งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดช่วงไหน

"จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" เห็นพ้องเลื่อนงานบอลประเพณีเหตุโควิด-19 ระบาด ยันจัดงานครั้งต่อไปให้คงอัญเชิญ "พระเกี้ยว" สืบสานประเพณีอันดีงาม "ชัยวุฒิ" โวย อบจ.ไม่มีอำนาจตัดสินแทนคนอื่น "หมอวรงค์" ห่วงเด็กตกเป็นเครื่องมือพวกหวังด้อยค่าสถาบัน

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศเรื่อง แนวทางการจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ม.ธรรมศาสตร์ โดยระบุว่า "จากที่ได้จัดงานประเพณีฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สืบเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ และหลอมรวมความสมัครสมานสามัคคีระหว่างนิสิตเก่า ศิษย์เก่า และนิสิต นักศึกษา ทั้งสองสถาบัน และร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับสังคมไทย ในการจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 นี้ สมาคมธรรมศาสตร์ในฐานะเจ้าภาพได้มีหนังสือแจ้งลงวันที่ 30 ก.ย.64 แจ้งขอเลื่อนกำหนดการแข่งขันฟุตบอลฯ ออกไปก่อน เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ก็เห็นพ้องด้วยเพื่อร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

การจัดงานฟุตบอลประเพณีฯ ในครั้งต่อๆ ไป สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ยังคงสืบสานให้มีการอัญเชิญพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระปิยมหาราช และสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในจุฬาฯ ของเหล่านิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันทั้งมวล" แถลงการณ์ระบุ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ในฐานะที่ตนเป็นนิสิตเก่า องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) เป็นเพียงผู้ประสานงาน ไม่มีอำนาจตัดสินใจอะไรแทนคนทั้งมหาวิทยาลัย กิจกรรมทั้งหมดเป็นเรื่องของนิสิตและศิษย์เก่าที่มาช่วยกัน อย่าไปมองว่าเป็นเรื่องของคณะกรรมการ อบจ.ที่มีอยู่ประมาณ 20 คน มาเป็นคนตัดสินให้ใครทำนั่นทำนี่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีวัฒนธรรม มีศักดิ์ศรี​ ความภาคภูมิใจ และมีศิษย์เก่ามากมาย ดังนั้น​การจะทำอะไรก็ขอให้คิดถึงเรื่องในอดีตและคิดถึงคนอื่นเขาด้วย

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อเรื่อง "ความเท่าเทียมไม่มีจริง" ว่า "กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว สนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน ข้อความดังกล่าวของแถลงการณ์ที่นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ เผยแพร่ออกมา ไม่ใช่สะเทือนความรู้สึกของชาวจุฬาฯ เท่านั้น แต่สะเทือนความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศด้วย เพราะจุฬาฯ เป็นของประชาชน ไม่ใช่ของเขา ไม่เพียงแต่เขากำลังทำลายรากทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน ที่คนไทยร่วมภูมิใจกับชาวจุฬาฯ แต่ลึกๆ แล้ว เขาต้องการด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยอ้างคำที่สวยหรูคือความเท่าเทียม

อยากจะบอกน้องๆ กลุ่มนี้ว่า ความเท่าเทียมไม่มีจริง ไม่ว่าประเทศไหนในโลก เป็นเพียงวาทกรรมไว้ปลุกระดม หลอกคนที่ไม่มีวุฒิภาวะ ไม่มีประสบการณ์ชีวิต เป็นเหยื่อให้เขาหลอกใช้ เพื่อให้เขาได้อำนาจ ไม่เชื่อไปดูที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็ได้ว่า คนที่นั่นเท่าเทียมกันไหม ในฐานะที่ผมก็เคยเป็นนายกสโมสรนักศึกษาเคยถูกปั่นมาแล้ว ขอแนะนำน้องๆ ว่า ถ้าคิดว่าคิดผิด ควรที่จะปรับปรุงตนเอง ตั้งใจเรียนให้จบ หางานทำ เพื่อสร้างชีวิตที่ดี เมื่อเหมาะสมให้มาเป็นนักการเมือง อย่าเข้ามาโกง แค่นี้ประชาชนก็จะสรรเสริญ ไม่ใช่เรียนเท่าไรก็ไม่ยอมจบ อยู่เพื่อถูกเป็นเครื่องมือ ให้เขาหลอกใช้ ด้วยวาทกรรมหลอกเด็ก สุดท้ายก็ติดคุกหลายคน ส่วนคนที่หลอกเด็กก็ยังสุขสบาย" นพ.วรงค์ระบุ

