ยานขนส่งอวกาศมีหน้าที่อะไร

การขนส่งดาวเทียมและยานอวกาศแต่ละครั้ง  ทั้งดาวเทียมและจรวดนำส่ง ไม่มีส่วนใดนำกลับมาใช้ได้อีก เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการสำรวจอวกาศ ระบบการขนส่งอวกาศ   ถูกพัฒนาและออกแบบให้สามารถนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุดในปี ค.ศ. 1972 ประธานาธิบดีนิกสัน ได้ตัดสินใจปิดโครงการอพอลโลก่อนกำหนด   ในปีเดียวกันนั้นนิกสันอนุมัติโครงการพัฒนากระสวยอวกาศ  มีนักบินควบคุมการบิน และสามารถนำกลับมาใช้บินขึ้นสู่อวกาศได้อีกเรื่อยไป  ยานอวกาศแบบนี้เรียกว่า กระสวยอวกาศ มีจุดมุ่งหมายใช้เป็นประบบขนส่งอวกาศ ( Spare Transporation System เรียกย่อ ๆ ว่า STS)

 

ยานขนส่งอวกาศ

ที่มา//thaiastro.nectec.or.th/news/2003/special/img/liftoff.jpg

 

ระบบขนส่งอวกาศประกอบด้วยส่วนประกอบใหญ่ ๆ   3   ส่วน คือ
1.   ยานขนส่งอวกาศ
2.   ถังเชื้อเพลิงภายนอก
3.   จรวดเขื้อเพลิง

ขั้นตอนการบินของยานขนส่งอากาศมีดังนี้
1.   ใช้จรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง   2   ลำเป็นพลังงานในการส่งยานขนส่งอากาศขึ้นจากฐาน
2.   เมื่อจรวดขับดันใช้เชื้อเพลิงหมดแล้วจะแยกตัวออกและตกลงสู่พื้นน้ำ และใช้ร่มชูชีพเพื่อนำจรวดขับดันนี้  นำกลับไปยังฐานส่งจรวด เพื่อซ่อมแซมแก้ไขใช้ในโอกาสต่อไป
3.   ยานขนส่งอากาศคงเคลื่อนที่สูงขึ้นต่อไป   โดยเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวบรรจุในถังเชื้อเพลิงภายนอกให้กับเครื่องยนต์จรวด 3 เครื่อง
4.   ถังเชื้อเพลิงภายนอกจะหลุดออกก่อนที่ยานขนส่งอวกาศจะไปถึงวงโคจรรอบโลก และถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ ไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีกต่อไป

 

ที่มา  //www.thaigoodview.com/node/76341

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

จรวดเป็นอุปกรณ์ราคาแพง เมื่อถูกส่งขึ้นสู่อวกาศแล้วไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ การส่งจรวดแต่ละครั้งจึงสิ้นเปลืองมาก นักวิทยาศาสตร์จึงพัฒนาแนวคิดในการสร้างยานขนส่งขนาดใหญ่ที่สามารถเดินทางขึ้นสู่อวกาศแล้วเดินทางกลับสู่โลกให้นำมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง เรียกว่า “กระสวยอวกาศ” (Space Shuttle) มีองค์ประกอบประกอบ 3 ส่วนตามภาพที่ 1 ดังนี้
จรวดเชื้อเพลิงแข็ง (Solid Rocket Booster)
จำนวน 2 ชุด ติดตั้งขนาบกับถังเชื้อเพลิงภายนอกทั้งสองข้าง มีหน้าที่ขับดันให้ยานขนส่งอวกาศทั้งระบบทะยานขึ้นสู่อวกาศ
ถังเชื้อเพลิงภายนอก (External Tank) จำนวน 1 ถัง ติดตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างจรวดเชื้อเพลิงแข็งทั้งสองด้าน มีหน้าที่บรรทุกเชื้อเพลิงเหลว ซึ่งมีท่อลำเลียงเชื้อเพลิงไปทำการสันดาปในเครื่องยนต์ซึ่งติดตั้งอยู่ทางด้านท้ายของกระสวยอวกาศ
ยานขนส่งอวกาศ (Orbiter) ทำหน้าที่เป็นยานอวกาศ ห้องทำงานของนักบิน ห้องปฏิบัติการของนักวิทยาศาสตร์ และบรรทุกสัมภาระที่จะไปปล่อยในวงโคจรในอวกาศ เช่น ดาวเทียม หรือชิ้นส่วนของสถานีอวกาศ เป็นต้น เมื่อปฏิบัติภารกิจสำเร็จแล้ว ยานขนส่งอวกาศจะทำหน้าที่เป็นเครื่องร่อน นำนักบินอวกาศและนักวิทยาศาสตร์กลับสู่โลกโดยร่อนลงสนามบิน ด้วยเหตุนี้ยานขนส่งอวกาศจึงต้องมีปีกไว้สำหรับสร้างแรงยก แรงต้านทาน และควบคุมท่าทางการบินขณะที่กลับสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ยานขนส่งอวกาศสามารถนำมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง

