โรค ออฟฟิศ ซิ น โดร ม เกิดจาก สาเหตุ ใด มี วิธี การ แก้ไข อย่างไร

ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่รู้จักกันดีในคนทำงานออฟฟิศและเกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต หรือสมาร์ทโฟน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง สาเหตุสำคัญของออฟฟิศซินโดรมนั้น เกิดจากการที่ทำงานหรือท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆหรืออยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน เช่น การนั่งหรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือยกไหล่ ก้มคอมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยหรือชาตามบริเวณต่างๆ อาจรวมถึงสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์การทำงานไม่เหมาะสม

อาการของโรค

  • ปวดที่ไหล่ คอ หลัง
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดข้อมือ และนิ้วมือ
  • ชาที่นิ้วมือ หรือ แขน
  • ปวดตึงหลัง และ สะโพก
  • ปวดท้องมวน
  • นอนไม่หลับ
  • ตาแห้ง
 

บริหารร่างกายป้องกันออฟฟิศซินโดรม

วิธีการรักษา

 

ออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถรักษาได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ร่วมกับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง โดยวิธีการรักษานั้นมีหลายวิธีประกอบไปด้วย

  • การฝังเข็ม (Dry needling) โดยการใช้เข็มที่มีขนาดเล็กปักลงไปในจุดที่กล้ามเนื้อเกร็งตัว โดยให้ปลายเข็มสะกิดเส้นใยกล้ามเนื้อ เพื่อให้คลายตัวและอาการปวดจะบรรเทาลง
  • การใช้เครื่องกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กความแรงสูง (Peripheral TMS /PMS) กระตุ้นบริเวณที่ปวดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตึงตัว ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และใช้กระตุ้นเพื่อบริหารกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งาน
  • การทำกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย โดยใช้อุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย โดยมีนักกายภาพบำบัดและนักฝึกสอนออกกำลังกายดูแลเรื่องการออกกำลังกายและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย โดยจัดโปรแกรมให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล

ที่ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬาและไลฟ์สไตล์ เราเน้นการรักษาแบบองค์รวมและออกแบบโปรแกรมการรักษาให้เหมาะกับแต่ละบุคคลเพื่อผลการรักษาที่ดี พร้อมทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ในการให้การรักษาและคำแนะนำเพื่อให้กลับไปทำงานได้อย่างปกติ และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คืออะไร?

ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) คือ อาการปวดจากการใช้งานของกล้ามเนื้อมัดเดิมๆซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทางหรืออริยาบท จนทำให้เกิดอาการปวดสะสมและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการชาบริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องอาจเกิดจากการที่เส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้

อาการของออฟฟิศซินโดรม


  1. ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น คอ, บ่า, ไหล่ สะบัก และ หลัง ส่วนใหญ่มักพบอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง หรือบางครั้งไม่สามารถบอกตำแหน่งที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจน โดยผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการปวดร้าวไปยังตำแหน่งต่างๆของร่างกายได้ อาการปวดอาจมีน้อยไปหามากซึ่งมักจะทำให้เกิดความรำคราญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือในขณะปฏิบัติงาน

  2. อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ รวมถึงอาการอ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป

การป้องกันเพื่อลดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรมประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

  1. การปรับเปลี่ยนท่าทางอริยาบทเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
  2. ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาที หากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที
  3. ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน
  4. เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก, การยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

ปัจจุบันการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมมีอย่างแพร่หลาย รวมทั้งมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะทำการรักษาเพื่อลดอาการปวดอักเสบ หรือลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ เนื่องจากมักพบผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาเป็นระยะปวดเรื้อรัง ดังนั้นการวางแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดจึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งวิธีในการรักษาคือ

การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้รักษาอาการปวด โดยใช้พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าลงไปถึงเนื้อเยื่อ และกระดูก ประมาณ 10 เซนติเมตร คลื่นไฟฟ้าดังกล่าวจะกระตุ้นเส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวด และช่วยกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น โดยสามารถบำบัดได้ทั้งบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง ไหล่ ขา เข่า หรือแม้กระทั่งข้อเท้า หรือแม้แต่กล้ามเนื้อเอ็นกระดูกไขข้อ ล้วนแล้วแต่สามารถบำบัดได้ด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ และรู้สึกผ่อนคลายในขณะที่ทำการรักษา โดยไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด เห็นผลทันทีหลังการรักษา และยังสามารถบำบัดอาการที่ปวดจากระบบเส้นประสาทและไม่ใช่เส้นประสาท เช่น กล้ามเนื้อ และกระดูก

ข้อดีของการรักษา

  1. ขณะทำการรักษาผู้ป่วยอาจพบอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ แต่ไม่สร้างความเจ็บปวดให้เกิดแก่ผู้ป่วยแต่อย่างใด และสามารถทำเป็นครั้งๆ โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล
  2. เห็นผลการบำบัดทันทีหลังการรักษา
  3. ใช้เวลาในการรักษาน้อยมาก ประมาณ 5 – 10 นาที ต่อ 1 จุดในการรักษา
  4. รักษาได้ผลทั้งในระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง

ข้อควรระวัง

เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความปลอดภัยมากและผลข้างเคียงต่ำ แต่ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วย

  1. มีอาการชักมาก่อน
  2. มีโลหะฝังอยู่ที่บริเวณสมอง เช่น คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น
  3. ฝังอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ เช่นเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

คำแนะนำหลังการรักษา

ข้อควรระวังเกี่ยวกับความแรงที่เกิดขึ้นนอกจากตะคริวแล้ว กล้ามเนื้อที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการใช้งาน ซึ่งแต่เดิมไม่เคยได้ออกแรงหรือใช้งาน ในวันรุ่งขึ้นบางรายอาจเกิดการระบมเหมือนออกกำลังกายมากเกินไป เนื่องจากเกิดการระบมในตำแหน่งที่ทำการรักษาซึ่งไม่มีผลเสียอะไร พอได้พักผ่อนหลังจากเข้ารับการรักษาประมาณ 2-3 วันแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติ

นอกจากการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยเครื่อง Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)  แล้ว ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูยังมีหลากหลายเครื่องมือ หรือการรักษาเพื่อช่วยในการรักษาอาการปวดเรื้อรังจากโรคออฟฟิศซินโดรมให้คุณมีคุณภาพชีวิตได้ดีขึ้น อาทิ


  1. การรักษาเพื่อลดอาการปวดและอาการชา ด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก Peripheral Magnetic Stimulation (PMS) 
  2. การรักษาด้วยคลื่นกระแทกเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อมีการซ่อมแซมในบริเวณที่มีการบาดเจ็บ Shock Wave Therapy ทั้งชนิด Focus และ Radial
  3. การรักษาเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยการใช้ High Laser Therapy
  4. การยืดกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบำบัด ซึ่งมีประโยชน์ทั้งการรักษาและป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้
  5. การฝังเข็มโดยแพทย์ผู้เชียวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  6. การรับประทานยา

“อย่าปล่อยให้อาการออฟฟิศซินโดรมมาขัดขวางการทำงานของท่าน
อย่าปล่อยให้ท่านทำงานแล้วรู้สึกหงุดหงิดรำคราญกับอาการปวดที่มีอยู่
เพียงขอคำปรึกษาปัญหาต่างๆ กับแพทย์ผู้เชียวชาญ
และนักกายภาพบำบัด”


บทความ

TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) คืออะไร ?

โปรแกรม "ปลดล็อกปวดเรื้อรังรักษาตรงจุด@ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู "

ปลดล็อกปวดเรื้อรังรักษาตรงจุด@ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู


 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ชั้น 9 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 971, 972

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้