาลสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 หลังจากนั้นก็มีชาวตะวันตกชาติอื่นตามเข้ามา ได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นต้น การเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยา จุดมุ่งหมายเพื่อในการค้าขาย และการเผยแพร่คริสต์ศาสนา เป็นสำคัญ พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงระมัดระวังในการดำเนินนโยบายทางด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงผูกมิตรกับทุกชาติ ที่เข้ามาติดต่อเพื่อให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน

นอกจากผลดีด้านเศรษฐกิจแล้ว การติดต่อกับประเทศตะวันตก ทำให้อยุธยาได้เรียนรู้วิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ทางด้านการทหาร การสร้างป้อมและกำแพงเมืองอย่างยุโรป การใช้ปืนในการทำสงคราม ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ การประปาและการจัดสวน เป็นต้น โดยชาวตะวันตกบางกลุ่มได้เข้ามารับราชการรับใช้ราชสำนักเป็นทหารอาสา เป็นทหารรับจ้าง เป็นราชองครักษ์และเป็นวิศวกร

พระมหากษัตริย์ทรงอนุญาตและมอบที่ดิน ให้ชาวต่างชาติตั้งหมู่บ้าน ตั้งสถานีการค้า และสร้างศาสนสถานเพื่อประกอบพิธีกรรมได้อย่างอิสระ หมู่บ้านของชาวต่างชาติส่วนมากตั้งอยู่นอกเมือง มีเฉพาะชาวจีน ชาวฮินดู และแขกเพียงบางกลุ่ม ซึ่งมีความสำคัญใกล้ชิดกับราชสำนักมาแต่เดิมเท่านั้นที่กำหนดให้สร้างบ้านเรือนอยู่ภายในเมือง

ประวัติการดำเนินงานอนุรักษ์เมืองพระนครศรีอยุธยา

ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพแล้ว ทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วโปรดให้อพยพชาวอยุธยาไปเป็นกำลังสำคัญอยู่ที่กรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นในปี พุทธศักราช 2325 ได้มีการรื้ออิฐจากกำแพงเมืองและอาคารศาสนสถานจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อนำไปใช้ในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ให้มั่นคง

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะรื้อฟื้นเมืองอยุธยา จึงโปรดให้มีการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานต่างๆ ในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ทรงสร้างพระราชวังจันทรเกษมไว้เป็นที่ประทับ เป็นต้น ถึงแม้การดำเนินงานดังกล่าวจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชสมัยของพระองค์ ก็นับว่าเป็นการริเริ่มกลับมาให้ความสำคัญแก่กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง

ต่อมาในปี พุทธศักราช 2451 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ให้สงวนที่ดินเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาไว้เป็นสาธรณสมบัติของแผ่นดินห้ามเอกชนถือครอง ทรงมอบให้พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าการมณฑลกรุงเก่าขณะนั้นดำเนินการสำรวจขุดแต่งโบราณสถานเมืองอยุธยา และปรับปรุงสภาพภายในพระราชวังโบราณ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จะอนุรักษ์พระนครศรีอยุธยาไว้ในฐานะที่เป็นหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เป็นครั้งแรก

พุทธศักราช 2475 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลภายใต้การนำของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้สนับสนุนให้มีการตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและที่ดินร้างภายในกำแพงเมืองให้กระทรวงการคลังถือครอง

พุทธศักราช 2478 กรมศิลปากรในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้เริ่มประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่สำคัญในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นโบราณสถานของชาติ จำนวน 69 แห่ง

พุทธศักราช 2481 กระทรวงการคลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาให้เอกชนเข้าใช้พื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงเมืองร้างให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าและการปกครอง

พุทธศักราช 2499 รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาหลายแห่ง เช่น วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วิหารพระมงคลบพิตร และภูเขาทอง เป็นต้น แต่ พุทธศักราช 2500 การดำเนินการหยุดชะงักไป เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ และกระทรวงวัฒนธรรมถูกสั่งยุบ

พุทธศักราช 2510 คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการสำรวจ ขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและบริเวณใกล้เคียงโดยให้สำนักผังเมืองในสังกัดกระทรวงมหาดไทย กรมศิลปากร และเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา ร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ

พุทธศักราช 2511 กรมศิลปากรได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 1,000,000 บาท สำหรับดำเนินการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานที่สำคัญตามโครงการพัฒนาเกาะเมือง

พุทธศักราช 2519 กรมศิลปากรได้ประกาศเขตพื้นที่ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1,810 ไร่ เป็นโบราณสถาน โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พุทธศักราช 2519

พุทธศักราช 2525 กรมศิลปากรได้จัดตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาขึ้นมาดูแลและบริหารจัดการโบราณสถานที่ประกาศขึ้นทะเบียนไว้ 1,810 ไร่

พุทธศักราช 2530 เริ่มดำเนินการโครงการจัดทำแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และบริเวณใกล้เคียง

พุทธศักราช 2534 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO มีมติ ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2534 ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา

พุทธศักราช 2536 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามแผนแม่บท โครงการอนุรักษ์และนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พุทธศักราช 2536

พุทธศักราช 2540 กรมศิลปากรประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานพระนครศรีอยุธยาในเกาะเมืองเพิ่มเติมอีก 3,000 ไร่ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ตอนที่ 62 หน้าที่ 40 ลงวันที่ 21 มกราคม พุทธศักราช 2540 ทำให้พื้นที่เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา 4,810 ไร่ เป็นเขตโบราณสถาน

พุทธศักราช 2537-2544 กรมศิลปากรดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนแม่บทฯ โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาล และภาคเอกชนสนับสนุนเป็นจำนวนเงิน 862.73 ล้านบาท

พุทธศักราช 2548 - ปัจจุบัน ภายหลังจากที่แผนแม่บทได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว กรมศิลปากรได้ยึดแนวทางตามกรอบแผนแม่บทฉบับเดิมในการดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาอย่างต่อเนื่องและดำเนินการจัดทำแผนแม่บทฉบับใหม่เพื่อการประกาศใช้ต่อไป

การสถาปนากรุงศรีอยุธยามีความเป็นมาอย่างไร

การสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีนั้น จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มอำนาจ 2 กลุ่ม ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือแคว้นละโว้-อโยธยา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยผู้คนในกลุ่มนี้ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการเมืองจากอาณาจักรเขมรโบราณ ...

กรุงศรีอยุธยาเกิดขึ้นเมื่อใด

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33.

อาณาจักรและแคว้นใดที่อยู่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยา กรุงศรีอยุธยาถือกำเนิด เมื่อประมาณ พ.ศ.1893 ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งในขณะนั้น ได้มีอาณาจักรคนไทยอื่น ๆ ตั้งบ้านเมืองเป็นชุมชนที่เจริญอยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ ละโว้ (ลพบุรี) อู่ทอง (สุพรรณภูมิ) และอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งกำลังเสื่อมอำนาจลงมาแล้วในขณะนั้น

เหตุผลในข้อใดเป็นเหตุผลในการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยามีที่ตั้งที่เหมาะสม เนื่องจากมีแม่น้าสาคัญไหลผ่านถึง 3 สาย Page 10 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา 1. มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก 2. สะดวกแก่การคมนาคม เพราะตั้งอยู่ในเส้นทางค้าขาย 3. มีความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์ Page 11 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสถาปนาอาณาจักรอยุธยา 4. การสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็น ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้