เครือ ข่าย ไร้สายยุคที่ 5 คือ อะไร

5G คืออะไร? เข้าใจง่ายๆ ใน 5 นาที กับอนาคตของการสื่อสารไร้สายยุคที่ 5

เทคโนโลยี 5G เริ่มเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วงนี้หลายคนน่าจะเริ่มเห็นจากทีวีหรือสื่อต่างๆ บ่อยขึ้น โดยการมาของ 5G นั้น นอกจากยกระดับความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่แล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่สามารถเข้ามาเพิ่มศักยภาพในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงภาคการศึกษาและด้านการแพทย์ได้ด้วย 

แต่เชื่อว่าหลายคนอาจสงสัยว่า 5G จะทำได้ขนาดนั้นจริงหรือ? เพราะขนาดเทคโนโลยี 4G ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันยังทำไม่ได้ถึงขนาดนั้นเลย เพราะฉนั้นเราไปไขคำตอบ และรู้จักเทคโนโลยี 5G นี้พร้อมกันครับ และขอหยิบยกข้อมูลในด้านของผู้ใช้งานอย่างเราๆ มาบอกเล่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

5G คืออะไร? 

5G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็ว Upload และ Download บนเครือข่ายไร้สายให้เสถียร และเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วได้เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่ง 5G ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 20 Gbps ในขณะที่ 4G นั้นสามารถทำได้สูงสุดที่ 1Gbps เท่านั้น 

คุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G

  • ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูล : 20 Gbps
  • Latency ในการเชื่อมต่อปลายทางทำได้เร็วและนิ่งขึ้น (<1ms) จึงทำให้เหมาะกับการใช้งานเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น
  • รองรับการใช้งานเครือข่ายในปริมาณที่มากกว่า 4G ถึง 10 เท่า
  • ทำความเร็วได้สูงสุดถึง 20 Gbps
  • ช่วงคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น 30 GHz 

เปรียบเทียบ 4G กับ 5G เปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หลายคนอาจยังนึกภาพไม่ออกว่า การเปลี่ยนแปลงจาก 4G มาสู่ 5G นั้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ดีขึ้นแค่ไหน ลองมาดูภาพนี้กันครับ

  • Latency : ค่าการตอบสนองต่อการ รับ-ส่ง สัญญาณ โดยค่านี้เลขยิ่งน้อยยิ่งตอบสนองได้ดี ซึ่ง 5G มีค่า Latency น้อยกว่า 1 ms ในขณะที่ 4G จะอยู่ที่ประมาณ 10 ms 
  • Data Traffic : การรองรับการส่งข้อมูลในระยะ 1 เดือน ด้านของ 5G สามารถรองรับได้มากถึง 50 Exabytes ในขณะที่ 4G จะรองรับอยู่ที่ประมาณ 7.2 Exabytes เท่านั้น
  • Peak Data Rates : ความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลนั้น 5G สามารถทำได้ถึง 20 Gbps ส่วน 4G จะอยู่ที่ 1 Gbps
  • Available Spectrum : ช่วงคลื่นความถี่ฝั่ง 5G สามารถใช้ได้ถึง 30 GHz ส่วน 4G ใช้ได้เพียงแค่ 3GHz เท่านั้น
  • Connection Density : การรองรับความหนาแน่นในการเชื่อมต่อ ฝั่ง 5G รองรับได้มากถึง 1 ล้านคนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่ด้าน 4G รองรับได้เพียง 1 แสนคนต่อตารางกิโลเมตร เท่านั้น

5G กับการผู้ใช้งาน

ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยี 5G ที่เพิ่มขึ้นหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว ความนิ่ง และการรองรับการใช้งาน Data ในปริมาณที่มาก ทำให้เหมาะกับการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรม และการแพทย์ ซึ่งเราน่าจะได้กันมาบ้างแล้ว เช่น การนำมาใช้คู่กับเทคโนโลยี AR เพื่อใช้วิเคราะห์ผู้ป่วยสำหรับคุณหมอ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อกับรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น

แต่ในด้านของผู้ใช้งานนั้น เทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยยกระดับให้ผู้ใช้งานอย่างเราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ทำให้เราสามารถเลือกรับชมคอนเทนท์ภาพยนตร์ด้วยความละเอียดระดับ 4K ได้สบายมาก รวมไปถึงการใช้งานร่วมกับ loT ก็ทำได้สะดวกและสเถียรมากขึ้นด้วย

ส่วนทางด้านดีไวซ์หรือสมาร์ทโฟนนั้น ตอนนี้หลายแบรนด์ใหญ่เช่น Qualcomm, Samsung, Zyxel, Huawei และอีกหลายแบรนด์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์อย่าง "สมาร์ทโฟน" ให้สามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง 5G ให้ได้ทั่วโลก และน่าจะเริ่มได้เห็นสมาร์ทโฟนรุ่นที่รองรับออกมาวางจำหน่ายกันในช่วงปลายปี 2019 นี้แน่นอน

สรุป

ถึงแม้เทคโนโลยี 5G ในไทยเราจะยังใช้งานในรูปแบบผู้ใช้งานแบบ 4G ที่เราใช้งานกันในตอนนี้ แต่ก็ใกล้มากๆ แล้ว ที่เราจะได้สัมผัสและลองใช้งานเทคโนโลยี 5G เชิงพาณิชย์ในประเทศไทย เพราะตามไทม์ไลน์เราน่าจะได้เริ่มใช้งานกันเต็มรูปแบบก็ประมาณปี 2020 - 2021 ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะมองข้ามไป แถม 5G ยังเป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยยกระดับทั้งในแง่ของการใช้งาน และภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น ด้วยมาตราฐานการเชื่อมต่อที่เร็วขึ้น นิ่งกว่าเครือข่าย 4G ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันถึง 10 เท่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

