คลองที่ถูกขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 คือข้อใด

การพัฒนาสยามในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสร้างความ “ศิวิไลซ์” ให้กับประเทศชาติ หนึ่งในการพัฒนาที่สำคัญในสมัยนั้นคือ “ถนน” ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการขยายตัวของเมือง รวมทั้งเป็น “หน้าตา” ไม่ให้อายพวกฝรั่งด้วย

ถนนเจริญกรุงเป็นถนนสายแรกที่สร้างขึ้นตามแบบ “ตะวันตก” สายแรกของสยาม เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้างถนนสายใหม่ตั้งแต่สะพานเหล็ก บริเวณริมวังเจ้าเขมรยาวเรื่อยไปแล้วแยกออกอีก 2 สาย

สายแรกตัดไปข้ามคลองผดุงกรุงเกษมเชื่อมต่อกับ “ถนนตรง” ส่วนอีกสายให้ตัดลงมาทางใต้ยาวตลอดไปถึงบริเวณดาวคะนอง ซึ่งไม่นานหลังจากตัดถนนก็ทำให้บริเวณสองฝากถนนคับคั่งเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญของสยาม รัชกาลที่ 4 ทรงเห็นความสำคัญของถนนจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนใหม่อีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร

ห้าง เอส.เอ.บี ถนนเจริญกรุง (ภาพจาพหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

ในการครั้งนี้ยังตัดถนนอีกสายหนึ่ง โดยขุดคลองแล้วนำดินที่ขุดมาถมเป็นถนน โดยเริ่มตั้งแต่บริเวณสถานกงสุลฝรั่งเศส ยาวตลอดมาถึงบริเวณศาลาที่เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดีสร้างไว้ (ปัจจุบันคือศาลาแดง) ภายหลังเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนสีลม”

ถนนเจริญกรุงและถนนสีลมนี้นอกจากจะเป็นพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 4 ในการพัฒนาสยามแล้ว การสร้างถนนทั้งสองสายก็มีสาเหตุมาจาก “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาติอีกประการหนึ่งด้วย

เนื่องจากพวกกงสุลต่างประเทศมีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายถึงรัชกาลที่ 4 ว่า เมื่อพวกเขาอาศัยอยู่ที่ยุโรปก็มักขี่รถขี่ม้าไปเที่ยวต่างอากาศทำให้เกิดความสบาย ไม่มีเจ็บไม่มีไข้ แต่เมื่อมาอาศัยอยู่สยามนั้นแล้วไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้าออกไปเที่ยวต่างอากาศจึงทำให้เจ็บไข้อยู่เนือง ๆ

นอกจากนี้ ยังมีถนนอีกสายหนึ่งที่กล่าวไปเบื้องต้นแล้วคือ “ถนนตรง” ซึ่งการก่อสร้างถนนสายนี้ก็มีประเด็น “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาติ 

ในปี พ.ศ. 2400 พวกกงสุลนายห้างต่างประเทศได้รวมชื่อกันถวายหนังสือถึงรัชกาลที่ 4 ว่าจะขอลงไปตั้งห้างร้านซื้อขายสินค้าเสียใหม่ ตั้งแต่คลองพระโขนงยาวไปตลอดถึงบางนา โดยให้เหตุผลว่า ครั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากแล้วน้ำเชี่ยวมาก กว่าเรือจะแล่นขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ นั้นเสียเวลาไปหลายวัน

รัชกาลที่ 4 ทรงปรึกษากับบรรดาเสนาบดีแล้วก็เห็นชอบให้ขุดคลองถมถนนตามที่พวกชาวต่างชาติร้องขอ พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศมหาโกษาธิบดี เป็นแม่กองจ้างชาวจีนขุดคลองตั้งแต่หน้าป้อมผลาญไพรีราบบริเวณหัวลำโพงตัดตรงไปถึงคลองพระโขนง และขุดคลองพระโขนงให้ทะลุออกแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วจึงให้เอาดินที่ขุดนั้นมาถมเป็นถนน

