ทำร้านอาหารต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

วิชาภาษี 101 เปิดร้านอาหารต้องมีภาษีอะไรบ้าง? ทำความเข้าใจเรื่องภาษีขั้นพื้นฐานที่ง่ายกว่าที่คิด ร้านไหนๆ ก็เข้าใจได้!

เรื่องของ "ภาษี" ง่ายกว่าที่คิด! สำหรับคนที่ทำร้านอาหาร เรื่องภาษีนั้นถือว่าเป็นทักษะสำคัญที่ควรรู้ เพราะหากทำความเข้าใจได้แล้ว ก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่ายๆ ในทุกๆ ปีอย่างไม่มีปัญหา Wongnai for Business ขอสรุปข้อมูลเรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำร้านอาหารต้องรู้! ตอบคำถามที่พบบ่อยในแวดวงคนทำร้านอาหาร มาติดตามหาคำตอบไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ

คนทำร้านอาหารทุกคนต้องเสียภาษีหรือเปล่า?

ต้องทำความเข้าใจว่า เราทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะทำอาชีพไหน โดยเราอาจจะเสียภาษีตั้งแต่ในรูปแบบของภาษี ณ ที่จ่าย เข่น การซื้อของตามห้างร้าน การนั่งทานอาหารตามร้าน เป็นต้น

เขยิบขึ้นมาอีกนิดสำหรับคนที่มีรายได้ในทุกๆ อาชีพ ภาษีที่จะต้องจ่ายก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเกณฑ์ของกรมสรรพากรคือถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ต่อปีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีเพิ่ม ที่บอกว่ามีโอกาสต้องเสียเพิ่มเพราะว่า เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ มาลดหย่อนได้อีกมากมาย จนบางครั้งก็อาจจะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มนั่นเองครับ

‍ช่วงเวลายื่นตรวจสอบภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ‍

ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน

‍สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม)

ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

‍สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์  (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)

กรณีที่รายได้ไม่ถึง 150,000 ต่อปี ต้องยื่นไหม คำตอบ คือ ยื่นครับ โดยกรรมสรรพากรจะเก็บเป็นประวัติรายได้เอาไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเลยสักบาทเดียวครับ

เป็นร้านเล็กๆ ต้องยื่นไหม? ถ้าไม่ยื่นมีโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ไม่ว่าร้านเล็กหรือร้านใหญ่ มีรายได้มากหรือน้อย ก็ควรต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีครับนะครับ แต่จะต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่านั่นอีกเรื่องหนึ่ง และสำหรับร้านที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี นั้นจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของรอบเดือนถัดไปด้วยครับ 

ส่วนร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน ควรยื่นไหม หรือปล่อยเลยตามเลย

‍สำหรับร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน หากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่หากกรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่ารายได้ต่อปีเกินจากนั้น อาจมีการเรียกเก็บย้อนหลังไปตามระเบียบ และการหลบหลีกหรือไม่ยื่นเลยนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะยิ่งนานไป หากกรมสรรพากรตรวจสอบพบก็อาจโดนเรียกเก็บค่าปรับแถมมาด้วย
สรุป : เจ้าของร้านอาหารทุกร้านต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละคน จ่ายเพิ่มมากหรือน้อยก็แล้วแต่คน หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่มเลยก็มีครับ

การเข้าร่วมเดลิเวอรีต้องเสียภาษีด้วยไหม?

สำหรับร้านอาหารที่ทั้งเปิดหน้าร้านและเดลิเวอรีนั้น เวลายื่นตรวจสอบภาษีจะต้องนำรายได้ทั้ง 2 ช่องทางมารวมกันด้วยนะครับ โดยกรมสรรพากรนั้นจะมีฐานข้อมูลร้านเดลิเวอรี รวมถึงรายได้ในแต่ละเดือน จากการที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรีต้องยื่นเสียภาษีในทุกๆ เดือนอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดหน้าร้านด้วย หรือขายผ่านแอปเดลิเวอรีอย่างเดียวก็จำเป็นต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีเช่นกันครับ 

​​​​เชื่อว่าปัจจุบันการทำธุรกิจร้านอาหารเริ่มเป็นที่นิยมมาก อาจจะเกิดจากช่วง COVID-19 ที่หลายคนได้ประลองฝีมือตัวเอง หันมาทำอาหาร ทำขนมกันมากขึ้น หรือ กับบางคนที่เป็นสายกิน มี Passion เรื่องอาหาร และ ไม่อยากที่จะเริ่มต้นจากศูนย์ก็จะเริ่มเห็นช่องทางในการสร้างรายได้ ต่อยอดความชอบของตัวเอง จนทำให้ในปัจจุบันเราจะเริ่มเห็นแฟรนไชส์เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่


