แนวรอยต่อของแผ่นธรณีแบบใดบ้างที่พบภูเขาไฟ

ด้วยพลังความร้อนใต้พื้นพิภพ และการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก นำไปสู่การเกิด วงแหวนแห่งไฟ ที่ทรงพลังและพร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ

วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แนวเทือกเขารอบมหาสมุทรแปซิฟิก” (Circum-Pacific Belt) คือ แนวภูเขาไฟที่ยังคงคุกรุ่นและร่องลึกก้นสมุทรที่มีความยาวรวมกันกว่า 40,000 กิโลเมตร ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปรากฏการณ์แผ่นดินไหวกว่าร้อยละ 90 ที่เกิดขึ้นบนโลก

วงแหวนแห่งไฟประกอบไปด้วยภูเขาไฟทั้งหมด 452 ลูก หรือกว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟทั้งหมดที่ปรากฏอยู่บนโลก โดยครอบคลุมพื้นที่ในมหาสมุทรและประเทศในทวีปต่าง ๆ รวมกันถึง 31 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศโบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ฟิจิ และสหรัฐอเมริกา

การกำเนิด “วงแหวนแห่งไฟ”

วงแหวนแห่งไฟ เกิดจากการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลกหรือแผ่นธรณีภาค (Plate) เมื่อหลายล้านปีก่อน ซึ่งก่อให้เกิดการมุดตัวลงซ้อนกันในบริเวณที่เรียกว่า “เขตมุดตัวของเปลือกโลก” (Subduction Zone) ใต้มหาสมุทร และการมุดตัวลงของแผ่นธรณีภาคนี้ ได้ก่อให้เกิดร่องลึกใต้มหาสมุทรและการหลอมละลายของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งผลักดันให้หินหนืด (Magma) เคลื่อนตัวขึ้นมาตามรอยแยกจนกลายเป็นต้นกำเนิดของแนวภูเขาไฟที่ในภายหลังอาจยกตัวขึ้นมาเหนือผิวน้ำจนเกิดเป็นแนวเทือกเขา หรือ หมู่เกาะกลางทะเล

วงแหวนแห่งไฟ คือริเวณที่ขอบของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ชนกันหรือเคลื่อนที่ผ่านกันจนก่อให้เกิดแนวเทือกเขาที่มีลักษณะคล้ายเกือกม้า โดยเกิดจากการเคลื่อนที่มาชนกันและมุดตัวซ้อนกันของแผ่นธรณีจำนวนมาก เช่น การชนกันของแผ่นธรณีภาคนาซคา (Nazca Plate) และแผ่นธรณีภาคอเมริกาใต้ ซึ่งก่อให้เกิดเทือกเขาแอนดีส (Andes) หรือการมุดตัวลงใต้บริเวณหมู่เกาะอะลูเชียน (Aleutian Islands) จนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่นของแผ่นธรณีภาคแปซิฟิก

นอกจากนี้ยังรวมถึงการซ้อนทับกันของแผ่นธรณีภาคขนาดเล็กหลายแผ่นบริเวณทางตอนใต้ของวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งมีจุดเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า (Mariana Islands) ของฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลล์ (Bougainville) ของตองกา และนิวซีแลนด์ที่ต่อเนื่องไปยังแนวเทือกเขาอัลไพน์ (Alpine) ตั้งแต่บริเวณเกาะชวาและเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียผ่านเทือกเขาหิมาลัยและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งแนวภูเขาไฟและรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกนี้ เป็นต้นกำเนิดของปรากฏการณ์แผ่นดินไหวมากถึงร้อยละ 27 ของปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั่วโลก

ร่องลึกก้นสมุทรและรอยเลื่อนในวงแหวนแห่งไฟ (Oceanic Trenches and Faults)

  • ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench) คือ ร่องลึกก้นสมุทรที่มีระดับความลึกสูงสุดในโลก หรือราว 11 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของแผ่นเปลือกโลกที่มนุษย์ค้นพบในปัจจุบัน

  • รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส (San Andreas Fault) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา คือ รอยเลื่อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ผ่านกัน (Transform Boundaries) ของแผ่นธรณีภาคแปซิฟิกและแผ่นธรณีภาคอเมริกาเหนือที่มีความยาวราว 1,200 กิโลเมตร มีความลึกราว 16 กิโลเมตร

  • รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ (Queen Charlotte Fault) ในรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา คือ รอยเลื่อนที่เกิดจากการเคลื่อนที่ผ่านกันของแผ่นธรณีภาคแปซิฟิกและแผ่นธรณีภาคอเมริกาเหนือเช่นเดียวกัน อีกทั้ง ยังก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่จำนวน 3 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ. 1929 ถึง 1970 โดยมีความรุนแรงตั้งแต่ 7 ถึง 8.1 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา

ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและการเกิดแผ่นดินไหวในวงแหวนแห่งไฟ ในวงแหวนแห่งไฟ ภูเขาไฟที่ยังคงคุกรุ่น (Active Volcanoes) ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ตามแนวขอบของวงแหวนด้านทิศตะวันตก ตั้งแต่ประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ไปจนถึงนิวซีแลนด์์ เช่น

