โรคออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง

โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในคนที่ทำงานออฟฟิศ ซึ่งต้องนั่งทำงานอยู่ท่าเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดการปวดตึงอักเสบของกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยเฉพาะบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง

อาการที่บ่งชี้ว่าคุณอาจเป็นออฟฟิศซินโดรม

  • ปวดตึงกล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลังนั่งทำงานเป็นเวลานาน
  • ปวดหลังเรื้อรัง จากการยืนหรือนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
  • ปวดชาข้อมือ นิ้วล็อค จากการเกิดพังผืดของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือและข้อนิ้วมือ
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดไมเกรน
  • ปวดตา ตาพร่า ตาแห้ง จากการใช้สายตาจ้องจอมือถือหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
  • มึนศีรษะ หน้ามืด

ออฟฟิศซินโดรมรักษาอย่างไร ?

  • การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ใช้โต๊ะทำงานและเก้าอี้ที่เหมาะสม จัดแสงสว่างให้พอเหมาะไม่สว่างหรือมืดเกินไป นั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง ไม่นั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ไม่เพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ปรับเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายร่างกายและสายตาเป็นระยะ
  • การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาที่ช่วยยืดเหยียดและสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ เช่น การเล่นโยคะ การว่ายน้ำ จะช่วยให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวได้ดี ช่วยป้องกันการอักเสบหรือฉีกขาดของกล้ามเนื้อได้
  • การทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำกายบริหาร การทำอัลตราซาวน์ การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดของกล้ามเนื้อได้
  • การรักษาด้วยยา ในรายที่มีอาการปวดรุนแรงอาจต้องใช้ยาช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการ โดยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากอาจได้รับผลข้างเคียงจากยากลุ่มนี้ได้
  • การรักษาทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย

ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการศูนย์แผนกตา ที่ โรงพยาบาลสินแพทย์ สาขาใกล้บ้านคุณ

โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา

โรงพยาบาลสินแพทย์ เสรีรักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ ลำลูกกา

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์

โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์

โรงพยาบาลสินแพทย์ กาญจนบุรี

 209 total views,  4 views today

เพราะมนุษย์เงินเดือนหรือพนักงานออฟฟิศทั้งหลาย มักจะชอบอัปเกรดความบ้างานของตัวเองอยู่เสมอ จนทำให้ออฟฟิศซินโดรมเป็นเสมือนลิ้นกับฟันที่เกี่ยวพันจนแทบจะแยกกันไม่ได้ ทั้งด้วยอาการแรกเริ่มเพียงแค่ปวดตึง บ่า คอ ไหล่ จนลามไปสู่กลุ่มอาการและโรคเรื้อรังต่างๆ ที่บั่นทอนการใช้ชีวิตและสุขภาพจิตได้ แม้บางคนจะลงทุนหาตัวช่วยอย่างดีมาใช้ ทั้งเก้าอี้ตัวใหม่ที่ช่วยให้ปรับท่านั่งได้อย่างเหมาะสม หรือโต๊ะที่เหมาะกับการวางคอมพิวเตอร์ในระดับที่พอดีกับสายตา จะได้ไม่ต้องก้มหรือเงยมากเกินไปตอนมองหน้าจอ ทุกอย่างถูกต้องตามที่ตำราบอกทุกประการ แถมยังหมั่นลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ ชั่วโมง แต่รู้ตัวอีกที “โรคออฟฟิศซินโดรม” ก็ถามหาซะแล้ว 

วันนี้เราจะมาดู 10 กลุ่มโรคจากออฟฟิศซินโดรม ที่ชาวออฟฟิศต้องสังเกตและควรระวัง !

10 โรคออฟฟิศซินโดรม ที่ชาวออฟฟิศต้องระวัง ! 

