เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมจัดอยู่ในกลุ่มใด

  • ซาเรีย กอร์เว็ตต์
  • บีบีซี ฟิวเจอร์

26 กรกฎาคม 2020

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ,

ขณะที่มีการแข่งขันกันหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ดูเหมือนว่า ที-เซลล์ จะทำให้คนบางส่วนมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วในระดับหนึ่ง

นักวิทยาศาสตร์พบเบาะแสเรื่องนี้มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว เริ่มจากมีคนไข้ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 แต่พวกเขากลับไม่มีภูมิต้านทานต่อต้านเชื้อไวรัสนี้เลย โดยเกิดกรณีเช่นนี้กับคนไข้จำนวนที่มากพอควร

จากนั้นก็พบว่าคนไข้จำนวนมากที่พัฒนาภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีขึ้น ก็สูญเสียภูมิต้านทานนี้ไปอีกครั้งภายในระยะเวลาเพียง 2-3 เดือน

พูดง่าย ๆ ก็คือ แม้ว่าสารภูมิต้านทานจะช่วยในการแกะรอยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างมาก แต่พวกมันก็อาจจะไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างที่เราเคยคิด

ถ้าเราต้องการให้มีการปกป้องในระยะยาว ก็ดูเหมือนว่าคงจะต้องมาจากหนทางอื่น

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

สารภูมิต้านทาน อาจจะไม่ใช่กุญแจสำคัญในการปกป้องคนจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในระยะยาว

แม้ว่าโลกจะเต็มไปด้วยสารภูมิต้านทาน แต่นักวิจัยเริ่มตระหนักแล้วว่า อาจจะมีภูมิคุ้มกันอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในบางกรณีซ่อนอยู่ในร่างกายมนุษย์โดยตรวจไม่พบเป็นเวลานานหลายปี

เซลล์เม็ดเลือดขาวลึกลับชนิดหนึ่ง กำลังมีบทบาทสำคัญมากขึ้น แม้ว่าก่อนหน้านี้ไม่มีการพูดถึงมันมากนัก แต่เราอาจจำเป็นต้องใช้มันในการต่อสู้กับโควิด-19 นี่คือช่วงเวลาที่สำคัญของ ที-เซลล์ (T-cell)

ตอนที่นักวิจัยตรวจตัวอย่างเลือดที่เก็บมานานหลายปีก่อนหน้าที่จะมีการระบาดของโควิด-19 พวกเขาพบที-เซลล์ ซึ่งถูกปรับให้มีลักษณะเฉพาะในการตรวจจับโปรตีนบนตัวของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้

ที-เซลล์ เป็นเซลล์ภูมิต้านทานชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่หลักในการหาเซลล์ที่ติดเชื้อหรือเชื้อโรคต่าง ๆ และกำจัดมัน มันทำหน้าที่นี้ได้โดยการใช้โปรตีนที่อยู่บนพื้นผิวของมันเองไปยึดเกาะกับโปรตีนบนพื้นผิวของสิ่งแปลกปลอม

ที-เซลล์แต่ละตัว มีความเฉพาะเจาะจงมาก โปรตีนบนพื้นผิวของที-เซลล์อาจมีนับล้านล้านแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะจดจำเป้าหมายที่แตกต่างกัน

หลังจากการติดเชื้อ ที-เซลล์สามารถอยู่ในเลือดได้นานหลายปี พวกมันจึงมีส่วนช่วยระบบภูมิคุ้มกันให้ "มีความทรงจำในระยะยาว" และพวกมันจะเพิ่มจำนวนขึ้นได้เร็วขึ้น และตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นเมื่อศัตรูตัวเดิมกลับเข้ามา

ผลการศึกษาหลายอย่างแสดงให้เห็นว่า คนที่ติดเชื้อโควิด-19 มักจะมีที-เซลล์ที่สามารถโจมตีไวรัสได้ ไม่ว่าจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ตาม จนถึงขณะนี้ถือเป็นเรื่องปกติอยู่

แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบเมื่อไม่นานนี้ว่า คนบางส่วนที่ตรวจไม่พบสารภูมิต้านทานต่อโควิด-19 แต่กลับตรวจพบที-เซลล์ที่สามารถตรวจจับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้