5G

ผู้พัฒนาริเริ่มอุตสาหกรรม
3GPP
กรกฎาคม พ.ศ. 2559
โทรคมนาคม

5G (เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นหรือระบบไร้สายรุ่นที่ 5) เป็นเครือข่ายไร้สายที่ถูกพัฒนาและเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา[1] เทคโนโลยีพื้นฐานได้แก่คลื่นความถี่ (Millimeter wave bands 26, 28, 38, และ 60 GHz) มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 20 จิกะบิตต่อวินาที[2] MIMO(Multiple Input Multiple Output - 64-256 antennas)ประสิทธิภาพสูงซึ่งเร็วกว่า 4G ถึง 10 เท่า[3][4][5] 5G ย่านความถี่ต่ำและกลางใช้ความถี่ระหว่าง 600 MHz ถึง 6 GHz โดยเฉพาะระหว่าง 3.5-4.2 GHz[6][7]

ในปี พ.ศ. 2560 หลายบริษัทต่างพัฒนาเทคโนโลยี 5G เช่น Samsung, Intel, Qualcomm, Nokia, Huawei, Ericsson, ZTE และอื่น ๆ[8] แม้ว่า 5G จะครอบคุลมทั่วโลกภายในปี 2563 เกาหลีใต้ได้เริ่มให้บริการเทคโนโลยีนี้ที่โอลิมปิกฤดูหนาว 2018[9][10] ในปี พ.ศ. 2561 Verizon วางแผนจะให้บริการ 5G FWA ใน 4 เมืองในสหรัฐ แซคราเมนโต แอลเอ อินเดียแนโพลิส และฮิวสตัน

ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2564 ถึงปี พ.ศ.2565 ได้มีการพัฒนาโครงเครือข่าย5G โทรคมนาคม โดย กสทช.(ประเทศไทย) ได้มีการอนุมัติการวางโครงเครือข่าย5Gหลังจากการประมูลคลื่นความถี่สำเร็จ และเริ่มเปิดทดสอบในปี พ.ศ. 2564 โดยบริษัท AWN หรือเครือข่าย AIS ได้มีการประกาศให้ผู้ใช้งานในประเทศไทยสามารถใช้งานบริการ 5G ได้แล้ว ( AIS 5G ) หลังจากนั้นบริษัท TRUE ก็ได้เริ่มให้ใช้บริการ 5G ( TRUE 5G ) ต่อมาทางบริษัท DTAC ก็ได้เปิดการใช้งาน 5G เช่นกัน ( DTAC 5G )

ความเป็นมาของ 5G[แก้]

การสือสารไร้สายรุ่นใหม่ ๆ มักปรากฏทุก ๆ 10 ปี นับจากครั้งแรกที่ระบบเครือข่าย 1G โดย Nordic Mobile Telephone ได้เป็นที่รู้จักกันในปี 1981 ต่อมาระบบเครือข่าย2G ก็ได้เริ่มถูกใช้งานในปี 1992 ส่วนระบบเครือข่าย 3G ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2001 และระบบเครือข่าย 4G ที่ทำงานสอดคล้องกับระบบ IMT Advancedก็ได้รับมาตรฐานในปี 2012 เช่นกัน

การพัฒนาของมาตรฐาน 2G (GSM) และ 3G (IMT-2000 และ UMTS) ที่ใช้เวลาประมาณ 10 ปี จากจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของโครงการ R & D และการพัฒนาระบบเครือข่าย 4G เริ่มต้น ในปี 2001 หรือ 2002 เทคโนโลยีรุ่นก่อนที่เกิดขึ้นในตลาดไม่กี่ปีก่อนรุ่นมือถือใหม่เช่นระบบ Pre-3G CDMAOne / IS95 ในสหรัฐอเมริกา ในปี 1995 และระบบ Pre-4G Mobile WiMAX ในภาคใต้ ของเกาหลี ปี 2006 และเป็นครั้งแรกที่ปล่อยสัญญาณ LTE ในสแกนดิเนเวียเมื่อปี 2009

อ้างอิง[แก้]

  1. "ITU towards "IMT for 2020 and beyond" - IMT-2020 standards for 5G". International Telecommunications Union (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  2. "5G Bytes: Millimeter Waves Explained". IEEE Spectrum: Technology, Engineering, and Science News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  3. "Sprint Unveils Six 5G-Ready Cities; Significant Milestone Toward Launching First 5G Mobile Network in the U.S. | Sprint Newsroom" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-07.
  4. "What Is Massive MIMO Technology?". 5g.co.uk (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  5. "Massive MIMO for 5G - IEEE 5G". 5g.ieee.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  6. "ITU towards "IMT for 2020 and beyond"". www.itu.int (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  7. "T-Mobile to Use Low-Band Spectrum to Provide 5G Service". eWEEK (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.
  8. "Top companies leading 5G development". Netscribes. 9 November 2017.
  9. Seong-Mok Oh (February 12, 2018). "KT showcases 5G innovation at the Olympics in PyeongChang". ITU News. สืบค้นเมื่อ 2 March 2018.
  10. Kang, Seung-woo (20 February 2018). "KT showcasing 5G technology at PyeongChang Games". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2 March 2018.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้