1.กระเพาะอาหารอักเสบ

กระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคกระเพาะ เป็นโรคที่ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นได้ โดยเฉพาะวัยทำงานที่ยึดติดความสมบูรณ์แบบ เอาจริงเอาจังจนถูกเรียกว่าบ้างาน ซึ่งมักจะแบกความเครียด กินอาหารไม่เป็นเวลา จนรู้ตัวอีกทีก็มีอาการจุกเสียด ปวดท้องตั้งแต่ใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ เพราะกรดในกระเพาะอาหารเสียสมดุลจนกัดเยื่อบุผนังของกระเพาะอาหารให้เป็นแผล ส่งผลให้เวลาหิวก็ปวดท้อง อิ่มก็ปวดท้องอยู่ตลอดเวลานั่นเอง 

2.กรดไหลย้อน

อีกหนึ่งโรคออฟฟิศซินโดรมยอดฮิตต่อเนื่องไม่แพ้โรคกระเพาะ เพราะเวลาอันมีค่าและเร่งด่วนทำให้กินข้าวไม่ตรงเวลา เร่งกินให้เสร็จ ร่วมกับพฤติกรรมหนังท้องตึงหนังตาหย่อน กินแล้วนอนเลย ไม่ยอมรอให้อาหารได้ย่อยให้เรียบร้อยก่อน ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมากัดหลอดอาหารแทนการย่อยอาหาร จนมีอาการปวดท้องคล้ายกับโรคกระเพาะ แต่จะมีอาการเรอเปรี้ยว ขมในปาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยเฉพาะอาการแสบร้อนกลางอกของโรคกรดไหลย้อนที่มักจะเป็นช่วงกลางคืน สร้างความทรมานและรบกวนการใช้ชีวิตไม่แพ้โรคกระเพาะเลย

3.ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

เพราะอยากให้งานเสร็จตามเดตไลน์ หรือกำลังทำงานเพลินๆ จึงอยู่แต่ท่าเดิมไม่ขยับไปไหน นอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดบ่า คอ ไหล่แล้ว บางคนต่อให้ปวดปัสสาวะเบาๆ ก็ไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ จนท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เวลาเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งสุดแสนจะทรมาน ทั้งปวดบ่อยแต่ปัสสาวะไม่ออก รู้สึกแสบขัด กลั้นไม่อยู่ ปัสสาวะขุ่น หรือถ้าอาการหนักขึ้นก็อาจทำให้กรวยไตอักเสบ ที่สังเกตได้ง่ายๆ จะมีทั้งอาการไข้และปวดหลังเข้ามาสร้างความทรมานมากขึ้น ซึ่งต้องรักษาด้วยยาที่คุณหมอสั่งจ่ายกันต่อไป 

4.เวียนศีรษะ บ้านหมุน

โดยปกติอาการเวียนหัว บ้านหมุนมักเกิดกับผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุจากความเสื่อมของร่างกายหรือโครงสร้างหูชั้นใน ทำให้ระดับน้ำในหูไม่เท่ากัน การทรงตัวเสียสมดุล แต่ทว่าไลฟ์สไตล์ของคนทำงานออฟฟิศที่ชอบเคร่งเครียดกับงาน นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ กินอาหารเค็มจัด ดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนเป็นประจำ กลายเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว บ้านหมุนได้ง่ายขึ้น และยังนับเป็นอีกโรคออฟฟิศซินโดรมที่ฮอตฮิตไม่แพ้กันอีกด้วย 

5.การกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรือผังพืดทับเส้นประสาท

อาการเจ็บ ปวดแสบ เจ็บจี๊ดเหมือนโดนเข็มทิ่มและชามือ ไล่เรียงตั้งแต่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง เป็นอีกกลุ่มอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมที่มักพบเจอบ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) บริเวณข้อมือถูกกดทับ หรือเกิดผังพืดทับเส้นประสาทดังกล่าว โดยมีสาเหตุมาจากการใช้งานมืออย่างหนักและซ้ำๆ ในท่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เอกสาร พิมพ์แชท หรือการใช้เมาส์ที่ต้องเกร็งฝ่ามือและข้อมือ ขับรถกำพวงมาลัยตลอดเวลา หรืองานหัตถกรรมในอุตสากรรมต่างๆ ของโรงงาน รวมถึงหมอห้องผ่าตัดที่ใช้มือเกร็งในท่าเดิมตลอดเวลา จนทำให้เส้นประสาทดังกล่าวเกิดการระคายเคือง อักเสบจนไปกดทับและทำให้เกิดอาการเจ็บหรือชานั่นเอง

