สื่อกลางในการส่งข้อมูลมีกี่ประเภท


ระบบเครือข่ายคือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 2 เครื่องขึ้นไป มาเชื่อมต่อกันเพื่อสื่อสารรับส่งข้อมูลกัน โดยผ่านทางสื่อกลาง ซึ่งสื่อกลางส่วนใหญ่ที่เราจะรู้กันก็คือ สายแลน สายไฟเบอร์ เป็นต้น แต่ว่าสื่อกลางใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีแค่สายสัญญาณ ในโลกยุคปัจจุบันเราสามารถสื่อสารรับส่งข้อมูลจากทางไกลได้โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ แต่ผ่านทางสื่อกลางแบบไร้สายแทน ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับสื่อกลางประเภทไร้สายกัน

สื่อกลางแบบไร้สายคืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับการสื่อสารแบบไร้สายกันก่อน การสื่อสารแบบไร้สายคือการรับส่งข้อมูลโดยไม่ผ่านสายสัญญาณ แต่ใช้อากาศเป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล ดังนั้นสื่อกลางแบบไร้สายก็คือ คลื่นสัญญาณในอากาศที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างกันนั้นเอง ถ้าอธิบายให้เข้าใจกันง่ายๆ ให้นึกถึงโทรทัศน์ที่เราใช้ โทรทัศน์รับคลื่นสัญญาณจากดาวเทียม และประมวลผลกลายเป็นภาพและเสียงรายการโปรดให้เราได้ดูกัน

สื่อกลางแบบไร้สายมีอะไรบ้าง

แม้ว่าการสื่อสารแบบไร้สายอาจฟังดูไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อะไรมาก แต่ว่าการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ 2 ตัว ที่ต้องใช้ในระบบ นั้นก็คือ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ กับ อุปกรณ์รับสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์ส่งสัญญาณค่อยทำหน้าที่แปลงข้อมูลกลายเป็นคลื่นสัญญาณและส่งผ่านคลื่นนั้นไปในอากาศ ส่วนอุปกรณ์รับสัญญาณคืออุปกรณ์ที่รับคลื่นสัญญาณนั้น แล้วแปลงกลับไปเป็นข้อมูล ซึ่งการรับส่งข้อมูลแบบไร้สายนี้มีข้อเสียอยู่นั้นก็คือปัญหาเรื่องระยะทางและโอกาสที่สัญญาณจะถูกรบกวน ทำให้ข้อมูลที่ส่งมาเสียหายหรือผิดเพี้อนได้ ทำให้ต้องมีการแบ่งช่วงความถี่ของสัญญาณในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ทำให้มีคลื่นสัญญาณความถี่ต่างๆ ที่เราเรียกกันในปํจจุบัน ดังนั้นเราจะมาดูกันว่าคลื่นสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลในปัจจุบันนั้นมีคลื่นสัญญาณอะไรบ้าง

1. คลื่นวิทยุ (Radio Wave)

คลื่นวิทยุเป็นคลื่นที่มีการกระจายตัวรอบทิศทางผ่านเสาอากาศส่งคลื่นวิทยุ โดยลักษณะรอบทิศทางแบบนี้ ทำให้มีประโยชน์สำหรับการสื่อสารแบบ Multicasting ซึ่งมีหนึ่งผู้ส่ง แต่หลายผู้รับ เช่น สถานีวิทยุ ระบบมือถือ โทรทัศน์ แต่อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุมีข้อเสียอยู่หนึ่งอย่างนั้นก็คือ คลื่นมีความอ่อนไหวต่อการรบกวนจากเสาอากาศตัวอื่นที่ส่งสัญญาณความถี่แบบเดียวกัน

2. สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave)

ไมโครเวฟเป็นคลื่นที่เดินทางในทิศทางเดียว มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกลโดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรักส่งข้อมูลเป็นระยะ และส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ

3. อินฟราเรด (Infrared)

อินฟราเรคเป็นสื่อสารที่ใช้คลื่นแสงที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า สามารถส่งข้อมูลด้วยคลื่นอินฟราเรดต้องส่งในแนวเส้นตรง และไม่สามารถทะลุสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ นิยมใช้ในการส่งถ่ายโอนข้อมูลสำหรับอุปกรณ์แบบพกพา ตัวอย่างเช่น รีโมทโทรทัศน์ที่เราใช้งานกันอยู่ทั่วไป

4. ดาวเทียม (Satellite)

