กินยาเลื่อนประจำเดือน เป็นอะไรมั้ย

อยากลอง “ยาเลื่อนประจำเดือน” แต่ยังลังเลอยู่ใช่ไหมล่ะคะ? เพราะมีงานสำคัญ ทริปโปรด หรือกิจกรรมผาดโผนทีไร ประจำเดือนเป็นต้องมา Say Hi ! ทุกที แบบนี้ต้องจัดการเลื่อนวันมาของเจ้าประจำเดือนให้รู้แล้วรู้รอด! วันนี้ Pynpy’ เพื่อนรู้ใจของทุกคน จะพามาทำความรู้จัก “ยาเลื่อนประจำเดือน” กันให้ลึก! ว่าการเลื่อนระยะวันการมีประจำเดือนสามารถทำได้อย่างไร ปลอดภัยหรือไม่และรับประทานอย่างไรให้ถูกต้อง Are you ready? พร้อมแล้วตามมาเล้ยยยย~

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่อีกด้วย ดังนั้น เพื่อน ๆ จึงคลายกังวลได้เลยค่ะในเรื่องความอันตราย

วิธีการรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” ที่ถูกต้อง!

มาค่ะ! อ่านมาถึงตรงนี้พร้อมแล้วสำหรับการเริ่มรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” สำหรับวิธีการที่ถูกต้องตามแพทย์และเภสัชกรแนะนำ เพื่อน ๆ สามารถอิงตามเกณฑ์ได้ตามนี้เลยค่า 😀
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง สามารถทานได้พร้อมมื้ออาหารหรือหลังอาหาร อิงตามเกณฑ์น้ำหนักตัว ดังนี้

  • น้ำหนักตัว < 60 กก. กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น
  • น้ำหนักตัว > 60 กก. กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น 

ระยะเวลาในการรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน”

  • เริ่มรับประทานก่อนวันที่ประจำเดือนจะมาโดยประมาณ 3-4 วัน
  • รับประทานต่อเนื่องตามจำนวนวันที่ต้องการเลื่อนประจำเดือน
  • หากครบกำหนดระยะเวลาที่ต้องการ สามารถหยุด “ยาเลื่อนประจำเดือน” ได้ทันที
  • ทันทีที่หยุด “ยาเลื่อนประจำเดือน” ประจำเดือนจะมาภายใน 2-3 วันและอย่างช้าสุด 7 วัน
Pynpy’ Tips เนื่องจาก “ยาเลื่อนประจำเดือน” มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนโดยตรง ดังนั้น ผู้ที่ไม่ควรรับประทาน คือ สตรีที่กำลังครรภ์, ผู้มีประวัติลิ่มเลือดอุดตันหรือเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน, แม่ที่ต้องในนมบุตร, ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, ผู้ที่ตับทำงานผิดปกติ, ผู้ที่เคยเป็นและกำลังเป็นมะเร็งเต้านม รวมไปถึงผู้ที่สูบบุหรี่ด้วยค่ะ

ผลข้างเคียงของการรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน”

แน่นอนค่ะว่าเนื่องจากการรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” ส่งผลโดยตรงกับฮอร์โมนภายในร่างกาย ผลข้างเคียงจึงย่อมเกิดขึ้นมากน้อยต่างกันตามแต่ละบุคคลและสุขภาพส่วนตัว

  • ผลข้างเคียงและอาการทั่วไปที่พบบ่อยครั้ง คือ ประจำเดือนรอบถัดไปมาไม่สม่ำเสมอ อาการปวดหัว คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อาเจียน รวมไปถึงอาการคัดเต้านม, ตกขาวมามากผิดปกติและเลือดออกจากช่องคลอดกระปริบกระปรอย
  • ผลข้างเคียงที่พบน้อย คือ อาการตาพร่ามัว การมองเห็นลดลง ภาวะมะเร็งเต้านม รวมไปถึงอาการซึมเศร้า

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” ก็ยังคงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย หากเพื่อน ๆ คนไหนรับประทานแล้วเกิดผลข้างเคียงก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ
เพราะนี่ถือเป็นอาการที่ปกติมาก ๆ หรือหากใครมีอาการที่นอกเหนือจากนี้ สามารถไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางตามโรงพยาบาลที่สะดวกได้เลยค่า 😀

ข้อแนะนำเมื่อจำเป็นต้องรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” อย่างปลอดภัย

