Fbc กับ fbl ต่างกันอย่างไร

ธุรกิจต่างด้าวต้องปฏิบัติอย่างไรในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย

“บริษัทเอ เป็นนิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนที่ประเทศญี่ปุ่น และมีการจำหน่ายสินค้าให้แก่ บริษัทบี ซึ่งเป็นนิติบุคคลไทยที่มีผู้ถือหุ้นข้างมากเป็นต่างด้าว และเป็นผู้ซื้อในประเทศไทย โดยบริษัทเอ ได้นำสินค้าเข้ามาฝากไว้ที่จัดเก็บสินค้าของบริษัท บี ซึ่งตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร (Free Zone)ในประเทศไทย แต่สินค้าดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เอ และเมื่อบริษัทบี ได้เบิกสินค้าจากโกดังเก็บสินค้าพร้อมชำระเงินค่าสินค้าให้แก่บริษัท เอ ซึ่งทำให้กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนจากบริษัท เอ ไปยังบริษัท บี ซึ่งถือเป็นการจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย”

จากข้อเท็จจริงข้างต้นพิจารณาได้ว่าทั้งบริษัทเอ และบริษัทบี มีธุรกิจที่ต้องขออนุญาตตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ดังนี้

บัญชีสาม (14) การค้าปลีก และ บัญชีสาม (15) การค้าส่ง

ซึ่งคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

อนึ่ง การค้าปลีก ได้แก่การขายให้แก่ลูกค้าเพื่อใช้ในการบริโภคโดยตรงของตนเอง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการขายให้แก่ผู้ผลิตเพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่นและการค้าส่ง ได้แก่การขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อที่นำไปขาย หรือให้บริการต่อแก่ลูกค้าหรือ นำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่น

อย่างไรก็ตาม หากบริษัทเอ และบริษัทบี ต้องการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ทั้งค้าปลีกและค้าส่งโดยไม่ต้องขออนุญาต บริษัทเอ และบริษัทบี จะต้องนำหรือส่งทุนขั้นต่ำเป็นเงินตราต่างประเทศที่ใช้ในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทยแต่ละธุรกิจไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมทุนขั้นต่ำในธุรกิจอื่นที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ทุนขั้นต่ำ 100 ล้านบาทสำหรับกรณีค้าปลีกสามารถมีร้านค้าปลีกได้จำนวน 5 ร้านค้า หรือกรณีการค้าส่งสามารถมีร้านค้าส่งได้จำนวน 1 ร้านค้าเท่านั้น

การยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
การจัดเตรียมคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ต้องมีหัวข้อและรายละเอียด ดังนี้
1. ลักษณะธุรกิจและขั้นตอนการดำเนินงาน
2. โครงสร้างทุน /ภาพรวมการประกอบธุรกิจ
3. ขนาดของกิจการ /ตารางประมาณการรายจ่ายในการประกอบธุรกิจ จำนวน 3 ปี
4. คำรับรองเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี)
5. แผนการจ้างงาน

คนต่างด้าวสามารถยื่นคำขออนุญาตตามมาตรา 17 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะพิจารณาคำขอ เอกสารประกอบคำขอและการวิเคราะห์ลักษณะธุรกิจที่ขออนุญาต โดยการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ/คณะกรรมการ/คณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี โดยกำหนดเวลาการพิจารณา 60 วัน นับแต่วันชำระค่าคำขอ

หลักเกณฑ์การพิจารณาคำขออนุญาต

มาตรา 5 การอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พิจารณาโดยคำนึงถึงผลดีและผลเสียต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศิลปวัฒนธรรมและจารีตประเพณีของประเทศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค ขนาดของกิจการ การจ้างแรงงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา

บทลงโทษ

มาตรา 37 คนต่างด้าวผู้ใดประกอบธุรกิจโดยฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 7 หรือมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการประกอบธุรกิจ หรือเลิกกิจการ หรือสั่งเลิกการเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วน แล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลต้องระวางโทษปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่

หากท่านมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมใดๆ สามารถติดต่อได้ที่

บริษัท สำนักกฎหมายธรรมนิติ จำกัด
2/2 อาคารภักดี ชั้น 2 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ 0-2680-9790
Email:

บริษัทปิดกิจการแล้ววันที่ 30 มิถุนายน 2564 เครื่องจักร บริษัทมีจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปแล้วบางส่วน เครื่องจักรที่เหลือที่ยังรอว่าจะจำหน่ายในประเทศหรือส่งออกในส่วนนี้บริษัทสามารถดำเนินตัดบัญชีภาระภาษีก่อนไปเลยได้ไหม (กรกฎาคม 2564)

บริษัทปิดกิจการแล้ว แต่เข้าใจว่าน่าจะอยู่ระหว่างการยื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริมต่อ BOI ในระหว่างนี้สามารถยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรต่อ BOI ได้ โดยหากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปี จะได้รับอนุมัติให้จำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี ไม่ว่าจะส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศก็ตาม และหากเป็นเครื่องจักรหลักที่ทำให้กรรมวิธีการผลิตไม่ครบถ้วน หรือกำลังผลิตลดลงกว่า 20% ให้แจ้งเหตุผลด้วยว่า เป็นการจำหน่ายเพื่อยกเลิกโครงการ
แต่ทั้งนี้ บริษัทจะต้องได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว หรือจะต้องยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่หากพ้นกำหนดเปิดดำเนินการไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นขอเปิดดำเนินการจะมีปัญหา

บริษัทต้องการขอบัตรส่งเสริมกิจการ “Test and assembly testing” ใช้สำหรับทดสอบพัดลม ในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตพัดลมอุตสาหกรรม เพื่อขายให้กับบริษัทในเครือในประเทศต่างๆ ที่ผลิตพัดลมเช่นเดียวกัน แต่ขั้นตอนการออกแบบทั้งหมดดำเนินการโดยบริษัทแม่ ทางบริษัทจะทำการคัดลอกโปรแกรม/ขั้นตอนทั้งหมดมา โดยมีการใช้เครื่องจักรประมาณ 4-5 รายการ สามารขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

กิจการผลิตเครื่องจักร "Test and Assembly Testing" ให้การส่งเสริมในประเภท 4.5 (สิทธิประโยชน์ในกลุ่ม A1-A4)

Q12.1:

หากไม่มีขั้นตอนออกแบบในประเทศไทยจะจัดเป็นประเภท 4.5 นี้หรือไม่

A12.1:

หากเป็นการผลิตเครื่องจักรที่ไม่มีการออกแบบทางวิศวกรรม ให้ส่งเสริมในประเภท 4.5.2 และ 4.5.3

Q12.2:

ในกิจการ 4.5.2 ระบุว่าต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน และ/หรือ การออกแบบทางวิศวกรรม อยากทราบว่าคำว่า การขึ้นรูปชิ้นส่วน หมายถึงอะไร คือการฉีดพลาสติกขึ้นโครงเครื่องจักรหรือไม่

การผลิตของบริษัทจะมีขั้นตอนตัดชิ้นส่วนอลูมิเนียมขึ้นเป็นโครงเครื่องจักร การเชื่อมติดชิ้นส่วนต่างๆ การทำสายไฟเพื่อประกอบเป็นตู้ควบคุม เป็นต้น

A12.2:

การขึ้นรูป คือมีการผลิตชิ้นส่วนขึ้นเอง หากไม่มีการผลิตชิ้นส่วนจะเป็นการประกอบเครื่องจักร ซึ่งจัดเป็นกิจการประเภท 4.5.3

Q12.3:

การผลิตชิ้นส่วนเอง หมายถึงอะไร เช่น เราซื้อปลั๊ก สายไฟ โครงเหล็ก แผ่นเหล็ก มาตัดและประกอบ ถือเป็นการผลิตชิ้นส่วนเองหรือไม่

A12.3:

การตัดแผ่นเหล็ก เป็นขั้นตอนที่ไม่มีนัยสำคัญในกระบวนการผลิต กรรมวิธีการผลิตที่สอบถาม เป็นเพียงการประกอบเครื่องจักรเท่านั้น

เงื่อนไขเฉพาะโครงการ กิจการ ประเภท 7.4.2 : IDC ที่ระบุว่าต้องกระจายสินค้าไปต่างประเทศไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ ถ้ากรณีที่บริษัทฯ กระจายสินค้าไปต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ เช่น บริษัท A (ลูกค้าในประเทศ) ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกต่างประเทศ ให้กับบริษัทดังนี้ บริษัท B Singapore, บริษัท C Malaysia , บริษัท D Indonesia, บริษัท E Chile บริษัท F Australia ซึ่งเป็นบริษัท A มาใช้บริการจัดเก็บสินค้าเข้าคลังเบิกจ่ายกับบริษัทฯ ให้นับรวมเป็นการกระจายสินค้าไปต่างประเทศ 5 ประเทศได้หรือไม่ แต่บริษัท A เป็นผู้เดินพิธีการส่งออกเอง และขนส่งเอง