พระราชทานนามว่า “คลองถนนตรง” ครั้นเมื่อขุดคลองแล้วเสร็จพวกชาวต่างชาติเหล่านั้นก็ไม่ได้ย้ายไปอยู่ที่พระโขนงหรือบางนาตามที่อ้างเหตุให้ขุดคลองตามหนังสือที่ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยให้เหตุผลในครั้งนี้ว่า ไกลและจะขออยู่ที่เดิม

คลองผดุงกรุงเกษม ช่วงต่อกับคลองถนนตรง และถนนเลียบข้างคลองคือ “ถนนพระรามที่สี่” ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2489

ในตอนที่เหล่าเสนาบดีปรึกษากันเรื่องการขุดคลองถนนตรงนั้น ต่างก็คิดว่าหากทำตามที่ชาวต่างชาติร้องขอก็จะทำให้เกิด “ความสงบ” กับฝ่ายสยาม ดังความกราบบังคมทูลว่า “ถ้าชาวยุโรปยกกันลงไปตั้งอยู่ที่บางนาได้ ก็จะห่างไกลออกไป ก็มีคุณอย่างหนึ่งด้วยความหยุกหยิกนั้นน้อยลง”

จากข้อความข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาตินั้นสร้างความ “รำคาญใจ” ให้ชาวสยามอยู่ไม่น้อย เฉพาะเรื่องถนนยังจุกจิกน่ารำคาญขนาดนี้ เรื่องอื่น ๆ อีกยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่าสยามในสมัยนั้นต้องมาปวดหัวกับพวกชาวต่างชาติมากเพียงใด

อย่างไรก็ตาม สยามต้องขอบคุณ “ความเรื่องมาก” ของชาวต่างชาติในเรื่องถนนนี้ เพราะถือเป็นแรงผลักดันและแรงกระตุ้นให้สยามต้องพัฒนาชาติด้านการคมนาคมอย่างแข็งขัน และยังส่งผลต่อแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 4

รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริว่ากรุงเทพฯ นั้นมีแต่เพียงตรอกเล็กซอยน้อยอันคับแคบ ส่วนถนนใหญ่ก็เปรอะเปื้อนไม่เป็นที่เจริญตา ครั้นพวกชาวต่างชาติเข้ามากรุงเทพฯ มากขึ้นทุกปี เมื่อย้อนนึกถึงบ้านเมืองตะวันตกของพวกเขานั้นสะอาดเรียบร้อย ก็กลัวว่าจะเป็นที่ขายหน้าแก่นานาประเทศ

ดังพระราชดำริในพงศาวดารรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่า “เขาว่าเข้ามาเป็นการเตือนสติ เพื่อจะให้บ้านเมืองงดงามขึ้น”

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

ทิพากรวงศ์, เจ้าพระยา. (2507). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ: การพิมพ์เกื้อกูล. ฉบับออนไลน์ที่ archive.org

พื้นที่ตั้งเกาะรัตนโกสินทร์ ในอดีตคือตำบลบางกอกซึ่งมีพื้นที่ทั้งฝั่ง กรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรีรวมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกันมาก่อน เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชนมานานแล้ว ชุมชนนี้เจริญเติบโตและหนาแน่นขึ้นเป็นลำดับ พร้อม ๆ กับความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา นับแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 ชุมชนเมืองบางกอกนี้เจริญเติบโตขึ้นเนื่องจากเป็นเมืองที่อยู่ถัดมาจากเมืองพระประแดงซึ่งป็นเมืองด่านสำคัญที่รักษาพื้นที่บริเวณปากอ่าวไทย

