การตัดสินใจเลือกอาชีพควรพิจารณาองค์ประกอบใดนอกเหนือจากความรู้ความสามารถ

การตัดสินใจเลือกอาชีพ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญนะคะ เพราะถ้าตัดสินใจเลือกอาชีพเหมาะสมกับตนแล้ว จะทำให้เรามีความสุขและมีความก้าวหน้าในชีวิตประจำวัน ในแต่ละวันทุกคนมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา และบางครั้งต้องตัดสินใจหลายเรื่อง

ซึ่งทุกเรื่องอาจมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับตัวเรา การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้การตัดสินใจที่ดี ต้องรู้หลักการ วิธีการ ขั้นตอน เพื่อจะได้ตัดสินใจให้ดีที่สุดคะ ไม่คิดเป็นเรื่องของโชคลาง การฝึกการตัดสินใจเรื่องอาชีพต้องเรียนรู้กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ รู้วิธีการ และปฏิรูปแบบของการตัดสินใจเลือกอาชีพ การตัดสินใจเลือกอาชีพ นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า “งานคือชีวิต” ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นด้านการวางแผนชีวิตด้านอาชีพ ตั้งแต่วัยเรียน ซึ่งเป็นการวางแผนระยะยาวที่ต้องใช้เวลานานจะอาศัยความพยายามอย่างมาก ผลตอบแทนที่ได้รับก็คุ้มค่า สิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการคือ

ประการที่ 1 ปัจจัยภายนอกได้แก่ ข้อมูลด้านอาชีพพอสรุปได้ดังนี้
1. แนวโน้มของตลาดแรงงาน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผู้ทำงานในด้านต่าง ๆ ปัจจุบัน และการพยากรณ์ความต้องการในอนาคต
2. ลักษณะงาน งานที่ต้องทำเป็นประจำมีลักษณะอย่างไร ผู้ทำงานจะต้องทำอะไรบ้างเป็นงานที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินหรือเบื่อหน่าย งานใหญ่ หรือ งานเล็ก มีความรับผิดชอบที่สำคัญมากหรือไม่ ฯลฯ
3. สภาพแวดล้อมของงาน ได้แก่สภาพแวดล้อม บรรยากาศ ของงาน เช่น ร้อน สกปรก ฝุ่นมาก เสียงดัง มีสารพิษ มีความขัดแย้งต่าง ๆ ในหน่วยงาน ฯลฯ
4. คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ อายุ ได้มีการกำหนดอายุก่อนเกษียณอย่างไร เพศ อาชีพนั้น ๆ
5. การเข้าประกอบอาชีพ การเข้าประกอบอาชีพต้องมีวิธีการอย่างไร โดยการสมัครงานกับนายจ้างหรือสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ด้วย
6. รายได้ ในการประกอบอาชีพมีรายได้โดยเฉลี่ยเท่าไหร่
7. ความก้าวหน้า อาชีพนั้น ๆ มีความก้าวหน้าเพียงใด ต้องมีการอบรมเพิ่มเติม และมีความสามารถเท่าไหร่ถึงจะเลือนขั้น
8. การกระจายของผู้ประกอบอาชีพ มีผู้ประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใดกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือมีอยู่เพียงบางจังหวัด
9. ข้อดีและข้อเสีย อาชีพแต่ละอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการของผู้ประกอบอาชีพนั้น

ประการที่ 2 ปัจจัย ภายในได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความสนใจ บุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัดทักษะ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความรับผิดชอบ ความอุตสาหะ เพศ เชื้อชาติ อายุ ความแข็งแรง สุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง การทำงานเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือไม่ ฯลฯ

กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ กระบวนการที่บุคคลจะพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ เป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เช่น ต้องพิจารณาค่านิยม ความสนใจ ความถนัด และคุณสมบัติอื่น ๆ การตัดสินใจสัมพันธ์กับทักษะที่ได้เรียนรู้ ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของบุคคล เช่นหลักในการตัดสินใจ เป็นการสำรวจหนทางที่ จะเป็นไปได้กำหนดว่าจะทำอะไร จะเกิดผลอะไร ในการตัดสินใจ เราต้องรู้จักความสามารถ ความสนใจ ค่านิยมของตนเองและรู้ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง นำความรู้ไปพิจารณาตัวเลือกต่าง ๆ ถ้าได้ข้อมูลมากเท่าใด บุคคลนั้นก็มีโอกาสได้ผลที่พึงปรารถนามากขึ้นเท่านั้น ข้อมูลจากการประเมินนำไปสู่การอภิปรายลักษณะพิเศษของบุคคลที่สามารถเชื่อม โยงกับความต้องการทางการศึกษาและอาชีพ

จะทราบได้อย่างไรว่าอาชีพไหนเหมาะสมกับเรา คนเรามีความถนัด ความสามารถ และความสนใจในงานอาชีพแตกต่างกันคะ บางคนเหมาะที่จะทำงานด้านหัตถกรรม บางคนเหมาะที่จะทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรืองานทางด้านวิทยาศาสตร์ ส่วนบางคนเหมาะกับงานทางด้านที่จะสอนดนตรี แต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ข้อสำคัญคือท่านต้องรู้จักตนเอง และรู้จักงานอาชีพต่าง ๆ อย่างกว้างขวางรวมทั้งพิจารณาดูว่า มีงานอะไรบ้างที่ท่านชอบและสนใจมากที่สุด และงานนั้น ๆ เหมาะกับอุปนิสัยและบุคลิกภาพของท่านหรือไม่

ปัญหาก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ขาดทักษะและรายละเอียดข้อมูล เกี่ยวกับโลกอาชีพ
2. ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา แนะนำ แนะแนวอาชีพ การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
3. ขาดการรู้จักตนเอง ด้านความสามารถ สติปัญญา ความถนัด ความสนใจในอาชีพที่เหมาะสมกับตัวเราคะ

ข้อสรุปก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. ผู้ตัดสินใจเลือกควรรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปนิสัยใจคอ ความรู้ ความถนัด ความสามารถ สุภาพ นิสัย ทัศนคติเกี่ยวกับอาชีพนั้น ๆ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ฯลฯ
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ลักษณะของงานอาชีพต่าง ๆ ลักษณะของงานอาชีพ ค่าจ้าง สวัสดิการ ความก้าวหน้า ความต้องการของตลาดแรงงาน ฯลฯ

ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. กำหนดปัญหาหรืออุปสรรคให้ชัดเจนว่า เรากำลังตัดสินใจเรื่องอะไร เช่น เรากำลังเลือกแผนการเรียนอะไร หรือเลือกที่จะประกอบอาชีพอะไร
2. สำรวจตัวเลือกต้องรู้จักแผนที่จะเลือกหรืออาชีพที่จะเลือก
3. เปรียบเทียบแต่ละตัวเลือกแตกต่างกันอย่างไร
4. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจที่จะเลือกแผนหรืออาชีพทั้งหมด
5. แปลความข้อมูลต้องกำหนดน้ำหนักความสำคัญให้แต่ละตัวเลือก การตัดสินใจเลือกอาชีพมักเกิดขึ้นเมื่อมีอาชีพให้เราตัดสินใจเลือกมากกว่า หนึ่งอาชีพ มีความรู้และประสบการเกี่ยวกับอาชีพที่จะเลือก
6. จัดการกับข้อมูลโดยการให้น้ำหนักความสำคัญแต่ละตัวเลือกในแต่ละประเด็นเมื่อ เราเข้าใจว่าทำไมเราจึงเลือกตัวเลือกนี้มากว่า จะทำให้ตัวเลือกลดลง จนเหลืออาชีพที่เราสนใจเท่านั้น
7. เรียงลำดับประโยชน์ของตัวเลือกจากมากไปหาน้อย จะช่วยให้เห็นความสำคัญของตัวเลือกแต่ละตัวมากขึ้น
8. ตัดสินใจ การตัดสินใจเลือกอาชีพที่ดีจะต้องไม่กังวลใจว่าตัวเลือกที่เหลือจะเหมาะสม กับตัวเรามากน้อยเพียงใด เมื่อเราได้พิจารณาตัวเลือกหลายปัจจัย ได้คิดอย่างรอบคอบ เราต้องตระหนักว่าเราทำดีที่สุดแล้วในขณะนั้น แม้ว่าโดยทั่วไปการตัดสินใจเลือกจะมีความเสี่ยง เพราะไม่รู้ว่าอะไร จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัญหาของเราคือเราจะต้องพยายามเลือกอาชีพที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อตัว เรามากที่สุด ไม่ตัดสินใจด้วยอารมณ์ และความรู้สึก ต้องพิจารณาจากความสนใจ บุคลิกภาพ ค่านิยม และความต้องการคะ

