การบริโภคที่ยั่งยืนคืออะไร

    การพัฒนาประเทศที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้ใช้การบริโภคของปัจเจกบุคคลเป็นแรงขับเคลื่อน และเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ารูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ไม่คำนึงถึงความ ยั่งยืนเป็นเหตุแห่งความเสื่อมโทรมและความไม่สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม  สถาบันตระหนักถึงเหตุและผลดังกล่าว จึงผลักดันแนวคิดการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถาบันในปี พ.ศ. 2536 โดยได้ศึกษาผลการดำเนินงานและผลสำเร็จของประเทศต่างๆ รวมถึงติดตามการเคลื่อนไหวในเวทีการค้าโลก การเจรจาระหว่างประเทศ เพื่อมาประยุกต์และช่วยเหลือภาคการผลิตและกลุ่มผู้บริโภคตามวิวัฒนาการที่ เปลี่ยนไปตามแต่ละช่วงเวลา

ด้านการผลิต

ในปี พ.ศ. 2540 สถาบันได้ส่งเสริมการประยุกต์เทคโนโลยีสะอาด (cleaner technology) ในภาคการผลิตเพื่อให้อุตสาหกรรมไทยมีการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้ม ค่าและก่อให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด ต่อมาเมื่อสรุปบทเรียน พบว่า การถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ  การได้รับอนุมัติหรือได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารองค์กร การสร้างทีมการจัดการสิ่งแวดล้อม และการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในโรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญ สถาบันจึงได้นำแนวการดำเนินงานจากประเทศญี่ปุ่นในเรื่อง small group activity (SGA) เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนกระบวนทัศน์ รวมทั้งการส่งผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษารายโรงงาน และการให้คำปรึกษาถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต  นอกจากนี้ยังได้เชื่อมโยงการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานเข้าเป็นส่วนสำคัญใน การให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดการลงทุนปรับเปลี่ยนการผลิตได้เร็วขึ้น เนื่องจากการประหยัดพลังงานให้ผลตอบแทนในการลงทุนดีกว่า เห็นผลเร็วกว่า และสามารถทำให้การผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมขับเคลื่อนไปได้ด้วย

ในปี พ.ศ. 2548 สถาบันและ German Technical Cooperation (GTZ) ร่วมกันศึกษาแนวทาง Eco-industrial concept, eco-efficiency มาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยโดยได้นำร่องในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมบางปู และอีกหลายนิคม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการทำงานของนิคมที่มีโอกาสก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่ง แวดล้อม

นอกจากนี้ในการดำเนินงานสนับสนุนกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สถาบันดำเนินการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมผ่านเครื่องมือต่างๆ อาทิ

  • การพัฒนาฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมตลอด วงจรชีวิตในกระบวนการผลิตเหล็ก สี ยางธรรมชาติ พรม อาหารสุกร อาหารไก่ การผลิตน้ำประปา การผลิตน้ำอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดการมูลฝอยชุมชน และการปรับปรุงน้ำเสียชุมชน ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งรองรับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต
  • การพัฒนาฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมของ วัสดุพื้นฐานและพลังงานของประเทศด้านอุตสาหกรรมการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
  • การจัดการระบบข้อมูลที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 14048 การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic & Ecological Design; Eco-Design หรือ Green Design) ซึ่งถือเป็นแนวทางการจัดการเชิงรุกเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับกลุ่ม สิ่งทอ โลหะและเหล็ก เฟอร์นิเจอร์ไม้ และแบตเตอรี่รถยนต์ รวมถึงการออกแบบสายโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
  • การใช้การประเมินวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) เพื่อประเมินการก่อมลพิษและการใช้ทรัพยากรในทุกขั้นตอนของชีวิตผลิตภัณฑ์ เช่น ไฟฟ้า แก๊สโซฮอล สินค้าอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น
  • ด้วยความตระหนักถึงบทบาทของประเทศ ไทยในฐานะประชาคมโลกที่ควรมีส่วนร่วมลดสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศโลกผ่านการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน สถาบันได้ใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) เป็นเครื่องมือบอกปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาตลอดวงจรชีวิตของ ผลิตภัณฑ์พรม ตัวอย่างเช่น ยางรถยนต์ บรรจุภัณฑ์อาหารและสิ่งทอ

ในปี พ.ศ. 2554 ได้ประยุกต์แนวทาง LEAN เข้ากับการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาคการผลิต เพื่อให้แผนธุรกิจของทุกบริษัทมีการนำสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของต้น ทุน และให้การปฏิบัติงานของพนักงานมีการนำเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจในการทำงาน

รวมถึงการศึกษาผลกระทบของกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดของประเทศพัฒนา แล้ว อาทิ REACH, WEEE และ RoHS ที่มีต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีการปรับตัวและเท่าทันกติกาการค้าระหว่างประเทศ

ด้านการบริโภค

ในการประชุมในหลายๆ วาระในต่างประเทศได้ข้อสรุปที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าหากผู้บริโภคมีความ แข็งแรง มีข้อมูลที่เพียงพอ มีความรู้ จะเป็นฟันเฟื่องที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนภาคการผลิตให้ใส่ใจในการเลือกวัตถุ ดิบ การผลิต คุณภาพสินค้า การจัดการของเสียหรือซากหลังการใช้ ในปี 2539 จึงได้เกิดโครงการฉลากเขียว ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทำหน้าที่ เลขานุการ โดยมีวัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาเกณฑ์และข้อกำหนดสินค้า “ฉลาก เขียว” (Green Label) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองว่าเป็นสินค้าที่ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมน้อย กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกัน
  • เพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามเกณฑ์และข้อกำหนด
  • เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ในการรับรองสินค้าฉลากเขียวจะใช้ การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นเครื่องมือประเมินการก่อมลพิษในทุกขั้นตอนของชีวิตสินค้า ฉลากเขียวถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งในนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ใช้ตลาดเป็นเครื่อง มือในการป้องกันรักษาธรรมชาติผ่านการผลิตและการบริโภคของผู้ผลิตและผู้ บริโภคทุกคน เพื่อแสดงการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม

การดำเนินโครงการฉลากเขียวของสถาบันประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เมื่อคณะรัฐมนตรีได้กำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือการซื้อสินค้าและบริการที่ก่อมลพิษน้อย ในปีงบประมาณ 2550-2555 ควบคู่ไปกับการพัฒนาข้อกำหนดและรับรองสินค้าฉลากเขียว สถาบันยังได้มีบทบาทในการวิจัยเชิงนโยบายให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อกำหนดทิศทางและผลักดันการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนในระดับประเทศ อาทิ การศึกษาและจัดทำแผนที่นำทางการบริโภคอย่างยั่งยืน การพัฒนากลไกการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสีเขียวในกลุ่มผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ สถาบันได้พัฒนาโครงการ ฉลากลดคาร์บอน สำหรับสินค้าและบริการ (Carbon Reduction Label) เพื่อใช้รับรองสินค้าของผู้ประกอบการที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระหว่างกระบวนการผลิตได้ตามเกณฑ์กำหนด และโครงการการรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับอาคาร (Carbon Reduction Certification for Building) ซึ่งดำเนินการภายใต้หลักการเดียวกัน

ปัจจุบัน ฉลากสิ่งแวดล้อม ทั้งฉลากเขียว (Green Label) และฉลากลดคาร์บอน (Carbon Reduction Label) เป็นงานที่สถาบันมุ่งพัฒนาเพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ การเพิ่มจำนวนชนิดผลิตภัณฑ์ บริการ และอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยกระดับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึงการสื่อสารกับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมผ่าน การอุดหนุนสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเหล่านี้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้