ดาวเทียมเป็นการสื่อสารโดยคลื่นสัญญาณแบบเดียวกันกับไมโครเวฟในการรับส่งข้อมูล แต่ว่าคลื่นไมโครเวฟมีข้อเสียที่คลื่นเดินทางในแนวตรง ทำให้พื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหรือตึกสูงมีผลต่อการบดบังคลื่น จึงมีการพัฒนาดาวเทียมให้เป็นสถานีไมโครเวฟที่อยู่เหนือพื้นผิวโลก ทำหน้าที่เป็นสถานีส่งและรับข้อมูล ทำให้การสื่อสารมีลักษณะแบบการส่งข้อมูลจากภาคพื้นดินไปยังดาวเทียม และจากดาวเทียมมาสู่ภาคพื้นดิน

5. บลูทูธ (Bluetooth)

บลูทูธเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์แบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่า โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น

การสื่อสารข้อมูลทุกชนิด ต้องอาศัยสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อนำข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทาง  เช่น การคุยโทรศัพท์  อาศัยสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณคลื่นเสียงไปยังผู้รับ เป็นต้น สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์  อาจใช้สายเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อ หรืออาจใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเป็นแบบไร้สาย เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อได้   สื่อกลางในการสื่อสารมีความสำคัญเพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดประสิทธิภาพในการสื่อสาร เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูลปริมาณของข้อมูลที่สามารถนำไปได้ในหนึ่งหน่วยเวลารวมถึงคุณภาพของการส่งข้อมูล

3.1 สื่อกลางแบบใช้สาย

         

1. สายคู่บิดเกลียว(twisted pair cable)  สายนำสัญญาณแต่ละคู่สายเป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว  เพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  จากคู่สายข้างเคียงกันภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก   ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง   สายคู่บิดเกลียว   สามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกลได้หลายกิโลเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนัก
เบา  ง่ายต่อการติดตั้ง  นิยมใช้อย่างกว้างขวาง  สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิด คือ

          - สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายยูทีพี (Unshieded Twisted pair :UTP) 
เป็นสายใช้ในระบบโทรศัพท์ ต่อปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น จนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ทำให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น

รูปที่ 1.10 ตัวอย่างสาย UTP
ที่มา : //www.tiendacables.es/2807/bobina-305-metros-cable-utp-cat6.jpg
       

 - สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายเอสทีพี (Shielded Twisted pair :STP) เป็นสายที่หุ้มด้วยตัวกั้นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวนได้ดียิ่งขึ้น สายเอสทีพีรองรับความถี่ของการส่งข้อมูลสูงกว่าสายยูทีพี แต่มีราคาแพงกว่า

         ในปัจจุบันการติดตั้งสายสัญญาณภายในอาคาร  นิยมใช้สายยูทีพีเป็นหลัก  เพราะมีราคาถูกกว่าสายเอสทีพี และมีการพัฒนามาตรฐานให้มีคุณภาพสูงสามารถส่งข้อมูลความเร็วสูงได้ดีขึ้น


รูปที่ 1.11 ตัวอย่างสาย STP
ที่มา : //4.bp.blogspot.com/-qExWIAs6FZA/VlgCkE73XAI/AAAAAAAAACA/wflCE6Rl2-c/s1600/pic4.jpg
 

2. สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายนำสัญญาณที่รู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี   ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวน เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากทองแดงถักเป็นร่างแห  เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ก่อนหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก  และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อก เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ ภาพและเสียง (audio-video devices) ต่าง ๆ ภายในบ้านและสำนักงาน

รูปที่ 1.12 ตัวอย่างสายโคแอกซ์
ที่มา : //sites.google.com/site/it39000009/_/rsrc/1467939633420/hnwy-thi-4/CoaxialCable.jpg

3. สายไฟเบอร์ออฟติก (fiber - optic cable)  ประกอบด้วย  กลุ่มของเส้นใยทำจากแก้ว หรือพลาสติก  ที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม   แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core)  ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง (cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาดการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้   มีข้อแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่งแต่ละการทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้แสงความเข้มสูง  เช่น แสงเลเซอร์  ส่งผ่านไปในเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้แคล็ดดิงเป็นตัวสะท้อนแสง ทำให้แสงสามารถเดินทางไปจนถึงปลายทางได้ โดยไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใด ๆ และมีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลต่ำมาก   ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง ระดับกิกะบิตต่อวินาที  อีกทั้งยังมีีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลสูง  มีความสามารถในการนำพาข้อมูลไปได้ในปริมาณมาก  และสามารถส่งข้อมูลไปได้เป็นระยะทางไกล โดยมีความผิดพลาดน้อยจึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคาร  ระหว่างเมือง และถูกนำไปใช้ เป็นสายแกนหลัก (backbone cable) เชื่อมโยงเครือข่ายหลัก เข้าด้วยกัน

รูปที่ 1.13 ตัวอย่างสายไฟเบอร์ออฟติก
ที่มา : //www.be2hand.com/upload/201110/201110-13-154313-1.jpg

