ปวดหัวข้างขวาข้างเดียวคืออะไร

อาการปวดศีรษะข้างเดียวสามารถพบได้บ่อย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วยอาการอาจเกิดขึ้นเป็นชั่วโมง หรือนานหลายวัน เช่น โรคปวดศีรษะไมเกรน อาการปวดอาจเกิดขึ้นและหายได้เอง หรือเป็นเรื้อรัง

อาการปวดศีรษะข้างเดียวที่เป็นอันตราย

  1. ปวดแบบเฉียบพลันและรุนแรง โดยเฉพะอาการปวดที่ทำให้ตื่นขณะนอนหลับ
  2. ปวดมากจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน
  3. ปวดในลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากการปวดศีรษะเรื้อรังที่มีอยู่เดิม
  4. ปวดร่วมกับอาการทางระบบประสาท เช่น ชัก ความจำเสื่อมสูญเสียการมองเห็น ปวดตาอย่างรุนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรงชาตามร่างกาย
  5. ปวดร่วมกับอาการทางระบบอื่น ๆ เช่น เป็นไข้ ไอ แน่นหน้าอก
  6. ปวดเนื่องจากการกระแทกหรือบาดเจ็บบริเวณศีรษะ
  7. ผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี และเกิดอาการปวดศีรษะอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

การดูแลตนเองเบื้องต้น

  1. การนอนพักในห้องที่มืด เย็น และเงียบ เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเช่น แสง เสียง และความร้อน
  2. งดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน
  3. ใช้ยาลดไข้แก้ปวด หรือยาแก้ปวดชนิดไม่มีสเตียรอยด์ได้
  4. ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรน ควรใช้ยาแก้ปวดทันทีเมื่อเริ่มมีอาการหากอาการไม่ดีขึ้น หรือใช้ยาแก้ปวดติดต่อกันหลายวัน ควรพบแพทย์
  5. ผู้ป่วยโรคปวดศีรษะไมเกรนที่ปวดถี่มากกว่า 3-4 ครั้งต่อเดือนจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือใช้ยาแก้ปวดแล้วไม่ทุเลาลงควรพบแพทย์เพื่อปรับการรักษา

ข้อมูล ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2564
ที่มา : อ. นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา

การปวดหัวอาจมีอาการปวดหัวตุ๊บๆ หรือปวดรุนแรง และปวดในตำแหน่งที่แตกต่างกันออกไปได้ ซึ่งรวมไปถึงการปวดหัวด้านขวาที่หนังศีรษะ ท้ายทอย และคอ ฟัน หรือบริเวณตา

อาการปวดหัวเป็นเรื่องที่สร้างความไม่สบายตัว ซึ่งไม่ใช่การ “เจ็บปวดสมอง” สมอง และกระโหลกจะไม่มีปลายประสาท ดังนั้นทั้งสมอง และกระโหลกจะไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวดโดยตรง ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวมีหลายสาเหตุมากมายอาจมาจากตั้งแต่การนอนน้อยไปจนถึงภาวะถอนคาเฟอีน

สาเหตุของการปวดหัวข้างขวา

ปัจจัยจากการดำเนินชีวิต

อาการปวดหัวข้างขวาโดยทั่วๆไปมักมีสาเหตุมาจากปัจจัย เช่น :

  • ความเครียด
  • ความเหนื่อยล้า
  • การอดอาหาร
  • กล้ามเนื้อคอมีปัญหา
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น การใช้ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเป็นระยะเวลานานๆ

การติดเชื้อ และภูมิแพ้

การติดเชื้อไซนัส และภูมิแพ้ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวได้ อาการปวดหัวมาจากไซนัสมีการติดเชื้อ และส่งผลให้เกิดการอักเสบ นำมาซึ่งแรงดัน และอาการปวดที่ด้านหลังโหนกแก้ม และหน้าผาก