แต่เดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยามีลักษณะคดเคี้ยวมากซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการติดต่อค้าขาย จึงเป็นเหตุให้พระมหากษัตริย์หลายพระองค์โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดขึ้นหลายช่วงเพื่อลดระยะทางการเดินเรือจากทะเลไปสู่กรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะในสมัยพระไชยราชาธิราชได้มีการขุดคลองลัดบางกอกขึ้นจากคลองบางกอกน้อยถึงคลองบางกอกใหญ่คือบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ข้างพระบรมมหาราชวังถึงท่าเตียนในปัจจุบัน เป็นสาเหตุให้แม่น้ำเปลี่ยนทิศทางจนคลองลัดขยายตัวกว้างออกกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนเส้นทางแม่น้ำเดิมกลับแคบลงและตื้นเขินจนเปลี่ยนสภาพกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ในเวลาต่อมา ส่งผลให้สภาพพื้นที่บริเวณนี้เปลี่ยนจากแผ่นดินผืนเดียวกันแยกออกเป็น 2 ผืน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางดังปัจจุบัน

ชุมชนเมืองบางกอกจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงบทบาทจากหมู่บ้านสวนผลไม้และไร่นามาเป็นเมืองด่านสำคัญนับตั้งแต่ขุดคลองลัดแม่น้ำเสร็จเป็นเวลานานกว่า 300 ปี ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อเสียศรีกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้อิสรภาพคืนมาและสถาปนาเมืองด่านสำคัญนี้ขึ้นเป็นเมืองหลวงของกรุงธนบุรีด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมคือมีพื้นที่ใกล้ทะเลและมีป้อมปราการดีอยู่แล้ว สภาพภายในกำแพงเมืองฝั่งวันตกของพระนครธนบุรีมีชุมชนหนาแน่นกว่าส่วนอื่น ๆ ภายในพระนคร โดยเป็นที่ตั้งของพระราชวัง วังเจ้านาย คุก และนิวาสสถานของขุนนางผู้ใหญ่ รวมทั้งวัดสำคัญหลายวัด ส่วนภายในกำแพงพระนครฝั่งตะวันออกมีชุมชนเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่ของชาวจีนและชาวญวนที่ถูกกวาดต้อนอพยพมา นอกกำแพงพระนครฝั่งนี้เป็นทุ่งนาปลูกข้าวเลี้ยงชาวเมืองเรียกว่าทะเลตม

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันตกมายังตะวันออก สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นบนพื้นที่ที่ชาวจีนตั้งถิ่นฐานอยู่เดิม โดยโปรดให้ย้ายบ้านเรือนไปตั้งที่บริเวณใกล้วัดสามปลื้มและวัดสำเพ็ง (ปัจจุบันคือบริเวณวัดจักรวรรดิราชาวาสถึงวัดประทุมคงคา) มีการสร้างกำแพงเมือง ป้อม ปราการป้องกันพระนคร โดยโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรีลงเพื่อขยายกำแพงเมือง ขุดคูพระนครใหม่และขุดคลองเพิ่ม ดังนี้

คลองคูเมืองเดิม ได้ขุดคลองโรงไหมที่มีอยู่เดิมทางด้านทิศเหนือของกรุงรัตนโกสินทร์ และคลองตลาดด้านทิศใต้เชื่อมกันตลอดคลองทำให้กรุงรัตนโกสินทร์มีสภาพเป็น “เกาะเมือง” มีน้ำล้อมรอบ

คลองรอบกรุง ได้ขุดคลองใหม่เชื่อมระหว่างคลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่างเพื่อเป็นการขยายแนวเขตพระนครออกไป มีคลองเล็ก ๆ เชื่อมคลองรอบกรุงและคลองคูเมืองเดิมสองคลองเรียกว่าคลองหลอด เพราะมีลักษณะแนวตรงเหมือนหลอด ปัจจุบันคือคลองวัดเทพธิดาและคลองวัดราชบพิธ ทำให้พื้นที่โครงสร้างของเมืองแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ

กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน คือ เขตกำแพงเมืองเก่า สมัยกรุงธนบุรีระหว่างคูเมืองเดิมกับแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวัง

