ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนที่ใช้สนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร เรียกว่า อะไร

ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS)

EIS   ย่อมาจาก   executive information system  แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร

หมายถึง    การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก

                ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กร

ในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่นๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MIS และ/หรือ DSS จะเป็นรากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูลภายนอก (ถ้าจำเป็น)  เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้น มิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วน
                การเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle) เพื่อพัฒนาระบบข่าวสาร

จึงเป็นวิธีการพื้นฐานที่ต้องกระทำ หลายๆ องค์กรไม่ต้องการประสบปัญหาขั้นต้น การจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ เพื่อกำหนดกรอบของระบบงานสารสนเทศหลัก ระบบย่อย และความต้องการข้อมูลของแต่ละประเภทของระบบข่าวสาร (TPS, MIS, DSS, EIS) ไว้อย่างครบถ้วน ในขั้นต้นนั้นกำหนดความจำเป็นเร่งด่วนจะช่วยในการพิจารณาคัดเลือกระบบงานที่จะพัฒนาก่อนหลังต่อไปได้อย่างมีระบบ
                ในบทความต่อไป จะประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการพัฒนาระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง ดังต่อไปนี้
          - ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
          - ภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงและระบบข่าวสารที่ต้องการ
          - ความจำเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีต่อการบริหาร
          - วิธีการระบุข่าวสารที่จำเป็น
          - การจัดโครงสร้างสารสนเทศที่ต้องการ
          - การอนุมัติความเห็นชอบโครงการ
          - การจัดเตรียมบุคลากรโครงการ
          - การพัฒนาระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง
          - การเลือกระบุฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ของโครงการ
          - การจัดการ การต่อต้านโครงการ
          - การจัดการติดตั้งใช้งานระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง

                ความหมาย ระบบข่าวสารคอมพิวเตอร์ที่จัดทำและบริการข่าวสาร ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่เป็นสารสนเทศในการบริหารชั้นสูง โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา ถูกต้อง โดยที่สารสนเทศเหล่านี้ จะเป็นสารสนเทศที่ล้วนเป็นข่าวสารที่มีผลกระทบเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการบริหารและตัดสินใจให้สำเร็จและถูกต้อง ตรงทิศทางมากที่สุด
     อนึ่งนอกจากข่าวสารที่เป็นปัจจัยสำคัญๆ ในการช่วยพิจารณาตัดสินใจแล้ว ระบบ EIS ยังจะมีคุณสมบัติหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น
          - พ่วงต่อระบบชำนาญการพิเศษ (Expert System) เพื่อช่วยวิเคราะห์ ตีความ เปรียบเทียบอดีต ทำนายอนาคตของข่าวสารขององค์กร
- ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ การจัดการสำนักงานอัตโนมัติ ให้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนส่งข้อมูลระหว่างบุคคลต่างๆ ได้ การสืบค้น สรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลกลาง
          - อื่นๆ เช่น ปฏิทิน เครื่องคำนวณ การประชุมทางไกลฯ

     ภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงและระบบข่าวสารที่ต้องการ

                ผู้บริหารระดับสูง คือ บุคคลที่บริหารจัดการองค์กร ทั้งองค์กร หรือ บางครั้งอาจเป็นแผนก/หน่วยงานอิสระ (เช่นโรงงานผลิต) ภาระความรับผิดชอบกว้างขวางโดยมากไม่เฉพาะที่งานใดงาน หนึ่ง ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การรักษาความอยู่รอดขององค์กรฯลฯ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ เป็นคนสุดท้าย เช่น ด้านงบประมาณ ด้านบุคคลากร และแผนงานธุรกิจต่างๆ นอกจากนั้น ผู้บริหารระดับสูง ยังเป็นผู้ที่ต้องติดต่อ เจรจา ทำความตกลง ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ผู้บริหารจึงมีภาระกิจความรับผิดชอบสูงที่สุดในองค์กร
      ผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่ใดบ้าง ภารกิจหน้าที่ได้แก่
          1. ภารกิจด้านการบริหาร
              - จัดตั้งบำรุงรักษาองค์กร
              - จัดการด้านแหล่งเงินทุน บุคลากร-กำลังผลิตและผลผลิต (สินค้า)
              - จัดการวางตัวสรรหา ยกเลิก/ และวางแผนความต้องการ กำลังคน/เครื่องจักร
              - ดูแลงานการวางแผน ควบคุม งบประมาณ ค่าใช้จ่ายและการติดต่อสื่อสารขององค์กร
              - กำหนดมาตรฐานงาน การแก้ไขปัญหาภายในองค์กร
              - กำหนดเป้าหมาย กิจกรรม แผนงาน
              - จัดสร้างเครือข่ายบุคคล เพื่อปฏิบัติงานและบริหารงาน
          2. ภารกิจด้านบทบาท
               - ติดต่อเจรจากับธุรกิจ/องค์กรภายนอก
               - ติดตามควบคุมสั่งการแก้ไขนโยบายแผนงานตามความจำเป็น/เหมาะสม
               - เป็นผู้นำขององค์กรที่ต้องมีวิสัยทัศน์รอบรู้ เข้าใจปัญหาต่างๆ และรู้แนวทางแก้ไข
          3. การตัดสินใจ
               - ทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินใจ ชี้ขาดหาข้อยุติในกิจกรรม หรือประเด็นต่างๆ ขององค์กร

      ข่าวสารเพื่อการบริหาร

                ผู้บริหารจำเป็นต้องมีข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจและทำงาน ประเภทของข้อมูล/ข่าวสารที่จำเป็นต่อ ผู้บริหารระดับต่างๆ จะแตกต่างกันไป
      ประเภทของข่าวสารเพื่อการบริหาร (ตัวอย่าง)
          1. ข่าวสารภายใน (Internal)
               - ข่าวสารเพื่อการผลิต ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ของสินค้าส่งคืน จำนวนลูกค้าที่ส่งคำติ จำนวนลูกค้าที่พอใจ ในสินค้าจำนวนการผลิตจริงกับกำลังผลิต ฯลฯ
               - ข่าวสารเกี่ยวกับการบริการลูกค้า ได้แก่ ระยะเวลา (จำนวนวัน) ส่งของให้ถึงมือลูกค้า เวลาตอบสนองการบริการต่อการสั่งซื้อของลูกค้า ความพึงพอใจในบริการของลูกค้า ฯลฯ
               - ข่าวสารเกี่ยวกับพนักงาน ได้แก่ ทัศนคติต่อองค์กรของพนักงาน อัตราการขาดงาน อัตรา

การลาออกจากงานของพนักงาน ฯลฯ

          2. ข่าวสารภายนอก (External)
              ได้แก่ข้อมูลสภาวะการตลาด นโยบาย-ทิศทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเปิดตัว-กิจกรรม- ทิศทางแผนงานของบริษัทคู่แข่ง ฯลฯ แหล่งข้อมูล/ข่าวสาร ได้แก่
               - ระบบรายงานข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
               - รายงานข่าวจากสื่อประเภทต่าง ๆ
               - แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยภายในและภายนอกองค์กร
               - ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในสายงานที่เกี่ยวข้อง

      ข้อมูล/ข่าวสารที่จำเป็นต่อการบริหาร

     ความคาดหวังของการพัฒนาโครงการ EIS ได้มีการวิจัยและค้นคว้าโดย Watson, etal, 1995 แจกแจง ปัจจัยที่จูงใจต่อการจัดทำโครงการ EIS คือ

          ปัจจัย ค่าเฉลี่ย (1 = ไม่สำคัญ, 5 = สำคัญสุด)
               1. นำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยวิธีการง่าย ๆ และรวดเร็ว  4.68
               2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้บริหาร  3.95
               3. สามารถตรวจสอบค่าประสิทธิ์ผลขององค์กรได้  3.90
               4. ปรับปรุงการติดต่อสื่อสารให้ดีขึ้น 3.47
               5. สกัดและบูรณาการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลสารพัดแหล่งที่แตกต่างกัน3.31
               6. ได้สารสนเทศเพื่อการแข่งขัน  2.71
               7. ตรวจตราสภาวะการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายนอก  2.28
               8. ลดขนาดขององค์กรลง      2.00

