มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สังกัดอะไร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ" ขึ้นโดยมีพระช่วงเกษตรศิลปะการ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ และในปี 2479 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ" ขึ้นในพื้นที่บริเวณเดียวกัน

ปี 2481 กระทรวงธรรมการได้ยุบโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคใต้ ที่สงขลา โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคกลาง ที่บางกอกน้อย และโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคอีสาน ที่นครราชสีมา และโอนกิจการโรงเรียนเหล่านั้นทั้งหมดมารวมกันที่โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้เพียงแห่งเดียว ในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรตราธิการ และเปลี่ยนสถานะมาเป็น "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้"

หลังจากที่ ม.เกษตร บางเขน ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2482 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ได้เปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ในอีก 4 ปีหลังจากนั้น และก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาและเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรศาสตร์แม่โจ้" ในปี 2491 และยกฐานะเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่" ในปี 2499 ก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร" ในปี 2518 จนกระทั่ง พ.ศ. 2525 สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้" สุดท้ายก็ได้รับการจัดตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539

มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรที่มีชื่อเสียงมาโดยตลอด และเพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานที่หลากหลายในยุคนี้ ม.แม่โจ้จึงได้ขยายการเรียนการสอนออกไปอีกหลายแขนงที่นอกเหนือจากการเกษตร โดยนอกจากที่เชียงใหม่แล้ว ม.แม่โจ้ยังได้ขยายการเรียนการสอนออกไปอีก 2 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ และวิทยาเขตชุมพร

สัญลักษณ์
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ "พระพิรุณทรงนาค" เช่นเดียวกับของ ม.เกษตรศาสตร์ แต่จะต่างกันตรง พ.ศ.ด้านล่าง คือของแม่โจ้จะเป็น พ.ศ. 2477
ต้นไม้ประจำสถาบันคือ "อินทนิล" เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและเจริญเติบโตในทุกภาคของประเทศไทย มีความหมายถึงความรุ่งเรือง อายุยืนนาน มีฉายาว่าเป็น "ราชินีดอกไม้" คณะกรรมการมหาวิทยาลัยได้ลงมติเลือกอินทนิลเป็นไม้ประจำสถานบันเพราะ มีนามเป็นมงคล และช่อดอกเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสวยสด แทนความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกัน แทนความผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยของศิษย์เก่าตลอดเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่ง อีกทั้งต้น เปลือก และใบ ใช้เป็นยาสมันไพรได้ ดุจคุณค่าของบรรดาลูกแม่โจ้ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติ

มีอะไรเรียนบ้าง
วิทยาเขตเชียงใหม่
1. คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
คณิตศาสตร์
เคมี
เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาการคอมพิวเตอร์
สถิติ
เทคโนโลยีชีวภาพ
วัสดุศาสตร์
2. คณะผลิตกรรมการเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
อารักขาพืช
ปฐพีศาสตร์
สัตวศาสตร์
เกษตรศาสตร์ (พืชไร่)
พืชศาสตร์ (พืชสวน)
เกษตรเคมี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(2 ปีเทียบเข้าเรียน)
- สัตว์ศาสตร์ (สัตว์ปีก, โคนม-โคเนื้อ, การผลิตสุกร)
- เกษตรศาสตร์ (พืชไร่)
- พืชศาสตร์ (พืชสวนประดับ, พืชผัก, ไม้ผล)
- ส่งเสริมการเกษตร
3. คณะวิศวะกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีการอาหาร
วัสดุศาสตร์ (อุตสาหกรรมยาง)
วิศวกรรมเกษตร
วิศวกรรมอาหาร
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
4.คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
พัฒนาการท่องเที่ยว
5. คณะเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
เศรษฐศาสตร์สหกรณ์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
เศรษฐศาสตร์เกษตร
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตร์
6. คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
การบัญชี
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การเงิน
บริหารธุรกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การจัดการทั่วไป
การตลาด
เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
7. คณะศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
นิเทศศาสตร์บูรณาการ
ภาษาอังกฤษ
8. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
การประมง
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรเทคโนโลยีภูมิทัศนบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
เทคโนโลยีภูมิทัศน์
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
ภูมิสถาปัตยกรรม
2.คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
3.บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ/ชุมพร/วิทยาลัย
บริหารศาสตร์
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
การจัดการชุมชน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เทคโนโลยีการผลิตสัตว์
เทคโนโลยีการผลิตพืช
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(2 ปีเทียบเข้าเรียน)
- เทคโนโลยีการผลิตสัตว์
เกษตรป่าไม้

