ย้ายเข้าบ้านต้องแจ้งภายในกี่วัน

การย้ายเข้า

ต้องแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วันนับแต่วันแจ้งย้ายออก หากไม่แจ้งย้ายเข้าภายในระยะเวลาที่กำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมาเอง

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  3. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2

หลักฐานที่ใช้ กรณีมอบหมายและผู้รับมอบหมายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะผู้รับมอบหมาย
  3. ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
  4. ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”

หลักฐานที่ใช้ กรณีมอบหมายและผู้รับมอบหมายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

1 บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3 ใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และตอนที่ 2
4 ให้เจ้าบ้านลงลายมือชื่อในใบแจ้งย้ายที่อยู่ช่อง “เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้า”
5 หนังสือมอบหมายให้มาดำเนินการแจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้าน

การย้ายออก

หากมีผู้ย้ายออกจากบ้านใดให้เจ้าบ้านนั้นแจ้งย้ายผู้นั้นออกไปใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก หากไม่แจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดมีโทาปรับไม่เกิน 1,000 บาท

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมาเอง

1  บัตรประตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
2  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมอบหมาย

1  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะที่ได้รับมอบหมาย
4  หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน

หลักฐานที่ใช้ กรณีเจ้าบ้านมอบหมาย และผู้รับมอบหมายไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

1  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือสำเนาภาพถ่ายลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
2  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งในฐานะได้รับมอบหมาย
4  หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน

การแจ้งย้ายปลายทางอัตโนมัติ

ผู้ประสงค์จะย้ายที่อยู่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการแจ้งย้ายออกจากสำนักทะเบียนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยสามารถติดต่อขอแจ้งย้ายเข้าต่อนายทะเบียนที่จะย้ายเข้า โดยให้ผู้ประสงค์แจ้งด้วยตนเอง

   หลักฐานที่ใช้

1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2 หนังสือยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน (กรณีเจ้าบ้านไม่ได้มาด้วยตนเอง)
3 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้ายและบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
4 เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

    หมายเหตุ

อนึ่ง การย้ายที่อยู่ของคนต่างด้าว ต้องมีการแจ้งย้ายที่อยู่ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวทองที่ (สน.) ด้วยทั้งกรณีย้ายเข้าและย้ายออก

การแจ้งย้ายบุคคลเข้าทะเบียนกลางของสำนักทะเบียน

บุคคลใดออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นเกินกว่า 180 วันถ้าไม่ทราบว่าบบุคคลดังกล่าวไปอยู่ที่ใดหรือเป็นใคร ให้เจ้าบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อบุคคลนั้นออกจากทะเบียนบ้าน โดยนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน เพื่อแจ้งย้ายชื่อบุคคลไปเข้าทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียนบ้านกลางของสำนักทะเบียน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

  หลักฐานที่ใช้

1 บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
2 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

การแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านกลาง

ให้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง ยื่นคำร้องขอแจ้งย้ายออกด้วยตนเอง ยกเว้นกรณีที่ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกลางเป็นผู้เยาว์ ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่ชอบด้วยกำหมายเป็นผู้แจ้งย้ายออกแทน

   หลักฐานที่ใช้

1 บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานแสดงตัวของผู้แจ้ง สูติบัตร
2 คำสั่งศาล หรือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย (กรณีแจ้งย้ายให้ผู้เยาว์)
3 พยานหรือบุคคลที่เชื่อถือได้

การขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อ แจ้งที่ฝ่ายทะเบียนเขตท้องที่ตามกฎหมายกำหนด

   หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้

1 หลักฐานของผู้เพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หลักฐานการศึกษา หลักฐานการผ่านการอุปสมบท หลักฐานการรักษาพยาบาล บัตรประจำตัวลูกเสือชาวบ้าน หลักฐานการทหาร
2 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3 หลักฐานการเคยมีชื่อในทะเบียนบ้านฉบับก่อนปี พ.ศ. 2499 (ถ้ามี) เช่น สำมะโนครัว ปี พ.ศ. 2460 และปี พ.ศ. 2489 สูติบัตร
4 หัวหน้าครอบครัวตามทะเบียนบ้านเดิม (ถ้ามี)
5 เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน

การเพิ่มชื่อ กรณีคนสัญชาติไทยที่เกิดในต่างประเทศ โดยมีหลักฐาน การเกิดที่แสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย

หลักฐานประกอบการแจ้ง
1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่จะเพิ่มชื่อ
2 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (ถ้ามี)
3 หลักฐานทะเบียนการเกิด สูติบัตร หรือหลักฐานการเกิด ซึ่งออกโดยรัฐบาลประเทศที่เกิด ซึ่งแปลและรับรองคำแปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ
4 หนังสือเดินทางประเทศไทยหรือต่างประเทศของผู้ขอเพิ่มชื่อ
5 พยานบุคคลที่น่าเชื่อถือซึ่งสามารถรับรองและยืนยันตัวบุคคลได้

