ผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

   ���������à (food web)� �����ǧ������÷��Ѻ��͹�    �����Ҩ�Դ�ҡ��������ѹ��ͧ�������ǧ������à
   ����㹡��������ժ��Ե� (community)� ���Ъ�Դ    ����ǧ��������Դ���������  ������ǧ���Ҩ����Ǿѹ�ѹ�
   ���ͧ�ҡ��áԹ����âͧ���������ժ��Ե�դ�����Ѻ�Ѻ��͹�    ��������ѹ�������ҧ��ǧ������õ�ҧ�㹡��������ժ��Ե


������ҧ�ͧ� Food� Web ����Դ�ҡ�������ѹ��
�Ѻ�ͧ���  Food Chain� (Rickefs,1983� ��ҧ�ҡ� ������Է��,�ѳ����� 2541)

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหาร บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!!

1) ผู้ผลิต (producer) => สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง
2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต
2.3 สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์
2.4 สัตว์กินซาก (scavenger) เช่น แร้ง

3) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) => ดำรงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย

รู้หรือไม่? ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารเป็นวัฏจักรได้ เช่น วัฏจักรคาร์บอน

เริ่มจากพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากินพืช สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนนี้จะถูกถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภค หลังจากสิ่งมีชีวิตตายลง บางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายจะทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม

การหายใจของสิ่งมีชีวิตและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไชด์กลับคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร นอกจากวัฏจักรคาร์บอนแล้ว ยังมีวัฏจักรสารที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น วัฏจักรน้ำ วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส

เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องระบบนิเวศ
1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Project 14
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ //www.youtube.com/watch?v=6oMFy18U6Gg
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ //www.youtube.com/watch?v=vgDwaxck7tc
2) รายการเรียนสอนออนไลน์
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ //www.facebook.com/watch/?v=121234103188733
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ //www.facebook.com/watch/?v=3631700100281645
– การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต //www.facebook.com/ipst.thai/posts/3763855883650772
– รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต //www.facebook.com/ipst.thai/posts/3779773525392341

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

บทบาทของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ

หนูน้อยคนไหนกำลังทำความเข้าใจเรื่อง “ห่วงโซ่อาหาร (Food chain)” อยู่บ้าง ? ห่วงโซ่อาหารเป็นกระบวนการถ่ายพลังงานในธรรมชาติ จากผู้ผลิตที่สามารถผลิตพลังงานได้เอง ส่งต่อไปสู่สิ่งมีชีวิตผ่านการถูกกิน หากห่วงโซ่อาหารมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้บริโภคพลังงานสามารถเลือกกินได้หลากหลายจะกลายเป็นสายใยอาหารแทน และเรื่องอื่น ๆ ที่คุณหนูวัยเรียนต้องรู้

 

ห่วงโซ่อาหาร คืออะไร ?

ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) คือการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศธรรมชาติ โดยเริ่มจากผู้ผลิต และถูกกินส่งต่อไปสู่ผู้บริโภคในแต่ละลำดับ เช่น ข้าว คือ ผู้ผลิต ต่อมาตั๊กแตนมากินข้าวทำให้ได้รับพลังงานจากข้าว และนกมากินตั๊กแตนต่อทำให้ได้รับพลังงานต่อมาอีกที เป็นต้น เหตุการณ์การถ่ายโอนพลังงานแบบนี้เรียกว่า “ห่วงโซ่อาหาร” ซึ่งจะมีความซับซ้อนไม่มากเท่าไหร่

 

สายใยอาหาร ต่างจากห่วงโซ่อาหารอย่างไร

ถ้าหากผู้บริโภคสามารถเลือกกินได้หลากหลายสาย มีความซับซ้อนที่มากขึ้น หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันระหว่าง 2 ห่วงโซ่อาหารขึ้นไป การถ่ายทอดพลังงานที่มีอิสระมากขึ้นแบบนี้เรียกว่า “สายใยอาหาร (Food web)” ลักษณะของสายใยอาหารจะมีเส้นโยงคล้ายใยแมงมุม เช่น กระต่าย และหนูกินหญ้า แต่กระต่ายก็สามารถเลือกว่าจะกินหญ้า หรือหนูเพื่อรับพลังงานได้ ในขณะเดียวกันแมวป่าก็จะสามารถเลือกได้ว่าจะกินหนู หรือกระต่าย และสายใยอาหารอาจจบลงด้วยการที่สิงโต เลือกว่าจะกินแมวป่า หรือจะกินกระต่ายก็ได้ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : รุ้งกินน้ำ เกิดจากอะไร ? การเกิดรุ้งกินน้ำ ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เด็ก ๆ ควรรู้ !

