พระพุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ญี่ปุ่นในยุคใด

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออก
ประเทศญี่ปุ่น

   ประเทศญี่ปุ่น (Japan) มีเมืองหลวงชื่อ โตเกียว และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ประชากรญี่ปุ่นมีประมาณ 128,085,000 คน (พ.ศ.2548) พุทธศาสนิกชนมีประมาณ 89,650,000 คน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 6 ยุค คือ ยุคแรก ยุคนารา ยุคโชกุนตระกูลแรก ยุคสงครามกลางเมือง ยุคปิดประเทศ และยุคเมจิถึงปัจจุบัน

       ยุคแรก พระพุทธศาสนาจากจีนเผยแผ่เข้าสู่ญี่ปุ่นโดยผ่านเกาหลีในปี พ.ศ.1095 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้ากิมเมจิ ในครั้งนั้นพระเจ้าเซมาโวกษัตริย์แคว้นกทุระแห่งเกาหลีทรงส่งพระพุทธรูปทองเหลืองหุ้มทองคำ และพระคัมภีร์ไปถวายพระเจ้ากิมเมเจิพร้อมทั้งพระราชสาส์นมีใจความว่า นี่เป็นศา สนาที่ดีที่สุดที่หม่อมฉันเห็น หม่อมฉันไม่ต้องการให้ศาสนานี้จำกัดแพร่หลาย เฉพาะเพียงเกาหลีแห่งเดียว ขอให้พระองค์โปรดรับศาสนานี้ไว้พระจักรพรรดิญี่ปุ่นทรงพอพระทัยเพราะไม่เคยได้สดับคำสอนอันวิเศษเช่นนี้มาก่อน ตั้งแต่นั้นชาวญี่ปุ่นจึงเริ่มนับถือพระพุทธศาสนา แต่ยังไม่แพร่หลาย เพราะศาสนาเดิมคือชินโต ยังมีอิทธิพลอยู่มาก

     จนกระทั่งถึงสมัยที่จักรพรรดินีซูอิโกะ (Suiko) ครองราชย์ ประมาณปี พ.ศ.1135-1171 พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พระนางทรงสละราชสมบัติออกผนวชเป็นภิกษุณีโดยมอบภาระให้พระราชนัดดาพระนามว่า อุมายาโดะ (Umayado) ทำหน้าที่สำเร็จราชการแทนเจ้าชายอุมายาโดะนี้ ต่อมาได้รับการขนานพระนามว่า โชโตกุ ไทชิ

      เจ้าชายโชโตกุทรงยกพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ทรงสร้างวัดประมาณ 400 วัด ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก ทรงนิพนธ์อรรกถาพระสูตรสำคัญของมหายาน 3 สูตร คือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร วิมลเกียรตินิเทศสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ต้นฉบับลายพระหัตถ์ยังคงรักษาอยู่จนถึงปัจจุบัน ทรงบัญญัติกฎหมายแห่งรัฐโดยยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพราะผลงานทางพระพุทธศา สนาที่ทรงทำไว้มากมาย เจ้าชายโชโตกุจึงได้รับฉายาว่า เป็นพระเจ้าอโศกแห่งญี่ปุ่น

   พระพุทธศาสนาที่เจ้าชายโชโตกุทรงศรัทธาชื่อว่า เอกยาน มีธรรมกายเป็นจุดหมายมีคำสอนประสานกันระหว่างมหายานและเถรวาท ไม่แบ่งแยกกันระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ทุกคนสามารถปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันได้โดยไม่ต้องออกบวชหรือปลีกวิเวก เมื่อเจ้าชายโชโตกุสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.1165 พ กนิกรต่างเศร้าโศกเสียใจอย่างสุดซึ้ง เหล่าพุทธบริษัทจึงสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าพรวรกายพระองค์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณความดีของพระองค์