          ดังนั้นจะพบว่าการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการง่ายและรวดเร็ว เป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการ

การกำหนดความต้องการขั้นต้น ความต้องการข่าวสารที่ดีควรจะมีลักษณะใดบ้าง
          - เป็นข่าวสารที่สำคัญ
          - เป็นข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการบริหารงานชั้นสูง
          - เป็นข่าวสารซึ่งสามารถแสดงเป็นเชิงปริมาณได้
     การระบุความต้องการขั้นต้น จะกระทำได้ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่
          - ระบุ/กำหนดโดยตัวผู้บริหารชั้นสูง
          - ระบุ/กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะผู้บริหาร การระบุสารสนเทศที่ต้องการจำเป็นอาจคัดเลือกจากตัวแปร ข้อมูล สารสนเทศซึ่งใช้เป็น
          - ตัวชี้วัดประสิทธิ์ผลของการทำงานในด้านต่างๆ (Key performance data)
          - ข้อมูลที่ใช้/ช่วยในการติดต่อประสานงานกับองค์กร/ธุรกิจ/ลูกค้า ภายนอกองค์กร
          - ข้อมูลที่ใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการชี้นำความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Critical success factors : CSFS)


     การปรับปรุงเพิ่มเติมความต้องการ
     บ่อยครั้งความต้องการข้อมูลข่าวสารอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ปฏิบัติงาน/ใช้งาน/จัดทำในระบบปัจจุบัน แต่น่าจะมีการใช้งานในอนาคต หรือข้อมูลบางรายการจำเป็นต้องใช้ แต่ระบบงานปัจจุบันไม่ได้จัดทำ/บริการให้  ทั้งสองลักษณะนี้ ผู้บริหารจะพิจารณาจัดทำเป็นความต้องการเพิ่มเติม จากความต้องการขั้นต้นที่ระบบงานปัจจุบันตอบสนองอยู่/ใช้งานอยู่
    การจัดทำร่างสรุป
     หลังจากการรวบรวมความต้องการทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การจัดกลุ่มของข่าวสารที่ต้องการทั้งหมดเป็นต้นแบบ และนำเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อตรวจสอบความต้องการเป็นครั้งสุดท้าย

    การเลือกวัตถุประสงค์
     หากความต้องการข่าวสารของโครงการมีจำนวนมากมาย การจะดำเนินการจัดเตรียม/พัฒนา สารสนเทศ ทั้งหมดคงใช้ทรัพยากรมากมาย ดังนั้น คณะทำงานจะจัดทำผลการศึกษาความ เหมาะสม/ความเป็นไปได้ต่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลว่า
          - วัตถุประสงค์ใด ที่ยอมรับได้กับเงื่อนไข งบประมาณ เวลา บุคลากร ที่มีในองค์กร
          - วัตถุประสงค์ใด เพียงพอ/จำเป็นต่อการตอบสนองความต้องการสูงสุด
          - วัตถุประสงค์ใดเป็นไปได้ในการจัดเตรียม/พัฒนา ด้วยเทคโนโลยีที่บริษัทมีหรือสามารถจัดหาได้
          - วัตถุประสงค์ใด บุคลากรในองค์กรสามารถพัฒนาได้ (บุคลากรมีศักยภาพพอที่จะจัดทำ/จัดบริการ)

     ผลกระทบของระบบ EIS ต่อองค์กร

     การจัดเตรียมระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรในหลายด้านด้วยกัน

          1. ด้านเป้าหมายนโยบายขององค์กร
นโยบาย/แผนงานขององค์กร เดิมจะมีลักษณะเป็นสถิตย์ กล่าวคือ ผู้บริหารจะสรุป/ประเมินสถานการณ์ จากข่าวสารที่ได้รับเป็นระยะๆ เช่นรายเดือน รายปี แต่ในกรณี EIS การส่งข่าวสารสามารถกระทำได้ทุกนาที ดังนี้ เป้าหมายขององค์กรจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว (Dynamic)

