ข้อใดมรดกที่สำคัญทางด้านวัฒนธรรม ในสมัยสุโขทัย มรดกที่สำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัยตรงกับข้อใด วรรณกรรมชิ้นสำคัญที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสุโขทัยคืออะไร สุโขทัยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากนครศรีธรรมราชในด้านใด แนวทางการสร้างความสงบสุขของสังคม สุโขทัย จากหลักฐานที่ปรากฏนิยมใช้วิธีการใด อุตสาหกรรมที่สำคัญในสมัยสุโขทัย คือข้อใด จากการศึกษาค้นคว้าศิลาจารึกหลักที่ 1 ไม่มีปัญหาในด้านใด ประเทศคู่ค้าที่สำคัญในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น คือชาติใด มรดกทางด้านภูมิปัญญาสมัยสุโขทัย ข้อใดคือลักษณะเด่นทางการค้าของสุโขทัย มรดกทางวัฒนธรรมด้านภาษาที่พระองค์ประดิษฐ์ คือ

มรดกที่สำคัญอย่างยิ่งของอาณาจักรสุโขทัยที่ทิ้งไว้ให้สังคมไทยคือข้อใด

☰แชร์เลย >  

Advertisement


Advertisement

มรดกโลกของไทย


ภาพเขียนบนผนังถ้ำ โครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องประดับของมนุษย์ในสมัย ก่อนที่จะถูกค้นพบศาสนสถาน และสภาพที่อยู่อาศัยภายในถ้ำ หรือเพิงผา หรือแม้กระทั่งซากพืชและเมล็ดพืช คือหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยในปัจจุบันเคยเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของมนุษยชาติอีกแหล่งหนึ่งมาตั้งแต่ ครั้งอดีตกาลนานนับหมื่นปี

ตลอดระยะเวลาอันยาวนานดังกล่าวบรรพบุรุษคนไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่และได้มีการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นหลายอาณาจักร ซึ่งมีรูปแบบของอารยธรรมที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านนา สุโขทัย หรืออยุธยา โบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง พระธาตุพนม เทวรูปพระวิษณุสกุลช่างสุโขทัย หรือเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ สิ่งเหล่านี้คือประจักษ์พยานแห่งความรุ่งเรือง และความมั่งคั่งของอารยธรรมไทย

ในขณะเดียวกันด้วยสภาพภูมิประเทศที่ประกอบด้วย เกาะ แก่ง โขดหิน เชิงผา ภูเขา ป่าไม้ ฯลฯ ประกอบกับที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จึงทำให้ประเทศของเรามั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น ป่าไม้เขตร้อนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ ห้วยขาแข้ง และป่าดึกดำบรรพ์ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่มีคุณค่าในความหลากหหลายทางชีวภาพและความงามตามธรรมชาติ สีเขียวมรกตของนำทะเลที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ แนวปะการังที่งดงามและอุดมสมบูรณ์ ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกที่อุทยานเห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอันทรงคุณค่าของประเทศไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์รักษาและสืบทอดไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานชาวไทย

ในปีพุทธศักราช 2534 และ 2535 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้ประกาศให้แหล่งมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยจำนวน 4 แหล่งคือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก อันนำมาซึ่งชื่อเสียง เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

