ระบบอัตราแลกเปลี่ยนมีอะไรบ้าง

ใส่อีเมลของคุณเพื่อรับข่าวสาร

ธปท. จะเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของท่าน เพื่อประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารของศูนย์การเรียนรู้ ธปท. อนึ่ง ท่านมีสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ ธปท. ข้าพเจ้าให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวของข้าพเจ้าตามวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
ข้อดี

• สร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในประเทศเนื่องจากค่าเงินผูกติดกับประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ

• ช่วยสร้างบรรยากาศของความมั่นคงต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ข้อดี

• มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน

• มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับความผันผวนจากภายนอก เนื่องจากเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดโดยกลไกตลาด

ข้อเสีย

• ธนาคารกลางแบกรับภาระในการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ ซึ่งอาจเป็นจุดอ่อนที่นำไปสู่การเก็งกำไรค่าเงิน

• ขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินในประเทศเนื่องจากต้องคำนึงถึงการรักษาอัตราแกลเปลี่ยนเป็นหลัก

ข้อเสีย

• ในการดำเนินนโยบายการเงิน จะมีตัวแปรมากขึ้นที่ต้องพิจารณา ในการดูแลระดับราคาในประเทศ เนื่องจากอัตราแกลเปลี่ยนที่อ่อนค่าสามารถส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

• ในกรณีที่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ธนาคารกลางอาจขาดความโปร่งใสในการดำเนินงาน

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ “คงที่” จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดตายตัวโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Demand และ Supply ของเงิน

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าประเทศไทยกำหนดไว้ว่า 25 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ 25 บาทก็จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐไปจนกว่าธนาคารกลางจะประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น ในสกุลเงินของประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate จะไม่มีการแข็งค่า (Appreciation) หรืออ่อนค่า (Depreciation) เหมือนกับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ข้อดีของ Fixed Exchange Rate หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ คือ การที่ไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน หนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือผู้ส่งออกที่ไม่ต้องเสี่ยงกับค่าเงินที่อาจทำให้ขาดทุนหรือทำให้สินค้าขายได้ยาก

ในทางกลับกันข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) คือ การที่ในระยะยาวมูลค่าของเงินจะวิ่งหามูลค่าที่มันควรจะเป็น ในที่นี้คือสภาพของประเทศที่เป็นสิ่งค้ำประกันมูลค่าเงินในแต่ละสกุล

เมื่อไหร่ก็ตามที่ต่างชาติมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดเอาไว้ในอัตราที่ไม่สมเหตุสมผล เงินสกุลที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และเกิดการเทขายเงินสกุลดังกล่าวในที่สุด

และเมื่อเกิดการเทขายอย่างหนักจนถึงระดับที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นควบคุมไม่ได้ก็จะทำให้ค่าเงินหลุดจากราคาที่ตรึงเอาไว้และอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในที่สุดในลักษณะเดียวกับวิกฤตค่าเงินของหลาย ๆ ประเทศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

จากข้อดีที่ไม่มีความผันผวนของค่าเงิน ทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ต้องรับภาระในการดูแลค่าเงินด้วยการตรึงค่าเงินให้อยู่ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่ธนาคารกลางไม่สามารถตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้จุดจบก็จะไม่ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งของประเทศไทยเมื่อปี 2540

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการควบคุมแทน

ประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ประเทศไทยในอดีต เคยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

ประเทศจีนในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ โดยประเทศจีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินหยวนแบบคงที่ และกำหนด (เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับสกุลอื่น) โดยธนาคารกลางของจีน

    ระบบอัตราแลกเปลี่ยน หมายถึง ราคาของเงินตราต่างประเทศคิดเทียบต่อราคาของเงินภายในประเทศ เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 40 บาท
    การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเลือกหน่วยเงินตราของตนเกี่ยวกันกับหน่วยเงินตราของปรเทศอื่น ๆ โดยสามารถให้ระบบเงินตราของตนเป็นอิสระ ทั้งนี้โดยการใช้นโยบายการเงินของตนเพื่อที่จะรักษามูลค่าภายใน (Internal Value) หรือก็คืออำนาจการซื้อของหน่วยเงินตราของประเทศอื่น ๆ ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดเงินตราต่างประเทศตลอดจนปล่อยให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเสรี หรืออีกประเทศหนึ่งอาจจะกำหนดมูลค่าภายนอก (External Value) ของหน่วยเงินตราของตนมีลักษณะคงที่ (Fixed) เมื่อเทียบค่ากับหน่วยเงินตราของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเทียบค่ากับหน่วยเงินตราของหลาย ๆ ประเทศในลักษณะคงที่
1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่1 (Fixed Exchange Rate System) เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกำหนดให้คงที่ระดับหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแลงในช่วงเวลาที่ต้องการ ซึ่งภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จะเกิดจากหน่วยเงินตราแต่ละประเทศอิงกับมาตฐานโลหะที่มีค่า เช่น ระบบมาตรฐานทองคำ (The Gold Standard) รัฐบาลของทุกประเทศจะใช้ทองคำเพียงชนิดเดียวเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ และจะกำหนดค่าหน่วยเงินตราของประเทศเทียบกับน้ำหนักทองคำ เช่น เงินหนึ่งดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอิงน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์เท่ากับ 23.22 เกรน ส่วนเงินปอนด์ของอังกฤษหนึ่งปอนด์อิงน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์เท่ากับ113.0016 เกรน ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนหนึ่งปอนด์ของอังกฤษเท่ากับ 4.87 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา อัตราแลกเปลี่ยนภายใต้มาตรฐานทองคำระหว่างประเทศจะมีความเคลื่อนไหวน้อยมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการส่งออกทองคำจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี (Freely Exchange Rate System) ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีนั้น อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ โดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินไม่ต้องกำหนดค่าเสมอภาค หรือเข้าแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้