ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร

          ����Ƕ֧����Ҫ�ó�¡Ԩ ��Т����������㹡�ا��⢷�� ����ͧ�ͧ������ҧ�������ѧ���Һҵ����������ѡ�Ҫ 1214 ����ͧ������ҧ�����Ҹҵ����ͧ����Ѫ��������������ѡ�Ҫ 1207 �������ͧ��û�д�ɰ��ѡ���¢�����������ѡ�Ҫ 1205 �͹������������ "��" ��� �����Ҿ�͢ع������˧ 

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 เป็นจารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทย และตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ขึ้นในปี พุทธศักราช 1826 นับต่อเนื่องมาถึงในปีปัจจุบัน พุทธศักราช 2546 รวมระยเวลา 720 ปี

ลักษณะของศิลาจารึก เป็นแท่นหินชนวนสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ออกกลมมนมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร ความหนา 35 เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน

ด้านที่ 1 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 3 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุด ขีดข่วนและร่องรอยถูกกระเทาะ

มรดกแห่งความทรงจำ (Memorial of the World Project)

คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประชุมเมื่อวันที่ 28-30 สิงหาคม (พ.ศ. 2546) ที่ผ่านมา ณ เมือง กแดนซค์ (Gdansk) ประเทศโปแลนด์ มีมติเห็นชอบให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียนระดับโลก ศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ภายใต้โครงการมรดกแห่งความทรงจำของโลก ทั้งนี้ถือว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นหลักฐานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย ที่มีความสำคัญกับนานาชาติซึ่งโครงการมรดกความทรงจำของโลกนี้เป็นโครงการเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่มรดกแห่งความทรงจำทีเป็นเอกสาร วัสดุหรือข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ เช่น กระดาษ สื่อทัศนูปกรณ์ และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ด้วย โดยที่สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวจะต้องมีความสำคัญ มีการเก็บรักษาให้อยู่ในความทรงจำในระดับนานาชาติและระดับภูมิภาค เมื่อองค์การยูเนสโก ได้ประกาศจดทะเบียนแล้ว ประเทศเจ้าของมรดก จะมีพันธกรณีทางปัญญาและทางศีลธรรม ที่จักต้องอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถเผยแพร่ให้ความรู้แก่มหาชน อนุชนคนรุ่นหลังทั่วโลกให้กว้างขวางเพื่อให้มรดกดังกล่าวอยู่ในความทรงจำของโลกตลอดไป

ในปีนี้ (พ.ศ. 2546) กระทรวงศึกษาธิการมีแผนงานที่จะร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษา สื่อสารมวลชน กระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดงานสมโภชในวาระครบ 720 ปี

ส่วนรูปแบบนั้นจะเน้นเรื่องการพิมพ์และการเผยแพร่ การจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ การจัดนิทรรศการ การประชุม สัมมนาทางวิชาการ และกิจกรรมสำคัญอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญของหลักศิลาจารึก ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ด้านการเมือง การปกครอง การค้า และวัฒนธรรมทุกด้านของไทยที่สืบทอดจากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตระหนักถึงคุณค่า ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นเอกสารมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทย ภาคภูมิใจในประวัติ และเรื่องราวของสุโขทัย ภาคภูมิใจ ตระหนักถึงคุณค่าของภาษาไทย และความร่วมใจอนุรักษ์ภาษาไทย จึงได้จัดนิทรรศการ “720 ปีลายสือไทย” ขึ้น ณ บริเวณชั้น 1 อาคาร 1

และใคร่ขอเชิญชวนผู้สนใจ ชมนิทรรศการดังกล่าว หากท่านผู้ใดสนใจต้องการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สำนักหอสมุดกลางมีหนังสือเกี่ยวกับสมัยสุโขทัยและหลักศิลาจารึกให้บริการที่ชั้น 2 และชั้น 4 อาคาร 1 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ ประชาสัมพันธ์ สำนักหอสมุดกลาง โทร. 0-2310-8653 (ปี พ.ศ. 2560 เปลี่ยนเป็น โทร. 02-310-8661)

เมืองสองแควแต่เดิมน่าจะไม่ได้ขึ้นตรงต่อทางสุโขทัยก็ได้ เพราะแม้แต่ ศิลาจารึก ที่กล่าวถึงรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงเอง ก็กล่าวไปในทำนองที่ว่าเมืองสองแควเพิ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง

ภาพถ่ายทางอากาศเมืองสองแควหรือพิษณุโลก เดิมเป็นเมืองของกลุ่มราชวงศ์ผาเมือง ที่ปกครองแคว้นสุโขทัยมาก่อนราชวงศ์พระร่วง

แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือ ศิลาจารึกหลักที่ 2 ที่กล่าวว่าสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีทรงเกิดที่เมืองสระหลวงสองแควแสดงให้เห็นว่าเมืองสระหลวงสองแควที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำน่านนี้ เป็นเมืองในความครอบครองของเจ้านายในราชวงศ์ผาเมือง ซึ่งเคยปกครองแคว้นสุโขทัยมาก่อนราชวงศ์พระร่วง เพราะฉะนั้น น่าจะเกิดไม่ลงรอยอย่างใดอย่างหนึ่งกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยก็ได้ อาจมีความขัดแย้งทางการเมืองขึ้น ซึ่งอาจสังเกตได้ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบเรื่องราวในศิลาจารึกหลักที่ 1 กับหลักที่ 2

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นการบรรยายเรื่องราวของกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคำแหง

จารึกหลักนี้ นักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าข้อความในตอนต้นๆ ของศิลาจารึกเป็นสิ่งที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้จารึกขึ้น แต่ตอนท้ายๆ มาสร้างขึ้นในสมัยหลัง

แต่ในความเห็นของข้าพเจ้าหลังจากได้ศึกษาเปรียบเทียบกับหลักอื่นๆ แล้วเห็นว่า จารึกนี้ทั้งหลักสร้างขึ้นหลังรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหงลงมาแล้ว โดยมีเจตนาที่จะสรรเสริญและกล่าวขวัญถึงความรุ่งเรืองร่มเย็นเป็นสุขของแคว้นสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง เพื่อโอ้อวดหรือแสดงความสำคัญของกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง อย่างใดอย่างหนึ่ง

ศิลาจารึกหลักที่ 1

ศิลาจารึกหลักที่ 2 พบที่วัดศรีชุม เป็นเรื่องการสรรเสริญพระเกียรติคุณของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ผู้เป็นพระราชนัดดาของพ่อขุนผาเมือง

ในตอนต้นๆ ได้กล่าวถึงเรื่องราวสมัยก่อนราชวงศ์พระร่วงตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม ซึ่งเป็นปู่ของสมเด็จพระมหาเถรฯ ครองแคว้นสุโขทัย มีการสร้างพระบรมธาตุในนครสี่แห่งคือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และสระหลวงสองแคว ต่อจากนั้นก็บรรยายถึงเหตุการณ์สู้รบเพื่อขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงของพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาว รวมทั้งการให้เมืองสุโขทัยและพระนามศรีอินทรบดินทราทิตย์ของพ่อขุนผาเมืองแก่พ่อขุนบางกลางหาวด้วย

ส่วนในด้านพระราชประวัติของสมเด็จพระมหาเถรฯ นั้น ก็ระบุว่า ทรงเกิดที่เมืองสระหลวงสองแคว ซึ่งพระบิดาของพระองค์ทรงครองอยู่ ในขณะยังเยาว์วัยก่อนออกผนวชนั้น สมเด็จพระมหาเถรฯ ทรงเป็นผู้มีความสามารถ อีกทั้งมีความเก่งกล้าในการรบพุ่งด้วย พอพระชันษาได้ 29 ปีก็ออกผนวช ได้ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆ ของประเทศไทย และได้เดินทางไปลังกาและอินเดียด้วย ทรงสร้างพระธาตุและบูรณะวัดวาอารามตามเมืองต่างๆ รวมทั้งเมืองสุโขทัยด้วย

ศิลาจารึกหลักนี้ดูเหมือนไม่มีเจตนาที่จะแสดงออกในเรื่องวัตถุประสงค์ทางการเมืองแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงกล่าวถึงภูมิหลังและพระกรณียกิจของสมเด็จพระมหาเถรฯ เท่านั้น เพราะในขณะเดียวกันก็ยกย่องพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพ่อขุนรามคำแหงและสมเด็จพระมหาธรรมราชาเลอไทย ผู้เป็นพระโอรสของพ่อขุนรามคำแหง

สำเนาจารึกหลักที่ ๒ วัดศรีชุม ด้านที่ ๒

สิ่งที่น่าสังเกตก็คือว่า เหตุการณ์หรือเรื่องราวในศิลาจารึกหลักนี้เป็นของที่อยู่ในสมัยก่อนรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้น ถ้าหากเปรียบเทียบและลำดับเหตุการณ์เกี่ยวกับความเป็นมาของแคว้นสุโขทัยแล้ว ก็ต้องถือว่าจารึกหลักที่ 2 เป็นเรื่องราวก่อนสมัยราชวงศ์พระร่วง ส่วนจารึกหลักที่ 1 เป็นเรื่องราวของราชวงศ์พระร่วงซึ่งอยู่ในสมัยหลังลงมา