ค่าใช้จ่าย
ปกติหน่วยกิตละ 100 บาท และหากเป็นวิชาปฏิบัติจะอยู่ที่ 200 บาท นอกนั้นก็เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 700 บาทต่อเทอม ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา 300 บาทต่อเทอม และค่าประกันของเสียหาย 400 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
- สำนักหอสมุด มีระบบห้องสมุดออนไลน์ สามารถหาหนังสือได้ทางอินเทอร์เน็ต และยังมีห้องสมุดดิจิตัลที่ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิดส์ด้วย
- ศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง มีห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง และมีจุดบริการคอมพิวเตอร์กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ เช่น ชั้นบนของโรงอาหาร ด้านล่างหอพัก ห้องสมุด และตามคณะต่างๆ แม่โจ้จะใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแม่ข่าย ทำให้บางครั้งอินเทอร์เน็ตของที่นี่จะค่อนข้างช้า
- คาวบอยมาร์เก็ต เป็นศุนย์ที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และได้ทดลองปฏิบัติงานจริงเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดี นักศึกษาสามารถนำผลผลิตการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้า OTOP มาจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปได้ ดูรายละเอียดได้ที่ www.cowboymarket.mju.ac.th
- มีห้องฟิตเนส และนักศึกษาจะนิยมเล่นกีฬา บาสเก็ตบอล เทนนิส ซึ่งที่มหาวิทยาลัยจะมีคอร์ทเทนนิส 2 คอร์ท บางคนก็นิยมจ๊อกกิ้ง
- ร้านถ่ายเอกสาร มีตามจุดต่างๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษา
- โรงอาหาร มีตามจุดต่างๆ ทั่วมหาวิทยาลัย แต่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นโรงอาหารหลักชื่อ โรงอาหารเทิดกสิกิจ แล้วก็ยังมีโรงอาหารที่อยู่ตามสโมสรอีกด้วย
- วิทยุเพื่อการศึกษา ม.แม่โจ้ FM 95.50 MHz "เสียงจากแม่โจ้" ใช้เป็นสื่อการศึกษาทั้งในและนอกระบบของสถาบัน นอกจากนี้ยังใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ข่าวของมหาวิทยาลัยด้วย
- หอพักนักศึกษา นักศึกษาปี 1 ต้องอยู่หอพักภายใน 1 ห้อง จะนอนได้ 4 คน มีห้องน้ำรวม บรรยากาศเหมือนโรงเรียนประจำ ราคาคนละ 1,200-4,800 บาทต่อภาคเรียน ปัจจุบันมีหอพักจำนวน 9 อาคาร รองรับนักศึกษาได้ 2,492 คน มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก นักศึกษาสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้กรณีศึกษาอยู่ในสาชาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น

ทุนการศึกษา
มหาวิทยาลัยมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นของรัฐบาล และทุนการศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นทุนที่บุคคล องค์กรเอกชน พิจารณามอบให้มหาวิทยาลัยนำมาจัดสรรให้กับนักศึกษา ภายใต้เงื่อนไขที่เจ้าของทุนนั้นกำหนด

