หน่วยวัดของแรงดันไฟฟ้าคืออะไร

หลาย ๆ คนน่าจะเคยสังเกตเห็น “หน่วยไฟฟ้า” ที่กำกับอยู่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ผ่านตากันมาบ้าง แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไม “ไฟฟ้า” ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันถึงมีชื่อเรียกหน่วยไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป เราจะสามารถแยกหน่วยไฟฟ้าแต่ละแบบได้อย่างไรบ้าง แล้วเวลาไปเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ระบุหน่วยเป็น V, A, W, VA จะต้องดูจากตรงไหน มาหาคำตอบกันในบทความนี้ได้เลย

โวลต์ คืออะไร ? (What is Volt ?)

โวลต์ (Volt) หรือ โวลเตจ (Voltage) (ตัวย่อ "V") เป็นหน่วยเรียกค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าที่อิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่จากแหล่งพลังงานไปยังส่วนต่าง ๆ ของวงจรไฟฟ้า ยิ่งมีความต่างศักย์ต่อหน่วยมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้กระแสไฟฟ้าส่งไปได้รวดเร็วและไกลมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และเนื่องจากมันมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกับแรงดันน้ำเมื่อเปิดสายยาง บางคนจึงนิยมเรียกโวลต์ว่า “แรงดันไฟฟ้า” (ถ้าใครติดโปเกมอนก็น่าจะคุ้นเคยกับหน่วยวัดไฟฟ้านี้เป็นอย่างดี เพราะท่าไม้ตาย “ช็อตไฟฟ้าแสนโวลต์” ของปิกาจูก็คือการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกจากแหล่งพลังงาน (ปิกาจู) ด้วยแรงดันไฟฟ้าสูงสุดที่ 100,000 V นั่นเอง)


ภาพจาก : //pa1.narvii.com/6742/d9abcf4c8ee888d712a36be2c252091e47b14d1b_00.gif

โดยค่าของแรงดันไฟฟ้านั้นจะสามารถวัดได้จากอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Voltmeter โดยเมื่อนำเอาขั้วบวกและลบของเครื่องวัดต่อเข้ากับแหล่งพลังงานก็จะสามารถอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าออกมาเป็นตัวเลขได้


ภาพจาก : //electriccitycorp.com/amps-vs-watts-vs-volts/

แอมป์ คืออะไร ? (What is Amp ?)

แอมป์ (Amp)  หรือ แอมแปร์ (Ampere) (ตัวย่อ "A") เป็นหน่วยวัดปริมาณของกระแสไฟฟ้า (กระแสไฟฟ้าคือจำนวนประจุไฟฟ้าหลาย ๆ ประจุรวมตัวกัน) ที่ไหลผ่านตัวนำไฟฟ้าหรือสายไฟต่าง ๆ โดยหากมีจำนวนแอมป์ไฟฟ้ามากก็จะยิ่งทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลไปได้มากตามไปด้วย

หลักการไหลของกระแสไฟฟ้าจะมีลักษณะคล้ายกับมวลของน้ำที่ไหลผ่านสายยาง ซึ่งถ้าใช้งานสายยางที่มีความกว้างก็จะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านสายได้มากกว่าสายยางแคบ ๆ (เปิดที่ความแรงเท่ากัน) นั่นเอง


ภาพจาก : //cdn.sparkfun.com/assets/6/f/b/5/3/5113d1c3ce395fcc7d000000.png

วัตต์ คืออะไร ? (What is Watt ?)