6.นิ้วล็อก ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ

นิ้วล็อก ปัญหาความเจ็บปวดของนิ้วมือ ที่เมื่อขยับงอนิ้วแล้วไม่สามารถขยับเหยียดเองได้ ล็อกค้างและสร้างความเจ็บปวดให้กับนิ้วไม่น้อย โดยอาการนี้เกิดจากเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ ส่งผลให้นิ้วมือ ข้อนิ้วบริเวณที่อักเสบหนาตัวขึ้น ติดขัดเวลาขยับหรือเคลื่อนไหว ซึ่งอาการนิ้วล็อกมักจะเกิดขึ้นกับคนที่ใช้นิ้วในการทำงานเป็นเวลานานๆ เช่นพนักงานออฟฟิศ แม่บ้าน ช่างตัดผม รวมไปถึงคนที่เล่นกอล์ฟเป็นประจำก็สามารถเป็นนิ้วล็อกได้เช่นกัน

7.ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

แม้จะไม่ใช่โรคออฟฟิศซินโดรมโดยตรง แต่ก็เป็นอาการที่ชาวออฟฟิศต้องระวังกับไข้หวัดที่มาตามการเปลี่ยนแปลงของอากาศ และการเผชิญหน้ารับเชื้อโรคกับผู้คนในสถานที่แออัด ทำให้เกิดการติดเชื้อส่วนบนตั้งแต่จมูกไปจนถึงกล่องเสียง ที่จะพ่วงมาด้วยอาการน้ำมูกไหล ไอ คออักเสบและเป็นไข้นั่นเอง ซึ่งทำให้ต้องหยุดพักงานเพื่อให้ร่างกายได้รับการพักผ่อน ถึงจะทำให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น 

8. ติดเชื้อทางเดินอาหาร

ถ้าพูดถึงการติดเชื้อทางเดินอาหารหลายคนอาจจะไม่คุ้นหู แต่ถ้าอธิบายว่าคืออาการท้องเสีย ท้องร่วง หรืออาหารเป็นพิษ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อโรคจนต้องวิ่งเข้าวิ่งออกห้องน้ำกันเป็นว่าเล่น หลายคนคงจะนึกออก ซึ่งโดยส่วนมากมีสาเหตุมาจากอาหารที่หลายคนชื่นชอบและได้กินเป็นประจำ เช่น อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ อาหารสุกๆ ดิบๆ ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกนั่นเอง

9.หมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท

การนั่งทำงานในท่าเดิมนานๆ ชอบไขว่ห้าง หรือเกร็งหลังให้ตรงอยู่ตลอดเวลา เสี่ยงต่ออาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทได้ โดยอาการส่วนใหญ่ที่มักจะแสดงออกมาให้รู้สึกได้ คืออาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดหลังช่วงเอวที่ปวดร้าวลงขาเวลาเดิน และบางครั้งอาจมีอาการชาหรือเป็นตะคริวร่วมด้วย ซึ่งหากอาการหนักมากขึ้นอาจทำให้ระบบขับถ่ายมีปัญหาและกล้ามเนื้อขาไม่มีแรงได้ด้วย 

10.ไตวาย

ดูเหมือนจะเป็นโรคที่ห่างไกลจากชาวออฟฟิศ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการกินอาหารฟาสต์ฟู้ดและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงเป็นประจำ อาหารพวกนี้ทำให้ไตต้องทำงานหนัก และเสื่อมประสิทธิภาพในการกรองของเสีย ส่งผลให้บางคนที่มีโรคประจำตัวอยู่เดิมซึ่งสัมพันธ์กันเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ โดยจะมีอาการปัสสาวะน้อยลง ขาและเท้าบวม เบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลง คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกมึนงง อ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลา หากมีอาการรุนแรงอาจชักหรือหมดสติ เข้าสู่ภาวะโคม่าแบบเฉียบพลันและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือบางคนไม่แสดงอาการแต่สะสมนานเป็นปี กว่าจะรู้ตัวก็เป็นไตวายเรื้อรังที่ต้องกินยา ฟอกเลือด หรือล้างไตไปตลอดชีวิต

 