กรุงรัตนโกสินทร์ชั้นนอก คือ ที่ดินระหว่างคลองคูเมืองเดิมกับคลองรอบกรุง ซึ่งเดิมเป็นที่รกร้างหรือเป็นไร่นามาก่อนเพราะเป็นเขตนอกกำแพงเมือง

กรุงรัตนโกสินทร์ยุคแรกมีพื้นที่ภายในกำแพงเมือง 2,589 ไร่ เป็นพื้นที่ในเขตชั้นใน 1,125 ไร่ และเขตชั้นนอก 1,464 ไร่ ความยาวของกำแพงเมืองโดยรอบพระนคร ประมาณ 7.2 กิโลเมตร ตามแนวกำแพงเมืองมีป้อม 14 ป้อม ประตูเข้าออกพระนคร 63 ประตู 

การวางแผนการใช้ที่ดินเขตชั้นในดำเนินตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือที่ดินด้านเหนือน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ตั้งพระราชวังบวรสถานมงคลของพระอนุชาคือสมเด็จพระบวรราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท หรือวังหน้า (ปัจจุบันคือที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงละครแห่งชาติ วิทยาลัยช่างศิลป์ และวิทยาลัยนาฏศิลป์) ส่วนที่ดินด้านใต้เป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังหรือวังหลวง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระหว่างวังหน้าและวังหลวงคือวัดมหาธาตุ หลังวัดมหาธาตุเป็นทุ่งพระเมรุหรือท้องสนามหลวง ถัดไปเป็นที่ตั้งของศาลหลวง วังเจ้านาย โรงม้าหลวง ตึกดิน ลงไปตามลำดับ ด้านหลังพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นที่ตั้งของกรมพระนครบาล คุก และหอกลอง ด้านหน้าของวัดพระเชตุพนฯ เป็นวังท่าเตียน ส่วนพื้นที่ระหว่างกำแพงวังด้านใต้กับวัดพระเชตุพนฯ นั้น เป็นบ้านเรือนของเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ เขตชั้นนอกเป็นที่อยู่ของข้าราชบริพารและข้าราชการชั้นผู้น้อย ตลอดจนราษฎรพากันมาจับจองเพื่อตั้งบ้านเรือน ซึ่งมีความหนาแน่นทวีขึ้นเป็นลำดับตามระยะเวลาที่ผ่านไป

ชุมชนต่าง ๆ ในระยะแรกสามารถแยกออกได้ตามเชื้อชาติเพราะเป็นชาวต่างด้าวเสียส่วนใหญ่ โดยภายในกำแพงเมืองนั้น พวกชาวเขมรอยู่ริมคลองรอบกรุงเยื้องปากคลองหลอด พวกมอญอยู่แถบสะพานมอญ และพวกมลายูอยู่แถบหน้าวัดชนะสงครามและริมคลองหลอด

ในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเพียงเล็กน้อย ที่สำคัญคือมีการขยายเขตพระบรมมหาราชวังออกไปทางทิศใต้อีก 20 ไร่ครึ่ง จนเกือบจดกับเขตวัดพระเชตุพน ฯ ในปี พ.ศ. 2361 ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งบ้านเรือนเสนาบดีเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้ตัดถนนสายใหม่คั่นเขตระหว่างพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ ชื่อ ถนนท้ายวัง ซึ่งมีความสำคัญในการ บรรจบกับถนนสายเดิมทำให้ขบวนแห่สามารถเคลื่อนรอบกำแพงพระบรมมหาราชวังได้ดังเช่นปัจจุบัน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคารสำคัญในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามจำนวนมาก ส่วนวัดต่าง ๆ ที่โปรดให้ปฏิสังขรณ์นั้นมีหลายวัดที่โปรดให้เปลี่ยนชื่อให้เหมือนวัดในกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่คือเจดีย์ภูเขาทองขึ้นที่ภายนอกเขตกำแพงเมืองบริเวณปากคลองมหานาคต่อกับคลองรอบกรุงเช่นที่กรุงศรีอยุธยาอีกด้วย เจดีย์ภูเขาทองได้กลายเป็น LAND MARK ที่สำคัญอย่างหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ตราบจนถึงทุกวันนี้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ทรงเปลี่ยนนโยบายการปกครองประเทศ โดยทรงยอมรับอิทธิพลจากประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรปมากขึ้น การติดต่อทางการค้าและการเมืองกับต่างประเทศขยายตัวอย่างกว้างขวางและมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งสำคัญ เนื่องจากประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปเมื่อเทียบกับตอนสร้างกรุง ทำให้อาณาเขตพระนครที่กำหนดไว้แต่เดิมคับแคบลง จึงโปรดให้ขยายพื้นที่พระนครออกไปถึงแนวคลองผดุงกรุงเกษม ไม่มีกำแพงเมืองมีแต่ป้อม 7 ป้อม ทำให้พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 4,000 ไร่ ชุมชนชาวจีนซึ่งถูกอพยพย้ายออกมาเมื่อครั้งเริ่มสร้างกรุงได้สร้างความตื่นตัวโดยเฉพาะด้านการค้าให้กับพื้นที่ที่ขยายตัวออกไปนี้ แผ่คลุมบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยานับตั้งแต่คลองรอบกรุงไปจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม ต่อจากชุมชนจีนไปทางใต้เป็นที่ตั้งสถานกงสุลของชาติต่าง ๆ จากยุโรป ครองพื้นที่กระจายต่อจากริมแม่น้ำลึกเข้าไปทางทิศตะวันออกของกรุงรัตนโกสินทร์ ์พัฒนาการด้านการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนในน้ำมาเป็นชุมชนบนบก โดยโปรดให้ตัดถนนขึ้นตามความต้องการของชาวจีนและชาวยุโรปเช่น ถนนเจริญกรุง ถนนตรง (พระรามที่ 4) ถนนสีลม ถนนเฟื่องนคร และถนนบำรุงเมือง สองฝากถนนสายต่าง ๆ โปรดให้สร้างตึกแถวเป็นห้องแถวสูง 1-2 ชั้น เพื่อให้เช่าทำการค้าขาย ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้เกิดชุมชนใหม่บนบกเป็นครั้งแรกของเกาะรัตนโกสินทร์

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมของยุโรปในคริสศตวรรษที่ 19 กรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมณฑล ชื่อ มณฑลกรุงเทพมหานคร มีการปรับปรุงและขยายตัวให้ทันสมัยและทันรับความเปลี่ยนแปลงในยุคนั้น โดยโปรดให้ขยายและปรับปรุงถนนสายเดิม และสร้างถนนราชดำเนินทั้งสายนอก สายกลาง และสายใน เพื่อเชื่อมการติดต่อระหว่างพระราชวังดุสิตที่ทรงสร้างขึ้นใหม่บริเวณทางเหนือกรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมมหาราชวัง ทำให้เกิดงานออกแบบชุมชนเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังสร้างสะพานด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดับด้วยเหล็กหล่อเป็นลวดลายวิจิตรตามแบบฉบับงานสถาปัตยกรรมยุโรปยุคฟื้นฟูวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลงานก่อสร้างทุกประเภทในสมัยนั้น คูคลองต่าง ๆ ก็ได้รับการทำนุบำรุง โดยการปลูกต้นไม้ริมทางสัญจรอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งก่อสร้างอาคารร้านค้าให้ดูกลมกลืนไม่ลักลั่นกันมาก ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียนเรียบร้อยแก่เมือง