  • ก่อนรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” ทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ อีกทั้งควรอยู่ภายใต้การประเมินปริมาณและระยะเวลาในการรับประทานเพื่อความปลอดภัย
  • ไม่ควรใช้ “ยาเลื่อนประจำเดือน”เพื่อจุดประสงค์การคุมกำเนิดหรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เนื่องจากยาเลื่อนประจำเดือนมักถูกทำให้เข้าใจผิดว่าสามารถคุมกำเนิดได้
    ดังนั้น ก่อนมีเพศสัมพันธ์จึงควรป้องกันทุกครั้ง
  • “ยาเลื่อนประจำเดือน” ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากอาจจะส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รอบเดือนรวน และเลือดออกกะปริบกะปรอยได้
  • หากเพื่อน ๆ มียาหรือวิตามินที่รับประทานอยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางชนิดส่งผลต่อประสิทธิภาพ “ยาเลื่อนประจำเดือน”
    ให้ทำงานได้ไม่เต็มที่

Yayyyy! 😀 ได้รู้จัก “ยาเลื่อนประจำเดือน” มากขึ้นแบบนี้ เพื่อน ๆ คงคลายสงสัยกันไปเยอะเลยใช่ไหมล่ะคะ แบบนี้ทริปลุยป่า ขึ้นเขา ดำน้ำ ไม่มีล่ม!

คลิกชมสินค้าเพิ่มเติม

ประจำเดือนมาเยือนอีกครั้ง! กางเกงในอนามัย Pynpy’ เท่านั้นที่ตอบโจทย์ : )

หลังจากรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” จนครบระยะเวลาที่ต้องการ มาเตรียมพร้อมรับกับน้องเมนส์และเพิ่มความสบายใจอีกขั้น! กับ กางเกงในอนามัย Pynpy’ กันเลยดีกว่า มาดูกันค่ะว่าเจ้ากางเกงในอนามัย Pynpy’ ของเรามีคุณสมบัติและความพิเศษอะไรบ้าง!

Pynpy’ ไอเทม Life Saver! เมื่อประจำเดือนมาเซอร์ไพรส์ก่อนกำหนด!

แน่นอนค่ะว่าแม้เราจะรับประทาน “ยาเลื่อนประจำเดือน” ไปแล้ว แต่ไฉนหนอ? น้องเมนส์ดั๊นน.. มาเซอร์ไพรส์ก่อนกำหนด!! แถมยังโผล่มาตอนเวลาออกทริปเที่ยวอีกนี่สิ~ ไม่ต้องกังวลใจไปเลยค่าเพราะเพื่อน ๆ สามารถพกไอเทมตัวเก่งอย่าง กางเกงในอนามัย Pynpy’ เพื่อนคู่ใจติดตัวไว้เป็นไอเทมกู้ชีพ! หากเกิด Accident น้องเมนส์มาเยือนเมื่อไหร่ ก็อุ่นใจ หยิบมาสวมใส่ได้ทันที! เพราะ กางเกงในอนามัย Pynpy’ สามารถสวมใส่แทนผลิตภัณฑ์อนามัยได้แบบครบ จบ ที่ตัวเดียว!

คุณสมบัติและความพิเศษของกางเกงในอนามัย Pynpy’

  • สามารถใช้แทนผ้าอนามัยและผลิตภัณฑ์อนามัยได้เลย!
  • กระชับ สอดรับสรีระทุกไซส์ 3XS-5XL : กระชับและตอบโจทย์ทุกท่วงท่าในชีวิตประจำวันกับไซส์การใช้งานตั้งแต่ 3XS-5XL
  • ดูดซับเร็วทันใจ ใส่สบายตลอดวัน : โดดเด่นด้วยนวัตกรรมสิ่งทอที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีและวัสดุพิเศษ รองรับของเหลวแบบไม่ไหลย้อนกลับ ใส่ได้ยาวนาน 8-12 ชั่วโมง!
  • ปลอดภัย ไร้อาการระคายเคือง : มั่นใจได้ในความปลอดภัยจากเชื้อแบคทีเรีย พร้อมการันตีการรับรองมาตรฐานระดับโลก OEKO-TEX Standard100 อีกด้วย และเทคโนโลยี Anti-bacteria ที่อ่อนโยนสามารถใส่ได้ทุกวัย!