หากบริษัท A มาใช้บริการฝากเก็บสินค้าเข้าคลัง และเบิกจ่ายสินค้าออกจากคลัง ผู้ให้บริการคลังสินค้าดังกล่าว จะให้บริการเพียงการรับฝากสินค้าเท่านั้น คือเป็นกิจการคลังสินค้าไม่เข้าข่ายกิจการศูนย์กระจายสินค้า IDC

บริษัทเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว - เครื่องจักร อยู่ในช่วงจำหน่าย/ส่งออกเครื่องจักร - อะไหล่ บางตัวที่ยังไม่ครบ 5 ปี ก็ต้องชำระภาษีใช่ไหม (กรกฎาคม 2564)

เครื่องจักร/อะไหล่ ที่นำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี หากจะส่งออก ให้ยื่นเรื่องขอส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศ ซึ่งจะไม่มีภาระภาษี แต่ถ้าไม่ส่งออก ให้ยื่นขอจำหน่ายโดยมีภาระภาษีตามสภาพ

Q1.2:
บริษัทมีการนำเข้าอะไหล่มาเพิ่มเติมช่วงหลังเพื่อมา modify เครื่องจักร ถ้าจะส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ บริษัทต้องขออนุญาตทั้งเครื่องจักรและอะไหล่แยกกันหรือไม่ แต่การส่งออกจริง อะไหล่จะประกอบอยู่ในเครื่องจักร เวลาตัดบัญชีเครื่องจักรส่งออกจะไม่มีรายการเหมือนตอนนำเข้าอะไหล่ บริษัทต้องแยกรายการออกมาเหมือนตอนนำเข้าไหม

A1.2:
การนำเข้าอะไหล่เข้ามาซ่อมแซมเครื่องจักร แล้วต่อมาส่งเครื่องจักรนั้นไปต่างประเทศ จะขาดหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าอะไหล่ที่นำเข้ามานั้นได้ติดไปกับเครื่องจักรที่ส่งออก จึงจะมีปัญหาในการตัดบัญชี เพื่อปลดภาระภาษีอะไหล่ดังกล่าว กรณีที่สอบถาม มีคำแนะนำดังนี้
1. หากนำเข้าอะไหล่ดังกล่าวเข้ามาเกิน 5 ปีแล้ว ให้ยื่นขอจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี
2. หากนำเข้าอะไหล่ดังกล่าวเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี ให้ยื่นขอส่งคืนไปต่างประเทศ แต่จะมีปัญหาใน การพิสูจน์ว่าอะไหล่นั้นได้ติดไปกับเครื่องจักรที่ส่งออกหรือไม่ เนื่องจากใบขนขาออกจะระบุเพียงชื่อเครื่องจักร แต่จะไม่ระบุรายการอะไหล่ที่อยู่ในเครื่องจักร
กรณีตามข้อ 2 นี้ ในการยื่นตัดบัญชีอะไหล่ที่ส่งออกไปพร้อมกับเครื่องจักร แนะนำว่าให้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทว่า นอกจากใบขนขาออกที่ระบุเฉพาะรายการเครื่องจักร (แต่ไม่ระบุรายการอะไหล่) แล้ว บริษัทควรจะจัดเตรียมหลักฐานเพิ่มเติมใดบ้าง เพื่อยืนยันว่าอะไหล่ดังกล่าวได้ติดไปกับเครื่องจักรที่ได้ส่งออกไป

กรณีที่โครงการได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business Certificate: FBC) แต่หากไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องขอใบอนุญาติแระกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business License: FBL) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในบัญชีสาม (21) การทำธุรกิจบริการอื่น (1 เม.ย. 2563)

Q1 หากบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ (ตามออเดอร์) โดยลูกค้าเเต่ละเคสจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบแตกต่างกัน สามารถทำได้หรือไม่

A1 สามารถทำได้ แต่กระบวนการออกแบบต้องเป็นหนึ่งในขั้นตอนการผลิตที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมจากบีโอไอด้วย

Q2 เราสามารถผลิต Rack หรือ JIG โดยใช้วัตถุดิบบางส่วนที่ลูกค้าซัพพลายมาให้ได้หรือไม่ เช่น Spring, welding parts.