Work Life Balance ให้ดี : วิธีรับมือโรคออฟฟิศซินโดรม 

วิธีรับมือกับกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรมที่ดี คือการรู้จัก Work-Life Balance ตัวเองให้ได้ โดยการแบ่งเวลางาน (Work) กับเวลาชีวิตปกติ (Life) ออกจากกัน กำหนดงานที่ต้องทำในแต่ละวันและลงมือทำอย่างเต็มที่ เมื่อถึงเวลาพักก็ต้องพักให้เต็มที่เช่นเดียวกัน พร้อมฝึกนิสัยให้มีความยืดหยุ่นอย่างเหมาะสมเพื่อลดความตึงเครียด เช่น

  • ช่วงพักกลางวัน แทนที่จะรีบๆ ลนๆ กินข้าวเที่ยงไปจ้องหน้าจอไป ควรหันมาใส่ใจการกินข้าวกลางวันให้มากขึ้น กินของที่มีประโยชน์มากขึ้น พักเบรกจิบกาแฟยามบ่าย นั่งชมวิวพักสายตาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือลุกขึ้นขยับร่างกายยืดเส้นยืดสายให้กระฉับกระเฉงบ้าง รีเฟรชให้ร่างกายพร้อมทำงานต่อในช่วงบ่ายอย่างแฮปปี้

  • ช่วงเย็น (เลิกงาน) หากเป็นเมื่อก่อนแนะนำให้มองหาสวนสาธารณะใกล้ที่ทำงานเพื่อเดินเล่นออกกำลังกายบ้าง แต่ในช่วงที่หลายคนต้อง Work from Home อยู่บ้านยาวๆ แบบนี้ เราก็สามารถหาพื้นที่ในบ้านสำหรับออกกำลังกายตามคลิปง่ายๆ ได้ หรือหางานอดิเรกที่ชอบมาสร้างสรรค์ใหม่ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าที่เจอมาตลอดทั้งวันแทน 

 

จะเห็นได้ว่ากลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรมเหล่านี้ มักมีจุดเริ่มต้นมาจากความเครียดและตามมาด้วยสัญญาณเริ่มแรกอย่างอาการปวดตึงบ่า คอ ไหล่ที่เป็นผลพวงจากการทำงาน หากปล่อยไว้ไม่ดูแลตัวเอง อาการกลุ่มโรคเหล่านี้สามารถพุ่งเข้าหาสร้างความเจ็บป่วยเรื้อรังได้ ต้องเสียทั้งเวลา ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา แถมสุขภาพก็ยังแย่อีก ดังนั้นอย่าลืมดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ร่วมกับพกประกันออฟฟิศซินโดรมติดตัวไว้คอยดูแลปัญหาค่าใช้จ่ายและสุขภาพ ที่ครอบคลุมโรคร้าย 10 โรคนี้ ได้ทั้งจากโรงพยาบาล คลินิกทั่วไปในเครือข่าย หรือคลินิกทางเลือกอย่างการฝังเข็ม แพทย์แผนจีน กายภาพบำบัดที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข ให้ชาวออฟฟิศได้เบาใจทั้งค่ารักษาพยาบาลและการดูแลยามเจ็บป่วยได้มากขึ้น

 

อ้างอิง

//www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_10_006.html 

//www.medparkhospital.com/content/carpal-tunnel-syndrome 

www.sikarin.com/health/5-สัญญาณเตือน-หมอนรองกระ 

www.sikarin.com/doctor-articles/ไตวายเรื้อรัง

กลุ่มออฟฟิศซินโดรม มีอะไรบ้าง

ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน

โรคออฟฟิศซินโดรมคืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จัดอยู่ในกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งมักเกิดจากการที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมา เป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง โดยผลของมันจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไล่ลงมาตั้งแต่คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน หรือแม้กระทั่งบริเวณ ...

โรคออฟฟิศซินโดรมมีผลกระทบต่อโรคใดมากที่สุด

โรคออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา หรือไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมา เช่น เสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรงอีกด้วย

โรค ออฟฟิศซินโดรม รักษาหายไหม

ออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถรักษาได้ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นหลักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ร่วมกับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง โดยวิธีการรักษานั้นมีหลายวิธีประกอบไปด้วย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้