      ยุคนารา ตั้งแต่ยุคเจ้าชายโชโตกุเป็นต้นมา พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับกลายเป็นส่วนหนึ่งของวันธรรมญี่ปุ่นสืบมา เมื่อถึงสมัยนารา (Nara) ประมาณปี พ.ศ.1253-1327 พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น นารา อันเป็นราชธานีของญี่ปุ่นยุคนั้นถึงกับได้ชื่อว่า นครแห่งอารามหนึ่งพัน เพราะถนนทุกสายในเมืองนี้มีวัดพระพุทธศาสนา ยุคนั้นมีนักปราชญ์ญี่ปุ่นไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น และได้นำนิกายต่างๆ มาเผยแผ่ในญี่ปุ่น ซึ่งสมัยนั้นมี 6 นิกายด้วยกัน

    ในปี พ.ศ.1284 พระเจ้าจักรพรรดิโชมุทรงประกาศจักรพรรดิราชโองการให้สร้างวัดของราชการประจำจังหวัดทั่วประเทศ ยุคนี้ลาภสักการะเกิดขึ้นกับคณะสงฆ์มาก เพราะกษัตริย์และพสกนิกรให้การอุปถัมภ์ จึงทำให้มีผู้เข้ามาบวชเพื่อหวังลาภสักการะจำนวนมาก อีกทั้งคณะสงฆ์เข้าครอบงำราชการแผ่นดิน ทำให้ห่างเหินการปฏิบัติธรรม ศาสนาจึงเสื่อมลง พระจักรพรรดิต้องการจะลิดรอนอำนาจทางการเมืองของพระสงฆ์ จึงย้ายเมืองหลวงจากนาราไปเกียวโต (เฮอัน) พระพุทธศาสนา 6 นิกายนี้จึงไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนักอีก เป็นเหตุให้เสื่อมลงในที่สุด

      ในยุคเกียวโตหรือเอัน (พ.ศ.13371728) พระไซโจ และพระคูไค ซึ่งเดินทางไปศึกษายังประเทศจีนได้กลับมาเผยแผ่ที่ญี่ปุ่น ท่านไซโจตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นที่ภูเขาฮิเออิในปี พ.ศ.1328 เพื่อเผยแผ่นิกายเทนได หรือเทียนไท้ หรือนิกายสัทธรรมปุณฑริก พระสงฆ์สำนักนี้มีอาวุธไว้ป้องกันตัวในยามศึกสงครามด้วยส่วนท่านคูไคได้กลับมาเผยแผ่นิกายชินงอน หรือตันตระ ยุคนี้ราชการให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนาอย่างมากเช่นกัน พระจักรพรรดิเกือบทุกพระองค์เสด็จออกผนวช แต่ช่วงปลายยุคมีสงครามเกิดขึ้น โดยขุนพลชื่อ โยริโมโต แห่งตระกูลมินาโมโต บุกโจมตีกรุงเกียวโตและนารา ยึดอำนาจการปกครองจากพระจักรพรรดิ และได้เผาวัดวาอารามไปจำนวนมาก ยุคนั้นพระสงฆ์บางวัดจึงมีกองทัพไว้ป้องกันวัด และมีพระบางพวกออกรบเพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองด้วย แต่โยริโมโตก็สามารถปราบปรามได้อย่างราบคาบ

      ยุคโชกุนตระกูลแรก โชกุน หมายถึง ผู้บัญชาการกองกำลังทหารของประเทศ หากเปรียบกับตำแหน่งทางทหารในปัจจุบันแล้ว อาจเทียบได้กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดผู้ที่ได้รับตำแหน่งโชกุนคนแรกคือ โยริโมโต หลังจากที่โยริโมโตตีเมืองเฮอันและนาราได้แล้วในปี พ.ศ.1728 เขาสถาปนาเมืองกามากุระขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การปกครองระบบโชกุนหรือรัฐบาลทหาร และได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระจักรพรรดิในปี พ.ศ. 1735 ให้ดำรงตำแหน่งเซอิไทโชกุน ยุคนี้พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมโทรมเพราะไฟสงคราม แต่พุทธศาสนิกชนก็พยายามฟนฟูขึ้นใหม่จนกลับรุ่งเรืองอีก โดยครั้งนั้นมีนิกายที่สำคัญอยู่ 3 นิกายคือ นิกายโจโดนิกายเซน และนิกายนิจิเร็น