การทำแฟรนไชส์ขนาดเล็กอาจจะใช้เงินทุนเริ่มต้นน้อย อยู่ที่ประมาณ 500,000 บาท ซึ่งโดยมากอาจเป็นรูปแบบร้านอาหารขนาดเล็ก หรือ สามารถ Grab and Go (สั่งกลับไปทานที่บ้าน) ได้เลย ส่วนแฟรนไชส์ขนาดกลาง เงินทุนก็จะมากขึ้นมาอีกนิด โดยมากอาจเป็นแบรนด์ที่เริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว รูปแบบร้านอาจต้องการพื้นที่นั่งทานได้ มีพนักงานสัก 2 - 3 คน ก็จะใช้เงินทุนอยู่ที่ประมาณ 500,000 – 2,000,000 บาท ส่วนสุดท้ายคนที่คิดใหญ่ ทำใหญ่ มีเงินทุนหนาหน่อย ก็อาจจะนำความชอบในด้านอาหาร การกิน ของตัวเองมาลงทุนในแบรนด์ฮิต ติดตลาด โดยอาจมีรูปแบบร้านที่ ต้องการมีสถานที่ให้ลูกค้านั่งทาน พร้อมพนักงานดูแลอีก 5 - 10 คน แต่ตัวนักลงทุนเองจะต้องรักในการบริหารคน ซึ่งเงินทุนในการทำแฟรนไชส์ขนาดใหญ่นี้ โดยประมาณอยู่ที่ 5,000,000 บาทขึ้นไป แต่เชื่อได้ว่าถ้าบริหารดี ๆ รับรองว่ากำไรมาเยอะแน่นอน เนื่องจากชื่อเสียงของแบรนด์ที่การันตีการเชิญชวนคนเข้ามาใช้บริการในร้านได้อย่างไม่ยาก

หากแม่ค้าร้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ค้าทั้งหลายที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ได้จดเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท) ยังไม่เคยจดบัญชีรายได้ หรือยังทำไม่เป็นระบบ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มจดทั้งรายได้และรายจ่ายของร้าน เพราะว่าเราจะได้มีข้อมูลในการประเมินภาษี และรู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องเสียภาษีร้านอาหารอะไรบ้าง

ร้านอาหารเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ของก็อยากขาย ลูกค้าก็อยากมี แต่ไม่ค่อยอยากเสียภาษีทำยังไงดีล่ะ

ครั้นจะปิดแอป “ถุงเงิน” ไม่ขายของก็ไม่ใช่ แต่ถ้าเปิดแอปไป รัฐบาลจะมาตามเก็บภาษีจากเราไหมนะ

สารพันคำถามและข้อสงสัยที่ทำให้เจ้าของธุรกิจร้านอาหารเป็นกังวล เพราะว่าร่วมโครงการคนละครึ่ง แต่ไม่รู้ว่าจะโดนภาษีตามมาทีหลังอีกหรือไม่

ถ้าใครกำลังตกอยู่ในภาวะกังวลใจแบบนี้ หาทางออกยังไม่ได้ และไม่มั่นใจว่าควรเริ่มต้นจัดการภาษีตัวเองยังไงดี ลองมาทำความเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้นไปพร้อมๆ กันนะคะ

 

เลือกอ่านได้เลย!

โครงการคนละครึ่งคืออะไร

 

โครงการคนละครึ่ง คือ โครงการที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ โดยช่วยจ่ายค่าอาหาร ค่าบริการ ให้กับประชาชน (คนซื้อ) ให้แก่ร้านที่เข้าร่วมโครงการครึ่งหนึ่ง 

นั่นแปลว่า ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง จะได้รับเงินค่าอาหารเต็มๆ เลย แต่เงินจะมาจาก 2 ส่วนตามภาพตัวอย่างนี้ 



 

รัฐรู้รายได้ของร้านอาหารได้อย่างไร

 

ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เมื่อทุกอย่างทำผ่านแอปพลิเคชั่นของรัฐบาล ภาครัฐเองก็จะมีข้อมูลรายได้ของร้านอาหารว่าเป็นจำนวนเท่าใด โดยที่ไม่ต้องให้ใครมานั่งสำรวจให้ยาก 

ฉะนั้น ในการประเมินภาษี รัฐเองก็สามารถทำได้จากข้อมูลที่มีอยู่ แต่ต้องย้ำไว้ตรงนี้ว่า รัฐจะรู้เฉพาะ “รายได้” ของเราเท่านั้น ส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือ “ค่าใช้จ่าย” รัฐยังไม่น่าจะมีข้อมูลตรงนี้

 

จัดการภาษีร้านอาหารอย่างไร

 