A2 ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ มาจากแหล่งอื่นแล้วนำมาประกอบเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่ขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ ต้องได้รับการอนุมัติในขั้นตอนการผลิตที่ขอรับการส่งเสริมด้วย

บริษัทมีบัตรที่ได้รับการส่งเสริมหมดสิทธิทางภาษีแล้ว และได้เข้าร่วมโครงการประหยัดพลังงาน Solar Roof ปัจจุบันได้บัตรแล้ว ติดตั้งเสร็จแล้ว การจะใช้สิทธิยกเว้น CIT 50% ของเงินลงทุน มีขั้นตอนอย่างไร จะต้องให้ผู้สอบบัญชีตรวจรับรองหรือไม่ หรือใช้แบบฟอร์มไหนไหนในการขอใช้สิทธิ

  1. โครงการที่สิ้นสุดสิทธิทางภาษีเงินได้ และต่อมาได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมตาม ประกาศ กกท ที่ 9/2560 เพื่อลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน หรือการใช้พลังงานทดแทน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง จากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม
  2. การขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน ประกาศ สกท ที่ ป.2/2559 และ ประกาศ สกท ที่ ป.3/2559 โดยต้องให้ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบรับรองรายงาน

กิจการ International Business Center (IBC) คือการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ หากทำธุรกิจเฉพาะส่วนที่เป็นการค้าขาย (Trading) โดยไม่ให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ สามารถได้รับการส่งเสริมภายใต้กิจการ IBC ได้หรือไม่

เนื่องจากปัจจุบันกิจการ International Trading Center (ITC) ได้ยกเลิกการให้ส่งเสริมไปแล้ว ในส่วนของกิจการ IBC เปรียบเหมือนการปรับการให้ส่งเสริมกิจการ International Headquarters (IHQ) เป็นกิจการ IBC จึงมีเงื่อนไขบังคับว่าต้องมีแผนการดำเนินการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ และให้ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้ หากมีการดำเนินธุรกิจ IBC เพื่อให้บริการแก่บริษัทในเครือ (IHQ) ตามที่กำหนดเป็นหลัก

กิจการ IBC จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศอย่างน้อย 1 แห่งใช่หรือไม่

การให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเภท 7.34 IBC ตามขอบข่ายที 1.1 – 1.10 จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือที่อยู่ต่างประเทศอย่างน้อย 1 ประเทศ และจะให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเทศด้วยก็ได้

กรณีได้รับการส่งเสริมในกิจการ ITC จะเปลี่ยนเป็นกิจการ IBC ได้หรือไม่

ควรยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IBC เพิ่มเติม เนื่องจากกรณีเปลี่ยนประเภทกิจการจาก ITC เป็นกิจการ IBC จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออก (ม.36)

เรื่องการยื่นขอยกเว้นภาษีฯ คือ รอบปิดบัญชีบริษัทฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 ตามกำหนดแล้วบริษัทฯต้องยื่นขอใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีฯ กับทางสำนักงานภายใน 120 วันหลังจากปิดรอบปีบัญชี บริษัทฯ สามารถยื่นหลัง 120 วันได้หรือเปล่า และถ้าได้ต้องไม่เกินกี่วัน

บริษัทมีหน้าที่ยื่นงบฯต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วัน หลังจากสิ้นรอบปีบัญชี BOI จึงกำหนดให้ต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี ให้ BOI ตรวจสอบภายใน 120 วัน เพื่อให้ BOI ตรวจสอบเสร็จภายใน 30 วัน และบริษัทสามารถยื่นงบต่อสรรพากรได้ทันตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากบริษัทจัดเตรียมเอกสารไม่ทัน จะยื่นแบบฯ ต่อ BOI เกินกว่า 120 วันก็ได้ แต่ก็เท่ากับว่าจะยื่นงบต่อสรรพากรไม่ทันตามที่กฎหมายกำหนด

กลุ่มกิจการที่ได้รับการส่งเสริมประเภท กิจการกลุ่ม B ได้สิทธิประโยชน์เฉพาะสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษีเท่านั้นใช่หรือไม่