     1. นิกายโจโด หรือสุขาวดี ท่านโเน็นได้ก่อตั้งนิกายนี้ขึ้นในยุคกามากุระ วันหนึ่งท่านได้อ่านอรรถกถาอมิตายุรธยานสูตรพบข้อความตอนหนึ่งกล่าวว่า หากบุคคลนึกถึงและออกพระนามพระอามิตาภพุทธเจ้า โดยมิต้องคำนึงถึงอากัปกิริยาและกาลเวลาแล้ว ถ้าปฏิบัติได้ ม่ำเสมอก็ย่อมเรียกได้ว่า เป็นสัมมากัมมันตะ เพราะต้องด้วยปฏิญญาแห่งพระอมิตาภพุทธเจ้าท่านรู้สึกประทับใจข้อความนี้มากและได้เลิกข้อปฏิบัติอย่างอื่นหมด เปล่งแต่คำว่า นัมบู อมิดา บุตสึ อย่างเดียว โดยเชื่อว่าเพียงแค่นี้ก็สามารถไปเกิดยังแดนสุขาวดีซึ่งเป็นที่อยู่พระอมิตาภพุทธเจ้าได้ จากนั้นท่านจึงออกเผยแผ่คำสอนและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วทั้งนี้เพราะหลักปฏิบัติไม่ยุ่งยากซับซ้อน

     2. นิกายเซน ท่านโยไซ และท่านโดเกน ได้เดินทางไปศึกษาที่ภูเขาฮิเออิ จากนั้นก็เดินทางไปยังประเทศจีน ศึกษาพระพุทธศาสนานิกายเซนแล้วนำกลับมาเผยแผ่ที่ญี่ปุ่น ท่านโยไซสร้างวัดชื่อ โชฟูกูจิ ขึ้นในปี พ.ศ.1734 ที่เกาะกิวชิว เมืองกามากุระ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่นิกายรินไซเซนส่วนท่านโดเกนสร้างวัดเออิเอิจิขึ้นเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่โซโตะเซน

     จากที่กล่าวแล้วว่า นิกายเซนเน้นการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงฌานที่เรียกว่า ซาเซน โดยไม่อาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ จึงมีคำขวัญประจำนิกายว่า ปุกลิบ บุ้นยี่ ติกจี้นั้งซิม เกียงแส่ เซ่งุด แปลว่า ไม่ต้องอาศัยหนังสือแต่ชี้ตรงไปยังจิตของมนุษย์ ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริงแล้วบรรลุเป็นพุทธะ ความแตกต่างกันระหว่างรินไซเซน กับโซโตะเซน คือ รินไซเซน อาจารย์ผู้สอนจะใช้วิธีรุนแรงต่างๆ ปลุกลูกศิษย์ให้ตื่นเพื่อความรู้แจ้ง เช่น ถ่ายทอดธรรมด้วยการตะโกนใส่ลูกศิษย์บ้าง ใช้ไม้เท้าตีขณะนั่งวิปัสสนาบ้างส่วนโซโตะเซนอาจารย์จะฝึกให้ลูกศิษย์มองความจริงจากแง่มุมต่างๆ ให้เห็นว่าแต่ละมุมล้วนมีเอกภาพเดียวกันไม่อาจแยกขาดจากกัน

     3. นิกายนิชิเร็น เป็นนิกายที่ยึดพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นแม่บทโดยพระนิชิเร็น เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น ท่านเกิดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.1765 และอุปสมบทเมื่ออายุได้ 16 ปีหลังจากศึกษาพระธรรมมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ท่านได้ข้อสรุปว่า คำสอนของพระสัทธรรมปุณฑริกสูตรนี้เท่านั้นถูกต้องแท้จริง