จากที่เล่ามาทั้งหมดว่า ถ้าร้านอาหารเข้าโครงการคนละครึ่ง รัฐบาลจะมีข้อมูลรายได้ของร้านอาหารโดยปริยาย มาถึงตอนนี้ต้องถามเจ้าของร้านอาหารว่า แล้วเราเองได้จดบัญชีรายได้ของร้านไว้บ้างไหม

ถ้ายังไม่จดบัญชีรายได้ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องเริ่มจดทั้งรายได้และรายจ่ายของร้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่ค้าทั้งหลายที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ได้จดเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท) เพราะว่าเราจะได้มีข้อมูลในการประเมินภาษี และรู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องเสียภาษีอะไรบ้างยังไงล่ะ

โดยปกติแล้วร้านอาหารจะต้องเจอกับภาษี 2 ประเภทนี้ 

 

 

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

 

เป็นภาษีที่เก็บจากบุคคลที่มีเงินได้ โดยคำนวณจาก



 

ข้อสังเกตจากวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่สำคัญ คือ ภาษีจะเสียจากเงินได้สุทธิ ซึ่งไม่ใช่รายได้ แต่เป็นรายได้ หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน

กรณีที่ขายอาหาร ถือเป็นรายได้ประเภท 40(8) ที่เราสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ 

  1. หักแบบเหมา 60% 
  2. หักแบบตามจริง 

นั่นแปลว่า ถ้าเราไม่ได้จดรายจ่ายไว้ ตัวเลือกในการเสียภาษีก็จะมีแค่การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เท่านั้น แต่ถ้าโชคร้ายรายจ่ายของร้านอาหารเรามีเยอะเกินกว่า 60% ที่ว่าเราก็จะเสียเปรียบทันที เพราะว่าต้องจ่ายภาษีสูงกว่าที่ควรจะเป็น

 

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

 

ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการบริโภคของลูกค้า ซึ่งมีเงื่อนไขอยู่ว่า ถ้ากิจการมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเข้าระบบ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม” ภายใน 30 วัน

เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ร้านอาหารมีภารกิจที่จะต้องทำตามนี้

  1. เรียกเก็บ Vat 7% จากลูกค้า ซึ่งเท่ากับว่า ข้าวกะเพรา 100 บาท จานนี้ จะต้องเก็บเพิ่มเป็น 107 บาท 
  2. นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ในส่วนภาษีขาย 7 บาท ที่เราเรียกเก็บจากลูกค้า และหักกลบกับภาษีซื้อที่เราถูกเก็บไปตอนซื้อของเข้าร้าน ร้านค้าจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านี้ แล้วนำส่งสรรพากรทุกๆ เดือน
  3. จัดทำรายงาน แบ่งเป็น 3 รายงาน ได้แก่ รายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ รายงานสินค้าคงเหลือ

 

ก่อนที่เราจะรู้ว่าเราเข้าเงื่อนไขต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเปล่า ก็ต้องย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นว่า เรารู้หรือเปล่าว่ามี “รายได้” เท่าไร ถ้าไม่ถึง 1.8 ล้านบาท ก็ยังไม่ต้องจด Vat 

แต่ถ้ารายได้ถึง 1.8 ล้านบาท เข้าเงื่อนไขต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจริงๆ อยากรู้ว่าต้องนำภาษีสรรพากรอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ก็ต้องไปสู่จุดเริ่มต้นที่ว่าแล้วเรามี “รายจ่าย” เท่าไร เก็บเอกสารดีไหม ภาษีซื้อจะเอามาใช้หักกลบกับภาษีขายได้ทั้งหมดหรือไม่

 

ถ้าวันนี้ เราเปิดร้านขายข้าวกะเพรา การเข้าโครงการคนละครึ่งอาจจะไม่ใช่ปัญหา ถ้าเรารู้ “รายได้” และ “ค่าใช้จ่าย” เพราะสุดท้ายเราจะสามารถบริหาร “ภาษี” เองได้ดีกว่าการไม่มีข้อมูลอะไรเลย 

อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงอยาก “ทำบัญชี” ขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ… ถ้าพร้อมแล้วเรามาเริ่มลงมือทำตั้งแต่วันนี้กันเลยค่ะ

 

เริ่มต้นใช้งาน FlowAccount ฟรี 30 วันฟรี เพื่อออกบิล เก็บเงิน บันทึกบัญชี ได้ในระบบเดียว ที่เว็บไซต์ //flowaccount.com



About Author

Zero to Profit

เพจให้ความรู้เรื่องบัญชีสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่อยากให้บัญชีเป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว และมีประโยชน์กับธุรกิจ ภายใต้แนวคิดทีว่า “ทำบัญชี แล้วจะมีกำไร”

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้