ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคืออะไร

ร่างกายของมนุษย์ทุกคนต้องดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งมีทั้งที่เหมาะสม ไม่เหมาะสม เป็นภัยหรือไม่เป็นภัยกับร่างกาย โดยร่างกายได้พัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกรุกรานจากสิ่งแปลกปลอม ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น จุลินทรีย์โดยเฉพาะที่เป็นเชื้อโรค เซลล์มะเร็ง เซลล์ปลูกถ่าย รวมถึงสารเคมี ฝุ่นละออง ขนสัตว์ เกสรดอกไม้  ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในร่างกาย

 

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

  1. ไขกระดูก (Bone marrow) เป็นโพรงที่อยู่ตรงกลางของกระดูก โดยเฉพาะกระดูกท่อนยาว มีหน้าที่ในการผลิตเม็ดเลือดขาว (White blood cells, Leukocytes) ทุกชนิด รวมถึงเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด
  2. ต่อมไทมัส (Thymus gland) เป็นต่อมที่เม็ดเลือดขาวชนิดทีลิมโฟไซต์ (T- Lymphocyte) ซึ่งถูกสร้างจากไขกระดูกมาพัฒนาจนสมบูรณ์ ก่อนส่งสู่กระแสเลือด เพื่อทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน
  3. ต่อมน้ำเหลือง (Lymph node) เป็นต่อมรูปไข่ กระจายอยู่เป็นระยะตามหลอดน้ำเหลือง ทำหน้าที่กรองน้ำเหลือง โดยเป็นที่อยู่ของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ที่คอยทำลายเชื้อจุลินทรีย์ โดยเฉพาะแบคทีเรียที่เข้ามาสู่ร่างกาย รวมถึงการทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่หมดอายุ
  4. ม้าม (Spleen) เป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ (Monocyte) และลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) รวมถึงการทำลายเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดที่หมดอายุ

 

การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อร่างกายสัมผัสเชื้อโรค (Pathogen) หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ จะมีกลไกการทำงาน อธิบายพอเข้าใจดังนี้