เรื่องนี้ได้นำไปสู่การตั้งข้อสงสัยว่า ระดับภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคนี้อาจจะเป็น 2 เท่าของระดับปกติที่คาดไว้ก่อนนี้

สิ่งที่แปลกประหลาดที่สุดคือ เมื่อนักวิจัยได้ตรวจตัวอย่างเลือดที่เก็บมานานหลายปีก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 พวกเขาพบที-เซลล์ที่มีลักษณะเฉพาะในการตรวจจับโปรตีนบนพื้นผิวของโควิด-19

  • โควิด-19: นักวิทยาศาสตร์เสนอตรวจน้ำลายหาเชื้อทุกคนทั่วสหราชอาณาจักรทุกสัปดาห์ เพื่อยุติการระบาด กลับไปใช้ชีวิตปกติ
  • โควิด-19 : มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดคิดค้นวัคซีนที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้สำเร็จ
  • โควิด-19 : เหตุใดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะไม่ใช่การระบาดครั้งสุดท้าย

เรื่องนี้บ่งบอกว่า คนบางส่วนมีภูมิต้านทานต่อไวรัสนี้อยู่แล้วในระดับหนึ่ง ก่อนเกิดการติดเชื้อในร่างกายมนุษย์ โดยดูเหมือนว่า จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นเช่นนี้ โดยมีคนที่ยังไม่ติดเชื้อราว 40-60% ที่มีเซลล์เหล่านี้อยู่ในร่างกาย

ดูเหมือนว่า ที-เซลล์ อาจจะเป็นต้นตอของความลับของการมีภูมิคุ้มกันต่อต้านโควิด-19

บทบาทสำคัญนี้ของที-เซลล์ อาจช่วยอธิบายถึงเรื่องที่ผิดปกติบางอย่างที่คนยังไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ตั้งแต่การมีความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นในการติดเชื้อไวรัสนี้ เมื่อคนอายุมากขึ้น ไปจนถึงการค้นพบปริศนาที่บอกว่า มันทำลายม้ามได้

การถอดรหัสความสำคัญของที-เซลล์ ไม่ใช่แค่เรื่องของความอยากรู้ทางด้านวิชาการเท่านั้น ถ้านักวิทยาศาสตร์รู้ว่า ระบบภูมิคุ้มกันด้านไหนที่มีความสำคัญที่สุด พวกเขาก็จะสามารถทุ่มเทความพยายามในการผลิตวัคซีนและหาวิธีการรักษาที่ได้ผลได้อย่างถูกทิศทาง

ภูมิคุ้มกันบอกอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

เอดส์ เป็นโรคเกี่ยวกับที-เซลล์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเชื้อไวรัสเอชไอวีจะทำลายที-เซลล์ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี

คนส่วนใหญ่ไม่น่าจะนึกถึงที-เซลล์ หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า ที ลิมโฟไซต์ (T lymphocyte) แต่ในการดูว่า มันมีความสำคัญต่อภูมิคุ้มกันอย่างไร เราสามารถดูได้จากผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยจะมีไข้ติดต่อกัน เจ็บปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และเกิดมะเร็งที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก จุลินทรีย์ที่ปกติไม่เป็นอันตรายอย่างเชื้อรา แคนดิดา อัลบิกันส์ (Candida albicans) ที่พบบนผิวหนัง ก็จะเริ่มเข้ามายึดครองร่างกาย

ชั่วระยะเวลานานหลายเดือนไปจนถึงหลายปี ไวรัสเอชไอวีก็จะทำให้ที-เซลล์หมดไปจากร่างกาย โดยไวรัสเอชไอวีจะเข้าไปในที-เซลล์และทำให้มันต้องกำจัดตัวเอง

เอเดรียน เฮย์เดย์ ศาสตราจารย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยาที่คิงส์ คอลเลจ ลอนดอนและผู้นำกลุ่มที่สถาบันฟรานซิสคริก (Francis Crick Institute) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้านชีวการแพทย์ในกรุงลอนดอนกล่าวว่า "มันทำให้ที-เซลล์มหาศาลหายไป" เขาบอกว่า "และดังนั้นเองจึงเน้นย้ำให้เห็นว่า เซลล์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างน่าเหลือเชื่อ แอนติบอดีเพียงอย่างเดียวจะไม่ช่วยให้คุณผ่านมันไปได้"