ภาพที่ 1 ส่วนประกอบของกระสวยอวกาศ

ขั้นตอนการทำงานของกระสวยอวกาศ

กระสวยอวกาศยกตัวขึ้นจากพื้นโลก โดยใช้กำลังขับดันหลักจากจรวดเชื้อเพลิงแข็ง 2 ชุด และใช้แรงดันจากเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวซี่งติดตั้งอยู่ทางด้านท้ายของยานขนส่งอวกาศเป็นตัวควบคุมวิถีของกระสวยอวกาศ ดังภาพที่ 2
หลังจากทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ 2 นาที ได้ระยะสูงประมาณ 46 กิโลเมตร เชื้อเพลิงแข็งถูกสันดาปหมด จรวดเชื้อเพลิงแข็งถูกปลดออกให้ตกลงสู่พื้นผิวมหาสมุทร โดยกางร่มชูชีพเพื่อชะลออัตราการร่วงหล่น และมีเรือมารอลากกลับ เพื่อนำมาทำความสะอาดและบรรจุเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในภารกิจครั้งต่อไป
กระสวยอวกาศยังคงทะยานขึ้นสู่อวกาศต่อไปยังระดับความสูงของวงโคจรที่ต้องการ โดยเครื่องยนต์หลักที่อยู่ด้านท้ายของยานขนส่งอวกาศจะดูดเชื้อเพลิงเหลวจากถังเชื้อเพลิงภายนอก มาสันดาปจนหมดภายในเวลา 5 นาที แล้วสลัดถังเชื้อเพลิงภายนอกทิ้งให้เสียดสีกับชั้นบรรยากาศจนลุกไหม้หมดก่อนตกถึงพื้นโลก ณ เวลานั้นยานขนส่งอวกาศจะอยู่ในระดับความสูงของวงโคจรที่ต้องการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ภาพที่ 2 ขั้นตอนการส่งกระสวยอวกาศ

ยานขนส่งอวกาศเข้าสู่วงโคจรอบโลกด้วยแรงเฉื่อย โดยมีเชื้อเพลิงสำรองภายในยานเพียงเล็กน้อยเพื่อใช้ในการปรับทิศทาง เมื่อถึงตำแหน่ง ความเร็ว และทิศทางที่ต้องการ จากนั้นนำดาวเทียมที่เก็บไว้ในห้องเก็บสัมภาระออกมาปล่อยเข้าสู่วงโคจร ซึ่งจะเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงเฉื่อยจากยานขนส่งอวกาศนั่นเอง ภาพที่ 3 แสดงให้เห็นยานขนส่งอวกาศกำลังใช้แขนกลยกกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลออกจากห้องเก็บสินค้าที่อยู่ด้านบน เพื่อส่งเข้าสู่วงโคจรรอบโลก


ภาพที่ 3 ยานขนส่งอวกาศกำลังส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเข้าสู่วงโคจร