  • ด่านที่ 1 การป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมโดยผิวหนัง เยื่อเมือก สารคัดหลั่ง ขนอ่อน เอนไซม์และอื่น ๆ ตามช่องเปิดเข้าสู่ร่างกาย เช่น ที่ผิวหนังมีการขับกรดบางชนิดออกมากับ ทำให้เหงื่อมีความเป็นกรด สามารถป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง ที่โพรงจมูก มีขนอ่อน มีต่อมน้ำมัน ที่เยื่อบุหลอดลม มีขน มีเสมหะ การไอการจามเพื่อไม่ให้เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจ ที่ปากมีน้ำลาย กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กมีเอนไซม์ที่มีสภาวะเป็นกรดสามารถทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม รวมถึงการอาเจียนเพื่อขับสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินอาหาร ที่ตามีน้ำตาที่มีเอนไซม์สามารถทำลายและขับเชื้อโรคออกจากตา นอกจากนี้ยังมี สารคัดหลั่งใน ความเป็นกรดของ ซึ่งสามารถป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ เป็นต้นนอกจากนี้แล้วตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย จะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ซึ่งในร่างกายปกติจะไม่ก่อให้เกิดโรค โดยเชื้อนี้จะคอยแย่งอาหารและที่อยู่ รวมถึงสร้างสารต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคตัวอื่น ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
  • ด่านที่ 2 การป้องกันโดยการทำงานของเม็ดเลือดขาว ในกรณีที่เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมสามารถผ่านด่านที่ 1 เข้าสู่ร่างกายได้ เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจะเกิดการอักเสบ จากนั้นเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ จะร่วมกันทำงานโดยเม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์ (Phagocyte) ได้แก่ เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ (Monocyte) แมคโครฟาจ (Macrophage) และนิวโทรฟิล (Neutrophil) จะเข้าจับกินเชื้อโรค โดยเฉพาะแบคทีเรียเรียก กระบวนการฟาโกไซโตซิส (Phagocytosis) หลังจากนั้นทั้งเชื้อโรคและเม็ดเลือดขาวจะตายแล้วกลายเป็นหนอง  นอกจากนี้ยังมีอินเตอร์เฟียรอน (Interferon) ช่วยขัดขวางการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส เซลล์เอ็นเค (Natural killer cell) ช่วยในการทำลายเซลล์เนื้องอก (Tumor cell) และเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส  รวมถึงการมีระบบคอมพลีเมนต์ (complement system) ที่กลุ่มของโปรตีนในซีรัมหรือน้ำเลือด ช่วยให้แบคทีเรียที่มีแอนติบอดี (Antibody) เกาะอยู่ ถูกเซลล์จับกินได้ง่ายขึ้นทั้งนี้กลไกการป้องกันในด่าน 1 และด่าน 2 นั้น ถือเป็นกลไกการป้องกันแบบไม่เฉพาะเจาะจง (Nonspecific defense mechanism) มีความสามารถในการป้องกันหรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน และภาวะโภชนาการของแต่ละบุคคล
  • ด่านที่ 3 การป้องกันโดยการสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เรียก แอนติเจน (Antigen) แบบเฉพาะเจาะจง โดยในขั้นตอนนี้ จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ทั้งชนิดบี (B-lymphocyte) และชนิดที (T-lymphocyte)โดยบี ลิมโฟไซต์ เมื่อสัมผัสแอนติเจนจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์พลาสมา (Plasma cell) เพื่อทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี เรียก อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin)  เพื่อตอบสนองต่อแอนติเจนแต่ละชนิดอย่างจำเพาะเจาะจง ปกติร่างกายจะสามารถสร้างแอนติบอดีได้ภายใน 14 วัน ขึ้นกับชนิด ปริมาณและวิธีการเข้าสู่ร่างกายของแอนติเจนนั้นๆ นอกจากนี้บางส่วนของบี ลิมโฟไซต์ ยังเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เมมเมอรี่ (Memory cell) เพื่อจดจำแอนติเจนที่เคยเข้ามา และสร้างแอนติบอดีได้เร็วขึ้นหากมีเชื้อเดิมเข้ามาในร่างกายอีกสำหรับที ลิมโฟไซต์จะมีอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเซลล์ที ที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม (Cytotoxic T-cell, CD8+) มีหน้าที่ตรวจจับและทำลาย เซลล์มะเร็งเซลล์ติดเชื้อไวรัส เซลล์จากอวัยวะปลูกถ่าย เป็นต้น กลุ่มที่สองเซลล์ที ผู้ช่วย (Helper T-cell, CD4+) มีหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ และกลุ่มที่ 3 เป็นเซลล์ที กดภูมิคุมกัน (suppressor T-cell) มีหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ให้มีการตอบสนองมากเกินไป

 

การสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย

นอกเหนือจากภูมิคุ้มกันที่ได้มาตามธรรมชาติแล้ว ร่างกายยังสามารถรับภูมิคุ้มกันได้หลังจากคลอด (Acquired immunity) แบ่งเป็น 2 ชนิด

  • ภูมิคุ้มกันก่อเอง (Active immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดจากร่างกายได้รับแอนติเจน หรือเชื้อโรคที่อ่อนกำลังลง จนไม่สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพ โดยการนำมาฉีด กิน หรือทาที่ผิวหนัง กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น เช่น การฉีดวัคซีนไอกรน โปลิโอ วัณโรค ไทฟอยด์ เป็นต้น
  • ภูมิคุ้มกันรับมา (Passive immunity) เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้มาจากการสกัดจากเลือดของสิ่งมีชีวิต แล้วนำมาฉีดให้ร่างกายต้านทานโรคได้ทันที เช่น เซรุ่มแก้พิษงู เซรุ่มโรคพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก คอตีบ เป็นต้น หรือการได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ตั้งเเต่อยู่ในครรภ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้