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การใช้ที่ดินประเภทต่าง ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ ขยายตัวออกไปโดยปราศจากการวางแผน มีการขยายตัวของชุมชนต่าง ๆ เกิดเป็นย่านธุรกิจขึ้น เช่น ย่านการค้าของชาวจีนที่เยาวราช ย่านคนไทยที่บางลำพู ย่านธุรกิจของฝรั่งที่บางรัก ย่านอุตสาหกรรมตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และย่านเกษตรกรรมทางตอนเหนือของเมือง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดตัดถนนและสร้างสะพานเพิ่มเติมจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมทั้งสร้างพระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวังเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง โดยไม่มีการขยายเขตเมืองออกไปอีก แต่ได้ทรงขยายเขตพระราชวังสวนดุสิตและสร้างพระตำหนักจิตรลดารโหฐานขึ้นเป็นที่ประทับของพระองค์เองและของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมา

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ส่งผลกระทบให้เริ่มมีการแบ่งพื้นที่การปกครองในกรุงรัตนโกสินทร์ออกเป็นอำเภอต่าง ๆ ชั้นในและชั้นนอก พื้นที่เขตชั้นในนั้นก็คือพื้นที่เพียงเท่าที่มีการขยายถนนออกไปในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เท่านั้น

ในรัชกาลสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลนั้น ทรงครองราชย์เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ทั้งสองพระองค์ ประกอบกับเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ลักษณะทางกายภาพของกรุงรัตนโกสินทร์แทบไม่แตกต่างกันนัก ในช่วง 2 รัชกาลนี้ไม่มีการก่อสร้างพระราชวังหรือวังเจ้านายเพิ่มขึ้น ชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนที่อยู่ตำแหน่งเดิม โดยมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องขอบเขตและความหนาแน่นต่างไปจากเดิมบ้าง การก่อสร้างอาคารใหม่มีน้อยกว่าในเขตชั้นนอก ๆ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของหน่วยราชการและวัดต่าง ๆ เกือบทั้งสิ้น ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นตึกแถวใช้ชั้นล่างประกอบการค้าและพักอาศัยที่ชั้นบน ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีอายุค่อนข้างมาก กำแพง ป้อมปราการ หมดความสำคัญในการป้องกันรักษาพระนคร ประกอบกับมีสภาพชำรุดทรุดโทรมพังลงบ้าง จึงรื้อกำแพงเมืองตั้งแต่ท่าช้าง วังหน้า จนถึงป้อมพระสุเมรุ ในรัชกาลที่ 7 เพื่อขยายถนนพระอาทิตย์ ปัจจุบันเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุ ป้อมมหากาฬ กำแพง และประตูเมืองหน้าวัดบวรนิเวศเท่านั้น

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สภาพกรุงเทพฯ โดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตัวเมืองขยายออกไปอย่างกว้างขวาง แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพกรุงรัตนโกสินทร์ไม่มากนัก ที่ดินรอบนอกคลองคูเมืองเดิมส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ ได้แก่ อาคารศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้า และอาคารพาณิชย์-พักอาศัย ซึ่งมีการรวมตัวของกิจกรรมประเภทเดียวกัน แบ่งเป็นย่าน ๆ อย่างชัดเจน บริเวณย่านการค้าที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ย่านวังบูรพาและพาหุรัด ย่านบ้านหม้อ ย่านปากคลองตลาด ย่านคลองถม ย่านร้านค้าหลังกระทรวงกลาโหม เป็นต้น สำหรับหน่วยงานราชการในสมัยรัชกาลที่ 9 มีสถานที่ราชการเพิ่มขึ้นจำนวนมากทั้งหน่วยงานที่ตั้งใหม่และการขยายหน่วยงานเดิม

ในปี 2520 ทางราชการจึงได้กำหนดชื่อ “เกาะรัตนโกสินทร์” ขึ้น ด้วยมีวัตถุประสงค์จะกำหนดไว้เป็นเขตปรับปรุงปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เพราะถือว่าเป็นอาณาเขตกรุงเทพมหานคร หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ระยะแรกเริ่ม

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้