สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในสมัยใด

เมื่อ “เก้าทัพ” ต้องยับย่อย จุดเริ่มต้นแห่งเกียรติภูมิและศักดิ์ศรี สู่ความเป็นเอกราชชาติไทย ณ ดินแดนประวัติศาสตร์ จังหวัดกาญจนบุรี

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ

ศึกครั้งนั้นใหญ่หลวงนัก ทัพไทยมีกำลังพลไม่กี่หมื่น แต่สามารถเอาชนะทัพตองอูพม่า ซึ่งมีรี้พลมากกว่าถึงเกือบ 3 เท่าตัว ต่อแต่นั้นมาที่ราบกว้างใหญ่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่กับลำน้ำตะเพิน จึงถือเป็นสมรภูมิสำคัญ ที่ชี้ขาดความเป็นความตายให้กับชาวสยามในสงครามเก้าทัพ

หลังเวลาล่วงเลยผ่านมาที่ กาญจนบุรี ได้สร้างอุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ อันเป็นสถานที่รวบรวมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ ซึ่งเป็นสงครามครั้งสำคัญและยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช เพื่อป้องกันการรุกรานของพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในปี พ. ศ. 2328 ให้ชนรุ่นหลังได้เข้ามาซึมซับภาคภูมิในเอกราชชาติไทย

“..ถ้าหากพ่ายแพ้ในวันนั้น สยามจะสิ้นแผ่นดิน และตกอยู่ในสภาพเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในวันนี้ …”

เพราะชัยชนะในสงครามครั้งนี้ โดยเฉพาะในสมรภูมิทุ่งลาดหญ้า ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราช และดำรงความเป็นชาติมาถึงปัจจุบัน

กองทัพบกพาท่านซึมซับความเป็นไทย

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งครั้งหนึ่งสถานที่นี้เคยเป็นสมรภูมิการรบระหว่างกองทัพของไทยในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และกองทัพพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าในพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 โดยกองทัพไทยซึ่งมีเพียง 4 กองทัพ ได้ต้านทานการบุก และตัดการลำเลียงเสบียงอาหาร รวมถึงกระสุนปืนใหญ่ของฝ่ายทัพพม่า โดยใช้เวลาทั้งสื้น 10 เดือน กว่าสงครามจะยุติลง โดยทัพไทยเป็นฝ่ายชนะ และรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ สงครามครั้งนี้มีชื่อเรียกว่า “สงคราม 9 ทัพ

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ เป็นความริเริ่มของกองทัพบก โดยพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบในขณะนั้น ได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 1 ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป จัดสร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเฉลิมพระเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542

ทั้งนี้เนื่องจากในขณะที่ท่านปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะทำงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของกองทัพบก ได้นำคณะทำงานฯ สำรวจพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในจังหวัดกาญจนบุรี และพบว่าพื้นที่ที่เคยเป็นสมรภูมิสงคราม 9 ทัพ ยังคงสภาพเดิม

เหมาะสำหรับเป็นสถานที่ศึกษาหลักการใช้ภูมิประเทศ และเส้นทางเดินทัพ ตลอดจนการดำเนินกลยุทธ์ ซึ่งทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท ผู้ทรงเป็นแม่ทัพ สามารถรบชนะข้าศึกซึ่งมีกำลังมากกว่าได้อย่างราบคาบ

ย้อนรอยสงคราม 9 ทัพ

อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ มีอาคารจัดนิทรรศการบอกเล่าประวัติของสงครามเก้าทัพ ตัวอาคารเมื่อดูจากภายนอกจะมีลักษณะเหมือนหมวกนักรบโบราณ ด้านหน้าของอุทยานฯ มีอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท ผู้ทรงเป็นแม่ทัพ สามารถรบชนะข้าศึกซึ่งมีกำลังมากกว่าได้อย่างราบคาบ