ในช่วงที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันตามปกติ สมมติว่าเป็นไวรัสไข้หวัด การป้องกันด่านแรกคือระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ซึ่งก็คือเซลล์เม็ดเลือดขาวและการส่งสัญญาณทางเคมีที่ช่วยแจ้งเตือน ทำให้เกิดการผลิตสารภูมิต้านทานขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา

"ในขณะเดียวกัน ในช่วง 4-5 วัน หลังการติดเชื้อ คุณจะเริ่มเห็นว่ามีการกระตุ้นที-เซลล์เกิดขึ้น และมีข้อบ่งชี้หลายอย่างว่า พวกมันแยกเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้" เฮย์เดย์กล่าว

จากนั้นเซลล์เคราะห์ร้ายเหล่านี้ก็จะถูกกำจัดอย่างรวดเร็วโดยฝีมือของที-เซลล์เองโดยตรง หรือจากส่วนอื่น ๆ ของระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกสั่งให้ทำหน้าที่นี้ ก่อนที่ไวรัสจะมีโอกาสเปลี่ยนเซลล์นั้นให้กลายเป็นโรงงานแบ่งจำนวนเชื้อไวรัส

ข่าวดีและข่าวร้าย

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นที่บ่งบอกว่า คนบางส่วนอาจมีสิ่งที่ช่วยปกป้องพวกเขาจากการติดเชื้อโควิด-19

เรารู้อะไรเกี่ยวกับที-เซลล์และโควิด-19

"ลองดูที่คนไข้โควิด-19 คนที่ติดเชื้อแต่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลนั้นเห็นได้ชัดว่ามีการตอบสนองของที-เซลล์เกิดขึ้น" เฮย์เดย์กล่าว "และแน่นอนว่า นี่คือข่าวดีมากสำหรับคนที่สนใจเรื่องวัคซีน เพราะเราสามารถสร้างสารภูมิคุ้มกันและผลิตที-เซลล์ที่มองเห็นไวรัสได้ นั่นคือข่าวดี"

อย่างไรก็ตาม ในคนไข้จำนวนมากที่รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการป่วยโควิด-19 ที่รุนแรงมากกว่า การตอบสนองของที-เซลล์ไม่ได้เป็นไปตามแบบแผน

"ที-เซลล์จำนวนมากกำลังได้รับผลกระทบ" เฮย์เดย์กล่าว "สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับพวกมัน เปรียบเหมือนกับงานฉลองแต่งงาน หรือปาร์ตี้สละโสด ที่เกิดการผิดพลาดขึ้น ผมหมายถึงว่า มีกิจกรรมเกิดขึ้นหลายอย่างและมีการแบ่งจำนวนมหาศาลของเซลล์ แต่เซลล์เหล่านี้ก็หายไปจากกระแสเลือด"

ทฤษฎีหนึ่งบอกว่า ที-เซลล์เหล่านี้ถูกส่งไปจุดที่ต้องการพวกมันมากที่สุด อย่างเช่น ปอด แต่คณะทำงานของเฮย์เดย์สงสัยว่า ที-เซลล์น่าจะตายเสียมากกว่า

  • โควิด-19 : อะไรทำให้เปรูเผชิญไวรัสโคโรนาระบาดรุนแรงอันดับ 6 ของโลก
  • ไวรัสโคโรนา : การระบาดครั้งนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อไร
  • โควิด-19 : ผลวิจัยบีบีซีชี้มียอดคนตายทั่วโลกอีกอย่างน้อย 1.3 แสนคน ระหว่างการระบาดของไวรัสนี้

"การชันสูตรศพผู้ป่วยโควิด-19 กำลังช่วยเผยให้เห็นสิ่งที่เราเรียกว่า การตายของกลุ่มเซลล์ (necrosis) ซึ่งเป็นการผุพังลงอย่างหนึ่ง" เขากล่าว นี่คือหลักฐานที่พบในหลายจุดของม้ามและต่อมน้ำเหลือง ซึ่งปกติเป็นบริเวณที่มีที-เซลล์อยู่

ม้ามที่ถูกทำลาย คือลักษณะเด่นของการเป็นโรคเกี่ยวกับที-เซลล์ ซึ่งเซลล์ภูมิคุ้มกันจะถูกโจมตีเสียเอง