     จากนั้นจึงเริ่มเผยแผ่คำสอน หลักปฏิบัติของนิกายนี้ไม่ซับซ้อน เพียงแต่มีศรัทธามั่นคงแล้วกล่าวนมัสการว่า นะมุ เมียวโ เรงเง เคียว ซึ่งแปลว่า ขอนอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑริกสูตร โดยขณะกล่าวต้องตระหนักว่าตนเองมีพุทธภาวะอยู่ในตัว แล้วจะสามารถกำจัดสักกายทิฏฐิและบรรลุธรรมได้

     นิชิเร็นเป็นคนหัวรุนแรง เผยแผ่คำสอนโดยวิธีโจมตีต่างนิกาย เขาด่าโฮเน็นผู้ก่อตั้งนิกายสุขาวดีว่าเป็นสัตว์นรก การกล่าว นัมบู อมิดา บุตสึ ของนิกายสุขาวดีก็เป็นทางไปสู่นรกอีกทั้งชอบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เขาเขียนเสนอโครงการปกครองประเทศให้รัฐบาล และพยากรณ์ว่า ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามเขาจะมีมหันตภัยมาสู่ประเทศ นิชิเร็นจึงมีคนเกลียดชังมากเขาถูกเนรเทศ 2 ครั้ง ถูกทำร้ายถึง 2 ครั้ง แต่ก็รอดตายมาได้ทุกคราว

     ยุคสงครามกลางเมือง หลังจากที่โชกุนตระกูลแรกคือมินาโมโตปกครองประเทศมาได้ 28 ปี อำนาจจึงเริ่มเปลี่ยนมือ คือในปี พ.ศ.1756 อำนาจที่แท้จริงเปลี่ยนไปยังตระกูลโฮโจซึ่งเป็นตระกูลทางภรรยาของโยริโมโต

    การฟื้นฟูอำนาจการปกครองโดยจักรพรรดิมีขึ้นในช่วงสั้นๆ คือตั้งแต่ปี พ.ศ.1876 - 1881 หลังจากนั้นรัฐบาลโชกุนหรือรัฐบาลทหารชุดใหม่ก็ได้สถาปนาขึ้นอีก โดยตระกูลอาชิคางะที่มุโรมาจิ ในกรุงเกียวโต หลังจากปกครองประเทศมาได้ 200 กว่าปี ก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่างผู้นำทหารแต่ละตระกูล ในครั้งนั้นมีนักรบผู้หนึ่งชื่อ โอดะ โนบุนากะ (Oda Nobunaga) ฝึกให้ทหารของเขาใช้อาวุธปนที่พ่อค้าโปรตุเกส นำมาขายในปลายพุทธศตวรรษที่ 21 จึงทำให้กองทัพแข็งแกร่งและสามารถปราบหัวเมืองต่างๆ ลงได้

      ช่วงสงครามกลางเมืองนี้ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาส นาอย่างร้ายแรงมาก พระภิกษุถึงกับต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับเหล่าทหาร โดยมีสำนักสงฆ์นิกายเทนไดแห่งภูเขาฮิเออิเป็นศูนย์กลางของกองทัพ โอดะ โนบุนากะสั่งการให้กองทหารกว่า 30,000 นาย เข้าโอบล้อมเทือกเขาฮิเออิแล้วตีโอบตะลุยขึ้นไปยังวัดซากาโมโตะสั่งให้ฆ่าพระทุกรูปและชาวบ้านทุกคนบนเทือกเขาไม่เว้นแม้แต่ผู้หญิงและเด็กทารก ให้เผาวัดและบ้านเรือนทุกหลังจนวอดวาย จากนั้นให้ทหารบุกเผาวัดอื่นๆ อีกประมาณ 3,000 วัดที่มีทีท่าว่าจะก่อการกบฏต่อเขา