สื่อกลางแบบใช้สายที่กล่าวมา มีคุณสมบัติและการนำไปใช้งานชนิดต่าง ๆ ดังนี้

ชนิดสื่อกลาง

ความเร็ว
สูงสุด

ระยะทาง
ที่ใช้งานได้

การนำไปใช้งาน

เอสทีพี

155 Mbps

ไม่เกิน 100 เมตร

ไม่นิยมใช้ เนื่องจาก ราคาแพง

ยูทีพี

1 Gbps

ไม่เกิน 100 เมตร

ปัจจุบันนิยมใช้ เชื่อมต่อระบบ
เครือข่ายภายใน

โคแอกซ์

10 Mbps

ไม่เกิน 500 เมตร

ใช้เป็นสายแกนหลักสำหรับ
ยุคแรก ๆ

ไฟเบอร์
ออฟติก

100 Gbps

มากกว่า 2 กิโลเมตร

ใช้เป็นสายแกนหลักเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล

3.2 สื่อกลางแบบไร้สาย

การสื่อสารแบบไร้สาย  อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ   ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีหลายชนิด  แบ่งตามช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน  สื่อกลางของการสื่อสารแบบนี้  เช่น อินฟาเรด(Infrared : IR)  ไมโครเวฟ (microwave) คลื่นวิทยุ (radiowave) และดาวเทียมสื่อสาร (communication satellite) 

 

1. อินฟาเรด สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่ง และตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ  การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตไออาร์ดี (The Infrared Data Association : IrDA) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้

รูปที่ 1.14 ตัวอย่างการส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรล
ที่มา : //kanlayanee.ac.th/ict/index.php/4-3


2.ไมโครเวฟเป็นสื่อกลางในการสื่อสารทีมีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล โดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง  และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้   จึงต้องมีการตั้งสถานีรับส่งข้อมูลเป็นระยะ   และส่งข้อมูลต่อกัน  ระหว่างสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทางและแต่ละสถานีจะตั้งอยู่บนที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขาเพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมาก ๆ และไม่สะดวกในการวางสายสัญญาณ ซึ่งเสาสัญญาณแต่ละเสาสามารถวางห่างกันได้ถึง 80 กิโลเมตร ตัวอย่างการส่งสัญญาณไมโครเวฟผ่านพื้นผิวดิน


รูปที่ 1.15 การส่งสัญญาณผ่านไมโครเวฟภาคพื้นดิน
ที่มา : //www.datacom2u.com/Picture/WirelessMedia_clip_image006.jpg

 3.คลื่นวิทยุ เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ  และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่าง ๆ กันในการส่งข้อมูล  เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM)  หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ (Wi-Fi) และบลูทูท (Bluetooth)

รูปที่ 1.16 การส่งสัญญาณผ่านคลื่นวิทยุ
ที่มา : //www.wellsitecctv.com/application/images/galleries/galleries-2013-06-20_561616_img.jpg

4.ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับส่งไมโครเวฟบนผิวโลกโดยเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้นดิน คอยทำหน้าที่ รับส่งสัญญาณ ขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ  35,600 กิโลเมตร โดยดาวเทียมเหล่านั้น  จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่ิ่งกับที่ ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง  ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่าง ๆ บนผิวโลก เป็นไปอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานดาวเทียมในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลก เรียกว่า ระบบจีพีเอส โดยบอกพิกัดเส้นรุ้ง และเส้นแวงของผู้ใช้งานเพื่อใช้ในการนำทาง

รูปที่ 1.17 ดาวเทียมสื่อสาร
ที่มา : //phapatsorn5653.files.wordpress.com/2014/03/630.jpg

>> คลิกทำแบบฝึกหัด

สื่อกลางในการส่งข้อมูลคืออะไร

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การสื่อสารข้อมูลทุกชนิดต้องอาศัยสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทาง เช่น การคุยโทรศัพท์อาศัยสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณคลื่นเสียงไปยังผู้รับ เป็นต้น

Transmission Medium คืออะไร

สื่อกลางในการส่งข้อมูล, สิ่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูล/ข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี เส้นใยนำแสง และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทียม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

สื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สายมีอะไรบ้าง

สื่อกลางในการส่งข้อมูล.
ตัวกลางการสื่อสารไร้สาย (Wireless Transmission Media) ... .
คลื่นวิทยุ (Radio Waves) ... .
บลูทูธ (Bluetooth) ... .
ไมโครเวฟ (Microwaves) ... .
ดาวเทียม (Satellite) ... .
อินฟราเรด (Infrared).

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลมีความสําคัญอย่างไร

1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก 2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ 3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น 4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้