  • ภูเขาไฟฟูจิ (Mount Fuji) ในญี่ปุ่น ภูเขาไฟที่มีความสูงราว 3,700 เมตร ที่ถึงแม้จะเกิดการปะทุใหญ่ครั้งสุดท้าย ตั้งแต่เมื่อ 300 ปีก่อน (ค.ศ. 1707) แต่ภูเขาไฟฟูจิยังคงคุกรุ่นและยังคงเป็นสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  • ภูเขาไฟแทมโบรา (Mount Tambora) ในอินโดนีเซีย เป็นภูเขาไฟที่เคยเกิดการปะทุครั้งใหญ่ เมื่อปี ค.ศ. 1815 ซึ่งนับเป็นการระเบิดของภูเขาไฟ ครั้งรุนแรงที่สุดของโลก ซึ่งการระเบิดครั้งนั้น ส่งผลให้ยอดของภูเขาไฟที่เคยมีความสูงถึง 4,300 เมตร หลงเหลือเพียง 2,851 เมตร และยังทำให้อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศลดต่ำลงราว 3 องศาเซลเซียสจากฝุ่นผงและเถ้าถ่าน ส่งผลให้ในปี ค.ศ. 1815 กลายเป็นปีที่ปราศจากฤดูร้อนในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนืออีกด้วย

  • ภูเขาไฟพินาตูโบ (Mount Pinatubo) ในฟิลิปปินส์ เป็นภูเขาไฟที่ก่อให้เกิดการระเบิดครั้งรุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 2 ในศตวรรษที่ 20 หลังการหลับใหลมายาวนานถึง 600 ปี โดยก่อให้เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 7.8 ริกเตอร์ พร้อมเถ้าถ่านและลาวาที่ปกคลุมพื้นที่โดยรอบภูเขาไฟในรัศมีกว่า 30 กิโลเมตร

  • ภูเขาไฟลูอาเปทู (Mount Ruapehu) ในนิวซีแลนด์ที่มีความสูงราว 2,800 เมตร เป็นภูเขาไฟที่มีพลังการระเบิดต่อเนื่องที่สุดในประเทศ โดยมีการปะทุครั้งใหญ่เกิดขึ้นทุก ๆ 50 ปี

ในหนึ่งวัน โลกของเราเกิดแผ่นดินไหวราว 55 ครั้ง หรือราว 20,000 ครั้งใน 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดมีการสั่นสะเทือนอย่างแผ่วเบา โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ตามแนวขอบแผ่นธรณีภาคหรือตามรอยเลื่อนต่าง ๆ ทั้งในมหาสมุทรลึกหรือบนภาคพื้นดิน

ซึ่งมีระดับความลึกที่แตกต่างกันออกไปตามขนาดของแผ่นเปลือกโลก โดยแผ่นธรณีภาคบางแผ่นอาจหนาถึง 100 กิโลเมตร แต่บางแผ่นอาจมีความหนาเพียง 6 หรือ 7 กิโลเมตร เมื่อแผ่นธรณีภาคเหล่านี้ เคลื่อนที่แยกย้ายออกจากกันหรือพุ่งชนกัน จึงก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงในระดับต่าง ๆ รวมถึงการระเบิดของภูเขาไฟ แผ่นดินไหว หรือแม้แต่คลื่นสึนามิ

สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ

ข้อมูลอ้างอิง

National Geographic Society – //www.nationalgeographic.org/article/plate-tectonics-ring-fire/?utm_source=BibblioRCM_Row
National Geographic – //www.nationalgeographic.com/science/earth/ring-of-fire/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) – //www.scimath.org/article-earthscience/item/10644-2019-09-02-03-10-01
U.S. Department of the Interior (USGS) – //www.usgs.gov/faqs/why-are-we-having-so-many-earthquakes-has-naturally-occurring-earthquake-activity-been?qt-news_science_products=0#qt-news_science_products

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : สายฟ้าภูเขาไฟ (Volcanic Lightning)

เพราะเหตุใดจึงพบภูเขาไฟหนาแน่นที่บริเวณแนวรอยต่อของแผ่นธรณีที่เคลื่อนที่เข้าหากัน

รอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน: การชนกันของแผ่นธรณีสองแผ่นในแนวมุดตัว (Subduction zone) ทำให้แผ่นที่มีความหนาแน่นมากกว่าจมตัวลงตัวสู่ชั้นฐานธรณีภาค แรงเสียดทานซึ่งเกิดจากการที่แผ่นธรณีทั้งสองเสียดสีกันจะทำให้เกิดความร้อน น้ำในแผ่นหินซึ่งระเหยกลายเป็นไอ ประกอบกับแรงกดดันที่ลดลง ช่วยให้หินหลอมละลายกลายเป็นแมกมาได้ ...

แนวรอยต่อของแผ่นธรณีมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง

รอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่ เข้าหากันมี3 รูปแบบคือ 2.1 แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกัน 2.2 แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณี ทวีป 2.3 แผ่นธรณีทวีปชนกัน 2.1 แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกัน แผ่นธรณีที่มีอายุมากกว่า มีอุณหภูมิต่ากว่า และมีความหนาแน่นมากกว่า จะจมตัวลงใน

ภูเขาไฟ ส่งผลต่อธรณีภาคอย่างไร

- เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน - การระเบิดของภูเขาไฟช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้อยู่ในภาวะสมดุล - การเคลื่อนที่ของลาวาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ทำให้หินอัคนีและหินชั้น ซึ่งอยู่ใต้ที่ลาวาไหลผ่าน เกิดการแปรสภาพเป็นหินแปรที่แข็งแกร่งขึ้น - แหล่งภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดแหล่งแร่ที่สำคัญขึ้น เช่น เพชร เหล็กและธาตุอื่น ๆ อีกมากมาย

ภูเขาไฟสามารถเกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในลักษณะใด ได้บ้าง

ภูเขาไฟโดยส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณขอบของแผ่นธรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน มีภูเขาไฟบางส่วนที่ตั้งอยู่บริเวณแผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน และมีบางส่วนที่อยู่ด้านในแผ่นธรณี จึงสรุปได้ว่าตำแหน่งของการเกิดภูเขาไฟระเบิดมีความสัมพันธ์กับบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีที่เกิดจาก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้