 

วิดีโอจาก : Lipda Pola

 

3 บทบาทพื้นฐานในห่วงโซ่อาหาร

  1. ผู้ผลิต (Producer) : เป็นต้นทางของพลังงานทั้งหมดของห่วงโซ่อาหาร โดยปกติแล้วมักจะมาจากพืชผลต่าง ๆ ก่อนเสมอ เนื่องจากพืชสามารถสร้างพลังงานของตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่น ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นที่มาของการเป็นผู้ผลิตนั่นเอง
  2. ผู้บริโภค (Consumer) : เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างงพลังงานให้กับตนเองได้ จึงต้องกินสิ่งอื่นเพื่อรับพลังงาน ซึ่งถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่กินพืช (Herbivore) เช่น หนู,กวาง, และตั๊กแตน ต่อมา คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์ (Carnivore) เช่น เสือ, หมาป่า และสิงโต ต่อมาสิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) เช่น มนุษย์ และสัตว์กินซาก (Scavenger) เช่น แร้ง เป็นต้น
  3. ผู้ย่อยสลาย (Decomposer) : เป็นสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายซากพืช และซากสัตว์ได้ เช่น แบคทีเรีย หรือเห็ดราต่าง ๆ เป็นต้น ผู้ย่อยสลายจะได้พลังงานบางส่วนเท่านั้น พลังงานที่เหลือจะกลายเป็น สิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตจะนำไปใช้พลังงานต่อ

 

ขั้นตอนของการเกิดห่วงโซ่อาหาร

โดยปกติแล้วการอธิบายจะเริ่มจากผู้ผลิตในฝั่งซ้ายก่อนเสมอ เริ่มจากพืชใด ๆ ที่สามารถสังเคราะห์แสงเองได้ก่อน จากนั้นจะถูกสัตว์ประเภทกินพืชกิน ซึ่งถือเป็นผู้บริโภคอันดับ 1 จากนั้นสัตว์กินพืชเหล่านี้มักจะถูกล่า โดยผู้ล่า หรือสัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน รวมไปถึงสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ด้วยกลุ่มนี้เรียกว่าผู้บริโภคอันดับ 2

และเมื่อผู้บริโภคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอันดับ 1 หรือ 2 ตายลง หรือถูกกินจนเหลือเพียงซาก สุดท้ายแล้วแบคทีเรีย หรือผู้ย่อยสลายจะทำการหน้าที่ในการย่อยซากเหล่านั้น เพื่อใช้พลังงานให้ตนเองอยู่รอด ส่วนพลังงานที่เหลือจะกลายเป็นแร่ธาตุในดิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตของพืช หรือผู้ผลิตต่อไปเช่นกัน

 

ตัวอย่างห่วงโซ่อาหาร

จากภาพจะเริ่มจากข้าวโพด (ผู้ผลิต) > ถูกหนูกิน (สัตว์กินพืช / ผู้บริโภคอันดับ 1) > หนูถูกงูกิน (สัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน / ผู้บริโภคอันดับ 2) > งูถูกนกฮูกกิน (สัตว์ที่กินสัตว์ด้วยกัน / ผู้บริโภคอันดับ 3) ซึ่งทั้งหนู งู และนกฮูกอาจตายด้วยสาเหตุอื่น ที่ไม่ใช่ถูกกิน และกลายเป็นพลังงานให้ผู้ย่อยสลาย และผู้บริโภควนเวียนต่อไป

 

 

ตัวอย่างสายใยอาหาร

จากภาพจะมีห่วงโซ่อาหารเกี่ยวเนื่องกันหลายสาย ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกกินมากกว่า 1 เดียว เช่น กระต่ายจะกินแคร์รอต หรือหญ้าก็ได้ ในขณะที่นกฮูกจะกินหนู หรือตั๊กแตนก็ได้เช่นเดียวกัน หากอิงจากภาพจะต้องแยกย่อยออกเป็นห่วงโซ่อาหารได้อย่างต่ำ 2 ห่วงโซ่ จึงเป็นสายใยอาหารตามภาพ และเช่นเดียวกัน เมื่อมีสิ่งมีชีวิตใด ๆ ตายลงจะเป็นพลังงานให้กับผู้ย่อยสลาย และผู้ผลิตต่อไป

 

 

4 แบบของห่วงโซ่อาหาร

แม้ว่าโดยปกติแล้วเราจะเข้าใจว่าผู้ผลิตจะเป็นพืชผักต่าง ๆ แต่หากเจาะลึกรูปแบบของห่วงโซ่ อาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากพืชต่าง ๆ เพราะยังสามารถเริ่มจากผู้ถูกอาศัย ส่งต่อไปยังปรสิต หรือเริ่มจากซากพืช ซากสัตว์ได้เช่นกัน แบ่งได้ดังนี้

 