แต่เจตนารมณ์ในการสร้างจารึกหลักที่ 1 นั้น อาจชวนให้คิดและตีความได้ว่าเป็นการข่มทับหรือขัดแย้งกับจารึกหลักที่ 2 เป็นปัญหาทางการเมือง ซึ่งน่าจะสร้างขั้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยลงไป

ที่ว่าอาจมีปัญหาทางการเมือง ก็เพราะว่าจารึกหลักที่ 2 แสดงถึงความราบรื่นของสุโขทัยมาโดยตลอดจนถึงรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเลอไทย แต่หลังจากรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาเลอไทยแล้ว เกิดความยุ่งยากขึ้นในแคว้นสุโขทัย เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนจากบรรดาศิลาจารึกในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย ที่ระบุว่าหลังจากรัชกาลของพ่อขุนราชคำแหงลงมาแล้ว บ้านเมืองแตกแยก “หาเป็นขุนหนึ่งไม่” แต่พอมาถึงรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยก็กลับรวมกันได้อีก ศิลาจารึกหลักที่ 4 จารึกวัดป่ามะม่วงได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ครองอยู่เมืองศรีสัชนาลัย ได้ยกกองทัพจากเมืองศรีสัชนาลัยมายังสุโขทัย ใช้เวลาถึง 3 วันถึงจะมาถึง เมื่อเข้าเมืองสุโขทัยได้แล้วทรงประหารศัตรูของพระองค์ด้วยขวาน ต่อจากนั้นก็ขึ้นครองราชย์ ประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษก

เรื่องราวดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าก่อนหน้าที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยจะได้เสวยราชย์นั้นได้มีกษัตริย์ปกครองเมืองสุโขทัยอยู่แล้ว จะเป็นด้วยได้ราชสมบัติโดยชอบธรรมหรือไม่นั้นไม่ทราบชัด แต่ว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงได้ราชสมบัติจากการกำจัดผู้ครองเมืองสุโขทัยพระองค์นั้นอย่างแน่นอน โดยเหตุนี้จึงทำพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างใหญ่โต ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นพระราชพิธีปราบดาภิเษกมากกว่าราชาภิเษก เพราะฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์ผู้ถูกสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยประหารเสียนั้น เป็นเจ้านายในราชวงศ์ผาเมืองที่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกับราชวงศ์พระร่วงมาแต่สมัยพ่อขุนผาเมือง

การสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่บรรยายเกี่ยวกับพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหงนั้น คงมีความมุ่งหมายมิใช่น้อยที่จะสร้างภาพพจน์และสิทธิธรรมของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งราชวงศ์พระร่วง

ความขัดแย้งคงเกิดขึ้นระหว่างสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยกับบรรดาเจ้านายในราชวงศ์ผาเมือง ซึ่งคงปกครองบ้านเมืองหลายแห่งอยู่ทางลุ่มน้ำน่านในกลุ่มสระหลวงสองแคว และกินเลยเข้าไปในลุ่มน้ำป่าสักทางเพชรบูรณ์ เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยต้องยกกองทัพไปปราบปรามและมาครองเมืองสองแควอยู่พักหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างพระบรมธาตุขึ้นที่เมืองสองแคว สร้างพระพุทธบาท แล้วนำคนจากพระบรมธาตุขึ้นที่เมืองสองแคว และลุ่มน้ำป่าสักไปไหว้พระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฏเมืองสุโขทัย เป็นต้น

อย่าไรก็ตาม ความขัดแย้งนี้หาได้สิ้นสุดไม่ กลับบานปลายไปถึงการเกี่ยวข้องกับทางอยุธยา เป็นเหตุให้สมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ส่งกองทัพมายึดเมืองสองแคว ซึ่งตามเอกสารของล้านนาเรียกว่าเมืองชัยนาท เป็นเหตุให้สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยต้องขอเป็นไมตรีและขอเมืองคืน

เหตุการณ์เช่นนี้ น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าเจ้านายทางฝ่ายราชวงศ์ผาเมืองนั้นมีความสัมพันธ์กับทางลพบุรีและอยุธยาไม่น้อย อาจแลเห็นได้จากข้อมูลในศิลาจารึกสุโขทัยเองด้วยซ้ำ ดังเช่นศิลาจารึกหลักที่ 11 ที่พบที่เขากบเมืองพระบางหรือเมืองนครสวรรค์ มีข้อความในด้านหนึ่งกล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าได้เดินทางไปยังเมืองต่างๆ ที่สำคัญในเมืองไทยในสมัยนั้น รวมทั้งออกไปต่างประเทศ เช่น อินเดีย และลังกา ได้ทำบุญกุศลสร้างพระธาตุและปลูกต้นพระศรีมหาโพธิในที่ต่างๆ ด้วย ในบรรดาเมืองสำคัญเหล่านี้มีชื่อเมืองอโยธยาอันเป็นที่บุคคลนั้นได้เข้าไปเฝ้า “บุรีบรมราชอโยธยาศรีรามเทพนคร” ซึ่งก็คงหมายถึงพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองอยุธยานั่นเอง