ไม่ใช่ กิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม B สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออก หรือบางกิจการจะได้รับสิทธิ์เฉพาะการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น

สำหรับกิจการในกลุ่ม B ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นกิจการที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.10/60 ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ให้สิทธิประโยชน์กับประเภทกิจการกลุ่ม B (ยกเว้น ประเภทกิจการตามข้อ 2 ของประกาศ สกท.ที่ ป.4/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560) ที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ดังนี้

1. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 100 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี

2. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศน้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี

ตามประกาศ สกท ที่ ป 4/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 กำหนดประเภทกิจการที่ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ได้แก่

ประเภท 4.6  กิจการผลิตรถยนต์ทั่วไป

ประเภท 4.12 กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ (ยกเว้นที่มีความจุกระบอกสูบต่ำกว่า 248 ซีซี)

ประเภท 4.16 กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicles – HEV) และชิ้นส่วน

ประเภท 5.8   กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ประเภท 7.2   กิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ

ประเภท 7.5   กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters : IHQ)

ประเภท 7.6   กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (international Trading Centers : ITC)

ประเภท 7.7   กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Office : TISO)

ในกรณีที่ถึงกำหนดรายงาน ISO สามารถยื่นได้ที่ไหน

การยื่นรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO สามารถยื่นให้ที่ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภูมิภาค 1-6 หรือสำนักบริหารการลงทุน 1-4 ที่รับผิดชอบโครงการนั้นๆของบริษัท

บริษัทฯ ต้องการขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิต เพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาเพื่อผลิตสินค้าให้ทันตามความต้องการของลูกค้า เพราะบริษัทเปิดใหม่ พนักงานยังไม่มีความชำนาญในการควบคุมเครื่องจักร จึงทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามแผนการผลิต ขอสอบถามดังนี้ 1. บริษัทต้องขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตใช่หรือไม่ แล้วทางบีโอไอมีหลักเกณฑ์การอนุมัติให้กี่เปอร์เซ็นต์ของกำลังผลิตตามบัตรแบบสูงสุด 2. วิธีการกรอกแบบฟอร์มแก้ไขโครงการเพื่อผ่อนผันกรรมวิธีการผลิต ต้องกรอกส่วนไหนบ้าง แล้วส่วนไหนที่ไม่ต้องกรอก 3. การขอผ่อนผันนี้ทำให้เราสามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปเข้ามาได้ แล้วถ้าบริษัทจะนำเข้าเป็นวัตถุดิบแล้วไปจ้างบริษัทบีโอไอเหมือนกันให้ผลิตให้ได้หรือไม่ คือเรานำเข้าวัตถุดิบแล้วไปจ้างบริษัทอื่นผลิตเป็นกึ่งสำเร็จรูป แล้วเราก็ไปรับมาเพื่อมาผ่านกรรมวิธีที่เหลือ แล้วส่งออกไป สามารถทำได้หรือเปล่า

1. การผ่อนผันให้นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิต จะอนุญาตให้ตามที่จำเป็นจริง แต่ต้องไม่ขัดกับสาระสำคัญของโครงการนั้น เช่น

- โครงการผลิต TV เดิมมีขั้นตอนฉีดพลาสติก ประกอบแผงวงจร (PCBA) และอื่นๆ หากจะขอนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ขึ้นรูปแล้ว ก็จะพิจารณาว่าไม่ใช่สาระสำคัญ เนื่องจากหากไม่มีขั้นตอนนี้เลย ก็ยังสามารถให้ส่งเสริมได้ ดังนั้น ในกรณีนี้ไม่ควรใช้วิธีผ่อนผัน แต่ควรแก้ไขกรรมวิธีผลิตเป็น ฉีดขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติกฉีดหรือจัดซื้อมา เพื่อที่จะทำได้ทั้ง 2 วิธี

- โครงการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เดิมมีขั้นตอนการฉีดพลาสติกและพ่นสี หากขอผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ฉีดแล้วมาพ่นสีอย่างเดียว ก็คงอนุญาตลำบาก เว้นแต่หากจำเป็นจริงๆ ก็อาจผ่อนผันเป็นกรณีไป โดยอาจกำหนดจำนวนที่น้อยที่สุดในครั้งนั้นครั้งเดียว และกำหนดว่ารายได้ในส่วนนี้ไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นต้น