อะแฮ่มมม ๆๆๆ เดี๋ยวจะไม่เชื่อกัน ว่าแล้วมาดูรีวิวของเพื่อน ๆ ที่ได้สัมผัสความสบายแบบลืมไปเลยว่าวันนี้เป็นวันนั้นของเดือนกันสักหน่อยดีกว่า ว่าแต่ละคนมีฟีดแบ็กที่อยากแชร์กันยังไงบ้าง พร้อมแล้วมาส่องกันเล้ยย…

Mildly
นักจิตวิทยาฝึกหัด

ชอบมากๆๆๆ ค่ะ size ก็พอดีเลย ไม่คับ กระชับสรีระ ตอนแรกไม่อยากจะเชื่อเลย แต่นี่พิสูจน์ แล้วว่าดีจริง คุ้มค่าราคา เลยจะสอยมาเพิ่มอีกจะได้มีหลายตัวไว้สลับเดือนหน้าค่ะ

Pear
อาจารย์มหาวิทยาลัย

เดี๋ยวจะซื้อเพิ่ม เพราะคิดว่าตอนนอนที่ปกติผ้าอนามัยมันชอบขยับ ใส่เป็นกางเกงในแทนน่าจะยิ่งดี แล้วขอบคุณที่มีไซส์ใหญ่ให้ด้วยซื้อ 4XLไปค่ะ 😍 สั่งเพิ่มไปอีก 3 นะคะ เชียร์มากๆ ลดขยะด้วย เดี๋ยวจะแนะนำเพื่อนๆมาลองอุดหนุน ขอบคุณค่ะ 😊

Mai
รับราชการ

ตอนก่อนรู้จัก Pynpy' เราใช้ผ้าอนามัยแบบกางเกง ใส่นอนตอนกลางคืนค่ะ เพราะกลัวที่นอนจะเลอะ แต่ก็ยังไม่รู้สึกมั่นใจเท่าใส่ pynpy เลย เพราะ Pynpy' บางแบบ กางเกงในจริง ๆ แล้วก็กระชับพอดีตัว

คลิกชมสินค้าเพิ่มเติม

Wowwww >< เป็นไงบ้างค๊า อ่านรีวิวแล้วคงอยากได้กันแล้วใช่ไหมล่าาา ตอบโจทย์และปังครอบคลุมทุกความต้องการของมนุษย์เมนส์อย่างชาวเราแบบนี้ เพื่อน ๆ ชาว Pynpy’ มีเหรอจะพลาด! ว่าแล้วเตรียมนิ้วให้มั่น! แล้ว กดซื้อกางในอนามัย Pynpy’ ได้ที่นี่เลยค่า 😀

เพื่อน ๆ คนไหนสนใจสั่งซื้อและอ่านข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามและมาเป็นครอบครัว Pynpy’ ด้วยกันได้ผ่านช่องทาง Facebook: Pynpy Instagram: pynpywear YouTube: pynpy Line: @pynpy และ Twitter: @pynpywear ได้เล้ยยย 🙂

กินยาเลื่อนประจำเดือนได้ไหม

สำหรับประเด็นนี้ ทาง อย. ได้ให้คำตอบว่า ไม่ควรกินยาเลื่อนประจำเดือนก่อนเมนส์มา 1 วัน หรือกินยาเลื่อนประจำเดือนตอนเมนส์มา เพราะการกินยาก่อนมีประจำเดือนแค่ 1 วัน หรือตอนที่กำลังมีประจำเดือนจะไม่ช่วยเลื่อนประจำเดือนอย่างที่หวังไว้ เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาแล้ว จึงอาจมีผลแค่ช่วยลดปริมาณ และจำนวนวันของการมี ...

เลื่อนประจำเดือนได้ไหม

เลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลง (เลื่อนออก) ให้เริ่มกินยาเลื่อนประจำเดือนก่อนวันที่จะถึงรอบเดือนจริงๆ ประมาณ 3-7 วันเช่น รอบเดือนปกติจะมาวันที่ 19 ให้เริ่มกินยาเลื่อนประจำเดือนช้าสุดคือวันที่ 16 รับประทานสูงสุดไม่เกิน 2 สัปดาห์ เมื่อหยุดยาแล้วประจำเดือนจะมาปกติภายใน 2-3 วัน แต่สำหรับบางคนประจำเดือนอาจจะมาหลังหยุดยา 7 วันก็ ...

ยาเลื่อนประจําเดือน กี่เม็ด

วิธีทานยาเลื่อนประจำเดือน ต้องทานก่อนมีประจำเดือนประมาณ 3 วัน คนมีน้ำหนักตั้งแต่ 60 กก. ขึ้นไป ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น คนมีน้ำหนักน้อยกว่า 60 กก. ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เวลา เช้า และ เย็น

กินยาเลื่อนประจําเดือน ยังไง

วิธิการกินยาเลื่อนประจำเดือนไม่ให้ Mission Failed กินยาครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง หลังอาหารหรือทานพร้อมมื้ออาหาร โดยกินตามน้ำหนักตัว ตามนี้ได้เลย น้ำหนักตัว น้อยกว่า 60 กก. กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 เวลา คือ เช้าและเย็น น้ำหนักตัว มากกว่า 60 กก. กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน และเย็น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้