หัวใจสําคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์คืออะไร

ความหมายของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เพื่อผลิต บริโภค กระจาย แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยการจัดสรรทรัพยากร ที่เป็นปัจจัยการผลิตอันมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด
ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจหรือสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและมีระเบียบ รู้จักใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพนั้นมีเป้าหมายต่างกันอันเนื่องจากหน่วยเศรษฐกิจต่างระดับกัน
ระดับผู้บริหารประเทศ ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์ในการพิจารณาถึงการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ที่มีอย่างจำกัดนั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ระดับประชาชน ใช้วิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อ เป็นเครื่องมือในการพิจารณาเลือกและตัดสินใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจประกอบอาชีพ หรือ ช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบ้านเมืองและวิธีแก้ไขของภาครัฐบาล
1. ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์
แบ่งเป็น 2 สาขา
1.1 เศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยหรือศึกษาเฉพาะกรณีเป็นเรื่อง ๆ เช่น การขึ้นราคาสินค้า การฟอกเงิน กฤติกรรมการบริโภค ของบุคคลในสังคม ฯลฯ
1.2 เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษา กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เช่น รายได้ประชาชาติ ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ปัญหาเงินเฟ้อ ฯลฯ
2. หน่วยเศรษฐกิจหรือผู้ประกอบการหมายถึง ผู้ดำเนินการผลิตสินค้าและบริการโดยเป็นผู้นำปัจจัยการผลิตซึ่งประกอบด้วย
2.1 ทุน Capital ทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สินค้า เครื่องจักร หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผลิต
2.2 ที่ดิน Land หมายถึง แหล่งผลิตหรือทรัพยากรที่อยู่บนดิน ใต้ดิน และเหนือพื้นดิน
2.3 แรงงาน Labour หมายถึง การทำงานทุกชนิดที่ก่อให้เกิดสินค้าและบริการ แรงงานนี้รวมถึง แรงงานด้านการใช้กำลังกายและกำลังความคิดของมนุษย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย
2.4 การประกอบการ Enterpreneurship หมายถึงผู้ผลิต ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยโดยตรง เป็นผู้ให้ความริเริ่มในนโยบายต่างๆ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายในส่วนสำคัญในอันที่จะทำให้ การผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ปัญหาพื้นฐานทางการผลิต
3.1 จะผลิตอะไร
3.2 จะผลิตอย่างไร
3.3 จะผลิตเพื่อใคร
เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด และสอดคล้องกับทรัพยากรของประเทศที่มีอย่างจำกัด ประเทศใดสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาพื้นฐานดังกล่าว โดยถือการกินดี อยู่ดีของประชาชนในประเทศเป็นเกณฑ์วัด แสดงว่าประเทศนั้นประสบความสำเร็จต่อปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                                ตระหนักถึงความจำกัดของทรัพยากรของประเทศไทย และสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหาสาระ

                                1. ความหมายของเศรษฐศาสตร์ ตามแนวพุทธ

                                2. ลักษณะของวิชาเศรษฐศาสตร์

                                3. ความเป็นมา ความสำคัญ ของวิชาเศรษฐศาสตร์

                                4. ประเภทของวิชาเศรษฐศาสตร์

                                5. ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

                                6. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

                วิชาเศรษฐศาสตร์ มุ่งศึกษาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ขาดแคลน เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จัดว่าเป็นหัวใจสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์

                ความหมายของเศรษฐศาสตร์

                                จากความเป็นมา“economics” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ว่า “oikonomia” แปลว่า การบริหารจัดการของครัวเรือน ( skilled  in the management  household)

                เศรษฐศาสตร์หมายถึง เป็นการศึกษาถึงวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆเพื่อสนองตอบความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่ไม่จำกัด

                โดยธรรมชาติมนุษย์มีความต้องการตลอดเวลา และไม่มีที่สิ้นสุด  แต่จำนวนสินค้าและบริการมีจำกัด  ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างสินค้า บริการและความต้องการ  จึงเกิดการเลือกที่จะต้องตอบสนองความต้องการ  ในการเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้หมดโอกาสที่จะทำสิ่งอื่นไปโดยปริยาย เราเรียกว่าสูญเสียโอกาส       จึงกล่าวว่าเมื่อตัดสินใจเลือกจะเกิดต้นทุนเกิดขึ้นพร้อมกันเราเรียกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาส ดังนั้นการที่จะเลือกเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมีต้นทุนต่ำสุด      

     สรุปได้ว่า 1. ความต้องการมีไม่จำกัด (unlimited wants)      2. ทรัพยากรมีจำกัด (scarcity resources)..ทำให้เกิดความขาดแคลน

                      3. จึงเกิดการเลือก (choice) 4. เมื่อเกิดการเลือกสิ่งที่ตามมาคืออะไร.......................