  1. แบบผู้ล่า (Predator chain หรือ Grazing food chain) : เริ่มจากพืช และถูกบริโภคต่อจากนั้นจะถูกล่าโดยผู้บริโภคลำดับต่อ ๆ ไป ผ่าน “ผู้ล่า (Predator)” ส่วนผู้ที่ถูกล่าจะเรียกว่า “เหยื่อ (Prey)”
  2. แบบปรสิต (Parasitic chain) : เริ่มจากการที่ผู้ถูกอาศัย ถูกอาศัยหาพลังงานจากปรสิต และปรสิตจะถูกกินกันเองจากปรสิตที่สูงกว่า เช่น ไก่ (ผู้ถูกอาศัย) > มีไรไก่เกาะ (ปรสิต) > โปรโตซัว (ปรสิตที่สูงกว่าไร) > แบคทีเรีย (ปรสิตที่สูงกว่าโปรโตซัว)
  3. ห่วงโซ่แบบเศษอินทรีย์ (Detritus chain) : เริ่มจากซากของสัตว์หรือพืช ถูกกินไปโดยผู้บริโภคซากพืช ซากสัตว์ และผู้บริโภคนี้เองถูกกินต่อจากผู้ล่าอื่น ๆ ต่อไป
  4. ห่วงโซ่อาหารแบบผสม (Mixed chain) : เป็นการถ่ายทอดพลังงานที่เกิดขึ้นหลายรูปแบบในห่วงโซ่ เช่น มีทั้งนักล่า, มีผู้ถูกล่า และมีปรสิตด้วย เป็นต้น

 

พลังงานถูกส่งต่อไปมากแค่ไหน ?

หลายคนอาจมีความสงสัยว่าการกินกันต่อเป็นทอด ๆ ในห่วงโซ่อาหาร จะทำให้ผู้บริโภคได้พลังงานมากน้อยแค่ไหน ความสงสัยนี้จะตอบด้วยหลักการของ “พีระมิดพลังงาน (Pyramid of Energy)” ซึ่งจะมีฐานที่กว้างที่สุดแสดงถึงจุดกำเนิดของแหล่งพลังงานจากผู้ผลิต จากนั้นพลังงานของผู้ผลิตที่ถูกบริโภคโดยผู้บริโภคอันดับที่ 1จะลดลงไป และเหลือในร่างกายเพียง 10 % หากเทียบกับผู้ผลิต เพราะพลังงานส่วนมาก 90 % ถูกใช้งานไปแล้ว

 

 

กฎนี้จะใช้กับผู้บริโภคอันดับต่อไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากพลังงานเริ่มจาก 1,000 หน่วย จะเหลือ 100 หน่วย และเหลือ 10 หน่วย ลงไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ จนเหลือเพียง 0.1 หน่วยตามภาพ

 

เรื่องห่วงโซ่อาหารเป็นการอธิบายถึงการส่งพลังงานในสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จากการกิน หรือการล่า ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลายห่วงโซ่ และเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการเข้าใจพลังงานในธรรมชาติ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์ เรียนเก่ง เรียนดีแน่นอน

เทคนิคไม่ลับท่องจำ “ตารางธาตุ” สำหรับเด็กมัธยมว้าวุ่นเคมี

รอบรู้ทุกเรื่องของยอดคนสมองอัจฉริยะ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์”

ที่มาข้อมูล : 1 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

ใครคือผู้ผลิตในสายใยอาหารนี้

ผู้ผลิต คือ สิ่งมีชีวิตที่มีการสังเคราะห์อาหารขึ้นมาเองได้เพราะมีคลอโรฟิลล์ ได้แก่ พืชต่าง ๆ เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ต้นหญ้า ต้นถั่ว ต้นส้ม พืชเหล่านี้สามารถสร้างอาหารได้เองโดยอาศัยแสงอาทิตย์ ซึ่งจะผลิตน้ำตาลออกมากักเก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช สำหรับเขตป่าฝนจะมีระบบนิเวศที่ซับซ้อนมากเนื่องจากมีผู้ผลิตหลากหลายชนิด ...

ผู้บริโภคในห่วงโซ่อาหารเป็นผู้บริโภคประเภทใด

ผู้บริโภค (Consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ (Heterotroph) เช่น ผู้บริโภคพืช (Herbivore) ผู้บริโภคสัตว์ (Carnivore) ผู้บริโภคทั้งพืชทั้งสัตว์ (Omnivore) และผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ (Detritivore) ผู้บริโภคลำดับที่ 1 (Primary Consumers) เช่น ตั๊กแตน ผึ้ง และหนอน

ข้อใดคือผู้บริโภค

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง 2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต

บทบาทของพืชในห่วงโซ่อาหารคืออะไร

พืช คือผู้สร้าง (Producer) หรือ ผู้ผลิตอาหาร ซึ่งเป็นจุดแรกของห่วงโซ่อาหาร ผู้ที่กินผู้สร้าง เรียกว่า ผู้บริโภค (cนnsumer) ซึ่งมีหลายระดับ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจเป็นผู้บริโภคได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สิ่งมีชีวิตนั้นกิน เช่น ถ้าคนกินถั่ว คนเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง แต่ถ้าวัวกินถั่วและ้วคนกินเนื้อวัว วัว ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้