จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537แต่ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาในขณะนั้น และได้มีการนำสู่กระบวนการพิจารณาอีกครั้ง โดยผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อนำทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติการจัดตั้งจึงจะมีผลโดยสมบูรณ์การร้องขอจัด ตั้งถูกขอตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย
ประวัติความเป็นมา 
จังหวัดบึงกาฬเดิมเป็น อำเภอบึงกาฬ และเป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม  ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ต่อมาไม่ทราบชัดว่าปีใด ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บึงกาญจน์ริมฝั่ง  ตรงข้ามเมืองปากซัน  แขวงบลิคำไซ  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปี   พ.ศ.2459  ทางราชการ ก่อสร้าง ที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม ่และโอนการปกครองอำเภอชัยบุรีมาขึ้นกับจังหวัดหนองคาย  ส่วนบริเวณที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอชัยบุรีเดิมนั้น ทางราชการยุบมาเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครอง ของอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
ปี พ.ศ.2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอชัยบุรี พบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง  กว้างประมาณ 160 เมตร  ยาวประมาณ 3,000 เมตร ชาวบ้าน เรียก “บึงกาญจน์” เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป  ทางการจึงเปลี่ยนชื่ออำเภอชัยบุรีเป็น “อำเภอบึงกาญจน์” ตั้งแต่ นั้นมา ต่อมาปี พ.ศ.2477 ทางการได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น”อำเภอบึงกาฬ” เพื่อความสะดวกและ เข้าใจง่าย   ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา  อำเภอพรเจริญ  อำเภอศรีวิไล  และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอ บึงกาฬ  ตามลำดับ

จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี
จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อไป
จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ
ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. …. ตามที่
กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้
คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ข้อเท็จจริง
กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ได้พิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ
พ.ศ. …. อีกครั้งหนึ่งตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีแล้ว
1. การขอจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬเป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากจังหวัดหนองคาย ประสบปัญหาการบริหารราชการและการแก้ไขปัญหาด้านชายแดนแก่ประชาชนไม่สะดวก ทั่วถึง
เนื่องจากมีระยะทางไกลประมาณ 350 กิโลเมตร หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬจะทำให้ส่วนราชการสามารถลงไปแก้ไขปัญหาให้แก่ ประชาชนใน พื้นที่ได้สะดวก รวมทั้งปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติด การ
ลักลอบค้าของเถื่อน การโจรกรรมทรัพย์สินตามแนวชายแดน และปัญหาแรงงานต่างด้าว จะได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์รับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอและระดับจังหวัด ทั้งจังหวัดหนองคายแล้วโดยเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ
2. การบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยจำเป็นต้องมีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ใกล้ชิดกับ ประชาชน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนของ
ประชาชนได้อย่างยั่งยืนและทั่วถึง อย่างแท้จริง
3. งบประมาณในการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬด้านการจัดตั้งส่วนราชการนั้น สามารถปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ไปดำเนินการได้ และ
เสนอขอตั้งงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป สำหรับด้านบุคลากรที่จะไปปฏิบัติงาน จำนวน 439 อัตรา สามารถใช้วิธีการเกลี่ยอัตรากำลังภายในส่วนราชการหรือระหว่างส่วนราชการได้ ซึ่งไม่เป็นภาระต่องบประมาณของประเทศมากนัก
4. การจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬมีความพร้อมของส่วนราชการที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เช่น ศาลจังหวัดบึงกาฬ อัยการจังหวัด ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ไปรษณีย์ ฯลฯ และได้สงวนที่ดินสำหรับสร้างศูนย์
ราชการจังหวัดบึงกาฬไว้ประมาณ 870 ไร่ บริเวณที่สาธารณประโยชน์กุดทิง ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบึงกาฬ โดยมิต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมาก

ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
จึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554
นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า "...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว
ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร 
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ 
อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคายออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย
รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"
นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา  4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ
"อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย
เมื่อวันที่ 22-25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดงานฉลองจังหวัดบึงกาฬอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นประธานในพิธี
                                        พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

 
จังหวัดบึงกาฬแยกมาจากจังหวัดอะไร

ที่มา: http://www.bungkan.com/

บึงกาฬมาจากอะไร

ในอดีตอำเภอเมืองบึงกาฬ มีชื่อเดิมว่าบ้านบึงกาญจน์ มีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอไชยบุรีจังหวัดนครพนม ต่อมาได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบุรีมาตั้งที่บ้านบึงกาฬ คงชื่ออำเภอไชยบุรีตาม ขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482.

บึงกาฬอยู่ติดกับจังหวัดอะไรบ้าง

ทิศเหนือ ติดกับแขงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ทิศใต้ ติดกับอำเภอคำตากล้า อำเภอบ้านม่วง และอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอรัตนวาปี และอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

จังหวัดใด เป็นจังหวัดที่แยกตัวมาจากจังหวัดหนองคาย

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย

ทำไมต้องแยกจังหวัดบึงกาฬ

เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอ ...