มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสังกัดกระทรวงใด

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เกิดจากการเรียกร้องการศึกษาของนักเรียนอาชีวศึกษาในสมัยย้อนไปเมื่อ 30ปีก่อน ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับ ปวส.และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรีนั้นจะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จึงได้ถือกำเนิดขึ้นตามร่างพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2518 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมาโดยมีวัตถุ ประสงค์ เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา

ต่อมาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เปลี่ยนชื่อจากวิทยาลัยมาเป็น วิทยาเขต ตามลำดับ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพ มีความพร้อมในหลายๆด้าน จนกระทั่งในปี 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา ในวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2531 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษา (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรีและระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) ทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศาสนาศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีการรวมวิทยาเขต จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ให้ 9 มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถจัดการศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี โท และ เอก เพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาเป็นหลัก รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้เรียนจากวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาต่อวิชาชีพระดับปริญญาตรี ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การก้าวสู่มหาวิทยาลัยจากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลทั้งเก้าแห่ง คือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ประวัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology) เป็นระบบมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันมีอยู่ 9 แห่งทั่วประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2518 ในชื่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่18 มกราคม พ.ศ. 2548 ในปี 2549 ได้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดย สกอ. ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยดีเด่นในด้านการเรียนการสอน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับการจัดอันดับดีเด่นในด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ถือกำเนิดขึ้นจากการเรียกร้องของนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518 ซึ่งถูกสังคมมองว่าเป็นนักเรียนชั้นสองของสังคม จัดการศึกษาได้เพียงแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และการก้าวสู่ระดับปริญญาตรี จะต้องผ่านการสอบแข่งขันกับนักเรียนสายสามัญ ประกอบทั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้งสามแห่ง (ลาดกระบัง พระนครเหนือ และ ธนบุรี) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ย้ายสังกัดจาก กระทรวงศึกษาธิการไปอยู่ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นรับเฉพาะนักเรียนสายสามัญ และการจัดการสอบแข่งขันที่ยากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนอาชีวศึกษา อาทิ โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งอยู่ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ตั้งอยู่ที่ ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ วิทยาลัยพณิชยการพระนคร วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ วิทยาลัยเทคนิคช่างกลพระนครเหนือ ฯลฯ รวมตัวกันเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้ถึงระดับปริญญา

การจัดตั้ง “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล”

ในปี พ.ศ. 2531 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีหมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีอันเป็นมิ่งมงคลแห่งพระราชา เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยได้ถือเอาวันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันราชมงคล สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงมีภารกิจหลักคือ จัดการศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี (ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลได้ทำการเรียนการสอนควบคู่กับทำการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อยมา อีกทั้งยังทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดตั้งวิทยาเขต จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ จังหวัดนครพนมจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดปัตตานี แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด ในปี พ.ศ. 2542 มีการแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ประกอบด้วย

การยกฐานะ 9 มหาวิทยาลัย

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐดำเนินการโดยบริหารจัดการได้โดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาการศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นเพื่อให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการและยกระดับสถานะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เน้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับสูง ปริญญาโท เอก จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่งขึ้น โดยมีการรวมวิทยาเขตที่อยู่ใกล้เคียงกันจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 แห่ง จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้งเก้าแห่งดังต่อไปนี้

  1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

ความโดดเด่นของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันมีจำนวน 9 แห่งทั่วประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ จึงนับได้ว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เป็นอาณาจักรทางการศึกษาที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพในการผลิตบัณฑิตมากว่าหลายหมื่นคนต่อปี เป็นเครื่องบงชี้ได้ว่า กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงานอย่างแท้จริง โดยที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้ดำรงภารกิจในการผลิตบัณฑิตที่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลิตบัณทิตในสายวิชาชีพเพื่อออกมารับใช้ประเทศชาติ พัฒนาประเทศชาติมาเนิ่นนานกว่าสามทศวรรษแล้ว สมดังคำนิยามที่ให้ไว้กับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า “บัณฑิตนักปฏิบัติ” เครดิต : //th.wikipedia.org

 

สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้จัดตั้งวิทยาเขตแห่งที่ 30 ขึ้นที่อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้ชื่อว่า “วิทยาเขตวังไกลกังวล” ซึ่งเป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นชอบให้ใช้กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาเขตแห่งนี้เมื่อวันที่ 30  พฤษภาคม 2533  โดยระบุเหตุผลสำคัญของการจัดตั้งไว้ว่าเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เนื่องในศุภดิถีทรงเจริญพระชนมายุ 90 พรรษา และเพื่อที่จะขยายการศึกษาวิชาชีพระดับสูงให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้มีโอกาสพัฒนาความรู้  ความคิด ในการดำรงชีวิต ทั้งเป็นการผลิต และพัฒนากำลังคนสำหรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในบริเวณพื้นที่ตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) ของรัฐบาล

เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งของการจัดตั้งวิทยาเขต เนื่องมาจากการเกิดวาตภัยพายุใต้ฝุ่นเกย์ในบริเวณ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร  ระนอง  ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี พ.ศ.2532 ทำให้ประชาชนบางส่วนในพื้นที่ ดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยให้ส่วนราชการร่วมแก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนภายใต้“แผนฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง” หน่วยงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอโครงการเข้าแผนเพื่อฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ดังกล่าว ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ  กรมต่างๆ ได้เสนอโครงการเข้าแผน เช่น โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการประมงชุมพร ของกรมอาชีวศึกษา ในส่วนของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้ จัดตั้งวิทยาเขตขึ้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าวด้วย

 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ภารกิจ และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคมและประเทศชาติ จึงได้สนองนโยบายของรัฐบาลโดยเร่งดำเนินการจัดทำโครงการจัดตั้ง “วิทยาเขตวังไกลกังวล” จนสามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รุ่นแรก จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาละ 30 คน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 และได้เปิดเรียน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2533 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และในปี 2533 เป็นปีครบรอบ 90 พรรษา ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังนั้น  จึงกล่าวได้ว่าการเริ่มต้นของวิทยาเขตวังไกลกังวล มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่สำคัญของชาติ

การจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีความก้าวหน้าตามลำดับซึ่งมีเหตุการณ์ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องในเบื้องต้นที่น่าบันทึกไว้ดังนี้

  • 17 เมษายน 2533  กระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ศธ 0212/11868 ลงวันที่ 17 เมษายน 2533 แจ้งสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เกี่ยวกับผลการประชุมร่วมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อ 16 เมษายน 2533  เกี่ยวกับการพิจารณา “แผนงานฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาจังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง” และได้เชิญ  ผู้แทนของสถาบันฯ  ไปร่วมประชุมเมื่อ 18 เมษายน 2533
  • 20 เมษายน 2533 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้เสนอโครงการจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวลต่อกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
  • 15 พฤษภาคม 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล
  • 16 พฤษภาคม 2533 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล มีคำสั่งที่ 846/2533 แต่งตั้ง คณะกรรมการจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล  โดยมี พ.ต.เพียร จรรย์สืบศรี  เป็นที่ปรึกษา นายนคร ศรีวิจารณ์ เป็นประธาน และนายมัย  สุขเอี่ยม  เป็นเลขานุการคณะกรรมการ  ได้มีการประชุมรวม 7 ครั้ง
  • 30 พฤษภาคม 2533  กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศจัดตั้งวิทยาเขตวังไกลกังวล
  • 15 มิถุนายน 2533 เริ่มจำหน่ายใบสมัครให้แก่นักศึกษารุ่นแรกใน 2 สาขาวิชา ได้แก่   สาขาวิชาการท่องเที่ยว และสาขาวิชาการโรงแรม โดยใช้อาคารทหารมหาดเล็กของโรงเรียนวังไกลกังวล เป็นสถานที่จำหน่ายใบสมัคร
  • 27 มิถุนายน 2533  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนโรงเรียนวังไกลกังวล ประจำปี 2533 และโปรดเกล้าให้ผู้แทนของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ร่วมเข้าเฝ้า
  • 12 สิงหาคม 2533  เริ่มเปิดเรียนวันแรก โดยมีนักศึกษา จำนวน 58 คน จำแนกเป็นสาขาวิชาการท่องเที่ยว 29 คน และสาขาวิชาการโรงแรม 29 คน
  • ปี 2534 คณะบริหารธุรกิจ วิทยาเขตวังไกลกังวลจัดตั้งขึ้นโดยเริ่มแรกเปิดสอน 2 สาขาวิชา คือ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ และภาษาธุรกิจ สาขาวิชาละ 30 คน
  • ปี 2540  เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการอุตสาหกรรม
  • ปี 2541  เปิด ระดับปริญญาตรี เปิดสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • ปี 2543  เปิด ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
  • ปี 2544  เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • ปี 2445  เปิดสอนระดับปริญญาตรี 4 ปี สาขาวิชาการบัญชีและระบบสารสนเทศ

ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548 ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และได้มีการแบ่งส่วนราชการในระดับคณะ โดยที่คณะบริหารธุรกิจ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินั้น และคณะบริหารธุรกิจ  วิทยาเขตวังไกลกังวล ก็เป็น  1  ใน  3  คณะพื้นที่อยู่ในการดูแลของคณะบริหารธุรกิจ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้