ป้ายอุทยานประวัติศาสตร์สงคราม 9 ทัพ ถือเป็นอนุสรณ์ที่มีความหมาย โดยมีเสาธงชาติไทย 4 เสา ซึ่งหมายถึงกองทัพไทยทั้ง 4 กองทัพ ตั้งอยู่เหนือตอไม้ 9 ตอ ซึ่งหมายถึงทัพพม่าทั้ง 9 ทัพ นั่นหมายถึงว่าทัพไทยมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่า

ภายในอาคารมีรูปปั้นของ “ปู่มั่น” และ “ปู่คง” ซึ่งเป็นทหารและชาวบ้านอาสามาสู้รบกับพม่า เมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน มีตู้จำลองขนาดย่อ และโต๊ะทรายแสดงภูมิประเทศจำลองเส้นทางการเดินทัพของข้าศึก และการตั้งรับของกองทัพไทยพร้อมคำอธิบายอยู่บริเวณโดยรอบอาคาร

ตรงกลางอาคารเป็นแผนที่นูนต่ำ บอกตำบลต่างๆ ของการรบ การจัดทัพของไทยและพม่า มีทีวีซึ่งจัดฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับสงครามเก้าทัพ

นอกจากนี้ยังมี หอสังเกตการณ์ ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาลาดกระทิง ภายในอุทยานฯ เป็นป้อมที่สร้างขึ้นเลียนแบบป้อมพระกาฬ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจประวัติศาสตร์เดินขึ้นไปสังเกตุภูมิประเทศต่างๆ หลังฟังคำบรรยาย เพื่อจะได้เข้าใจการเลือกใช้ภูมิประเทศในการเดินทัพ และจุดสกัดกั้นทัพพม่า ทำให้สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น และมีความเช้าใจมากขึ้น

ใครที่ยังไม่เคยมา ก็เดินทาง พาลูกพาหลาน มาชมอุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพนี้ได้ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งไม่ใกล้ไม่ไกลเท่าไรนัก แผ่นดินนี้ บรรพบุรุษของเราได้เอาเลือดเนื้อชีวิต และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้กว่าจะได้เป็นไทยจนถึงทุกวันนี้ แล้วเราชนรุ่นหลังอย่างเราๆ ท่านๆ ผู้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย จะลืมไปง่ายๆ ได้ลงคอเชียวหรือ…

บทความน่าอ่านจาก //www.emaginfo.com ร่วมกับ travel.mthai.com

เรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ อุทยานประวัติศาสตร์ สงคราม 9 ทัพ

สงคราม ๙ ทัพ เกิดขึ้นในสมัยใด

สงครามเก้าทัพเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2328-2329 โดยเรียกชื่อสงครามตามจำนวนกองทัพของพม่าที่แบ่งกองทัพมาเป็นเก้ากองเพื่อโจมตีสยามจากหลายทิศทาง ซึ่งนับเป็นสงครามครั้งแรกที่เกิดขึ้นระหว่างอาณาจักรพม่ากับกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 หลังจากการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีได้ ...

สงครามท่าดินแดงเกิดขึ้นในรัชสมัยใด

สงครามท่าดินแดง เป็นสงครามระหว่างสยามอาณาจักรรัตนโกสินทร์และอาณาจักรพม่าราชวงศ์โก้นบอง เป็นการรุกรานของพม่าครั้งที่สองในสมัยรัตนโกสินทร์และเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากสงครามเก้าทัพ เกิดขึ้นหลังจากสงครามเก้าทัพหนึ่งปีในพ.ศ. 2329 หลังจากที่ฝ่ายพม่าซึ่งนำโดยพระเจ้าปดุงปราชัยไปในสงครามเก้าทัพและถอยทัพกลับ ในปีต่อมาฝ่ายพม่า ...

ใครทำสงคราม 9 ทัพ

หนึ่งในสงครามที่สำคัญแห่งสยามประเทศก็คือ “สงครามเก้าทัพในปี พ.ศ. 2328 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้