การใช้ยามากเกินไป

การใช้ยาเพื่อรักษาอาการปวดหัวมากเกินไปอาจทำให้มีอาการปวดหัวได้ ซึ่งเป็นโรคปวดหัวที่พบได้บ่อย ส่งผลกระทบต่อคนมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ การใช้ยาแก้ปวดหัวมากเกินไปมักทำให้อาการปวดหัวแย่ลงในตอนเช้าเมื่อตื่นนอน

สาเหตุมาจากระบบประสาท

อาการปวดท้ายทอยเส้นประสาทต้นคอ: เส้นประสาทท้ายทอยในกระดูกสันหลังบริเวณลำคอส่วนบน ซึ่งวิ่งยาวมายังกล้ามเนื้อถึงหนังศีรษะ การเกิดอาการระคายเคืองกับหนึ่งในเส้นประสาทนี้ส่งผลให้เกิดอาการคล้ายไฟดูด ไฟช็อต หรือคล้ายเข็มทิ่ม มักมีอาการปวดที่หัวด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น

หลอดเลือดแดงอักเสบเกิดจากการอักเสบ หรือหลอดเลือดแดงเสียหาย ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดไปสู่ศีรษะ และสมอง แรงดันนี้เป็นสาเหตุให้เกิดอาการอื่นๆ เช่น ความบกพร่องทางการมองเห็น ปวดไหล่ หรือสะโพก ปวดกราม และน้ำหนักลด 

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้าเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกับเส้นประสาทที่เป็นตัวรับความรู้สึกจากใบหน้าไปสู่สมอง การกระตุ้นเพียงเล็กน้อยบนใบหน้าก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดแปลบได้ 

สาเหตุอื่นๆ

สาเหตุอื่นๆที่อาจมีความรุนแรงมากกว่าของอาการปวดหัวข้างเดียวอาจรวมไปถึง:

  • การบาดเจ็บรุนแรง
  • ผนังหลอดเลือดแดงโป่งพอง
  • เนื้องอก ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งไม่เป็นอันตราย หรือแบบร้ายแรง (มะเร็ง)

ชนิดของการปวดหัว

อาการปวดหัวแบบต่างๆ แต่ละชนิดก็มีสาเหตุ และอาการที่แตกต่างกันออกไป การรู้ชนิดของอาการปวดหัวจะช่วยทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดหัวได้

การปวดหัวจากความเครียด

การปวดหัวจากความเครียดเป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ มักส่งผลให้ปวดหัวทั้งสองข้าง หรือเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่งก็ได้

ความรู้สึกปวดคล้ายกับ: ปวดตุบๆ หรือปวดบีบ อาจส่งผลต่อบริเวณหัวไหล่ และคอ

ปวดหัวไมเกรน

ปวดไมเกรนอาจเกิดขึ้นได้ที่ข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจเกิดขึ้นได้ทั้งสองข้าง ส่งผลให้ไวต่อเสียง และแสง คลื่นไส้ และอาเจียน ตาพร่า หรือรู้สึกเสียวแปลบ ชา

ความรู้สึกคล้ายกับ: ปวดขมับขวาตุบๆรุนแรง 

ช่วงก่อน หรือระหว่างมีอาการไมเกรน บางคนอาจเห็น “แสงออร่า” ซึ่งส่วนใหญ่มักเห็นเป็นภาพ แสงออร่าอาจเป็นอาการได้ทั้งอาการด้านบวก และอาการด้านลบ อาการด้านบวกเกิดขึ้นเพราะการกระตุ้นของระบบประสาทส่วนกลาง อาการด้านบวกคือ

  • มีการรบกวนทางการมองเห็น เช่น เห็นภาพบิดเบี้ยว หรือแสงวาบ
  • มีปัญหาด้านการได้ยิน เช่น เสียงแว่วในหู
  • มีอาการทางระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น รู้สึกร้อนผ่าว หรือเจ็บปวด
  • การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อผิดปกติ เช่น มีการกระตุก หรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆ

อาการทางลบคือ อาการที่ให้เห็นจากการทำงานที่เสียไป ซึ่งรวมไปถึงการสูญเสียการมองเห็น การได้ยิน หรือเป็นอัมพาต

การปวดหัวแบบคลัสเตอร์

การปวดหัวแบบคลัสเตอร์มักมีอาการปวด และจะปวดข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีอาการกระสับกระส่าย หน้าซีด หรือผิวร้อนผ่าว ตาแดง และมีน้ำมูกไหล

ความรู้สึกคล้ายกับ: ปวดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะจะมีอาการปวดตาที่ข้างใดข้างหนึ่ง และแผ่กระจายไปยังบริเวณคอ ใบหน้า ศีรษะ และหัวไหล่

อาการปวดหัวเรื้อรัง

อาการปวดหัวเรื้อรังที่เกิดขึ้นนาน 15 วัน หรือเป็นเดือน เป็นอาการปวดหัวเกิดจากความเครียด หรือปวดไมเกรนเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคเพื่อหาสาเหตุ

ควรพบแพทย์เมื่อไร

น้อยรายคนปวดหัวที่อาการปวดหัวจะเป็นอาการฉุกเฉิน ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการปวดหัวที่ตามมาหลังการได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการปวดหัวร่วมกับอาการดังต่อไปนี้:

  • มีไข้สูง
  • คอแข็ง
  • อ่อนแรง
  • สูญเสียการมองเห็น
  • เห็นภาพซ้อน
  • มีปัญหาเรื่องการออกเสียง
  • ปวดขมับข้างเดียว
  • อาการปวดเพิ่มขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวหรือไอ

คุณอาจต้องรีบพบแพทย์หากอาการปวดหัวเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรง ตื่นขึ้นกลางดึก หรือมีอาการแย่เพิ่มมากขึ้น

แพทย์จะสามารถวินิจฉัยอาการปวดหัวอย่างไร

นัดแพทย์หากอาการปวดหัวเปลี่ยนแปลงไปเป็นบ่อยขึ้น หรือรุนแรงมากขึ้น

เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจร่างกาย และสอบถามโรคประจำตัว และอาการที่เกิดขึ้น

คุณควรเตรียมตอบคำถามดังต่อไปนี้:

  • อาการปวดหัวเริ่มขึ้นเมื่อไร?
  • อาการที่เกิดขึ้นคือ อะไร?
  • อาการแรกของอาการปวดหัวคือ ?
  • มีอาการปวดหัวบ่อยแค่ไหน ?
  • มีใครในครอบครัวมีประวัติปวดหัว ไมเกรน หรือไม่?
  • เคยสังเกตมาก่อนไหมว่าอะไรมากระตุ้นอาการปวดหัวได้?

แพทย์อาจมีการตรวจเพื่อวินิจฉัยด้วยการตรวจอื่นๆ เช่น

  • การตรวจเลือด เพื่อมองหาการติดเชื้อที่ไขสันหลัง หรือสมอง หาสารพิษ หรือปัญหาเส้นเลือด
  • การตรวจ Cranial CT Scans เพื่อเห็นภาพตัดของสมอง ซึ่งจะช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อ เนื้องอก เลือดออกในสมอง และสมองเสียหาย
  • การสแกนเอ็มอาร์ไอศีรษะ เพื่อให้ได้เห็นภาพรายละเอียดของเส้นเลือด และสมอง รวมไปถึงความผิดปกติในสมอง และระบบประสาท เลือดออกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหากับเส้นเลือด และการติดเชื้อ 

วิธีบรรเทาอาการปวดศีรษะอย่างรวดเร็ว

ต่อไปนี้คือ วิธีแก้อาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรวดเร็ว

