Osi model ชั้นใดทำหน้าที่

 
มาตราฐาน OSI ถูกพัฒนาโดย ISO (International Standards Organization) โดยมาตราฐาน OSI เริ่มมีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 1984 ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นต้นแบบ(Blueprint)สำหรับบริษัทผู้ผลิตที่จะใช้ในการผลิตอุปกรณ์สื่อสาร โดยมีการแบ่งโปรโตคอลสำหรับการสื่อสารเป็น 7 ระดับชั้น โดยในแต่ละระดับชั้นจะมีการกำหนดโดยเฉพาะก่อนที่จะส่งต่อไปให้กับระดับชั้นถัดไปด้วยเพื่อที่ผู้ผลิตที่ต้องการผลิตสินค้าให้สามารถทำงานในแต่ละระดับชั้นได้ถูกต้อง

จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตราฐาน รูปแบบ ขึ้นมานั้นก็เพื่อเป็ฯการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นระดับชั้น และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละระดับชั้น รวมถึงกำหนดรูปแบบการเชือ่มต่อระหว่างระดับชั้นด้วย ดดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้

1.ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นหลายระดับชั้นมากจนเกินไป

2.แต่ละระดับชั้นจะต้องมีปน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ทั้งขบวนการและเทคโนโลยี

3.จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน

4.แต่ละชั้นสื่อสารจะต้องทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

5.เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว

6.กำหนดหน้าที่การทำงานง่ายๆแก่แต่ละระดับชั้น เผื่อว่าต่อไปถ้ามีการออกแบบระดับชั้นใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลใหม่เพื่อที่จะทำให้สถาปัตยกรรมมีประสิทธภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผลทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เคยใช้ได้ผลอยู่เิดิมจะต้องเปลี่ยนแปลงตาม

7.กำหนดอินเตอร์เฟซมาตราฐาน

8.ให้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละระดับชั้น

ระบบย่อยการสื่อสารข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จุถูกแบ่งออกเป็นลำดับชั้นเหล่านี้จะทำหน้าที่โดยทั่วๆ ไป 2 ประการ คือ

1. การติดต่อในระดับของเครือข่าย

2.การติดต่อในระดับโปรแกรมด้วยกัน

ISO Reference Model ถูกออกแบบมาให้ประกอบด้วย 7 ลำดับชั้น

แต่ละชั้นของแบบการสื่อสารข้อมูลเรียกว่า Layer ประกอบด้วย Layer ย่อยๆทั้งหมด7 Layerแต่ละชั้นทำหน้าที่รับส่งข้อมูลกับชั้นที่อยู่ติดกับตัวเองเท่านั้นจะไม่ติดต่อกระโดดข้ามไปยังชั้นอื่นๆเช่น Layer 6จะติดต่อกับ Layer5 และ Layer7 เท่านั้นและการส่งข้อมูลจะทำไล่จาก Layer7 ลงมาจนถึง Layer1 ซึ่งเป็นชั้นที่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังเครื่องผู้รับปลายทางโดยเริ่มจาก Layer1 ข้อมูลก็จะถูกถอดรหัส และส่งขึ้นไปตาม Layer จนถึง Layer7 ก็จะประกอบกลับมาเป็นข้อมูล นำไปส่งให้ application นำไปใช้แสดงผลต่อไป

7 Layer ของ OSI Model สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ upper layers และ lower layers
Upper layers โดยทั่วไปจะเป็นส่วนที่พัฒนาใน Software Application โดยประกอบด้วย Application Layer, Presentation Layer และ Session Layer
Lower Layer จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะพัฒนาได้ทั้งแบบเป็น Software และ Hardware

รายละเอียดของแต่ละลำดับชั้น

1.Physical Layer
ชั้น Physical เป็นระดับชั้นล่างสุดของมาตราฐาน OSI และจะเป็นระดับชั้นเดียวที่มีการเชื่อมต่อทางกายดภาพระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในระบบเครือข่ายในระดับชั้นนี้จะกำหนดคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น คุณสมบัติทางไฟฟ้า และกลไกต่างๆ ของวัสุที่ใช้เป็นสื่อกลาง ตลอดจนสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล คุณสมบัติที่กำหนดไว้ในชั้นนี้ประกอบด้วยคุณลักษณะทางกายภาพของสาย, อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Connector), ระดับความตางศักย์ของไฟฟ้า (Voltage) และอื่นๆ เช่น อธิบายถึงคุณสมบัติของสาย Unshield Twisted Pair (UTP) รวมถึงประเภทของการเชื่อมต่อสายสัญญาน,การเชื่อมต่อลักษณะต่างๆ(Topology) รวมทั้งประเภทของการเชื่อมต่อด้วย โดยขั้นตอนหรือกลไกที่จำเป็นในการส่งสัญญานข้อมูลไปบนสายสัญญานและการรับสัญญานข้อมุูลจากสายสัญญาน

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Physical Layer

1.เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติพื้นฐานของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ

2.ทำหน้าที่แปลงสัญญาน เช่น (0011001110)

3.การวิ่งของสัญญาน(Transmission Mode) (Full-Duplex, Half-Duplex)