กระบวนการตัดสินใจเลือกอาชีพ
1. ให้นักเรียนมีตัวเลือกในการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้นในการตัดสินใจเลือก
2. ให้นักเรียนมีความสามารถในการตัดสินใจเลือกรวดเร็วขึ้น
3. ให้นักเรียนได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง
4. เมื่อนักเรียนมีอิสระในการเลือกมากขึ้นจะมีประสบการณ์การเลือกมากขึ้น
5. ให้รู้นำประสบการณ์ในตัดสินใจเดิมมาใช้ในการตัดสินใจครั้งต่อไป

สำหรับคนรุ่นใหม่ ในยุปัจจุบัน

1. ลองทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อหาประสบการณ์ในการทำงาน

2. รู้จักความถนัดของตัวเองว่าอยากทำอะไร

3. พิจารณาว่าชอบการทำงานแบบไหนในอนาคต

4. ลองทำแบบประเมินต  รวมทั้งแบบทดสอบตัวเองว่า เป็นคนแบบไหน

5. ศึกษาความก้าวหน้าของอาชีพในอนาคต

6. ศึกษารายได้ ว่าประมาณไหน “เงินเดือน” เป็นอีกสิ่งที่ควรศึกษาให้ดีว่า ฐานเงินเดือนในอาชีพที่เราสนใจ อยู่ในอัตราเท่าไหร่ มั่นคงพอที่จะเลี้ยงดูตัวเอง

7. หาเวลาผ่อนคลาย ทบทวนการตัดสินใจ

8. วางแผนไปสู่อนาคตการทำงาน ในอาชีพที่เราสนใจ

เราลองมาดูกันว่าจะมีอาชีพใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ หรืออาชีพดัั้งเดิมที่อาจมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต อะไรกันบ้าง

  1. นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (software developer) 

ปัจจุบันไม่ว่าจะธุรกิจประเภทใดต่างก็พึ่งพาเทคโนโลยีด้วยกันหมดทั้งสิ้น งานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นที่ต้องการในตลาด และด้วยแนวโน้มการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ โอกาสของอาชีพนี้จึงค่อนข้างสดใสและเป็นที่ต้องการมาก

  1. รักษาความปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity) 

ด้วยการที่กิจกรรมหลายอย่างของมนุษย์ยุคปัจจุบันต้องทำผ่านระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมการเงิน การซื้อขายสินค้า การติดต่อสื่อสาร และเก็บบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ฯลฯ การป้องกันการโจรกรรมข้อมูลดิจิตอลจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทั้งในระดับปัจเจกและองค์กร

  1. วิศวกรหุ่นยนต์ (robotics engineer) 

วิศวกรส่วนใหญ่จะยังเป็นอาชีพที่ไม่ตกเทรนด์ แต่วิศวกรหุ่นยนต์เป็นสาขาหนึ่งที่มีทิศทางสดใสมาก ๆ ในอนาคต เพราะกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่ละภาคส่วนตั้งแต่ระบบคลังสินค้า โลจิสติกส์ เกษตรอัจฉริยะ (smart farming) หรือภาคการผลิต (manufacturing) ฯลฯ ต่างก็มีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติด้วยกันทั้งสิ้น

  1. ผู้จัดการโครงการ (project manager) 