บุคคลที่กล่าวถึงในศิลาจารึกนี้ ตามความเห็นของนักอ่านจารึกและนักวิชาการปัจจุบันนี้ หลายๆ ท่านเชื่อว่าคือ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี เพราะข้อความและเรื่องราวดูสอดคล้องกับจารึกวัดศรีชุมมาก และศิลาจารึกหลักที่พบที่เขากบนี้ เป็นหลักเดียวในบรรดาจารึกต่างๆ ของสุโขทัยที่กล่าวถึงชื่อเมืองอยุธยา

ปัญหาก็คือว่า ถ้าบุคคลผู้นี้คือสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีจริง พระองค์ก็ต้องทรงเกี่ยวกันไม่มากก็น้อยกับทางกษัตริย์แห่งอยุธยา ซึ่งในช่วงระยะเวลานั้นอาจจะเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือรัชกาลก่อนหน้านี้ก็ได้

การที่ฝ่ายราชวงศ์ผาเมือง มีความสัมพันธ์กับทางลพบุรีและอยุธยาตามหลักฐานจากจารึกและตำนานตามที่กล่าวมาแล้วนี้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับจารึกหลักที่ 1 ในตอนท้ายๆ ที่กล่าวถึงขอบเขตความสัมพันธ์ของแคว้นสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กับเมืองต่างๆ ที่ไม่ปรากฏชื่อเมืองในเขตแคว้นอยุธยาเลย แต่พบว่าสัมพันธ์กับบ้านเมืองทางซีกตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองแพรกศรีราชา สุพรรณภูมิ เพชรบุรี ราชบุรี ไปจนถึงนครศรีธรรมราช

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ วรรณกรรมการเมือง เรื่อง “อานุภาพพ่อขุนอุปถัมภ์” ศึกศิลาจากรึก ที่พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้แต่งยุคสุโขทัย บทความตอน “พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้ทำศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง แต่ทำขึ้นสมัย ‘ลิไทย’ ด้วยเหตุผลทางการเมือง” โดย ศรีศักร วัลลิโภดม (คัดและปรับปรุงย่อหน้าใหม่จากผลการวิจัยเรื่อง เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย เสนอต่อสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2530 พิมพ์เป็นเล่มครั้งแรก พ.ศ. 2532)

หลักศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงเรื่องใด

ศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นการบรรยายเรื่องราวของกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง โดยเฉพาะในสมัยพ่อขุนรามคำแหง จารึกหลักนี้ นักปราชญ์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าข้อความในตอนต้นๆ ของศิลาจารึกเป็นสิ่งที่พ่อขุนรามคำแหงโปรดให้จารึกขึ้น แต่ตอนท้ายๆ มาสร้างขึ้นในสมัยหลัง

ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีอะไรบ้าง

ลักษณะของศิลาจารึก เป็นแท่นหินชนวนสีขาว รูปทรงสี่เหลี่ยม ออกกลมมนมีความสูง 1 เมตร 11 เซนติเมตร ความหนา 35 เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน ด้านที่ 1 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มีอักษรจารึก 35 บรรทัด ด้านที่ 3 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด และด้านที่ 4 มีอักษรจารึก 27 บรรทัด ทุกหน้ามีรอยชำรุด ขีดข่วนและร่องรอยถูกกระเทาะ

ศิลาจารึกที่ 1 มีความสำคัญอย่างไร

ศิลาจารึกหลักนี้ช่วยให้เราได้ทราบถึงประวัติความรุ่งเรืองชองชาติไทยในยุคสุโขทัย และประวัติเรื่องราวอื่นๆ เช่น ประวัติราชวงศ์สุโขทัย ประวัติการรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่น ประวัติการค้าโดยเสรี ประวัติการสืบสร้างพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์ลายสือไทย ด้านภูมิศาสตร์

เนื้อหาในศิลาจารึกหลักที่ 1 มีกี่ตอน

เรื่องที่มีในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้แบ่งออกได้เป็นสามตอน ตอนที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์ ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติใช้คำว่า “กู” เป็นพื้น ตอนที่ 2 ไม่ได้ใช้คำว่า “กู” เลย ใช้คำว่า “พ่อขุนรามคำแหง” เล่าเรื่องประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย เรื่องสร้าง ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้