กรุงธนบุรีมีชื่อเต็มว่าอะไร

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงประกอบวีรกรรมในการกอบกู้และสร้างชาติ ป้องกันบ้านเมืองและสร้างความเป็นเอกภาพ ตลอดจนขยายราชอาณาจักร เมื่อปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงเฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติประมาณ พ.ศ.2277 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรม พระบิดาเป็นชาวจีนแซ่เจิ้ง ส่วนพระมารดาเป็นหญิงไทย ชื่อนางนกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์)อาจมีภูมิลำเนาจากเมืองเพชรบุรี พระองค์สมรสกับหญิงสามัญชนชื่อสอน (กรมหลวงบาทบริจาริกา) มีพระราชโอรสพระราชธิดารวม 29 พระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเดิมเป็นพ่อค้าเกวียนได้บรรทุกสินค้าไปขายที่หัวเมือง ต่อมาเข้ารับราชการจนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ไปปกครองเมือง พม่ายกทัพเข้ามาโจมตีหัวเมืองฝ่ายเหนือใน พ.ศ.2309 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงโปรดให้พระองค์ลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา

ด้วยเหตุผลจากสถานการณ์สงครามที่เหลือกำลังหรืออาจมีหมายให้ไปหาคนจากเมืองมาช่วย หรือความจำเป็นอื่นใด ทำให้พระองค์จึงพาไพร่พลไทยจีนตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่า (มีเอกสารการค้าทางการธนบุรี ถึงบริษัท VOC กล่าวว่า พระองค์ทรงไปตามคำสั่งพระมหากษัตริย์) มุ่งไปทางทิศตะวันออกสู่จันทบูรณ์หรือจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่ จันทบูรจึงเป็นเมืองทางเศรษกิจทำเลที่ตั้งทางน้ำเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ทางทหารเรียกว่า “สมุททานุภาพ”

พระนามพระเจ้าตากสินคืออะไรแน่!พระเจ้ากรุงธนบุรี สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชา!!

เผยแพร่: 18 ก.ค. 2561 10:01   โดย: โรม บุนนาค


ที่เราขนานพระนามมหาราชผู้กู้ชาติไทยในการเสียกรุงแก่พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐ ว่า “พระเจ้าตากสิน” ก็เพราะพระองค์มีพระนามเดิมว่า “สิน” เป็นอดีตเจ้าเมืองตาก

และที่เอ่ยพระนามพระองค์ท่านว่า “พระเจ้ากรุงธนบุรี” ก็เพราะเป็นผู้สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี และเป็นกษัตริย์พระองค์เดียวของนครหลวงแห่งนี้

แต่พระนามที่เป็นทางราชการของพระองค์คืออะไรแน่?

พระเจ้ากรุงธนบุรี - สมเด็จพระศรีสรรเพพชญ์ - สมเด็จพระบรมราชา – สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี - สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ล้วนแต่มีเอกสารเอ่ยนามพระองค์แบบนี้กันทั้งนั้น

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง “ไทยรบพม่า” ในเชิงอรรถ ว่า

“...เมื่อเจ้าตากลงมาตั้งอยู่ที่เมืองธนบุรี ทำพิธีราชาภิเษกในปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ นั้น หนังสือพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาขนานพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชา” นับเป็นที่ ๔ แต่ในหนังสือเก่าๆ เรียกว่า “ขุนหลวงตาก” บ้าง “เจ้ากรุงธนบุรี” บ้าง “พระเจ้ากรุงธนบุรี” บ้าง

มีคำกล่าวกันแต่ก่อนมาว่า เมื่อเจ้าตากทำพิธีราชาภิเษก หาพราหมณ์ทำพิธีราชาภิเษกไม่ได้ เห็นเป็นการบกพร่องไม่ต้องราชประเพณี จึงทรงไม่ใช้พระราชโองการจนตลอดรัชกาล แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ในหนังสือแต่งตั้งเจ้านครฯ ซึ่งพบสำเนาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้พระนามว่า “สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์” และมีพระราชโองการตามแบบพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่าหมดทุกประการ

ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา มีพระนาม “สมเด็จพระบรมราชา” อยู่ ๓ พระองค์ พระองค์ที่ ๑ คือ พระเจ้าทรงธรรม “สมเด็จพระบรมราชา ที่ ๒” คือ พระเชษฐาธิราช และ “สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓” คือ พระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งทั้ง ๓ พระองค์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตากสินเลย

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินขึ้นที่วงเวียนใหญ่ ได้กำหนดพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี” โดยในหนังสือลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๙๗ ระบุว่า เรื่อง การเปิดพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี

ต่อมาในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๔ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เทิดพระนามสมเด็จพระเจ้าตากสิน เป็น “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช”


  • สมเด็จพระเจ้าตากสิน
  • เรื่องเก่าเล่าสนุก
  • โรมบุนนาค
  • พระเจ้าตากสิน

กำลังโหลดความคิดเห็น

คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า “สมเด็จพระเจ้าตากสิน” ซึ่งเป็นพระนามที่ปรากฏบนจารึกหน้าฐานพระบรมราชานุเสาวรีย์ของพระองค์ที่วงเวียนใหญ่ ส่วนที่มาของพระนามดังกล่าว คนเฒ่าคนแก่ หรือครูบาอาจารย์ชอบบอกว่า เพราะพระองค์เป็นเจ้าเมืองตากมาก่อน เมื่อพระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นครองกรุงธนบุรี คนก็ยังติดกับพระนามเดิมจึงมักเรียกพระองค์ว่า “พระเจ้าตากสิน”

อย่างไรก็ดี สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ บอกว่า การเรียกพระนามของพระองค์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการลดทอนพระเกียรติยศของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์เพราะนั่นมิใช่พระนามอย่างเป็นทางการของพระองค์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน และภายหลังมีความพยายามลดทอนพระบารมีของพระองค์ ไม่ยอมรับพระองค์ในฐานะ “พระเจ้าแผ่นดิน” ด้วยข้ออ้างว่า เมื่อสมัยที่พระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก บ้านเมืองยังเป็นจลาจล หาพราหมณ์ทำพิธีไม่ได้ การประกอบพระราชพิธีในครั้งนั้นจึงบกพร่องไม่เป็นไปตามโบราณราชประเพณี

แต่สุทธิศักดิ์ยืนยันว่า พระองค์ทรงมีสถานะเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์มาแต่ต้นรัชกาล เห็นได้จากหลักฐานการตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราชครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. 2319 ที่ระบุว่าพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว” และรับ “พระราชโองการ” ตามอย่างพระเจ้าแผ่นดินพระมหานครศรีอยุทธยาทุกประการ

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ จ.จันทบุรี

อย่างไรก็ดี เมื่อล่วงเข้าสู่ราชวงศ์ใหม่พระองค์ถูกลดทอนพระบารมีลงด้วยการไปเรียกขานพระองค์ด้วยชื่อตำแหน่งเมื่อครั้งที่พระองค์ยังคงมีสถานะเป็นเพียงขุนนาง เช่นในหมายรับสั่งเรื่องแห่พระทราย เมื่อ พ.ศ. 2325 ที่เรียกพระองค์ว่า “พระยาตากสิน” และเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัท) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. 2327 ก็เรียกพระองค์ว่า “พญาตากสิน” สุทธิศักดิ์ จึงกล่าวว่า ในทัศนะของราชวงศ์ใหม่ พระเจ้ากรุงธนบุรีมีสถานะเป็นเพียง “หัวหน้าชุมชน” เท่านั้น ไม่ใช่ “พระเจ้าแผ่นดิน”

เอกสารในยุคหลังจึงยึดเอาธรรมเนียมการเรียขานพระนามของพระองค์ ด้วยสถานะเทียบเท่าหัวหน้าชุมนุมเรื่อยมา หรือเลี่ยงที่จะเอ่ยพระนามของพระองค์ไปเสีย จนกระทั่งเข้าถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานะความเป็น “พระเจ้าแผ่นดิน” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้รับการฟื้นฟูขึ้น เพื่อแสดงความสืบเนื่องของแผ่นดินตั้งแต่สมัยอยุธยา มาจนถึงสมัยของพระองค์ (รัชกาลที่ 4)

หลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสาร “ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2408 ที่ตรัสเรียกว่า “กรุงธนบุรี” แปลว่าพระเจ้าแผ่นดินธนบุรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงกล่าวใน “พระราชกรัณยานุสร” ว่า พระนามเดิมของพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยกย่องขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินคงมีอยู่แน่ แต่ไม่ปรากฏ (หลักฐาน) ดังที่ได้ตรัสว่า “พระนามเดิมคงมีอยู่ แต่จะใช้พระนามไร ก็ไม่รู้ที่จะสันนิษฐานต้องยกไว้”

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ตรวจชำระแก้ไขพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา เมื่อ พ.ศ. 2457 พระองค์ได้ขนานพระนามสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียใหม่ตามพระวินิจฉัยส่วนพระองค์ว่า “สมเด็จพระบรมราชา องค์ที่ 4” ซึ่งนักพงศาวดารไทยก็ได้ยึดถือตามกันมาและถือเป็นพระนามทางการของพระองค์ไป

อย่างไรก็ดี ภายหลังสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงวินิจฉัยตามหลักฐานที่ปรากฏในภายหลัง ระบุว่า พระนามที่แท้จริงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีควรจะเป็น “สมเด็จพระเอกาทศรถ” อันเป็นพระนามที่กษัตริย์ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรมทรงใช้สืบต่อกันมา รวมถึงพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย ดังที่ปรากฏพระราชโองการตั้งเจ้านครศรีธรรมราช

นอกจากนี้ สุทธิศักดิ์ ยังพบว่า ข้อสันนิษฐานภายหลังของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีหลักฐานอื่นรองรับอีกหลายชิ้น เช่นพระราชสาส์นล้านช้าง ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชทานไปถึงพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อ พ.ศ. 2314 ที่จดพระนามร่วมสมัยของพระองค์ว่า “สมเด็จพระมหาเอกาทุศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว” ตามด้วยพระราชสาส์นล้านช้าง พ.ศ. 2317 ที่ออกพระนามว่า “สมเด็จพระมหาเอก (า) ทศรธอิศวรบรมนารถบรมบพิตรฯ”

เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจชำระแก้ไขพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระองค์ได้แก้ไขพระวินิจฉัยเดิม และแก้พระนามของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใหม่เป็น “พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว” ซึ่ง สุทธิศักดิ์ กล่าวว่า พระนามดังกล่าวถอดความได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่ผู้ครอบครองราชรถทั้งสิบเอ็ดรถ

อย่างไรก็ดี สุทธิศักดิ์ มองว่าพระนามดังกล่าวมิได้เป็นพระเกียรติยศสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน “จึงเห็นควรปริวรรตพระนามตามอักขรวิธีในปัจจุบันเป็น ‘พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร’ แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้แบ่งภาคมาจากเทพยดาผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๑๑ พระองค์ คือ พระพรหม พระพิษณุ พระอิศวร พระพาย พระพิรุณ พระเพลิง พระยม พระไพศรพณ์ พระอินทร์ พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ตามคติความเชื่อใน ‘ลัทธิเทวราช’ ของศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู) ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการจรรโลงสิทธิธรรมในการขึ้นครองราชสมบัติของพระเจ้าแผ่นดินในอดีต”

ด้วยเหตุนี้ สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์ สรุปว่า “สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงควรมีพระนามทางการตามจารึกในพระสุพรรบัฏว่า ‘สมเด็จพระเอกาทศรุทรอิศวร’ นับเป็นพระองค์ที่ 6 ถัดจากพระบาทสมเด็จเอกาทศรุทรอิศวรที่ 5 (สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ)”  ไม่ใช่สมเด็จพระบรมราชา พระองค์ที่ 4 อย่างที่ยึดถือกันมาแต่เดิม

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. “พระนามทางการที่ปลาสนาการของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี” ใน, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2553.

ข้อใดคือพระนามของพระมหากษัตริย์สมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao; 17 เมษายน พ.ศ. 2277 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325) มีพระนามเดิมว่า สิน เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ก่อตั้งอาณาจักรธนบุรี และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวของราชอาณาจักรธนบุรี

พระมหากษัตริย์สมัยกรุงธนบุรีมีกี่พระองค์ ชื่ออะไรบ้าง

ราชวงศ์ธนบุรี เป็นราชวงศ์ในอดีตที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดคือ 15 ปี ซึ่งปกครองกรุงธนบุรีเพียงราชวงศ์เดียว และมีพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวคือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสถาปนาราชวงศ์นี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 - 6 เมษายน 2325.

กรุงธนบุรีเป็นราชธานีของไทยเป็นระยะเวลาเท่าใด

อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรที่มีระยะเวลาสั้นที่สุดของไทย คือระหว่าง พ.ศ. 2310–2325 ระยะเวลา 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภายหลังอาณาจักรอยุธยาล่มสลายไปพร้อมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ...

ชาวต่างชาติเรียกกรุงธนบุรีว่าอะไร

เมืองธนบุรีกับบางกอก ก่อนสมัยพระเจ้าตากสินคือที่เดียวกัน แต่ชาวบ้านและชาวต่างชาติน่าจะรู้จักชื่อบางกอกมากกว่า เพราะพบชื่อธนบุรีในเอกสารฝรั่งน้อยมาก และเท่าที่ผ่านตาไม่ปรากฏชื่อนี้เลยในแผนที่สมัยนั้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้