          2. ด้านบุคลากร
              ผู้บริหารจะต้อมีความรู้ขั้นต้นในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ และเนื่องจากการควบคุมติดตามประเมินผล ในงานบางเรื่องสามารถกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน มีเงื่อนไข การตัดสินใจที่ชัดเจน ดังนั้นผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง อาจมีความสำคัญลดน้อยลง เพราะใช้ระบบการกลั่นกรอง แบบอัตโนมัติ และระบบผู้เชี่ยวชาญ ช่วยวิเคราะห์ ตัดสินใจได้ในบางส่วน
          3. ด้านเทคโนโลยี
              การพัฒนาการของเทคโนโลยีในด้านการสื่อสารฐานข้อมูล และสื่อประสมทำให้ วิธีการปฏิบัติงานใน องค์กรเปลี่ยนแปลงไป จากระบบเอกสาร-แฟ้ม เป็นระบบ แฟ้มดิจิตอล เชื่อมโยงภายใน  วีดีโอ และเสียง ความเข้าใจ/การแก้ปัญหา กระทำได้ตรงประเด็น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อดีและข้อจำกัดของ EIS

             ในทางปฏิบัติไมมีระบบสารสนเทศใดที่มีความทันสมัยและสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับ EIS เราจะกล่าวถึงข้อดีและข้อจำกัดของ EIS ดังต่อไปนี้

 นอกจากข้อดีและข้อจำกัดของ EIS ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพต้องได้รับการตรวจสอบ ประเมินผล และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ EIS เนื่องจากความต้องการสารสนเทศของผู้บริหารมีความละเอียดอ่อน ยืดหยุ่น ตรงตามความต้องการ และทันเวลา โดยเฉพาะ EIS จะเป็นระบบที่ต้องการในองค์การต่างๆ มากขึ้นในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนาระบบจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากก็ตาม แต่ถ้าได้รับการวางแผนและดำเนินงานอย่างรัดกุม EIS ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งจะสร้างประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่องค์การได้เป็นอย่างมาก มิเช่นนั้นการใช้ EIS อาจจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมและการสูญเสียหรือการเสียเปล่าในการลงทุนขององค์การ
สรุป

             การดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อนและทั้งความรุนแรงในการแข่งขัน ทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว จึงต้องอาศัยสารสนเทศที่เหมาะสมดังที่มีผู้กล่าวว่า สารสนเทศ คือ อำนาจทุกองค์การจึงต้องจัดหาและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพแต่บุคลากรบางกลุ่มในองค์การจะมีความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะ เช่น ผู้บริหารจะมีความแตกต่างจากผู้ใช้ข้อมูลในระดับอื่นที่ต้องการข้อมูลที่ชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลอีก ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการสารสนเทศของผู้บริหารมีความต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างจากบุคลากรกลุ่มอื่นขององค์การ โดยเฉพาะลักษณะของงานของผู้บริหารในปัจจุบันที่มีความสำคัญกับองค์การและมีระยะเวลาจำกัดในการตัดสินใจแก้ปัญหา เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อองค์การ ปัจจุบันมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้ารับการสัมมนาระยะสั้น หรือผู้ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่สมบูรณ์ โดยคิดว่าระบบสารสนเทศเป็นแก้วสารพัดนึกที่ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลทุกประเภท โดยเฉพาะ EIS ประการสำคัญเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงในหลายองค์การยังมีความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนจากความสามารถของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความประทับใจ ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนต่อการพัฒนาระบบในอนาคต

DSS  

  มาจากคำภาษาอังกฤษว่า      Disability   Support   Services

คือ  งานบริการสนับสนุนทางการศึกษาที่ช่วยให้นักศึกษาที่มีความต้องการพิเศษ สามารถเข้าถึงระบบการเรียน การสอนของสถาบัน การศึกษาได้อย่าง เท่าเทียมกับนักศึกษาทั่วไป โดยอุปสรรคซึ่งจำกัดโอกาส ของนักศึกษาพิการและจัดหาบริการสนับสนุนเพื่อ ช่วยให้นักศึกษาพิการ สามารถบรรลุเป้าหมาย ทางการศึกษาได้ โดยจัดบริการตามความต้องการจำเป็นของนักศึกษาเป็นรายบุคคล

