ข้อใดคือหน้าที่ขององคมนตรีสภาในสมัยรัชกาลที่ 5

วันนี้เมื่อ 145 ปีที่แล้ว ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้ง ‘สภาที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน’ หรือ Counsil of State ขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2417 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาจำนวน 12 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่างๆ ในด้านนิติบัญญัติ และเมื่อข้อราชการใดที่ประชุมสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีมติเห็นชอบก็ให้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป เปรียบเสมือนคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบัน

 

สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เป็นสถาบันทางการเมืองที่ก่อตั้งตามพระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตต คือที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน จุลศักราช 1236 เพื่อสนับสนุนพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศตามแบบตะวันตก ถือเป็นก้าวแรกของการปฏิรูปการเมืองการปกครองของประเทศไทย

 

สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งเป็นประธานที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยที่ปรึกษาทั้ง 12 คนสามารถอยู่ในตำแหน่งนานตราบเท่าที่ทรงพอพระราชหฤทัย และผู้ที่จะดำรงตำแหน่งต้องทำพิธีสัตยานุสัตย์สาบานต่อหน้าพระพักตร์และถือน้ำพิพัฒน์สัตยา แล้วจึงจะได้รับพระราชทานตราตั้ง ผลงานสำคัญของสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินคือการตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทยที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2417 เพื่อกำหนดค่าตัวลูกทาสให้สูงสุดตอนเป็นเด็ก แล้วมีค่าตัวลดลงทุกปีจนหลุดพ้นเป็นไทได้จนหมดประเทศเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2448

 

ทั้งนี้ก็ถือได้ว่าสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเปรียบเหมือนสถาบันแรกของประเทศไทยที่ดำเนินการด้านการร่างกฎหมายโดยเฉพาะ และให้คำปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดิน อันเป็นพื้นฐานในการจัดตั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบัน

      “สำนักเลขาธิการองคมนตรี” เป็นส่วนราชการระดับกองเพิ่มขึ้นมาจากเดิม และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรี” นับตั้งแต่มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักราชเลขาธิการ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นต้นมา  จวบจนกระทั่งเมื่อพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ จึงใช้ชื่อว่า “สำนักงานองคมนตรี”  ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์หน่วยหนึ่งในทั้งหมด ๓ หน่วยราชการในพระองค์  

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ ปฏิบัติงานด้านเลขานุการองคมนตรี ในหน้าที่ที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์ ทั้งในราชการแผ่นดินและส่วนพระองค์ รวมทั้งหน้าที่องคมนตรีตามที่กฎหมายกำหนด ประสานงานระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐบาล รัฐสภา ศาล องค์กรเอกชน และประชาชน ในงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ขององคมนตรี ดำเนินการเรื่องที่คณะองคมนตรีพิจารณาถวายความเห็นเกี่ยวกับ  ร่างกฎหมาย การแต่งตั้ง ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ฎีกาขอพระราชทานความเป็นธรรมและการขอพระราชทานความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ และงานราชการแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ ตลอดจนดำเนินการเกี่ยวกับโครงการ มูลนิธิ หรือกองทุน ที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้องคมนตรีรับผิดชอบ

ตำแหน่ง “องคมนตรี” มีบทบาทเป็น “ที่ปรึกษาส่วนพระองค์” ของพระมหากษัตริย์ไทยตลอดมา 5 รัชกาล ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานบทบาท-หน้าที่แก่องคมนตรีตลอดรัชสมัยบรมจักรีวงศ์

สำหรับปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชดำรัสแก่ 1 ประธานองคมนตรีกับอีก 10 องคมนตรี ในการเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ตอนหนึ่ง ว่า

“คณะองคมนตรีในยุคนี้ปัจจุบันนี้ จะได้รับการมอบภารกิจ ตลอดจนได้รับโอกาส หรือหน้าที่ที่จะให้คำแนะนำ ช่วยกันดำรงความมั่นคงของสถาบันและประเทศชาติ ได้ป๋ามาเป็นประธาน ก็อุ่นใจ ทุกคนก็เคยปฏิบัติหน้าที่ถวายในรัชกาลก่อน หลายคนก็เชื่อมือกัน และคิดจะทำให้ประเทศเรามีความสุข จะได้ตั้งใจทำงานได้ ขอบคุณ”

ปฐมบทแห่งที่ปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์เกิดขึ้นครั้งแรกสมัย “พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” (ร.5) ทรงแต่งตั้งสภาขึ้น 2 สภา คือ 1.สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) (รัฐมนตรีสภา) มีสมาชิกจำนวน 12 คน เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 ทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ-ออกกฎหมาย

2.สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (ที่ปรึกษาในพระองค์) หรือ ปรีวีเคาน์ซิล (Privy Council) มีสมาชิกจำนวน 49 คน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและดูแลบ้านเมือง-ราษฎรต่างพระเนตรพระกรรณ

ถือเป็นต้นกำเนิดของคณะบุคคลที่พระมหากษัตริย์ทรงไว้วางพระราชหฤทัยและเป็นที่ปรึกษาพระเจ้าแผ่นดิน ดั่งพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“การเคาน์ซิลมีคุณ 2 ประการ ประการที่หนึ่ง ยอมให้มีอำนาจที่จะหยุดหน่วงขัดขวางพระเจ้าแผ่นดินได้ การเคาน์ซิลก็ต้องมีอำนาจจะตรวจตรา ดูการข้อนั้นถ้าเหนขัดขวางไม่ถูกต้องไม่เปนคุณแก่แผ่นดิน ไม่เป็นคุณแก่พระเจ้าแผ่นดิน ไม่เปนคุณแก่ราษฎรทั่วไป ก็จะต้องคัดค้านว่ากล่าวได้เตมอำนาจทีเดียว ซึ่งว่ามานี้เปนอำนาจเคาน์ซิลทั้งสองประการ”