   สินค้าและบริการ(goods and services)      เป็นสิ่งที่มีอรรถประโยชน์(utility)คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค  ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจโดยไม่คำนึงว่าผิดกฏหมายหรือผิดศีลธรรม 

     สินค้าไร้ราคาหรือทรัพย์เสรี(free  goods) มีตามธรรมชาติ เกินความต้องการของมนุษย์ ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น น้ำ อากาศ แสงแดด

     สินค้าทางเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐทรัพย์(economic  goods) สินค้าที่มีต้นทุนการผลิต มีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการ ต้องซื้อหรือจ่ายค่าตอบแทน

การศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจต่างๆต้องเข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจแต่ละหน่วย ในลักษณะที่เป็นส่วนย่อยและส่วนรวมของระบบเศรษฐกิจเพื่อเข้าใจการทำงานและปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้ดียิ่งขึ้น

       สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

แบ่งเป็น 2 สาขา

เศรษฐศาสตร์จุลภาค  microeconomics เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อย ครัวเรือนหรือธุรกิจเพียงหน่วยใด หน่วยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การกำหนดราคา การจำหน่ายจ่ายแจก  เน้นไปทางการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคล หรือกลุ่มของบุคคลเนื้อหาส่วนใหญ่ของเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็นเรื่องเกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ จึงเรียกอีกอย่างว่า ทฤษฏีราคา(price theory)

เศรษฐศาสตร์มหภาคmacroeconomics       เป็นการศึกษาของเศรษฐกิจส่วนร่วม เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยในสังคมเช่นรายได้ประชาชาติ  ระดับราคาสินค้า การกระจายรายได้ การคลังรัฐบาล การค้าระหว่างประเทศ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจระดับประเทศ ระหว่างประเทศ

                นักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ 

                อัลเฟรด   มาร์แชล    ผู้ริเริ่มทฤษฏีทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคเป็คนแรก เขียนผลงานพฤติกรรมผู้บริโภค  ผู้ผลิต (เสนอทฤษฎีว่าด้วยการผลิต)

                จอห์น  เมนาร์ด  เคนส์  ผู้ริเริ่มทฤษฏี ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นคนแรก  ได้รับยกย่องว่าเป็น บิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค โดยเสนอ นโยบายวิธีแก้ปัญหาการว่างงาน การเงิน การคลัง การออม การลงทุน

                 อดัม   สมิธ  ชาวอังกฤษได้รับสมญา บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ เขียนหนังสือ “An  inquiry  in to the Nature and causes of the Wealth of Nations” หรือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ The Wealth of Nations  เป็นหนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มแรกกล่าวถึงทำอย่างไรประเทศจึงจะร่ำรวย พูดถึงเรื่องกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างสังคมกับธุรกิจให้ผลประโยชน์ร่วมกัน เรื่องกลไกของตลาด  การกำหนดมูลค่าของราคาสิ่งของ  การบริหารการคลัง  การกระจายรายได้  การค้าระหว่างประเทศ  ประเทศ ไทยมีหนังสือเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์เล่มแรกคือ  ทรัพย์ศาสตร์เบื้องต้น

 เ รียบเรียงโดย พระยาสุริยานุวัตร เมื่อ พ.ศ. 2454 ต่อมาเปลี่ยนชื่อ เป็น เศรษฐศาสตร์วิทยาภาคเบื้องต้น เล่ม 1

               เราศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เพราะอะไร?..เพื่อได้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งสาเหตุและผลกระทบต่อบุคคล สังคม เพื่อรู้แนวทางที่จำนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผล

       ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

1. ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้ รู้จักออม

2.  เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุด

3. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้

4. ใช้ความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน การค้ากับต่างประเทศได้

การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

 -  การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แบบใดที่ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุใด

                1. เศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง หรือ เศรษฐศาสตร์พรรณา (Positive หรือ descriptive economics)  การศึกษาเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจหรือระบบเศรษฐกิจในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้รู้ว่าอะไรคือสาเหตุ ทำให้เราสามารถพยากรณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในสถาณการณ์ทั่วๆไปได้ โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม ไม่นำเอาจริยธรรม ค่านิยม ความคิดทางสังคมมาพิจารณาร่วมด้วย  เช่น กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ การศึกษาเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริงจะศึกษาเพียงว่า  น้ำในแม่น้ำเน่าก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นจำนวนเท่าไร   จะไม่ชี้แนะว่ารัฐบสลควรจะดำเนินการเช่นไรเศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริงถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง เพราะการศึกษาสามารถให้ข้อสรุปที่เป็นกฏเกณฑ์ได้

                2.  เศรษฐศาสตร์ตามที่ควารจะเป็น หรือเศรษฐศาสตร์นโยบาย (normative หรือ policy economics)  การศึกษาที่กล่าวถึงพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจ หรือระบบเศรษฐกิจโดยมีการสอดแทรกข้อเสนอแนะที่เห็นว่าถูกหรือควรจะเป็นลงไปด้วย โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม

สอดแทรกความต้องการของสังคม มีการนำเอาค่านิยม จริยธรรม แนวคิดทางสังคมเข้าร่วมพิจารณา  เช่น รัฐบาลต้องการเพิ่มภาษีสินค้ารถยนต์ นอกจากศึกษาถึงผลกระทบต่างๆแล้วสิ่งที่อาจเกิดขึ้นยังศึกษาว่าการขึ้นภาษีดังกล่าวเป็นธรรมหรือไม่  ให้ข้อชี้แนะแก่รัฐบาลว่าควรหรือไม่ควรขึ้นภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือไม่ เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็นจะให้ข้อสรุปที่แตกต่างกันแล้วแต่การวินิจฉัยของบุคคลว่าอะไรถูก อะไรควร ไม่อาจกำหนดเป็นกฏเกณฑ์ที่ตายตัวได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้