มรดกโลกของไทย




อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก

ความยิ่งใหญ่ และความงดงามของปิรามิดแห่งอียิปต์ แกรนด์แคนยอนแห่งมลรัฐโคโรลาโด หรือแม้แต่มาซูปิกซูของนครโบราณอินคา และทะเลสาบปล่องภูเขาไฟโงรองโกรแห่งแอฟริกาตะวันออกนั้น มีลักษณะใดคล้ายคลึงกันบ้างหรือไม่ แม้สถานที่เหล่านั้นแทบจะไม่มีลักษณะใดคล้ายคลึงกัน ต่างล้วนก็เป็นสถานที่อันมีความสำคัญต่อมวลมนุษย์ หากเราสูญเสียสถานที่เหล่านี้ไป เราก็ไม่สามารถที่จะสร้างกลับคืนมาได้ดังเดิมอีก สถานที่เหล่านี้ พร้อมทั้งสถานที่อื่นๆอีกหลายแห่งทั่วโลกต่างได้รับการบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือ วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกที่ได้รับการรับรองในการประชุมประจำปีของยูเนสโก ในปีพุทธศักราช 2515 โดยบทบาทของอนุสัญญาฯ คือการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสถานที่ต่างๆ ให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ รวมทั้งจัดทำบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกเหล่านี้อันเป็นแหล่งที่น่าสนใจ และมีคุณค่าระดับนานาชาติ ทั้งนี้ การอนุรักษ์สถานที่เหล่านี้ คือความรับผิดชอบของมนุษยชาติทั้ปวง เพระฉะนั้นเป้าหมายหนึ่งของอนุสัญญาฯ ก็คือส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนานาอารยประเทศและมวลมนุษย์ เพื่อให้การอนุรักษ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวคิดใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กล่าวคือการอนุรักษ์ที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทั้งวัฒนธรรมและธรรมชาติ ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบของกันและกัน เป็นระยะเวลายาวนานมาแล้วที่ธรรมชาติและวัฒนธรรมถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบที่ขัดแย้งกันในมวลมนุษย์ ต่างพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติเพื่อการอยู่รอด ในขณะที่วัฒนธรรมกลับกลายเป็นสัญลักษณ์ที่มีคุณค่าเพียงนามธรรม แม้ว่าอันที่จริงแล้วธรรมชาติและวัฒนธรรมต่างเป็นสิ่งเอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน เพราะเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ถูกกำหนดขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ และบ่อยครั้งที่ผลงานสร้างสรรค์ของมวลมนุษย์ มีความสวยงามได้ก็เพราะธรรมชาติที่แวดล้อม

อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกได้ตระหนักถึงความคงอยู่ของมรดกโลกอันเป็นสมบัติของมวลมนุษย์ทั้งปวง และพยายามกระตุ้นให้เกิดการตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนมีภาระหน้าที่ร่วมกัน ในการปกปักรักษามรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติไว้ ด้วยการจัดทำบัญชีรายชื่อมรดกโลกขึ้น






คณะกรรมการมรดกโลก

ในการร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ประเทศภาคีจะร่วมให้สัตยาบันในอันที่จะอนุรักษ์แหล่งมรดกที่มีคุณค่าของโลกในพื้นที่ความคุ้มครองของประเทศนั้นๆ อาจกล่าวได้ว่าประเทศดังกล่าว คือ ตัวแทนของมวลมนุษย์บนโลกที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลแหล่งมรดกโลก ให้เป็นสมบัติต่อชุมชนรุ่นหลังสืบไป ในขณะเดียวกันนานาประเทศก็ให้การสนับสนุนประเทศนั้นๆ ในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกของไทยด้วย

ภายใต้อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมแลธรรมชาติของโลกได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการมรดกโลกขึ้น เพื่อทำหน้าที่ประหนึ่งเป็นกลไกประสานความร่วมมือของประเทศภาคีสมาชิก คณะกรรมการมรดกโลกประกอบด้วยกรรมการจาก 21 ประเทศ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประเทศภาคีสมาชิกทั้งมวล โดยจะร่วมประชุมกันปีละหนึ่งครั้ง โดยมีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ

- พิจารณาคัดเลือกแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติ โดยมี ICOMOS ( International Council on monuments and Sites ) และ IUCN ( World Conservation Union ) เป็นองค์กรที่ปรึกษาด้านวิชาการ ในการพิจารณาข้อเสนอของแหล่งมรดกโลก ตลอดจนจัดทำรายงานผลการประเมินความเหมาะสมของแหล่งที่นำเสนอเป็นมรดกโลกด้วย

- บริหารกองทุนมรดกโลก รวมทั้งพิจารณาจัดสรรให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเงินต่อประเทศที่ร้องขอมาอีกด้วย







ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก

แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม

- เป็นตัวแทนซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ ด้านศิลปกรรมหรือตัวแทนของความงดงาม และเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาดยิ่ง หรือ

- เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม หรือ

- เป็นเอกลักษณ์ หายากยิ่ง หรือเป็นของแท้ดั้งเดิม หรือ

- เป็นตัวอย่างของลักษณะโดยทั่วไปของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม หรือ