2. ที่ต้องกรอก คือ

- ข้อมูลทั่วไปสำหรับการแก้ไขทุกประเภท

- เรื่องที่ขอแก้ไข

- เหตุผลที่ขอแก้ไข

- และข้อ 4.2 ชนิด ปริมาณและระยะเวลาที่จะนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป

3. การผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต มีแนวทางพิจารณาคล้ายๆ กับการผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปตามข้อ 1 คือต้องดูว่าจะกระทบกับสาระสำคัญของโครงการมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่กระทบหรือกระทบน้อย ก็ให้ได้ แต่ถ้ากระทบมาก ก็จะไม่อนุญาต

การขอผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป และการขอนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต เป็นคนละกรณีกัน ดังนั้น แม้ว่าจะได้รับอนุมัติให้นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป A แต่ต่อมาอยากจะเปลี่ยนเป็นขอนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน A ก็ต้องขออนุมัติด้วย ซึ่งหากบริษัทเตรียมการตั้งแต่ต้น จะยื่นการแก้ไขทั้ง 2 วิธีนี้เข้ามาพร้อมกันในคำขอเดียวกันก็ได้

ในกรณีเครื่องจักรที่บริษัทจะนำเข้ามีอากรขาเข้า เท่ากับศูนย์ (Duty 0%) (บริษัทจะไม่ทำขอสงวนสิทธิ์ ) และบริษัทต้องการนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนที่โครงการจะได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม เครื่องจักรที่บริษัทนำเข้ามาใช้ในการผลิตนี้สามารถนำมาใช้นับกำลังการผลิตรวมกับเครื่องจักรส่วนที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ์ BOI ได้หรือไม่

ต้องแยกระหว่าง "เงื่อนไข" กับ "สิทธิประโยชน์" ออกจากกัน เครื่องจักรที่จะถือเป็นการลงทุนตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม และเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามที่ได้รับหรือไม่ก็ตาม

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สามารถตรวจสอบได้จากบัตรส่งเสริมของแต่ละโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้

- ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ (กรณีอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า จะมีข้อความระบุในบัตรส่งเสริม)

- ต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ได้มาก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม

- ต้องเป็นเครื่องจักรตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับการส่งเสริม เป็นต้น

กรณีที่สอบถาม เครื่องจักรอากรขาเข้าเป็น 0 บริษัทจึงจะนำเข้าเครื่องจักรโดยไม่ใช้สิทธิตามมาตรา 28 หากเครื่องจักรนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบายข้างต้น ก็ถือเป็นเครื่องจักรตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถนับกำลังผลิตรวมกับเครื่องจักรอื่นที่ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้

บริษัทฯ ได้ดำเนินการเปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้ว จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ได้หรือไม่ เนื่องจากเพื่อรองรับลูกค้าใหม่ แต่ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติม จะสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ โดยรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ต้องการใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้

โครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว ยังคงมีสถานภาพเป็นผู้ได้รับส่งเสริม จึงยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเงื่อนไขตามที่ได้รับการส่งเสริม หากบริษัทนำเครื่องจักร วัตถุดิบ ที่ดิน ช่างต่างชาติ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ไปในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับส่งเสริม จะเป็นการขัดกับเงื่อนไขในการใช้สิทธิประโยชน์นั้นๆ จึงควรแก้ไขโครงการให้ถูกต้อง เช่น อาจขออนุญาตใช้เครื่องจักร/ที่ดินเพื่อการอื่น หรือขอแก้ไขโครงการเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์โดยไม่มีการลงทุนเพิ่ม เป็นต้น

หากบริษัทฯ เคยขออนุมัติใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศ และสำนักงานได้อนุมัติแล้วนั้น ต่อมาพบว่าบัตรส่งเสริมของบริษัทฯ เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้ ตามหลักการแล้ว บริษัทฯ จะต้องไปขอชำระอากรย้อนหลัง แล้วนำเอกสารการชำระภาษีอากรมาขอตัดบัญชีออกจากระบบ eMT แต่อัตราอากรขาเข้าเครื่องจักรนี้เป็น 0% บริษัทฯ ควรจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

1.หากบริษัทไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร BOI จะไม่อนุมัติบัญชีเครื่องจักร และไม่อนุมัติสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากร คำถามที่สอบถามจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้ด้วย