ในสมัย “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” (ร.6) ทรงแต่งตั้ง “สภากรรมการองคมนตรี” จำนวน 40 คน ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ต่อมาได้ทรงแต่งตั้งองคมนตรีขึ้นใหม่ทุกปี ทุกวันที่ 4 เมษายน เนื่องในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทรงมีองคมนตรีมากถึง 233 คน

 

บทบาทขององคมนตรีในรัชสมัย ร.6 บัญญัติไว้ใน กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ มาตรา 20 ของหมวดที่ 7 ว่าด้วยการแก้กฎมณเฑียรบาล ว่า

“ถ้าองคมนตรีมีจำนวนถึง 2 ส่วนใน 3 แห่งผู้ที่มาประชุมนั้นลงความเห็นว่าควรแก้ไขหรือเพิกถอนตามพระราชประสงค์แล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงค่อยมีพระบรมราชโองการให้แก้ไขหรือเพิกถอน แต่ถ้าแม้ว่าองคมนตรีที่มาประชุมนั้นมีผู้เห็นควรให้แก้ไขหรือเพิกถอนเปนจำนวนไม่ถึง 2 ใน 3 แล้ว ก็ขอให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระขันติระงับพระราชดำริที่จะทรงแก้ไขหรือเพิกถอนนั้นไว้เถิด”

ในสมัย “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” (ร.7) ท่ามกลางกระแสเรียกร้องเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย ทรงแต่งตั้ง 3 คณะที่ปรึกษา

1.อภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 มีพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่-รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทสมัย ร.5 จำนวน 5 พระองค์ เป็นรัฐมนตรีสภา 2.เสนาบดีสภา คือ เสนาบดีบริหารงานกระทรวง และ 3.สภากรรมการองคมนตรี เป็นที่ปรึกษาในพระองค์ร.7 ทรงมีพระราชดำรัสการแต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภา ตอนหนึ่ง ว่า “ยังมีราชการอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการสำคัญอย่างยิ่ง เราจึงคิดว่าจะตั้งมนตรีขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เรียกว่า อภิรัฐมนตรีสภา ให้มีสมาชิกแต่น้อยสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชการทั้งปวงเปนนิจ เพื่อจะได้เปนกำลังแก่การที่ทรงพระราชวินิจฉัยราชการทั้งปวง”

“ในการตั้งสภาอภิรัฐมนตรีนี้ ผู้ซึ่งสมควรจะเป็นสมาชิก จำต้องเป็นผู้ซึ่งมีความคุ้นเคยและชำนิชำนาญราชการมากมาแต่ก่อน และประกอบด้วยเกียรติคุณทั้งความปรีชาสามารถสมควรเป็นที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนมหาชนทั้งหลาย”

การแต่งตั้ง “อภิรัฐมนตรี” ถูกกล่าวถึงอำนาจ-หน้าที่ ว่า มีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์หรือไม่ ดั่งพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 7 ตรัสไว้ในพระราชบันทึกเรื่อง “ปัญหาของสยาม” ตอนหนึ่ง ว่า

“ประชาชนถามว่าคณะอภิรัฐมนตรีเป็นสภาที่ปรึกษาหรือว่าเป็นสภาบริหาร บางคนคิดว่าสภามีอำนาจมากเกินไป ข้าพเจ้าอยากจะตอบว่าเป็นสภาที่ปรึกษาอย่างเดียวเพราะว่าไม่สามารถทำการบริหารได้ การตัดสินใจขั้นสุดท้ายแต่เพียงพระองค์เดียว แม้ว่าจะทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด ก็ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะใช้เลย”

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในบันทึกถวายแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสนับสนุนการมีอภิรัฐมนตรี ว่า

“สิ่งที่สยามต้องการอย่างเร่งด่วนในขณะนี้คือการปรับปรุงแก้ไขสิ่งชั่วร้าย และการจัดการบริหารราชอาณาจักรอย่างมีประสิทธิภาพก่อนสิ่งอื่น ในข้อนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่สรรเสริญไปได้มากกว่านี้อีกแล้ว ด้วยการจัดตั้งอภิรัฐมนตรี”

ช่วงรอยต่อการเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยในเบื้องแรกอภิรัฐมนตรีมีบทบาทต่อการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญเป็นอย่างมาก หลังจากที่รัชกาลที่ 7 ทรงตราพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470 ขึ้น ดั่งการตรัสไว้ในที่ประชุมกรรมการองคมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2470 ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ตอนหนึ่ง ว่า

“สภากรรมการองคมนตรีเรานี้ ถึงไม่ใช่ปาเลียเมนต์ก็จริง และถึงเวลานี้เมืองเรา ยังไม่ควรมีปาเลียเมนต์ก็จริง แต่ระเบียบการประชุมและขนบธรรมเนียมที่จะตั้งขึ้นนั้นจะหนีแบบปาเลียเมนต์ไปคงไม่ได้”

บทบาทสุดท้ายอภิรัฐมนตรี คือ การให้คำปรึกษาในหลวงรัชกาลที่ 7 ก่อนตัดสินใจสละราชบัลลังก์ตามความต้องการของคณะราษฎร นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ในที่สุด

โดยคณะราษฎรได้ยกเลิก “อภิรัฐมนตรีสภา” และ พ.ร.บ.องคมนตรี พ.ศ. 2470 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2475

15 ปีว่างเว้นไป “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” (ร.9) ได้แต่งตั้ง “อภิรัฐมนตรี” อีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2490 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2490 และเปลี่ยนชื่อเป็น “องคมนตรี” ตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. 2492 และใช้มาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้