พลังงานหมุนเวียน มีอะไรบ้าง

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เป็นพลังงานจากแหล่งที่สามารถนำมาใช้แล้วไม่มีวันหมดไป มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก อีกหนึ่งทางเลือกด้านการใช้พลังงานเพราะเป็นพลังงานสะอาด ที่นับว่ามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้า

“พลังงาน” เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ นับวันความต้องการใช้พลังงานของโลก จะเติบโตมากขึ้นตามจำนวนประชากรโลกที่มีอัตราการเกิดใหม่ในทุก ๆ วัน

ขณะที่ทรัพยากรหรือเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตพลังงานรูปแบบดั้งเดิมจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) มีอยู่อย่างจำกัด เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนใช้แล้วจะหมดไปในอนาคตข้างหน้า และยังเป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อมจากก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปล่อยออกมาระหว่างเผาไหม้ ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศของโลก

ด้วยข้อจำกัดและข้อเสียของ พลังงานฟอสซิล (Fossil Fuel) หลายประเทศทั่วโลก จึงคิดค้นและหันมาให้ความสนใจ “พลังงานหมุนเวียน” ที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกด้านการใช้พลังงาน เพราะเป็นพลังงานสะอาด

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า RE คือ พลังงานจากแหล่งที่สามารถนำมาใช้แล้วไม่มีวันหมดไป มีผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ลม แสงแดด และน้ำ สามารถนำมาพัฒนาเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานลม

ขณะที่การใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ก่อให้เกิดขยะมูลฝอย ทั้งจากภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม สามารถนำมาพัฒนาเป็นเชื้อเพลิงพลังงานจากขยะและชีวมวล ในอนาคตพลังงานหมุนเวียนจะมีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้า

พลังงานหมุนเวียน ที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก มี 5 ประเภท ดังนี้

พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)

พลังงานจากดวงอาทิตย์ หรือ แสงแดด สามารถนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ผ่านสิ่งประดิษฐ์ หรือ เทคโนโลยี ที่เรียกว่า “เซลล์สุริยะ” (Solar Cell) สามารถผลิตไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม

พลังงานลม (Wind Energy)

กระแสลม สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพราะเป็นพลังงานธรรมชาติที่นำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างเรือใบ และการประดิษฐ์กังหันลมเพื่อทดน้ำ หรือบดธัญพืชตั้งแต่อดีต ต่อมาได้มีการนำกระแสลมมาผลิตไฟฟ้าผ่านกังหันลมขนาดใหญ่ มักติดตั้งบริเวณภูเขา และแนวชายฝั่งทะเลที่มีกระแสลมแรง

พลังงานชีวภาพ (Bio-Energy)

เศษไม้ แกลบ กากอ้อย หรือวัสดุเหลือใช้จากการทำเกษตรกรรม สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และเป็นแหล่งพลังงานความร้อน เรียกว่า พลังงานชีวมวล (Biomass) และหากเป็นพลังงานที่ได้จากการหมักพืชพลังงาน ของเสียจากครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม และมูลสัตว์ ซึ่งจะได้ก๊าซที่สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เรียกว่า พลังงานก๊าซชีวภาพ (Biogas)

พลังงานน้ำ (Hydroelectric Energy)

เป็นการนำกระแสน้ำจากแม่น้ำในแหล่งธรรมชาติ ให้ไหลผ่านการควบคุมของเขื่อนขนาดใหญ่ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy)

พลังงานความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ใต้พื้นโลก หรือเรียกว่า พลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนสำหรับอาคารบ้านเรือน ท้องถนน และพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงนำมาใช้ผลิตเป็นไอน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 กำหนดแนวทางการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการให้สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580โดยในด้านพลังงาน ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของ กระทรวงพลังงานหลายด้าน ซึ่งครอบคลุมเรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ให้มีความมั่นคงในระดับที่เหมาะสม มีการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมพลังงานทดแทน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำกับดูแลกลไกตลาดพลังงาน ให้มีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม เพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ในด้านการกระจายชนิดของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ให้ลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติ ในการผลิตไฟฟ้าลดลงเหลือไม่เกิน 50% และให้ใช้พลังงานทดแทนที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็น 30% ในปี 2580

ต่อมาการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 เห็นชอบ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561–2580 (Alternative Energy Development Plan 2018: AEDP 2018) โดยมีเป้าหมายรวมในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (ไฟฟ้า ความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ) ต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายที่ 30% ใน พ.ศ. 2580 เมื่อเปรียบเทียบกับแผน AEDP 2015 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

AEDP 2018 ปรับกรอบระยะเวลาให้สอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ซึ่งกำหนดเป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก จำนวน 10 ประเภทเชื้อเพลิง กำลังการผลิต ติดตั้งรวม 29,411 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศใน ปี 2580 เป็น 34.23% ซึ่งมากกว่าแผน AEDP 2015 ที่ตั้งไว้ที่ 20.11% ในปี พ.ศ. 2579

เมื่อรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกตามแผน AEDP 2015 ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้าผูกพันแล้ว 10,715 เมกะวัตต์ จะทำให้กำลังการผลิตรวมเป็น 29,411 เมกะวัตต์ เมื่อสิ้นแผนในปี 2580

การกำกับดูแลระบบพลังงานให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ และส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้กำกับการจัดหาไฟฟ้าให้เป็นไปตาม แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ (PDP 2018 Rev.1) ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจและประชาชนมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ และส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามนโยบายของรัฐอย่างต่อเนื่อง

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้กำกับการจัดหาไฟฟ้า จากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามกรอบนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของรัฐ โดยส่งเสริมภาคเอกชนเข้ามามีบทบาท ในการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ผ่านมาตรการจูงใจด้านราคารับซื้อไฟฟ้า

ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 มีโครงการที่มีพันธะผูกพันกับภาครัฐ 8,222 ราย กำลังการผลิตติดตั้ง 9,811 เมกะวัตต์ ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นโครงการที่จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้าแล้ว 7,585 ราย กำลังการผลิตติดตั้ง 9,043 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโครงการสำคัญ ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ Feed-in Tariff: FiT ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล และประเภทเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ การรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมและขยะชุมชน และโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย นอกจากนี้มีผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง (IPS) จำนวน 1,150 ราย กำลังการผลิตติดตั้ง 1,859 เมกะวัตต์

การนำพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภทมาใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหลายปัจจัย ทั้งด้านเทคนิค หรือเทคโนโลยี รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม แต่จากเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังานหมุนเวียนตาม AEDP 2018 ชี้ให้เห็นว่ามีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

Source : The Bangkok Insight

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้