 DSS คือ
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการ

ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

                การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวขององค์การธุรกิจช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้หลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีขนาดและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจต่างๆ ตลอดจนพัฒนาให้ระบบสามารถสื่อสารตอบโต้อย่างฉับพลันกับผู้ใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยที่แนวความคิดนี้ได้เป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) หรือที่นิยมเรียกว่า DSS ในปัจจุบัน

  มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายความหมาย   DSS อาทิเช่น

                Gerrity (1971) ได้ให้ความหมายไว้ว่า DSS คือ การผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างความมีเหตุผลของมนุษย์กับเทคโนโลยีสารสนเทศและชุดคำสั่งที่นำมาใช้โต้ตอบ เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน ความหมายนี้จะอธิบายภาพรวมเชิงปรัชญา ซึ่งครอบคลุมลักษณะพื้นฐานของ DSS แต่ยังไม่สามารถให้คำอธิบายลักษณะของปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยอาศัย DSS เข้าช่วย หรือให้ภาพที่ชัดเจนของ DSS

                Kroenke และ Hatch (1994) ได้นำความหมายเดิมมาปรับปรุงและเสนอว่า DSS คือ ระบบโต้ตอบฉับพลันที่สนับสนุนโดยคอมพิวเตอร์ซึ่งนำมาช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดสินปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง  ในความหมายนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านวิจารณ์ว่า DSS สมควรที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาทั้งแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ไม่เพียงเฉพาะปัญหาแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น

                Laudon และ Laudon (1994) อธิบายว่า DSS คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในระดับบริหารของแต่ละองค์การ โดยระบบจะประกอบด้วยข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่ซับซ้อน เพื่อนำมาสนับสนุนการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

                ดังนั้นสรุปความหมายของ DSS ได้ว่า คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูล และแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง  

                DSS จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหารโดย

                1. ประมวลและเสนอข้อมูลการตัดสินใจแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ทำความเข้าใจและเป็นแนวทางในการตัดสินใจ

                2. ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะช่วยผู้บริหารในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่สุด

                 ปกติ DSS จะช่วยผู้บริหารทดสอบทางเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถาม “ถ้า.....แล้ว....(What….if….)” อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เทคโนโลยีของ DSS ยังช่วยให้ผู้บริหารมีทางเลือกที่จะตอบสนองต่อปัญหาอย่างหลากหลาย มิต้องถูกจำกัดโดยทางเลือกที่เป็นไปได้เพียงไม่กี่ลักษณะเนื่องจากข้อจำกัดของระยะเวลา หรือเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหาร แต่จะประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจ ขณะที่ผู้บริหารจะต้องกระทำการตัดสินใจโดยใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ของตนเองเป็นหลัก

 คุณสมบัติของ DSS

                 พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ DSS สามารถช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลที่จำเป็น แบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ และชุดคำสั่งที่ง่ายต่อการใช้งานรวมเข้าเป็นระบบเดียว เพื่อสะดวกต่อในการใช้งานของผู้ใช้ โดยที่ DSS ที่เหมาะสมควรมีคุณลักษณะ ดังนี้

                1. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน เนื่องจากผู้ใช้อาจมีทักษะทางสารสนเทศที่จำกัด ตลอดจนความเร่งด่วนในการใช้งานและความต้องการของปัญหา ทำให้ DSS ต้องมีความสะดวกต่อผู้ใช้

                2. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยที่ DSS ที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับผู้ใช้อย่างฉับพลัน โดยตอบสนองความต้องการและโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา

                3. มีข้อมูล และแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา

                4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับปฏิบัติ งานที่จัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวันเท่านั้น

                5.  มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของปัญหาที่มีความไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญหน้ากับปัญหา ที่มีความไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญกับปัญหาในหลายลักษณะจึงต้องการระบบสารสนเทศที่ช่วยจัดรูปข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการตัดสินใจ

                คุณสมบัติของ DSS สร้างความเป็นเอกลักษณ์ในการทำงานของระบบ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ ปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากหลายองค์การสนับสนุนให้มีการพัฒนาหรือซื้อระบบสารสนเทศที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพขึ้น

คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
     - ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
     - ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
     - ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
      - ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
     - ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
     - ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
     - ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
     - ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
     - ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
     - ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)

        ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้