จากนั้นยานขนส่งอวกาศจะเคลื่อนที่จากออกมา โดยยานขนส่งอวกาศสามารถปรับท่าทางการบินโดยใช้เครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่า “ทรัสเตอร์” (Thrusters) หลายชุดซึ่งติดตั้งอยู่รอบยาน ดังในภาพที่ 4 ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการให้ยานก้มหัวลง ก็จะจุดทรัสเตอร์หัวยานด้านบนและทรัสเตอร์ท้ายยานด้านล่างพร้อมๆ กัน เมื่อได้ทิศทางที่ต้องการก็จะจุดทรัสเตอร์ในทิศตรงการข้ามเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว หากต้องการหันยานไปทางขวามือ ก็จุดทรัสเตอร์หัวยานด้านซ้ายและทรัสเตอร์ท้ายยานด้านขวาพร้อมๆ กัน เมื่อได้ทิศทางที่ต้องการจุดทรัสเตอร์ในทิศตรงการข้ามเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว

เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจในวงโคจร ยานขนส่งอวกาศจะใช้ปีกในการต้านทานอากาศเพื่อชะลอความเร็ว และสร้างแรงยกเพื่อร่อนลงสู่สนามบินในลักษณะคล้ายเครื่องร่อนซึ่งไม่มีแรงขับเคลื่อนใดๆ นอกจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อตัวยาน ดังนั้นเมื่อตัดสินใจจะทำการลงแล้วต้องลงให้สำเร็จ ยานขนส่งอวกาศจะไม่สามารถเพิ่มระยะสูงได้อีก หลังจากที่ล้อหลักแตะพื้นสนามบินก็จะปล่อยร่มชูชีพเพื่อชะลอความเร็ว เพื่อให้ใช้ระยะทางบนทางวิ่งสั้นลง ดังภาพที่ 5

ยานขนส่งอวกาศใช้ได้กี่ครั้ง

ยานขนส่งอวกาศเป็นยานอวกาศรุ่นล่าสุดของสหรัฐ ฯ รูปร่างคล้ายเครื่องบินขนาดใหญ่ ความยาวลำเรือ 185 ฟุต ยานขนส่งอวกาศโคจรในวงทางโคจรแล้วร่อนลงพื้นดินได้เหมือนเครื่องบินทั่วไป ยานขนส่งอวกาศสามารถนำกลับมาใช้ใหม่เดินทางขึ้นสู่อวกาศได้นับ 100 เที่ยวบิน ยานขนส่งอวกาศไม่สามารถจะเดินทางข้ามดาวเคราะห์ได้ แต่ก็เป็นก้าวแรกของการ ...

ยานขนส่งอวกาศแตกต่างกับจรวดยังไง

ยานอวกาศ (Spaceship / Spacecraft) หากจะแยกความแตกต่างระหว่างจรวดกับยานอวกาศให้ง่ายขึ้น อาจจำง่าย ๆ ว่า จรวดมีขนาดเล็กกว่ายานอวกาศ ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง และไม่มีมนุษย์โดยสาร ทำหน้าที่เพียงขับเคลื่อนพาหนะที่ใช้ขนส่งอุปกรณ์ หรือมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ

กระสวยอวกาศ มีไว้เพื่ออะไร

กระสวยอวกาศได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น นำดาวเทียมขึ้นไปส่งใหเ้ข้าสู่วิถีโคจร เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ นำมนุษย์อวกาศพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือไปส่งที่สถานีอวกาศหรือหอวิจัยลอย ฟ้านำมนุษย์อวกาศพร้อมเครื่องมือขึ้นไปซ่อมบำรุงดาวเทียมเป็นตน

ยานขนส่งคืออะไร

ยานขนส่งอวกาศ หรือกระสวยอวกาศ คือ ยานอวกาศที่ใช้เดินทางไปในอวกาศที่ออกแบบเพื่อการขนส่งคน อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์เช่น ดาวเทียมต่างๆ สถานีอวกาศจากโลกขึ้นไปใน อวกาศ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วสามารถเดินกลับสู่ผิวโลกและเอาตัวยานอวกาศนั้นกลับมาใช้ได้อีกเพื่อ เป็นการประหยัดทรัพยากร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้