- เป็นตัวอย่างของลักษณะเด่นชัด หรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีความเปราะบางด้วยตัวมันเอง หรือเสื่อมสลายได้ง่ายเพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หรือ

- มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

แหล่งมรดกทางธรรมชาติ

- เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการสำคัญๆในอดีตของโลก อีกทั้งยังรวมถึงแหล่งที่เป็นตัวแทนของยุคสำคัญๆในอดีต เช่น ยุคของสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก หรือยุคน้ำแข็ง ซึ่งมนุษย์ดึกดำบรรพ์และสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก หรือ

- เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ในลักษณะนี้ แตกต่างจากลักษณะในข้อ1.กล่าวคือจะเน้นขบวนการที่กำลังจะเกิดอยู่ในชุมชนพืชและสัตว์ การเกิดสภาพภูมิประเทศต่างๆไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ทะเลและแหล่งน้ำ ผิวดิน ลักษณะดังกล่าวนี้จึงรวมถึง (ก) ขบวนการทางธรณีวิทยา ธารน้ำแข็ง หรือภูเขาไฟ (ข) วิวัฒนาการทางชีววิทยา ตัวอย่างของกลุ่มสิ่งมีชีวิต เช่น ป่าไม้เขตร้อน ทะเลทราย ที่ราบทุนดรา (ค) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ลักษณะภูมิประเทศที่มีการทำเกษตรกรรมแบบขั้นบันได

- เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากเป็นพิเศษ เช่น การเกิด หรือลักษณะ หรือแหล่งที่มีความงดงามทางธรรมชาติกว่าพื้นที่อื่นๆ เช่น ระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษ สภาพทางธรรมชาติ (ตัวอย่างเช่น ภูเขา น้ำตก แม่น้ำ) แหล่งรวมหนาแน่นของสัตว์ สภาพทิวทัศน์ที่มีพืชบางชนิดเป็นองค์ประกอบ และแหล่งรวมการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางธรรมชาติและวัฒนธรรม หรือ

- เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่หายากหรือที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย แต่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย







บทบาทของประเทศไทยกับคณะกรรมการมรดกโลก

คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2530 และเห็นชอบให้นำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยรวม 6 แหล่ง เพื่อบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะตะรุเตา และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเป็นประจำทุกปี เพื่อรับทราบแนวทางในการอนุรักษ์และจัดการแหล่งมรดกโลกในระดับสากล เพื่อนำมาเป็นแนวทางการดำเนินงานในประเทศ นอกจากนั้นประเทศไทยยังได้รับการคัดเลือกให้ป็นหนึ่งในคณะกรรมการมรดกโลกวึ่งมีทั้งหมด 21 คนจาก 21 ประเทศ โดยได้รับการเลือกตั้งในสมัยประชุมของสมัชชาของประเทศภาคีในอนุสัญญาฯครั้งที่ 7 ปีพ.ศ. 2532 และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี

ต่อมาในปีพ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกขึ้น โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ เป็นประธาน และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อดำเนินงานต่างๆให้เป็นไปตามข้อผูกพันของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก เช่น การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก การเสาะแสวงหาแหล่งมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีคุณค่าและความสำคัญ เสนอเพื่อบรรจุไว้ในบัญชีแหล่งรายชื่อมรดกโลกรวมทั้งการให้ความคุ้มครอง สงวนรักษาส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้คงอยู่เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติตลอดไป เป็นต้น

นอกจากนั้นคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกนี้ ยังมีหน้าที่ในการประสานงานและสอดส่องดูแลให้มีการดำเนินงาน ตามแผนการจัดการแหล่งมรดกโลกด้วย ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติฯได้ร่วมกันปรับปรุงข้อมูลายละเอียดของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติ 6 แหล่งที่ได้ทำการเสนอไปแล้วให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของคณะกรรมการมรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบข้อเท็จจริงและศักยภาพ ของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติทั้ง 6 แหล่ง โดยละเอียดและในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 15 ปีพ.ศ. 2534 ที่ประเทศสาธารณรัฐตูนิเซีย แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมจำนวน 2 แหล่ง คืออุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากับแหล่งมรดกทางธรรมชาติ 1 แหล่งคือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศให้บรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก และในปีถัดมาคือพ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 16 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นแหล่งมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง

ในปีพ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เข้าร่วมงานฉลองครบรอบ 20 ปีของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติของโลกระหว่างวันที่ 8-11 กันยายน 2535 ณ สำนักงานใหญ่ องค์การยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยการเผยแพร่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทย ทั้งในรูปนิทรรศการ การแสดงสไลด์มัลติวิชั่น ซึ่งนอกจากจะเป็นการเผยแพร่แหล่งมรดกโลกของไทยแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เป็นที่รู้จักแก่นานาประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ประเทศไทย โดยสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมยังได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 17-18 ธันวาคม 2537 ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้แทนจากประเทศภาคีสมาชิกต่างๆทั่วโลก เดินทางมาร่วมประชุมรวม 45 ประเทศ จำนวน 149 คน รวมทั้งผู้แทนองค์กรที่ปรึกษาทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ คือ ICOMOS ICCRM และ IUCN โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์ปรีชา มุสิกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งวดล้อมในขณะนั้น เป็นประธานเปิดการประชุม ศาสตราจารย์ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนและเป็นประธานคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมครั้งนั้นด้วย การประชุมดังกล่าวได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลให้บทบาทของประเทศไทยในคณะกรรมการมรดกโลกมีความโดดเด่นชัดเจน และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศมากขึ้นอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.geocities.com/thaiherritage/



Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡


วันเข้าพรรษา
เปิดอ่าน 12,691 ครั้ง


ทำไมพระเรียกผู้หญิงว่า "สีกา"
เปิดอ่าน 28,514 ครั้ง


อิทธิบาท 4
เปิดอ่าน 22,080 ครั้ง


การถวายสังฆทาน
เปิดอ่าน 29,424 ครั้ง


ประวัติศาสตร์ไทย
เปิดอ่าน 39,442 ครั้ง


เหรียญชัยสมรภูมิ
เปิดอ่าน 17,035 ครั้ง


ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ
เปิดอ่าน 17,387 ครั้ง


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
เปิดอ่าน 14,587 ครั้ง


วัดป่าที่แม่ฮ่องสอนดังทั่วโลก ต่างชาติแห่เรียนสมาธิปีละกว่า 2 พันคน
เปิดอ่าน 12,806 ครั้ง


บทสวดอโหสิกรรม
เปิดอ่าน 61,200 ครั้ง


ลักษณะของช้างดี
เปิดอ่าน 17,647 ครั้ง


การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์
เปิดอ่าน 82,683 ครั้ง


หลักเกณฑ์ใหม่ในการตั้งชื่อวัด
เปิดอ่าน 15,113 ครั้ง


"เมียนมาร์" "เบอร์มา" ชื่อนั้นสำคัญไฉน
เปิดอ่าน 11,335 ครั้ง


เหรียญราชการชายแดน
เปิดอ่าน 18,949 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ข้อใดมรดกที่สำคัญทางด้านวัฒนธรรม ในสมัยสุโขทัย

"มรดกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง มั่งคงพระพุทธศาสนา งานตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการเเม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณเเห่งความสุข"

มรดกที่สำคัญที่สุดในสมัยสุโขทัยตรงกับข้อใด

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ของไทยสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็น “มรดกโลก” เนื่องจากในอดีตเมืองสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ ภายในอุทยานประกอบด้วยสถานที่สำคัญๆ ได้แก่

วรรณกรรมชิ้นสำคัญที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสุโขทัยคืออะไร

วรรณคดีสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ศิลาจารึกวัดศรีชุม ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง สุภาษิตพระร่วง ไตรภูมิกถา ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นต้น

สุโขทัยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากนครศรีธรรมราชในด้านใด

สำหรับพุทธศาสนา สุโขทัยได้รับอิทธิพลนิกายหินยานจากนครศรีธรรมราช แล้วแพร่เข้าไปอาณาจักรล้านนา พ่อขุนรามคำแหงทรงทำบุญถวายทานและนำประชาชนทำพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนนะและวันสำคัญๆ นอกจากนี้ยังรับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นิกายลังกาวงศ์ เข้ามาในราชอาณาจักรทำให้สุโขทัยมีวัดวาอาราม พระพุทธศิลป์ เป็นแบบฉบับทางศิลปกรรมที่เรียกว่า ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้