ม.จ.จุลเจิม ยุคล หรือท่านใหม่ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก พร้อมโฉนดที่ดินระบุว่า "มิใช่เป็นการทวงบุญคุณ น้ำพระทัยอันประเสริฐยิ่งและเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลของปวงชนชาวไทยและนิสิตจุฬาฯ ตั้งแต่รุ่น 1 ลงมาจนปัจจุบัน ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลเกินกว่าใครๆ ในหล้า พระราชทานที่ดิน 700 ไร่ให้เป็น 'สถานศึกษา' ระดับอุดมศึกษาแห่งแรกอายุครบร้อยปีแล้ว และเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลและที่แห่งนั้น คือ 'จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย'

และใครได้ประโยชน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมิใช่หรือ และจุฬาฯ คืนอะไรๆ ให้แก่สังคมมากน้อยแค่ไหน นอกจาก 'สอนหนังสือให้ความรู้' อยากรู้จริงๆ มาวันนี้ 'ผู้บริหารจุฬาฯ' ควรต้องทำหน้าที่ปกป้อง 'ชาติบ้านเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์' อย่างเป็นรูปธรรมให้คนไทยทั้งชาติด้วยนะครับ".

“งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์” กิจกรรมและวัฒนธรรมระหว่างสองมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมกันสืบสานมาอย่างเนิ่นนาน แต่จากแถลงการณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ยกเลิกกิจกรรมขบวน “อัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ เนื่องจากกิจกรรมขัดต่อหลักความเท่าเทียม และยังเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่ถูกต้องในการบังคับให้นิสิตทั่วไปมาแบกเสลี่ยง จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่อง “พระเกี้ยว” ทั้งศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน จนล่าสุด เพจ องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำแบบสำรวจ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ควรมีต่อหรือพอแค่นี้? เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ "อนาคตงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์" ที่ //bit.ly/3nwEQtZ

ประวัติ งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯเป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น 2 มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 แต่ละมหาวิทยาลัยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันทุกปี ชื่อของมหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพจะได้รับเกียรติให้ขึ้นต้นชื่องานฟุตบอลประเพณีในปีนั้น สถานที่จัดการแข่งขันจะไม่สลับตามเจ้าภาพ แต่จะจัดงานที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นประจำทุกปี กองเชียร์ของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศเหนือ อีกฝ่ายจะใช้อัฒจันทร์ฝั่งทิศใต้

กิจกรรมภายในงานอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การแข่งขันฟุตบอล และกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างนิสิตจุฬาฯ กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น การเดินพาเหรด การเชียร์ การแปรอักษร ขบวนพาเหรดล้อการเมืองและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์


ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว และตราธรรมจักร

ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว และตราธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยทั้งสองสถาบัน จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ซึ่งในแต่ละปีแต่ละสถาบันจะจัดขบวนอัญเชิญในงานฟุตบอลประเพณี การอัญเชิญตราสัญลักษณ์เข้ามาในสนามแข่งขัน “งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์” เป็นการเปิดงาน โดยทางจุฬาฯ จะอัญเชิญตราพระเกี้ยว ทางธรรมศาสตร์จะมีตราธรรมจักร 

ด้าน “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าหลวงทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งเป็นผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัย เข้ามาในงาน และเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาและกองเชียร์งานฟุตบอล ดังประโยคของชาวจุฬาฯ ที่ว่า "สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักอยู่เป็นคู่ขวัญ" นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคน สามารถเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวได้ เนื่องจากเป็นผู้ใช้พระเกี้ยวเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา แต่ในงานฟุตบอลประเพณีฯ ไม่สามารถให้นิสิตจุฬาฯ ทุกคนขึ้นอัญเชิญพระเกี้ยวได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องคัดเลือกนิสิตจุฬาฯ ที่มีความเหมาะสม

  • พระเกี้ยว คืออะไร? เปิดประวัติ “พระเกี้ยว” มีความสำคัญอย่างไรต่อ งานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