"ถ้าคุณลองดูการชันสูตรพลิกศพผู้ป่วยเอดส์ คุณจะเห็นปัญหาเดียวกันนี้" เฮย์เดย์กล่าว "แต่เอชไอวีเป็นไวรัสที่เข้าไปจับกับที-เซลล์โดยตรง มันเคาะประตูแล้วก็เข้าไปอยู่ข้างใน" ในทางตรงข้าม ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่าไวรัสโรคโควิด-19 สามารถทำเช่นนั้นได้

"มีคำอธิบายหลายอย่างที่เป็นไปได้ในเรื่องนี้ แต่เท่าที่ผมรู้ ยังไม่มีใครมีอาการแบบนี้" เฮย์เดย์กล่าว "เราไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น มีหลักฐานทุกวันว่า ที-เซลล์ช่วยปกป้องคุณได้ อาจจะนานหลายปี แต่เมื่อคนล้มป่วย ก็ดูเหมือนว่าพวกมันไม่ได้รับการช่วยเหลือในความพยายามสร้างกลไกป้องกันคุ้มกันขึ้นมา"

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ,

ไวรัสโคโรนาที่ทำให้ป่วยเป็นโรคโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกับไวรัสโรคซาร์สอย่างมาก ซึ่งไวรัสนี้ถูกพบว่าช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างที-เซลล์ขึ้น

ที-เซลล์ ที่ลดจำนวนลงอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด-19 มากกว่ามาก

เฮย์เดย์ชี้ถึงการทดลองที่ทำขึ้นในปี 2011 ซึ่งให้หนูรับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคซาร์ส (Sars) แบบหนึ่ง

การวิจัยก่อนหน้าเผยให้เห็นว่า ไวรัสนี้ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนาเช่นกัน และมีความเกี่ยวข้องกับโควิด-19 อย่างใกล้ชิด ได้กระตุ้นให้เกิดการผลิต ที-เซลล์ ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดไวรัสนั้น

การศึกษาที่ตามมา ก็ให้ผลที่คล้ายคลึงกัน แต่จุดที่แตกต่างกันคือ ในการศึกษาครั้งนั้นได้ปล่อยให้หนูแก่ตัวลง และพบว่าการตอบสนองของที-เซลล์ก็อ่อนแอลงตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ในการทดลองเดียวกันนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ให้หนูรับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่ตรงกันข้ามกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 หนูเหล่านี้สามารถที่จะรักษาที-เซลล์ที่ต่อต้านเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้เป็นอย่างดีในช่วงที่อายุมาก

"มันน่าสนใจมากในแง่ที่ว่ามันช่วยอธิบายสาเหตุที่ผู้สูงอายุติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่ายกว่า" เฮย์เดย์กล่าว "เมื่อคุณล่วงเข้าสู่วัยเลย 30 ปี ต่อมไทมัส [ต่อมที่อยู่หลังกระดูกอกและอยู่ระหว่างปอด ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเซลล์ภูมิคุ้มกัน] ของคุณจะเริ่มหดเล็กลงมาก และการผลิตที-เซลล์ในแต่ละวันก็จะลดลงอย่างมหาศาล"

เรื่องนี้ส่งผลอย่างไรต่อภูมิคุ้มกันในระยะยาว

ที่มาของภาพ, Reuters

คำบรรยายภาพ,

แม้ว่าสารภูมิต้านทานยังคงมีความสำคัญในการช่วยแกะรอยการระบาดของโควิด-19 แต่พวกมันอาจจะไม่ได้ช่วยชีวิตเราในท้ายที่สุด

"สำหรับไวรัสซาร์สดั้งเดิม [ซึ่งปรากฏขึ้นในปี 2002] หลายคนกลับไปดูคนไข้และพบหลักฐานว่ามีที-เซลล์อยู่หลายปีหลังจากที่คนไข้เหล่านี้ได้รับเชื้อมา" เฮย์เดย์กล่าว "นี่ก็สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า คนเหล่านี้มีที-เซลล์ที่คุ้มกันพวกเขาอยู่นานหลังจากที่พวกเขาหายป่วยแล้ว"