เคล็ดลับบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว

  • ใช้การประคบอุ่นที่บริเวณด้านหลังคอ
  • อาบน้ำอุ่น
  • ปรับท่วงท่าให้ดีขึ้นเพื่อบรรเทาความตึงเครียดจากศีรษะ คอ และหัวไหล่
  • ออกจากห้อง และไปยังสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ โดยเฉพาะหากแสง เสียง หรือกลิ่นเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวข้างขวา กระบอกตา
  • นอนงีบกลางวัน อาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้
  • ปล่อยผม หากการมัดผมหางม้า ถักเปีย หรือมวยผมไว้
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะขาดน้ำ

การบำบัดทางกายภาพก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบำบัดอาการปวดหัวจากความเครียด หรือการปวดหัวจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อคอ ซึ่งการปวดจากคอมีปัญหา กล้ามเนื้อตึงที่คออาจทำให้คอแข็ง และกดเส้นประสาทจนทำให้เกิดอาการปวด นักกายภาพบำบัดอาจช่วยจัดการกับบริเวณดังกล่าวได้ และช่วยสอนวิธียืดเส้นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อขึงตึง และสอนการออกกำลังกายที่จะช่วยบรรเทาอาการในระยะยาวได้

ประเด็นสำคัญ

อาการปวดหัวมีหลายชนิดแตกต่างกันออกไปที่อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียว หรือใบหน้า หลายชนิดไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เอง การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น การปรับท่วงท่า การดื่มน้ำมากๆ หรือการพักสายตาก็อาจช่วยได้ 

ควรนัดแพทย์หากอาการปวดหัวเกิดขึ้นทุกวัน แพทย์เท่านั้นที่จะสามารถวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดหัวได้ และสามารถตัดโรคที่รุนแรงอื่นๆออกมาได้ แพทย์จะแนะนำวิธีในการจัดการอาการปวด และวิธีป้องกันอาการปวดหัวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

ปวดเบ้าตาข้างขวาเกิดจากอะไร

อาการปวดที่เบ้าตาด้านขวานั้น อาจมีสาเหตุมาจาก การใช้งานสายตามากเกิดไปในวันนั้นๆ หรือปวดจากไซนัสอักเสบซึ่งจะมีปวดตามบริเวณที่มีไซนัสอยู่เช่นรอบเบ้าตา ใบหน้าได้ หรือปวดจากไมเกรนซึ่งมักจะปวดมากๆข้างเดียว ตาพร่า คลื่นไส้ หรือปวดจากปลายเส้นประสาทอักเสบซึ่งมักปวดแบบจี๊ดๆร้าวไปตามแนวเส้นประสาทได้

ปวดหัวข้างเดียวอันตรายไหม

อาการปวดหัวข้างเดียวหรือสองข้างเป็นสัญญาณทั่วไปของการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยทั่วไปหรือว่าโรคร้ายแรง เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคไซนัสอักเสบ ภาวะติดเชื้อ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคสมองและระบบประสาท เนื้องอกในสมอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น

ปวดหัวตุ๊บๆเกิดจากอะไร

ไมเกรน (migraine) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รบกวนชีวิตประจำวัน ลักษณะอาการที่สังเกตได้ คือ ปวดศีรษะแบบตุบๆ มักจะเกิดข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยโรคไมเกรนส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง ซึ่งนอกจากจะเป็นการรบกวนชีวิตประจำวันแล้วยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ ...

ปวดหัวข้างขวา กระบอกตา เกิดจากอะไร

ปวดศีรษะจากโรคไมเกรน จะมีอาการปวดบริเวณขมับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะปวดสลับกันได้ระหว่างข้างซ้ายหรือข้างขวา และเวลาปวดบางครั้งอาจจะมีปวดร้าวเข้ามาที่กระบอกตาร่วมด้วย คนไข้ก็จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ และขณะที่มีอาการปวด ถ้าอยู่ในที่แสงสว่างจ้า เสียงดังหรือว่ากลิ่นฉุนอาการจะแย่ลง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้