วัตต์ (Watt) (ตัวย่อ "W") เป็นหน่วยวัด “กำลัง” ไฟฟ้าที่ได้จากการที่แรงดันไฟฟ้า (V) คูณกับปริมาณกระแสไฟฟ้า (A) ออกมาเป็นจำนวนกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานจริง (Real Power) โดยกระแสไฟฟ้า 1 วัตต์จะเท่ากับไฟฟ้า 1 จูลต่อวินาที (1 W = 1J/s) แต่ส่วนมากนิยมวัดเป็นกิโลวัตต์ (kW) หรือ 1000W ต่อชัวโมง เช่น เสียบตู้เย็นขนาด 800W ไว้ 10 ชั่วโมง จะกินไฟ 80 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง เอาจำนวนวัตต์ของตู้เย็นคูณกับจำนวนชั่วโมงการใช้งาน (800 x 10)


ภาพจาก : //developer.wildernesslabs.co/Hardware/Tutorials/Electronics/Part2/Wattage/

จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่าจำนวนน้ำที่ออกมาจากแทงค์ (วัตต์) ของทั้ง 2 รูปเท่ากันแม้จะมีขนาดของท่อและความสูงของแทงค์ที่ต่างกัน เนื่องจากแทงค์ด้านซ้ายมีการเพิ่มแรงดันน้ำ (ตั้งแทงค์ไว้สูงและใช้ท่อขนาดเล็ก ทำให้น้ำไหลแรงและเร็วพอ ๆ กับการตั้งแทงค์ต่ำและใช้ท่อกว้าง)

กำลังไฟฟ้าปรากฏ คืออะไร ?
(What is Voltamp or VA ?)

กำลังไฟฟ้าปรากฏ หรือ โวลต์แอมป์ (Voltamp) (ตัวย่อ "VA") คือหน่วยของกำลังไฟฟ้าปรากฎ (Apparent Power) หรือกำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นค่ารวมของกำลังไฟฟ้าจริง (Real Power) กับกำลังไฟฟ้าแฝง (Reactive Power) ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระแสไฟฟ้าไหลเวียนจากพลังงานที่เก็บไว้ในแผงวงจรไฟฟ้า ส่วนมากมักพบบนหม้อแปลงไฟฟ้าหรืออุปกรณ์สำรองไฟ


ภาพจาก : //53.cdn.ekm.net/ekmps/shops/itinstock/images/eaton-ex-1000-rt-2u-ups-900w-1000va-rackmount-tower-ups-6-c13-1-c19-[3]-68963-p.jpg

วิธีการคำนวณหน่วยไฟฟ้าแบบต่าง ๆ
(How to calculate electrical units ?)

มาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าหน่วยวัดไฟฟ้าแต่ละรูปแบบนั้นมีวิธีการคิดค่าต่าง ๆ อย่างไรได้บ้าง ซึ่งวิธีการแปลงค่าของหน่วยไฟฟ้าต่าง ๆ ก็สามารถใช้สูตรด้านล่างนี้เพื่อคำนวณได้เลย

  • W = V x A (กำลังไฟฟ้า = แรงดันไฟฟ้า x ปริมาณกระแสไฟฟ้า)
  • V = W / A (แรงดันไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้า / ปริมาณกระแสไฟฟ้า)
  • A = W / V (ปริมาณกระแสไฟฟ้า = กำลังไฟฟ้า / แรงดันไฟฟ้า)

เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไรดี ?
(How to choose an electric appliance ?)

โดยปกติแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่มักจะมีตัวเลขค่าไฟฟ้ากำกับอยู่เสมอ (ส่วนใหญ่จะระบุอยู่ที่ฉลากหรือป้ายกำกับราคา โดยจะระบุจำนวน V และ W มาให้แล้ว ไม่จำเป็นต้องคำนวณหาค่าเองแต่อย่างใด) ดังนั้นเวลาไปเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้านอกจากจะต้องมองหา “ดีไซน์“ ที่ถูกใจแล้วก็ควรพิจารณาเรื่องการใช้งานไฟฟ้าควบคู่กันไปด้วย

ซึ่งทางที่ดีก็ควรเลือกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่รองรับแรงดันไฟฟ้าขนาด 220V เพราะค่าแรงดันไฟฟ้าของไทยอยู่ที่ 220V สามารถเสียบปลั๊กแล้วใช้งานได้เลย หากเกินจาก 220V อาจต้องใช้งานควบคู่กับหม้อแปลง (หากใช้งานหม้อแปลงหรืออุปกรณ์สำรองไฟอื่น ๆ ก็แนะนำให้เลือกที่มีค่า VA สูงกว่า W ราว 15% ขึ้นไปเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้