2.กรณีเคยใช้สิทธิสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักร และปฏิบัติตามเงื่อนไขถูกต้อง แต่ต่อมาจะไม่ใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการที่ได้รับส่งเสริมจะต้องขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่าย

3.กรณีเคยใช้สิทธิสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักร แต่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอาจถูกเพิกถอนสิทธิการยกเว้นภาษีอากรของเครื่องจักรนั้นๆ เสมือนไม่เคยได้รับสิทธิตั้งแต่ต้น ซึ่งต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า และเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

มูลค่าการลงทุนช่วงที่ผ่านมาในรายงานความคืบหน้าโครงการรอบที่ 1 ให้ยึดรอบปีปฏิทิน (มกราคม-ธันวาคม) หรือรอบปีบัญชี

ให้ยึดรอบปีปฏิทินเพื่อให้ได้ข้อมูลการลงทุนในภาพรวมของประเทศเป็นข้อมูลในระยะเวลาเดียวกัน

บริษัทได้ยื่นคำขออนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ ยังต้องรายงานความคืบหน้าโครงการอีกหรือไม่

ยังต้องยื่นรายงานความคืบหน้าโครงการจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการจากสำนักงาน เนื่องจากยังไม่แน่ชัดว่าจะได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการหรือไม่

กรณีที่ใน INVOICE ระบุขนาดมาด้วยแต่เป็นเครื่องจักรเดียวกันคือ 1. PORTABLE EXPANDER 1/2"X35MM 2. PORTABLE EXPANDER 5/8"X50MM แต่ในบัญชีรายการเครื่องจักร ซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติกลับมา ขอไปในชื่อ PORTABLE EXPANDER บริษัทจะนำเข้าทั้งหมด 4 เครื่องแต่เป็นชนิดเดียวกัน คือเครื่องอัดแน่นขยายท่อทองแดง แตกต่างตรงท่อทองแดงที่นำเข้าผลิต จะแตกต่างกัน ( SIZE ของท่อ ) ***ในขั้นตอนขอค้ำประกันเครื่องจักร ต้องระบุชื่อไหนดี ระหว่าง PORTABLE EXPANDER 1/2"X35MM กับ PORTABLE EXPANDER

ต้องพิจารณาว่า ใบขนขาเข้าเครื่องจักรดังกล่าว จะสำแดงรายการเครื่องจักรอย่างไร จะระบุ size ด้วยหรือไม่ หากใบขนระบุ size ก็ต้องขอชื่อเดียวกันไว้ในบัญชีเครื่องจักรของ BOI ด้วย (ชื่อหลักหรือชื่อรองก็ได้) การจะสำแดงรายการในใบขนอย่างไร เป็นข้อกำหนดของกรมศุลกากร จึงน่าจะปรึกษากับชิปปิ้ง แต่หากไม่ชัดเจน ก็น่าจะหารือกับกรมศุลกากร

บริษัทได้รับใบรับรองมาตรฐานประเภทเดียวกันหลายฉบับ ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

ให้เลือกใบรับรองมาตรฐานฉบับล่าสุดที่ได้รับเป็นตัวแทนมาตรฐานประเภทนั้นในการกรอกวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการรับรอง

FBL คือธุรกิจอะไร

1. ยื่นขอ Foreign Business Licenses (FBL) คือ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ 2. ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สามารถยื่นขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติได้

FBL ขอที่ไหน

สำนักงานผู้แทน และสำนักงานสาขา การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL)

ต่างชาติถือหุ้น 100 ได้ไหม

ต่างชาติถือหุ้น 100% ได้ไหม ต้องทำอย่างไรบ้าง ต่างชาติสามารถถือหุ้นในบริษัทที่จดจัดตั้งในไทย 100% ได้อย่างถูกกฎหมายโดย ยื่นขอ Foreign Business Licenses (FBL) คือ การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ ธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สามารถยื่นขอหนังสือรับรองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติได้

ธุรกิจที่ห้ามให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ คือธุรกิจใด

(1) บัญชีหนึ่งเป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ (1) การทํากิจการหนังสือพิมพ์ การทํากิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ (2) การทํานา ทําไร่ หรือทําสวน (3) การเลี้ยงสัตว์ (4) การทําป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ (5) การทําการประมงเฉพาะการจับสัตว์นํ้าในน่านนํ้าไทยและในเขต ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้