ความเสี่ยงสูงที่จะเป็นออฟฟิศ ซินโดรม คือข้อใด

เช็กหน่อย คุณเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) หรือไม่


โรคยอดฮิตอีกหนึ่งอย่างของกลุ่มคนวัยทำงานคงหนีไม่พ้น ออฟฟิศซินโดรม
(office syndrome) ลองมาเช็กหน่อยไหม ว่าตอนนี้คุณเสี่ยงที่จะเป็นแล้วหรือยัง

โรคยอดฮิตอีกหนึ่งอย่างของกลุ่มคนวัยทำงานคงหนีไม่พ้น ออฟฟิศซินโดรม
(office syndrome) ที่สร้างความเจ็บปวดที่เป็นปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน ก่อนที่จะสายเกินแก้ ลองมาเช็กหน่อยไหม ว่าตอนนี้คุณเสี่ยงที่จะเจอกับ ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) แล้วหรือยัง

เช็กลิสต์คุณมีความเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)หรือไม่

  • ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมนาน ๆ หรือทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกัน
    นานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน
  • มีอาการปวดหัวเรื้อรัง
  • มีอาการปวด หลัง คอ บ่า ไหล่ แบบเรื้อรัง
  • เกิดอาการชา ตามมือ เท้า หรือนิ้ว
  • อาการปวดค่อนข้างกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หลายครั้งต้องทานยาเพื่อระงับความปวด

หากส่วนใหญ่คำตอบคือ “ใช่” คุณอาจจะกำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น office syndrome แต่ก่อนที่เราจะไปหาวิธีแก้ เรามาทำความรู้จัก ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) ให้มากขึ้นก่อนดีกว่า ว่าแท้จริงแล้วโรคนี้คืออะไร สาเหตุมาจากไหน

หากจะกล่าวถึงโรคภัยของคนวัยทำงานที่กำลังฮอตฮิตที่สุดในขณะนี้ ก็คงหนีไม่พ้น ‘โรคออฟฟิศซินโดรม’ ซึ่งนับวันมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนน่าตกใจ แต่ถึงกระนั้น ใช่ว่าโรคๆ นี้จะเป็นแล้วไม่หาย เพราะการแพทย์สมัยใหม่ต่างมีการรักษาหลากหลายวิธี ให้ได้เลือกรักษาตัวตามความเหมาะสม อาทิเช่น การฝังเข็ม (Dry needing) การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด และอื่นๆ เพื่อป้องกันการกลายสภาพเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมชนิดเรื้อรังนั่นเอง

โดยในวันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ ‘โรคออฟฟิศซินโดรม’ ว่าเกิดจากอะไร เป็นแล้วมีอาการผิดปกติอย่างไร และสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีใดบ้าง เอาล่ะ ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ตามไปดูเรื่องราวของโรคสุดฮอตฮิตของคนวัยทำงานชนิดนี้กันได้เลย!

 

 

โรคออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จัดอยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งมักเกิดจากการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมา เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง โดยผลของมันจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไล่ลงมาตั้งแต่คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งบริเวณข้อมือก็ไม่เว้น ซึ่งหากผู้ที่พบว่ามีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่ทำการรักษาตัวในทันทีที่พบ อาการอาจทรุดหนักลงและลุกลามจนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดเรื้อรังก็เป็นได้

สาเหตุของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

โดยส่วนมากอาการปวดกล้ามเนื้อจากโรคออฟฟิศซินโดรม มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศเป็นหลัก นั่นเพราะพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่นจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนลืมตัว โดยแทบจะไม่มีการขยับตัวปรับเปลี่ยนอิริยาบถใด ๆ หรือลุกขึ้นเดินไปไหนมาไหนเลย ซึ่งนี่เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ เกิดอาการยึดเกร็งและอักเสบในเวลาต่อมา

อาการแบบไหนที่เข้าข่ายผู้ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

  • เกิดการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน โดยคุณไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน ตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก
  • มีอาการปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง หรือในบางคนอาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุเกิดจากความเครียดและการใช้สายตาจดจ่อบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดหลัง เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อีกทั้งวิธีท่านั่งก็ไม่ถูกสรีระซะทีเดียว โดยผู้มีอาการมักนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้าและยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงยืนทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นเดียวกัน
  • มีอาการปวดหรือเกิดเหน็บชาบริเวณขาลงมา ซึ่งสาเหตุมาจากการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ
  • ตาล้าพร่ามัว เนื่องจากการที่ต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • มีอาการมือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ โดยสาเหตุมาจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือหรือนิ้วมือ (De Quervain’s disease) อักเสบได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดอาการมือชา จากภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียนได้อีกด้วย (CTS / Carpal Tunnel Syndrome)

แนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

ในปัจจุบันการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถกระทำได้หลากหลายวิธี โดยเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดนั่นคือ การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผนวกกับการรับประทานยารักษา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์ชนิดพิเศษ การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี การฝังเข็มแบบสลายจุดปวด (Dry needing) การนวดแผนไทย และอื่น ๆ ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ รวมถึงตรวจดูว่ามีอาการแทรกซ้อนใด ๆ หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์สามารถเลือกวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้อย่างเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยมากที่สุด

การป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

  1. หมั่นออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการปวดเมื่อย
  2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ
  3. เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเสียใหม่ โดยจากที่เคยนั่งอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ให้หาเวลาไปเดินผ่อนคลายกล้ามเนื้อและพักสายตาอย่างน้อยทุก ๆ 1 ชั่วโมงกำลังดี
  4. หากพบว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถหายได้จากการยืดกล้ามเนื้อ การปรับสรีระการทำงาน หรือการดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรมโดยทันที

สรุป

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการของผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือข้อมือ ยึดเกร็งและปวด โดยหากผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรมไม่ได้รับการรักษาเมื่อพบว่ามีความผิดปกติดังกล่าว ก็อาจทำให้อาการทรุดหนักลง ตลอดจนพัฒนากลายเป็นอาการปวดแบบเรื้อรัง ซึ่งนั่นสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอยู่ไม่น้อย ดังนั้น สำหรับคนทำงานออฟฟิศการนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายจากการหดเกร็งเป็นเวลานาน

ซึ่งสำหรับใครที่พบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมปรากฏให้เห็น ก็สามารถเข้ามารับการรักษากับทาง โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ได้เลยในทันที เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา และคอยดูแลอาการอย่างใกล้ชิดจนกว่าผู้ป่วยจะหายดีเป็นปกติ

รู้ได้ยังไงว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม

อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งพบร่วมได้ เช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ ซีด ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่ปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึน งง หูอื้อ ตาพร่า อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

พฤติกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

พนักงานออฟฟิศล้วนมีพฤติกรรมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สูงเกินไป จนส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เราทำทุกวันอยู่นั้นอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และอาจ ...

โรคออฟฟิศซินโดรมมีผลกระทบต่อโรคใดมากที่สุดเป็นอันดับแรก

ออฟฟิศซินโดรม เสี่ยงโรคอันตรายดังต่อไปนี้ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด แขนขาอ่อนแรง ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้กล้ามเนื้อหด ยึด ตึง

อาชีพใดถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมมากที่สุด

นักคอมพิวเตอร์ มีพฤติกรรมก้มๆ เงยๆ ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ต้นคอ ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว อาจรวมไปถึงมึนศีรษะ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการของไมเกรนอีกด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้