4.ตรวจสอบลักษณะการเดินสายสัญญาน(Topology),(Tree, Bus, Star)

2.Datalink Layer
ชั้น Datalink เป็นชั้นที่อธิบายถึงการส่งข้อมูลไปบนสื่อกลาง ชั้นนี้ยังได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (SubLayer) คือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) การแบ่งแยกเช่นนี้จะทำให้ชั้น LLC ชั้นเดียวสามารถจะใช้ชั้น MAC ที่แตกต่างกันออกไปได้หลายชั้น ชั้น MAC นั้นเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับแอดเดรสทางกายภาพอย่างที่ใช้ในมาตรฐานอีเทอร์เน็ตและโทเคนริง แอดเดรสทางกายภาพนี้จะถูกฝังมาในการ์ดเครือข่ายโดยบริษัทผู้ผลิตการ์ดนั้น แอดเดรสทางกายภาพนั้นเป็นคนละอย่างกับแอดเดรสทางตรรกะ เช่น IP Address ที่จะถูกใช้งานในชั้น Network เพื่อความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์ของการใช้ชั้น Data-Link นี้

ตัวอย่าง เช่น คำสั่งในการตรวจสอบข้อผิดพลาดหรือถ้ามีข้อผิดพลาดแล้วต้องส่งข้อมูลใหม่ก็จะมีคำสั่งข้อมูลซ้ำ โดยปกติจะมีบริการ 2 รูปแบบ ได้แก่

2.1 ถ้าหากการตรวจสอบและพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งให้ผู้ส่งทราบ เพื่อทำการส่งใหม่ต่อไป

2.2ถ้าหากมีการตรวจสอบและพบว่าข้อมูลถูกต้องก็จะแจ้งให้ผู้ส่งทราบว่าได้รับข้อมูลถูกต้อง

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Data Link Layer

1.ตรวจสอบที่อยู่ของเครื่องต่างๆตามหลักกายภาพ (Physical Addressing)

2.ควบคุมการเข้าถึงสื่อกลาง(Access Control)

3.ควบคุมข้อผิดพลาดของ Frame ข้อมูล (Error Control)

3.Network Layer

ในระดับนี้มีหน้าที่ในการควบคุมวิธีการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้ถูกต้องและเป็นไปตามเส้นทางที่กำหนดโดยจะจัดเตรียมคำสั่งการทำงานเกี่ยวกับการหาที่หมายปลายทาง

(Addressing)และควบคุมการไหลของข้อมูลในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพืวเตอร์กับเครือข่าย

ในปัจจุบันเมื่อมีการใช้เครือข่ายมากขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนมากขึ้นและแน่นอนว่าในการสื่อสารจะต้องการเส้นทางการรับส่งขอ้มูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นในระดับชั้นนี้จึงมีหน้าที่เลือเส้นทางที่ใช้เวลาในการสืื่อสารน้อยที่สุดระยะทางที่สั้นที่สุดด้วย และกั้นหรือกรอง Packet ข้อมูลที่ส่งไปยังที่หมายภายในเครือข่ายย่อยเดียวกันไม่ให้ข้ามไปยังเครือข่ายย่อยอื่นซึ่งจะช่วยละปริมาณข้อมูลที่จะวิ่งบนเครือข่ายได้ส่วนหนึ่ง โปรโตคอลIP,TCP/IPและIPX เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับชั้นนี้ ข้อมูลที่รับมาจากระดับชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเก็ตๆในระดับชั้นที่ 3 นี้ ( Packetคือ ข้อมุลที่ถูกจัดให้อยู่ในรูปที่กำหนดไว้แล้วนั่นเอง)

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Network Layer

1.ตรวจสอบที่อยู่ของเครื่องต่างๆตามหลักตรรกะ(Logical Addressing)

2.ค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุด (Routing)

4.Transport Layer
ในชั้นนี้มีบางโปรดตคอลจะให้บริการที่ค่อนข้างคล้ายกับที่มีในชั้น Network โดยมีบริการด้านคุณภาพที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ในบางโปรโตคอลที่ไม่มีการดูแลเรื่องคุณภาพดังกล่าวจะอาศัยการทำงานในชั้น Transport นี้เพื่อเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องการควบคุมปริมาณแลรายละเอียดวิะีการรับส่งข้อมูลให้เป็นไปตามกำหนดที่ได้ัตั้งไว้และการจัดการให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นไปอย่างราบรื่นคุณภาพแทน เหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานชั้นนี้ก็คือ ในบางสถานการณ์ของชั้นในระดับล่างทั้งสาม (คือชั้น Physical, Data-Link และ Network) ดำเนินการโดยผู้ให้บริการโทรคมนาคม การจะเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพให้กับผู้ใช้บริการก็ด้วยการใช้ชั้น Transport นี้
"Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโปรโตคอลในชั้น Transport ที่มีการใช้งานกันมากที่สุด"

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Trasport Layer

1.ควบคุมการติดต่อกับปลายทาง(Port Number)

2.ทำการแตกข้อมูลและรวมข้อมูล(Segmentation and Assembly)

3.ควบคุมการไหลและข้อผิดพลาของข้อมูล(Flow and Error Control)

Next

 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้