ข้อใดคือสิทธิเด็กด้านการปกป้องคุ้มครอง

  • หน้าแรก
  • มุมเยาวชน
  • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก


อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก คือ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ (คณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชน)
โดยได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ในปี 2532


อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กบอกถึงนิยาม (เด็กหมายถึงบุคคลทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี) และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของเด็ก
เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความคุ้มครองดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสม


อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมหลักการสำคัญ
คือ การไม่เลือกปฏิบัติ และเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยมีเนื้อหา 4 ด้าน ได้แก่

(1) สิทธิในการอยู่รอด (2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (3) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ (4) สิทธิในการมีส่วนร่วม


ปัจจุบัน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่ได้รับการรับรองมากที่สุดในโลก
โดย เกือบทุกประเทศ (196 ประเทศ) ได้เข้าเป็นภาคีแล้ว
ยกเว้น เพียงสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี

ประเทศไทย ได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535

*

เรียบเรียงจาก หนังสืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จัดทำโดยกรมกิจการเด็ก และเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเว็บไซต์สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ www.ohchr.org



เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ย้อนกลับ

          สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ
 

          1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด – ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย
          2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่ดี และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
          3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การละเลย การนำไปขาย การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่นๆ และ
          4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม – ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง
ทุกๆ 5 ปี แต่ละประเทศจะต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็ก คณะกรรมการชุดนี้ประจำอยู่ที่กรุงเจนีวา ทำหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของแต่ละประเทศในการรับประกันสิทธิต่างๆ ของเด็กที่ระบุไว้ในอนุสัญญา
            จากรายงานฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 3 และ 4) ของประเทศไทยที่จัดส่งให้คณะกรรมการสิทธิเด็กเมื่อ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการได้ตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินงานของประเทศไทยมีความก้าวหน้าหลายประการในส่วนของการร่างกฎหมายและจัดโครงสร้างของรัฐเพื่อให้ความคุ้มครองแก่เด็กและปกป้องสิทธิของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการยังคงเน้นถึงความห่วงใยในหลายด้าน ได้แก่
            • การปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้ลี้ภัย
            • การบังคับใช้กฎหมาย
            • การกำกับดูแล และการเก็บข้อมูล
            • งบประมาณของประเทศไทยในการทำงานด้านเด็ก
            • การพัฒนากลไกคุ้มครองและช่วยเหลื่อเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกทำร้ายและถูกแสวงประโยชน์ทางเพศ ทั้งที่เกิดในครอบครัวและนอกครอบครัว
            • การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานแก่เด็กทีขาดโอกาสที่สุด ได้แก่ เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กผู้ลี้ภัย เด็กเร่ร่อน เด็กอพยพ เด็กยากจน เด็กที่กระทำผิด และเด็กที่ถูกค้ามนุษย์ เด็กพิการ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้
            • อายุขั้นต่ำของเด็กที่ต้องรับโทษทางกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 10 ขวบในประเทศไทย ซึ่งเป็นอายุที่ต่ำเกินไป
            • ความเหลือมล้ำ

 
ข้อมูลจาก //www.unicef.org/thailand/tha/overview_5954.html
 

สิทธิเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กมีอะไรบ้าง

สิทธิเด็ก 4 ประเภท.
1. สิทธิที่จะมีชีวิตรอด (Right of Survival) ... .
2. สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development) ... .
3. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) ... .
4. สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation).

สิทธิเด็กมี 4 ด้านมีอะไรบ้าง

อนุสัญญาฯ ทั้งหมด 54 ข้อ จะประกอบไปด้วยสาระสำคัญเรื่องสิทธิของเด็ก 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง สิทธิในการพัฒนา และสิทธิในการมีส่วนร่วม และตั้งอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ และถือประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นที่ตั้ง มาทำความเข้าใจและความสำคัญของแต่ละด้านกันดีกว่า

สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองมีอะไรบ้าง

2. สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right of Protection) คือสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการล่วงละเมิดและการทารุณกรรมทุกรูปแบบ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ การใช้สารเสพติด และการค้ามนุษย์

สิทธิของเด็กเป็นสิทธิรูปแบบใด

สิทธิเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องที่รัฐหรือใครให้กับเด็ก แต่เป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งอนุสัญญาใช้คำว่า “สิทธิติดตัว” (inherent rights) ดังนั้นเด็กจึงเป็นผู้มีสิทธิที่ไม่มีผู้ใดสามารถไปตัดทอนหรือจำกัดการใช้สิทธิอันชอบธรรมของเด็กหรือละเมิดสิทธิของเด็กได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้