ความจริงที่ว่าไวรัสโคโรนาอาจทำให้ที-เซลล์คงอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนกลับไปตรวจสอบตัวอย่างเลือดที่เก็บมาจากคนระหว่างปี 2015 และ 2018 เพื่อดูว่า ตัวอย่างเลือดเหล่านี้มีที-เซลล์ที่จดจำเชื้อโรคโควิด-19 ได้หรือไม่

ความจริงที่ว่ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจริง ๆ ได้ทำให้มีข้อเสนอแนะว่า ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาเรียนรู้ที่จะจดจำเชื้อไวรัสนี้ หลังจากที่เจอกับไวรัสหวัดซึ่งมีโปรตีนบนพื้นผิวเซลล์ที่คล้ายคลึงกันในอดีต

เรื่องนี้ได้ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า เหตุผลที่คนบางส่วนมีอาการป่วยที่รุนแรงมากกว่า คือ พวกเขาไม่มีที-เซลล์กลุ่มนี้ที่จดจำไวรัสได้ "ผมคิดว่า มันสมเหตุสมผลที่จะบอกว่า ยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้" เฮย์เดย์กล่าว

ข่าวร้ายก็คือไม่มีใครเคยตรวจสอบว่ามีที-เซลล์ที่ต้านเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่อพวกเขาเป็นหวัดธรรมดา

"การหาเงินทุนศึกษาเรื่องนี้คงจะต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด" เฮย์เดย์กล่าว การวิจัยเกี่ยวกับหวัดธรรมดาล้าสมัยไปตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากการวิจัยด้านนี้ซบเซาลง และนักวิทยาศาสตร์ก็หันไปศึกษาโครงการอื่น ๆ อย่างเช่น การศึกษาเชื้อไวรัสเอชไอวี

การพัฒนาหลังจากนั้นก็ทำได้ยากลำบากขึ้น เพราะมีเชื้อไวรัสหลายร้อยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดอาการป่วยนั้นได้ และในจำนวนนี้หลายสายพันธุ์ก็วิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว

เรื่องนี้จะนำไปสู่การผลิตวัคซีนได้หรือไม่

ที่มาของภาพ, Getty Images

คำบรรยายภาพ,

วัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ อาจจะมี ที-เซลล์ เข้ามาเกี่ยวข้อง

ถ้าการสัมผัสกับไวรัสหวัดธรรมดาในอดีตแล้วทำให้มีอาการป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่เบาลง ก็คงจะเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาวัคซีน เพราะมีข้อพิสูจน์ว่าที-เซลล์ที่คงอยู่สามารถช่วยปกป้องคนได้หลายปีหลังจากที่ถูกสร้างขึ้น

แต่แม้ว่าจะไม่เกิดเรื่องนี้ขึ้น การมีส่วนร่วมของที-เซลล์ก็ยังมีข้อดี และยิ่งเราเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ก็จะยิ่งเป็นผลดี

เฮย์เดย์อธิบายว่า วิธีการพัฒนาวัคซีนโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับชนิดของการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ที่นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะค้นพบคำตอบในเรื่องนี้

บางคนอาจกระตุ้นให้เกิดการผลิตแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนที่ลอยอยู่อย่างอิสระซึ่งสามารถยึดเกาะกับเชื้อโรคที่บุกเข้ามา และอาจจะกำจัดเชื้อโรคเหล่านั้นเองหรือไม่ก็ส่งให้ส่วนอื่น ๆ ของระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับพวกมัน

หลายคนอาจจะพุ่งเป้าไปที่ที-เซลล์ หรือบางทีอาจจะกระตุ้นการตอบสนองจากส่วนอื่น ๆ ของระบบภูมิคุ้มกัน

"มีการออกแบบวัคซีนที่แตกต่างหลากหลายมาก" เฮย์เดย์กล่าว เขาค่อนข้างเชื่อว่า ระบบภูมิคุ้มกันมองเห็นไวรัสนี้ได้อย่างชัดเจน แม้แต่ในคนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

"ดังนั้น ถ้าเราสามารถหยุดยั้งอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับ ที-เซลล์ของคนไข้ ที่เรามีโอกาสได้เข้าไปร่วมงาน เมื่อนั้นเราก็จะควบคุมโรคนี้ได้ในอนาคต" เขากล่าว

ดูเหมือนว่า เราจะต้องได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ ที-เซลล์ มากขึ้นในอนาคต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้