ด้าน “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์” ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักร และดรัมเมเยอร์ ได้มาจากการคัดเลือกเช่นเดียวกับการอัญเชิญ “พระเกี้ยว” ของจุฬาฯ และเคยถูกยกเลิกการคัดเลือกไปเมื่อปี 2516 จนเป็นที่มาของคำขวัญว่า "ธรรมจักรเป็นของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน ทุกคนจึงมีสิทธิในการอัญเชิญได้" ก่อนจะกลับมาคัดเลือกผู้นำในขบวนอัญเชิญธรรมจักรและดรัมเมเยอร์อีกครั้ง เพื่อทำหน้าที่ในการบำเพ็ญประโยชน์ ตลอดจนการรณรงค์และส่งเสริมให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกันมากขึ้นกลับมา ในชื่อว่า "ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" จะพิจารณาถึงทั้งลักษณะ บุคลิก ความรู้ความสามารถ ทั้งในด้านการเรียน และในความรู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การมีจิตอาสา มีคุณธรรมและพร้อมที่จะช่วยเหลือแก่สังคม โดยเริ่มตั้งแต่ 2545 เป็นต้นมา 


งานเชียร์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

ประธานเชียร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือฝั่งจุฬาจะเรียกว่า "ประธานเชียร์" นอกจากจะทำหน้าที่นำเชียร์ ควบคุมจังหวะการร้องเพลงเชียร์ของสแตนด์แล้ว ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนิสิตจุฬา ในการประชาสัมพันธ์งานฟุตบอลประเพณีฯ และบำเพ็ญประโยชน์แก่สาธารณะอีกด้วย

แม่ทัพเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือฝั่งธรรมศาสตร์จะเรียกว่า "แม่ทัพเชียร์" เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้านำกองเชียร์ร้องเพลง ส่งเสียงเชียร์ ปโดยทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีแนวคิดและต้นแบบแรงบันดาลใจจาก ผู้ควบคุมวงดนตรีหรือวาทยากร ที่ทำหน้าที่นำการเล่นดนตรีวงใหญ่หรือการร้องประสานเสียง ผู้นำเชียร์นั้นนอกจากจะมีท่วงท่าสง่างาม ยังมีรหัสสัญญาณมือที่สื่อความหมายสามารถประยุกต์ใช้กับการร้องเพลงเป็นหมู่คณะของกองเชียร์


เพลงประจำการแข่งขัน

  • เพลงพระราชนิพนธ์ของทั้งสองมหาวิทยาลัย
  • เพลงของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง
  • เพลงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ เพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์
  • เพลงจามจุรีประดับโดมในดวงใจ เป็นการนำเพลงของทั้งสองมหาวิทยาลัยมาร่วมกันคือเพลงจามจุรีประดับใจ และเพลงโดมในดวงใจ
  • เพลงชั่วดินฟ้า เป็นเพลงของจุฬา และธรรมศาสตร์บอกถึงความรักความสามัคคีของทั้งสองสถาบันนี้
  • เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา สามัคคี แต่งโดยจิตร ภูมิศักดิ์
  • เพลงธรรมศาสตร์-จุฬา ภาราดรณ์ ไม่ปรากฏผู้แต่ง


ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย , หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

งานบอลจุฬา ธรรมศาสตร์ จัดวันไหน

4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 (ธรรมศาสตร์) จัดขึ้นทุก 1 ปี

งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ

ส่วนขบวนพาเหรดนั้นมีขึ้นอย่างจริงจังในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ ๕ ปีพ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่อย้ายมาจัด ณ สนามศุภชลาศัย ซึ่งเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ มีพื้นที่กว่างขวางโดยขบวนพาเหรดสมัยก่อนจะมีความยาวมากประกอบด้วยดรัมเมเยอร์ วงดุริยางค์ ขบวนนิสิตนักศึกษา รวมทั้งขบวนล้อการเมือง ต่อมาได้มีการลดขบวนลงเพื่อประหยัดค่าใช้ ...

ผู้ อัญเชิญ พระ เกี้ยว มี ใคร บ้าง

#แต้ว ณฐพร #นุสบา ปุณณกันต์ #ปันปัน เต็มฟ้า #ฟาง ธนันต์ธรญ์ นีระสงิห์

ทูตกิจกรรม คือ อะไร

ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือตัวแทนนักศึกษาในการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยค่ะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราทำกันตลอดมา ทั้งลุย ทั้งจิตอาสา แต่ในช่วงของงานฟุตบอลประเพณีที่ธรรมศาสตร์และจุฬาฯ สลับกันเป็นเจ้าภาพ เอินและเพื่อนๆ ก็จะมีหน้าที่ในส่วนพิธีการด้วย มีทั้งด้านผู้อัญเชิญ นำขบวน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้