การเพิ่มชื่อ กรณีเดินทางกลับจากต่างประเทศโดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย

ให้ผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน สำนักทะเบียน ท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบันนายทะเบียนจะส่งตัวผู้ขอเพิ่มชื่อให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อขอพิสูจน์สัญชาติ เมื่อได้รับหนังสือยืนยันว่าผู้ขอเป็นคนสัญชาติไทย จึงจะดำเนินการให้ตามระเบียบต่อไป

   หลักฐานและพยานบุคคลที่ต้องใช้

1 หนังสือยืนยันจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นคนสัญชาติไทย
2 หลักฐานผู้ขอเพิ่มชื่อ (ถ้ามี) เช่น หนังสือเดินทาง หลักฐานแสดงการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3 สำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้าน
4 เจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น บิดามารดา ญาติพี่น้อง ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรพร้อมบัตรประจำตัวประชาชน

การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน

บุคคลที่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่งให้เจ้าบ้านหรือผู้ที่มีชื่อว้ำ ยื่นคำร้องต่อานายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันหรือท้องที่ที่มีชื่อซ้ำ เพื่อยืนยันที่อยู่ที่แน่นอนเพียงแห่งเดียว

  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือผู้ที่มีชื่อซ้ำ
2 ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3 ทะเบียนบ้านที่มีชื่อและรายการบุคคลซ้ำ

การแก้ไขรายการในสูติบัตร มรณบัตร และทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ใช้ กรณีที่มีเอกสารราชการมาแสดง

1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2 บัตรประจำตัวประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3 เอกสารราชการที่ต้องการแก้ไข
4 เอกสารอ้างอิง เช่น ทะเบียนบ้านฉบับปี พ.ศ. 2499, ปี พ.ศ 2515
5 หลักฐานของบิดา มารดา เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบมรณบัตร

หลักฐานที่ใช้ กรณีที่ไม่มีเอกสารราชการมาแสดง

1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
3 หลักฐานเอกสารและพยานบุคคลที่เชื่อถือได้

การตรวจ ค้น คัดและรับรองาำเนารายการทะเบียนราษฎร

การคัดรับรองสำเนารายการของตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่มีภูมิลำเนาปัจจุบัน โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
2 หนังสือมอบอำนาจ และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
3 ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท

เจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่ปรากฎรายการทะเบียนราษฎร

  หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง
2 หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
3 หนังสือมอบอำนาจ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ(กรณีเจ้าบ้านหรือผู้มีส่วนได้เสียมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน)
4 ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท

บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีส่วนได้เสียยื่นคำร้อง

ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ปรากฎรายการทะเบียนราษฎร โดยเสียค่าธรรมเนียมตาที่กำหนดในกฎกระทรวง

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

1 บัตรประจำคัวประชาชน
2 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจผูกพัน (กรณีเป็นนิติบุคคล)
3 หลักฐานแสดงความเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นหนังสือนิติกรรมสัญญาต่างๆ คำสั่งศาลใบแต่งตั้งทนายหรือหนังสือมอบอำนาจจากคู่ความและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง
4 ค่าธรรมเนียมฉบับละ 10 บาท

ย้ายทะเบียนบ้านกี่วันถึงจะย้ายออกได้

การแจ้งย้ายทะเบียนบ้าน หรือ การแจ้งย้ายที่อยู่ เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งย้ายที่อยู่ของบุคคลในบ้านเพื่อให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ ตรงตามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการในทะเบียนบ้าน โดยต้องแจ้งย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคนย้ายออก และต้องแจ้งย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีคนย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านนั้น การที่มีการกำหนด ...

การย้ายที่อยู่ถ้าไม่ไปแจ้งย้ายสำมะโนครัวจะเกิดผลเสียอย่างไร

การย้ายเข้า ผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน หากไม่แจ้งภายในกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท กรณีเจ้าบ้านมาดำเนินการด้วยตนเอง – บัตรประจำตัวของเจ้าบ้าน – สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

เด็กแรกเกิดต้องย้ายเข้าทะเบียนบ้านภายในกี่วัน

2.1 เด็กเกิดในบ้าน (อาคารที่มีบ้านเลขที่รวมถึงสถานพยาบาล) ให้เจ้าบ้านหรือบิดามารดาแจ้งต่อนายทะเบียนที่เด็กเกิด หรือสำนักทะเบียนที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การย้ายบ้านจะต้องแจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนเข้าไปอยู่แห่งใหม่ภายในระยะเวลาเท่าใด

ทะเบียนบ้านเป็นเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญ จะมีการระบุรายละเอียดของที่ตั้งบ้านและบุคคลต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน โดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการย้ายที่อยู่ ทางทะเบียนราษฎร์ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ที่ย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ต้องทำการแจ้งย้ายเข้าบ้านภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการย้ายบ้าน โดยหากไม่ทำตามจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้