ชีวิตนักศึกษา
บรรยากาศของมหาวิทยาลัยร่มรื่นมาก ต้นไม้เยอะ สงบเงียบ อากาศดี รอบมหาวิทยาลัยจะไม่มีสถานเริงรมย์อะไร ดังนั้นนักศึกษาที่นี่จะได้เห็นธรรมชาติที่หาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ตัวมหาวิทยาลัยมีประตูเข้าออกทั้งหมด 5 ประตู แต่จะติดถนนเพียง 2 ด้าน ประตูใหญ่จะเป็นประตูหลักสำหรับเข้าออก ตรงข้ามประตูนี้มีร้านเซเว่นให้บริหารอยู่ นอกจากนั้นยังมีประตูบางเขน ซึ่งอยู่ด้านข้างใกล้กับหอพัก ทำให้เป็นประตูที่นักศึกษาที่พักอยู่ในหอบริเวณนั้นนิยมใช้เข้าออก และเนื่องจากสมัยก่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นวิทยาลัยอาชีวะ นักศึกษาที่จะเรียนต่อริญญาตรีก็ต้องออกไปหาเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่นต่ออีก 2 ปี ซึ่งมหาวิทยาลัยที่นิยมมากคือ เกษตรศษสตร์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่าถ้าใครได้เดินผ่านประตูบางเขนนี้ก็จะได้ไปเรียนต่อที่เกษตรศาสตร์ได้สำเร็จด้วย นอกจากนั้นก็จะมีประตูตรงศาลเจ้าแม่ อยู่ด้านหน้า ตรงกันข้ามจะเรียกว่าโซนเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งขายอาหารด้านนอก

ยานพาหนะที่เป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษาคือเวสป้า ถึงขนาดมีชมรมเวสป้าด้วย หรือหากขับรถก็นิยมรถเก่า เช่น ฮอนด้ารุ่นเก่า หรือโฟล์ครุ่นเก่า แต่หากใครไม่มีรถ หรือเวสป้า หรือมอเตอร์ไซค์ ก็สามารถใช้บริการรถเมล์เขียวสายแม่แฝก สายใหม่ ขึ้นได้ในตัวมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเร็วๆ นี้นักศึกษาของ ม. แม่โจ้ ได้เป็นผู้นำเทรนด์การเดินทางแบบใหม่เพื่อให้เข้ากับยุคน้ำมันแพง นั่นก็คือ การขี่ม้ามาเรียน แถมทางมหาวิทยาลัยยังจัดตั้งชมรมขี่ม้าให้อีกต่างหากด้วย
ยามว่างนักศึกษาสามารถทำงานนอกเวลาภายในมหาวิทยาลัยได้โดยอาจเป็นนักศึกษาฝึกงาน หากไม่อยากทำงาน บางคนก็เข้าห้องสมุด และบางคนที่มีฐานะหน่อยก็จะเปิดธุรกิจทำร้านอาหารอยู่บริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยด้วย หรือถ้าไม่รู้จะทำอะไรดี หลายคนก็เลือกที่จะเดินเล่นกันที่ เซ็นทรัลกาดสวนแก้ว เซ็นทรัลแอร์พอร์ตกาดหลวง และตลาดวโรรส (ซึ่งบรรยากาศจะคล้ายกับโบ๊เบ๊ของกรุงเทพฯ อยู่ห่างจากตัวมหาวิทยาลัยประมาณ 10 กม.)

กิจกรรมนักศึกษาที่เด่น ได้แก่ งานรับน้อง งานยี่เป็ง งานลอยกระทง งานวันเกษตรสลับกับงานวันกล้วยไม้ปีเว้นปี และงานกีฬาแม่โจ้สัมพันธ์ ส่วนสถานที่ที่เป็นที่สักการบูชา ไม่ว่าใครจะบนเรื่องอะไร โดยเฉพาะนักศึกษาปีสุดท้ายแทบทุกคนต้องเคยมาบนที่ "ศาลเจ้าแม่โจ้" เพื่อขอให้จบการศึกษา มักแก้บนโดยใช้ดอกไม้สีขาว และนอกจากนี้ก็ยังมีสถานที่เคารพอื่นๆ ได้แก่ "องค์พ่อพิรุณ" และอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญของแม่โจ้ในอดีตอย่างอนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปะการ หรือ อนุสาวรีย์ ศ.ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย

โหลดเพิ่ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลมหาวิทยาลัยประวัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้มจ.มหาวิทยาลัยแม่โจ้เรียนต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้แม่โจ้EDUCATIONเรียนต่อในประเทศมหาวิทยาลัย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้