เป็นหนึ่งในอาชีพที่นอกจากจะต้องใช้ทักษะด้าน hard skills แล้ว ยังต้องพึ่งพาทักษะด้าน soft skills อย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะต้องรู้รายละเอียดของโครงการอย่างถ่องแท้แล้ว ยังต้องสื่อสาร ประสานงาน สร้างบรรยากาศแห่งทีมเวิร์ค และบริหารปัจจัยต่าง ๆ ภายในทีมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการตามที่กำหนดเอาไว้ และถ้าหากการทำงานจากบ้าน (WFH) กลายมาเป็น new normal ความสามารถในการเป็นผู้จัดการโครงการที่ดีจะมีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นในสภาวะที่ทุกคนต่างทำงานกันจากทางไกล

  1. นักการตลาด (marketer) 

แพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ได้เอื้อให้ตลาดการค้ามีผู้เล่นมากหน้าหลายตามากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันที่สูงขึ้น และหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถชี้ขาดถึงผลการแข่งขันคือความสามารถในการทำการตลาด ทำให้อาชีพนักการตลาดยังมีความสำคัญและไม่เอ้าท์

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้าน e-commerce (e-commerce specialist) 

แม้อาจนับรวมเป็นสาขาย่อยของการตลาด แต่ผู้เชี่ยวชาญด้าน e-commerce ก็มีความโดดเด่นจนสามารถแยกออกมาเป็นการเฉพาะได้ เพราะระบบการค้าออนไลน์มีความสำคัญต่อทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขาย่อยนี้มีความสำคัญอย่างมากในกระแสการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาด e-commerce เพราะจะช่วยให้ผู้ประกอบการส่งสารไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เวลาจัดแคมเปญการตลาดผ่านระบบ e-commerce ถ้าผู้ประกอบการไม่ชำนาญในการใช้ระบบ สารที่อยากจะส่งไปยังผู้บริโภคก็อาจไปไม่ถึงหรือมีประสิทธิภาพไม่มากพอจนทำให้ไม่สามารถปิดการขายได้ เป็นต้น

  1. นักพัฒนาแอปพลิเคชัน (mobile application developer) 

ช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากคือแอปพลิเคชันบนมือถือ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่อื่น ๆ ด้วยความนิยมนี้เองที่ทำให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันเนื้อหอมเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้ขายและผู้ซื้อมาเจอกันได้ง่ายขึ้น

  1. ผู้ผลิตคอนเทนต์ (content creator)​ 

นอกจากการบริหารจัดการและการตลาดแล้ว เรื่องราวของผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ก็เป็นอีกปัจจัยที่สามารถมัดใจลูกค้าได้อยู่หมัด และให้ผลตรงข้ามหากเล่าเรื่องได้ไม่ดีพอ โดยตัวผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีทักษะรอบด้านไม่ว่าจะเป็นการเขียน ถ่ายภาพ/วิดีโอ ตัดต่อ และมีความชำชาญในการเล่าเรื่องบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายโดยเฉพาะออนไลน์ จะโดดเด่นจากผู้ผลิตคอนเทนต์ที่มีความถนัดเพียงเฉพาะทาง

  1. ผู้สร้างสรรค์งานด้าน VFX (VFX/CGI) 

ทักษะในการผลิตงานด้าน Visual Effects (VFX) เป็นที่ต้องการมากขึ้นในแวดวงการสื่อสาร โดยเฉพาะในวงการโฆษณา ละคร และภาพยนตร์ โดยมีแรงหนุนมาจากการแข่งขันด้านการตลาดที่ต้องพึ่งพาการโฆษณาที่ดึงดูดผู้ชมมากขึ้น และความนิยมชมภาพยนตร์ที่มี VFX อลังการมากขึ้นของผู้ชม

  1. ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (creative director) 

หนึ่งในปัจจัยชี้ขาดว่าโครงการใด (ไม่ว่าจะเป็นโปรเจกต์โฆษณาหรือแคมเปญการตลาด) จะปังหรือไม่ปังคือความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ที่ดีไม่ใช่แค่ต้องมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องมีทักษะในการคัดกรองความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ จากลูกทีม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโปรเจกต์ของทีมได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังต้องบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพงานด้าน creative ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย อาชีพนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจหรือโครงการที่ต้องเน้นงานด้าน creative