     หลังจากปราบกองทัพพระสงฆ์ลงได้ราบคาบแล้ว โอดะ โนบุนากะสนับสนุนให้มิชชันนารีชาวโปรตุเกสนำศาสนาคริ สต์นิกายเยซูอิทมาเผยแผ่ จนได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว แม้ตัวเขาเองก็เปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาด้วย โนบุนากะครองอำนาจอยู่ได้กว่า 48 ปี ก็ถูกอะเคจิมิตสึฮิเดะ แม่ทัพคนสนิทสังหารในปี พ.ศ.2125 เนื่องจากแค้นใจที่ถูกโนบุนากะทำให้เขาได้รับความอับอายต่อหน้านายทหาร แต่อะเคจิ มิตสึฮิเดะก็ถูกลอบสังหารเช่นเดียวกันจากโทโยโทมิฮิเดโยชิ นายทหารคนสนิทอีกคนหนึ่งของโอดะ โนบุนากะ

     จากนั้น โทโยโทมิสิเดโยชิ ก็ได้สืบทอดอำนาจต่อจากโนบุนากะ รวมญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จในปี พ.ศ.2133 ช่วงแรกเขาสนับสนุนนักสอนศาสนาชาวตะวันตกเป็นอย่างดีจนกระทั่งวันหนึ่งกะลาสีฝรั่งพูดในร้านเหล้าว่า รัฐบาลของเขาอาศัยพวกบาทหลวงเป็นแนวหน้าในการล่าอาณานิคม ที่ใดชาวพื้นเมืองนับถือคริสต์ศาสนามาก ก็ชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นทางจิตใจถ้าเกิดสงครามขึ้นแล้ว พวกเหล่านี้จะเป็นสายลับช่วยกองทัพให้เข้ามาโจมตีบ้านเมืองของตนเมื่อฮิเดโยชิทราบเรื่องนี้ จึงออกคำสั่งกวาดล้างคริสต์ศาสนาให้สิ้นซาก

      ยุคปิดประเทศ หลังจากิเดโยชิเสียชีวิตแล้ว โทะคุงะวะ อิเอะยะสุ ได้ครองอำนาจต่อโดยย้ายศูนย์กลางการบริหารแผ่นดินไปที่เมืองเอะโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) และได้ตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นในปี พ.ศ.2146 รัฐบาลโทะคุงะวะปกครองญี่ปุ่นอยู่ 260 ปี ยุคนี้ยังมีการติดต่อกับตะวันตกทางด้านการค้า แต่ได้กำจัดนักบวชและคริสต์ศาสนิกชนอย่างรุนแรง เช่น ประหารชีวิตกำหนดโทษเผาทั้งเป็นและริบทรัพย์ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ต่อมาได้ขับไล่ชาวตะวันตกออกจากประเทศสั่งห้ามชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศ ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับอนุญาตบางกลุ่ม ตั้งแต่นั้นญี่ปุ่นจึงเข้าสู่ยุคปิดประเทศสถานการณ์พระพุทธศา สนายุคนี้ก็ซบเซา เพราะถูกรัฐบาลแทรกแซง และให้การสนับสนุนศาสนาขงจื้อแทน

     ยุคเมจิถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นปิดประเทศอยู่ประมาณ 250 ปี เปิดประเทศอีกครั้งหลังจากการมาเยือนของ หรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2396 ยุคนี้ระบบโชกุนอ่อนแอลงมากและสิ้นอำนาจลงในสมัยพระจักรพรรดิเมจิ (พ.ศ.2411-2455) สมัยนี้ญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้ามาก ด้วยระยะเวลาเพียง 30 ปีแห่งการพันาประเทศตามตะวันตก ญี่ปุ่นได้กลายเป็นยุโรปแห่งตะวันออกมีกำลังทางเศรษฐกิจและทางทหารพรั่งพร้อม จนสามารถจมกองทัพเรือรัสเซียในทะเลญี่ปุ่นได้ทั้งกองทัพ

     ยุคนี้ลัทธิชินโตได้รับความนิยม เพราะคำสอนยกย่องพระจักรพรรดิให้เป็นอวตารของเทพเจ้าส่วนพระพุทธศาสนากลับเสื่อมโทรม มีการห้ามตั้งนิกายใหม่ ห้ามสร้างวัดเพิ่ม พิธีกรรม ความเชื่อและวัตถุที่เคารพในพระพุทธศาสนาถูกยกเลิกจากพระราชสำนักทั้งหมด ประกาศให้ยึดวัดมาสร้างเป็นโรงเรียน โรงงาน บังคับให้ชีไปมีสามี ด้วยแรงกดดันนี้ทำให้พุทธบริษัทมีความตื่นตัวและปฏิรูปพระพุทธศาสนาเพื่อความอยู่รอดดังนี้

       1.สร้างโรงเรียนขึ้นในวัดใหญ่ๆ บางวัด และสร้างวิทยาลัยอาชีวะชั้นสูงด้วย

   2.สร้างมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาขึ้น โดยรวบรวมทุนจากวัดใหญ่ๆ หลายวัด หรือรวบรวมทุนระหว่างนิกาย เช่น นิกายเท็นได กับนิกายชิน มหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นที่สร้างโดยทุนของพระพุทธศาสนายุคนั้นมี 13 แห่ง เช่น มหาวิทยาลัยโอตานิ

      3. บำเพ็ญงานด้านสาธารณกุศล ด้วยการสร้างโรงพยาบาลสถานสงเคราะห์คนทุพพลภาพสถานสงเคราะห์เยาวชน องค์กรจัดหางานให้แก่คนตกงาน วัดใหญ่ๆ หลายวัดรวมทุนกันสร้างบริษัทการค้า โรงงานอุตสาหกรรม เมื่อได้กำไรมาแล้วก็นำมาใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของพระพุทธศาสนา

     4.ส่งเสริมการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก คือ ฉบับไทโช ตีพิมพ์หนังสือพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ปีละหลายล้านเล่ม ความรู้ทางพระพุทธศาสนาของญี่ปุ่นจึงก้าวหน้ามาก

    เมื่อมีการปฏิรูปเช่นนี้ ทำให้ฐานะพระพุทธศาสนาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จนรัฐบาลไม่กล้าแตะต้องกิจการภายใน ในที่สุดการคุกคามพระพุทธศาสนาจึงยุติไปโดยปริยาย และหลังจากญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 นายพลแมคอาเธอร์สั่งยุบศาสนาชินโต เพราะถือเป็นศาสนาเพาะวิญญาณสงคราม จึงทำให้พระพุทธศาสนาหมดคู่แข่งอย่างเป็นทางการไปหนึ่งศาสนา ซึ่งได้ต่อสู้ทางอุดมการณ์กันมายาวนานนับพันปี ถึงแม้จะไม่อาจลบเลือนไปจากจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นได้เสียทีเดียว

     ทุกวันนี้คู่แข่งใหม่ที่น่ากลัวกว่าชินโตมากคือ วันธรรมตะวันตก ที่นับวันจะหลั่งไหลเข้าไปยังญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ วันธรรมเหล่านี้ส่งเสริมให้คนติดในวัตถุ ความสะดวกสบายและสนุกสนานเพลิดเพลินจนละทิ้งศาสนา เยาวชนทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะญี่ปุ่นให้เวลากับการคุยโทรศัพท์มือถือ เล่นอินเทอร์เน็ต เล่มเกมคอมพิวเตอร์ เดินเที่ยวห้าง สรรพสินค้า มากกว่าเวลาอ่านหนังสือ หลายต่อหลายคนเล่นเกมจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนมีข่าวเด็กช็อกตายหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ได้ยินอยู่บ่อยๆ แล้วเยาวชนยุคนี้จะเอาเวลาที่ไหนมาสนใจพระพุทธศาสนา เพราะแม้แต่เวลานอนยังไม่มี

     ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นยังนับถือพระพุทธศาสนาควบคู่กับศาสนาชินโต โดยพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็นหลายนิกาย นิกายที่สำคัญมี 5 นิกาย คือ

      1. นิกายเทนได หรือเทียนไท้ หรือสัทธรรมปุณฑริก พระไซโจเป็นผู้ตั้ง โดยตั้งชื่อนิกายตามชื่อภูเขาเทียนไท้ในประเทศจีน ซึ่งเป็นสำนักที่ท่านไปศึกษา

         2. นิกายชินงอน หรือตันตระ พระคูไคเป็นผู้ตั้งในเวลาใกล้เคียงกับนิกายเทนไดนิกายนี้ยึดคัมภีร์มหาไวโรจนสูตรเป็นหลัก ถือว่าพระไวโรจนพุทธเจ้าเป็นที่เคารพสูงสุด นอกจากนี้ นิกายนี้ยังประสานคำสอนเข้ากับลัทธิชินโตสามารถยุบวัดชินโตเป็นวัดชินงอนได้หลายวัด

        3. นิกายโจโด หรือสุขาวดี โเน็นเป็นผู้ตั้ง นิกายนี้ อนว่าสุขาวดีเป็นแดนอมตสุขจะไปถึงได้ด้วยการออกพระนามพระอมิตาภพุทธะ โจโดยังมีนิกายย่อยอีกมาก เช่น โจโดชินหมายถึงสุขาวดีแท้ ตั้งโดยชินแรน มีคติว่า "ฮิโชฮิโชกุ ไม่มีพระไม่มีฆราวา " ทำให้พระในนิกายนี้มีภรรยาได้ ฉันเนื้อได้ มีความเป็นอยู่คล้ายฆราวา

      4. นิกายเซน หรือฌาน นิกายเซนเน้นการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงฌานที่เรียกว่า ซาเซน นิกายนี้คนชั้นสูงและพวกนักรบนิยมมาก เซนมีนักวิชาการคนสำคัญคือ ดร.ดี ที ซูสุกิ (พ.ศ.24332509) เป็นผู้บุกเบิกเผยแผ่เซนให้เป็นที่รู้จักในตะวันตก ด้วยการแต่งตำราและแปลคัมภีร์เป็นภาษาอังกฤษ

      5. นิกายนิชิเร็น พระนิชิเร็นเป็นผู้ตั้ง นิกายนี้นับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรอย่างเดียว โดยภาวนาว่า นะมุ เมียวโฮ เรงเง เคียว (นโม สทฺธมฺมปุณฺฑริก สุตฺตสฺส แปลว่า ขอนอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑริกสูตร) เมื่อเปล่งคำนี้ออกมาด้วยความรู้สึกว่ามีธาตุพุทธะอยู่ในใจ ก็บรรลุโพธิญาณได้

       โซกะ กัคไค (Soka Gakkai) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในสายนิชิเร็นปัจจุบันมี มาชิกกว่า 12 ล้านคนใน 190 ประเทศทั่วโลก โดยมี ไดซาขุ อิเคดะ เป็นผู้นำองค์กรโซกะ กัคไค แปลว่า สมาคมสร้างสรรค์คุณค่า

      การเผยแผ่ของนิกายนี้ใช้ยุทธวิธี ชากุบุกุ แปลว่า ทำลายแล้วครอบครอง หมายความว่าทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดในหลักคำสอนเก่าจนไม่เชื่อถือแล้วให้เปลี่ยนมานับถือนิกายนิชิเร็นวิธีเข้านิกายนี้คือ ทำลายรูปเคารพในศาสนาหรือนิกายเดิมของตนแล้วไปเข้าวัดที่อยู่ใกล้ เพื่อทำพิธีประมาณ 25 นาที พร้อมรับมอบโงฮอนวอน มาตั้งบูชาที่บ้านตน และสวด นะมุ เมียวโฮ เรงเง เคียว ทุกวัน ตอนเช้า 5 ครั้ง ตอนค่ำ 3 ครั้ง