  1. นักวิจัยประสบการณ์ลูกค้า (user experience (UX) researcher) 

การที่จะมีกิจกรรมการตลาด แอปพลิเคชัน คอนเทนต์ และประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโปรเจกต์ แบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามใจหรือเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ก็ต้องพึ่งพาข้อมูลด้านลูกค้าทั้งในเชิงคุณภาพ (qualitative) และปริมาณ (quantitative) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนักวิจัยด้านประสบการณ์ลูกค้าที่มีความสามารถในการค้นคว้าข้อมูล ประมวลผลข้อมูลดิบ และสามารถสื่อสารผลการศึกษาที่ได้มาอย่างเป็นระบบและเข้าใจง่ายจะเข้ามาเติมเต็มจิ๊กซอว์แห่งความสำเร็จนี้ได้

  1. นักวิเคราะห์ (analyst) 

แม้จะคาบเกี่ยวกับนักวิจัยแต่บางครั้งผู้ที่สามารถวิเคราะห์ ตีความ และนำผลการวิจัยไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่คนเดียวกับนักวิจัยแต่เป็นนักวิเคราะห์ ขณะเดียวกัน แม้ว่าหุ่นยนต์หรือซอฟต์แวร์ขั้นสูงจะสามารถประมวลผลข้อมูลดิบบางด้านได้เก่งกว่ามนุษย์แล้ว โดยเฉพาะข้อมูลด้านการคำนวณตัวเลข แต่ทักษะในการตีความ วิเคราะห์สถานการณ์เป็นรายกรณี (scenario analysis) และการสื่อสารผลวิเคราะห์ยังเป็นงานที่มนุษย์ทำได้ดี และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในยุคที่มีข้อมูลข่าวสารล้นเกินจนบางครั้งแทบจับต้นชนปลายไม่ถูก ซึ่งอาชีพนักวิเคราะห์สามารถเข้ามาเติมเต็มในส่วนนี้ได้

  1. ที่ปรึกษาทางธุรกิจ (business consultants) 

การแข่งขันที่สูงขึ้น ข้อมูลที่ล้นเกิน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงและอุปสรรคมากมายในการดำเนินธุรกิจ ทำให้การตัดสินใจของผู้ประกอบการทั้งมือใหม่และรุ่นเก๋าอาจผิดพลาดได้ การมีที่ปรึกษาทางธุรกิจที่มีข้อมูลแน่นและมองเกมขาดก็จะช่วยป้องกันความเสี่ยงและช่วยให้กิจการพิชิตเป้าหมายได้

  1. ตัวแทนการขาย (sale representative) 

แม้จะมีเทคโนโลยีที่ล้ำยุค มีการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ บริหารจัดการระดับเทพ แต่หลาย ๆ ธุรกิจยังต้องพึ่งพาตัวแทนการขายที่เพียบพร้อมไปด้วย soft skills ด้านการสื่อสาร เจรจา ดึงดูดลูกค้าเหมือนเดิม เพราะ AI ยังไม่สามารถทำหน้าที่สานสายสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดีเท่ามนุษย์

  1. นักบริบาล (care worker)

การที่สังคมในหลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงวัยต่อประชากรโดยรวมมากขึ้น งานด้านการดูแลบุคคล (care work) จะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น และด้วยการที่ลูกหลานถูกรุมเร้าและบีบคั้นจากหน้าที่การงานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจไม่มีเวลามาดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวด้วยตนเอง ทำให้ความต้องการในการใช้บริการจาก care worker สูงขึ้นหากแนวโน้มโดยรวมยังดำเนินต่อไป

  1. ที่ปรึกษาสุขภาพจิต (mental health conselor) 

เพราะการแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้น อาหารการกินที่ไม่ถูกสุขอนามัย และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่พร้อมเข้ามารุมเร้าชีวิตผู้คนในยุคดิจิทัลที่มีอัตราเร่งของชีวิตสูงปรี๊ดเช่นนี้ ทำให้ผู้คนมีอาการป่วยทางจิตมากยิ่งขึ้น และด้วยความรู้และการเปิดรับโรคทางจิตมากขึ้น ทำให้อาชีพที่ปรึกษาสุขภาพจิตจึงเป็นอีกอาชีพที่น่าจับตามองมาก ๆ

cr: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

5 New Jobs in the Future อาชีพเกิดใหม่ในอนาคต

Pop Culture jobs อาชีพป๊อปป๊อปบนโลกออนไลน์

Health Professional อาชีพในโรงพยาบาลที่น่าสนใจไม่แพ้หมอ

6 ทักษะต้องมี เพราะ AI ทำไม่ได้

รวมอาชีพสุดเจ๋งที่งานสนุก รายได้ดี แถมได้เที่ยวรอบโลก

แนะนำ 10 อาชีพอิสระที่น่าสนใจ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

7 อาชีพเจ๋ง ๆ ในซีรีส์เกาหลี ที่ดูแล้วอยากทำขึ้นมาเลย

‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน

6 วิธีพัฒนาทักษะสมอง EF ในวัยรุ่นให้เก่งและดี เอาตัวรอดได้

วิธีปรับ Mindset ปลุก Passion ปลดล็อคความสามารถเจ๋ง ๆ ในตัวเอง

ค้นหาตัวเองให้เจอเพื่ออาชีพในฝันด้วยหลักอิคิไกสไตล์ญี่ปุ่น

แหล่งข้อมูล

– The future of work after COVID-19

– The Future of Jobs in the Era of AI

– Strongest Jobs after Covid Virus | Good News 

– 5 Jobs for People with People Skills 

– The 30 best high-paying jobs of the future

– 20 Top Jobs of the Future  

– The 13 Best Jobs for the Future

องค์ประกอบในการตัดสินใจเลือกอาชีพ มีอะไรบ้าง

สิ่งสำคัญในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ.
แนวโน้มของตลาดแรงงาน ... .
ลักษณะงาน ... .
สภาพแวดล้อมของงาน ... .
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ ... .
การเข้าประกอบอาชีพ ... .
รายได้ ... .
ความก้าวหน้า.

การตัดสินใจเลือกอาชีพต้องพิจารณาข้อใด

ตัดสินใจเลือกอาชีพ กระบวนการที่บุคคลจะพิจารณาเพื่อประกอบการตัดสินใจ เป็น กระบวนการที่สลับซับซ้อน เช่น ต้องพิจารณาค่านิยม ความสนใจ ความถนัด และคุณสมบัติอื่น ๆ การตัดสินใจ สัมพันธ์กับทักษะที่ได้เรียนรู้ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของบุคคล เช่นหลักในการตัดสินใจ เป็นการส ารวจหนทางที่ จะเป็นไปได้ก าหนดว่าจะท าอะไร จะเกิดผลอะไร ใน ...

การตัดสินใจเลือกอาชีพควรพิจารณาสิ่งใดเป็นอันดับแรก

ก่อนตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้ 1. ควรเลือกอาชีพที่คิดว่าชอบหรือคิดว่าถนัด สำรวจตัวเองว่าสนใจอาชีพอะไร ชอบหรือถนัดด้านไหน มีความสามารถอะไรบ้าง ที่สำคัญคือต้องการอยากที่จะประกอบอาชีพอะไร จึงจะเหมาะสมกับตัวเองและครอบครัวประกอบกันไปด้วย 2. จะต้องพัฒนาความสามารถของตัวเอง คือ ...

ตัดสินใจไม่เลือกพัฒนาอาชีพเนื่องจากอะไร

การที่วัยรุ่นไม่สามารถตัดสินใจเลือกอาชีพได้ อาจเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่นการขาดข้อมูล เกี่ยวกับตนเองทั้งในเรื่องค่านิยม ความสนใจ ทักษะ หรือความถนัดในการทํางานหรือการประกอบอาชีพ การขาดความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโลกของงาน ชนิด ประเภท ลักษณะการทํางาน รายได้ เป็นต้น หาก ไม่ได้ขาดข้อมูลดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นเพราะ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้