     การบริหารของสมาคมเน้นความเป็นทีมสมาชิกต้องเป็นหนึ่งเดียวไม่มีการโต้แย้งหมู่คณะจะเข้มแข็งมั่นคงได้ด้วยศรัทธาเป็นฐานและเป็นจุดศูนย์รวม บุคคลเป็นเพียงส่วนประกอบและมีความหมายเพียงช่วยให้เกิดการกระทำของส่วนรวม

      นิกายนี้จะสร้างรัฐซ้อนขึ้นในรัฐ โดยสมาชิกประมาณ 20-30 ครอบครัว รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Squad ถ้ารวมได้ 6 Squad เรียกว่า Company ถ้ารวมได้ 10 Company เรียกว่า District ถ้ารวมหลายๆ District เรียกว่า Religion Chapter หรือภาค แต่ละหน่วยเหล่านี้มีการประชุมกันเป็นประจำเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางศาสนาซึ่งกันและกัน

    ในด้านเยาวชนมีการสอนธรรมภาคฤดูร้อน แจกตำราเกี่ยวกับหลักธรรมของนิกายและจัด อบประจำปี เมื่อสอบได้ก็รับคุณวุฒิตามลำดับชั้น

   ปัจจุบัน โซกะ กัคไค มีบทบาทสำคัญในการเมืองญี่ปุ่น เพราะมีบุคคลชั้นนำของนิกายนี้เป็นเลขาธิการพรรคการเมืองชื่อ พรรคโกเมอิโต โดยมีนโยบายที่เป็นประชาธิปไตยแบบพระพุทธศาสนา พรรคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีอิทธิพลเป็นอันดับสามของประเทศ

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนา เริ่มเข้ามาสู่ญี่ปุ่นในช่วงยุคสมัยใด

ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านประเทศเกาหลี ในหนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นชื่อ นิฮงโชคิ (ญี่ปุ่น: 日本書紀(にほんしょき); โรมาจิ: Nihon Shoki) ได้บันทึกไว้ว่า วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 1095 (ในยุคอาซึกะ) เป็นปีที่ 13 ของรัชกาลจักรพรรดิคิมเม จักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 29 พระพุทธศาสนาได้เข้าสู่ญี่ปุ่น โดยพระเจ้าซองแห่งอาณาจักรแพ็กเจ ...

พุทธในญี่ปุ่น นิกายอะไร

ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบันเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยความเร่งรีบเพราะมีการแข่งขันกันมาก สิ่งที่จะช่วยบรรเทาความเครียดได้ ก็คือการปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เนื่องจากญี่ปุ่นชอบความเร็วให้ได้ผลทันใจ พระพุทธศาสนานิกายเซนจึงเป็นที่นิยม และมีการสร้างนิกายใหม่ๆ หรือลัทธิใหม่ๆ ที่ปฏิบัติได้ผล ...

พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศทิเบตสมัยใด

ใน พ.ศ. 976 พระเจ้าลาโทโทรีแญ็นแจ็น (ทิเบต: ལྷ་ཐོ་ཐོ་རི་གཉན་བཙན་, ไวลี: lha tho tho ri gnyan btsan, พินอินทิเบต: lhato tori nyänzän) เป็นกษัตริย์ทิเบตองค์แรกที่นับถือพระพุทธศาสนา ได้รับเครื่องบรรณาการจากตัวแทนชาวอินเดีย โดยนำคัมภีร์พระพุทธศาสนา และพระพุทธรูปเข้ามาในทิเบต ถือว่าเป็นครั้งแรกที่คนทิเบตได้รู้จักกับพระพุทธ ...

พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเมื่อใด

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดในอินเดียก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ( พุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีซึ่งพระพุทธ เสด็จเข้าสู่ปรินิพาน) นับว่าเป็นศาสนาที่สำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งมีผู้นับถือหลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้