คุณธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ หมาย ถึง ข้อใด

“อิทธิบาท ๔” ธรรมะที่ทําให้ประสบความสําเร็จตามประสงค์

คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง สิ่งซึ่งมีคุณธรรม
เครื่องให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้อง
ทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ

๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน 

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุดที่มนุษย์เราควรจะได้
ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึงการการะทำที่ติดต่อไม่ขาดตอนเป็นระยะยาว
จนประสบความสำเร็จ คำนี้มีความหมายของความกล้าหาญเจืออยู่ด้วยส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้งสิ่งนั้น ไปจากความรู้สึกของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น
วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ
อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้รวมความหมายของคำว่าปัญญาไว้อย่างเต็มที่

บุคคลเมื่อประกอบด้วย คุณธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่
ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์ ซึ่งโดยตรงทางหมายถึงความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ที่เรียก
ว่า นิพพาน ส่วนเรื่องอื่น นอกนั้นไป ถือว่าเป็น เรื่องพิเศษ และ ไม่มี ขอบขีดจำกัด
เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องนอกเหนือ วิสัยธรรมดา อยู่มาก เช่นเรื่องที่ว่า คนเรา
อาจมีอายุยืน ถึงกัลป์ ด้วยอำนาจแห่งอิทธิบาททั้ง ๔ นี้ ซึ่งข้อนี้มิได้มีความหมาย
ขัดกัน ในข้อที่ว่า อิทธิบาท ๔ นี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้อายุยืนถึงปานนั้นได้หรือไม่ แต่
มีปัญหาอยู่ที่ว่า คนเราจะสามารถ เจริญอิทธบาทให้มากถึงเท่านั้นได้หรือไม่ ต่าง
หาก เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือว่า หลักเกี่ยวกับอิทธิบาท นี้ คงมีความหมาย ไปตาม
ตัวหนังสือ โดยไม่ต้องมีขอบขีดจำกัดว่าอะไรบ้าง สรุปความสั้นๆว่าวิสัยของใคร
ทำให้เขาเจริญอิทธิบาทได้มากเท่าใด เขาย่อมได้รับผลเต็มกำลังของอิทธิบาทนั้น
แม้ในสิ่งที่บางคน ถือว่าเป็นของเหลือวิสัย โดยเฉพาะเช่น การบรรลุนิพพาน

ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปเตยย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย
วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย
ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น
ซึ่งที่แท้ ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมาย ที่
เห็นได้ชัด ยิ่งขึ้นว่า ในการทำกิจใดๆ ก็ดี ย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่
หรือเป็นประธานในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท
นี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิต ยืนยัน อยู่ในที่ หลายแห่ง ว่า การตรัสรู้ อนุตรสัมมา
สัมโพธิญาณ ของพระองค์เอง สำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธาน แห่ง
การกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็น อุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความ
สำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การ
ประกอบ ประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดย
เท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้
บรรลุผลได้ตามที่ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็น หลักธรรม ที่สำคัญหมวด
หนึ่ง ในบรรดา โพธิปักขิยธรรม ทั้งหลาย

นี้นับว่า เป็นอุปกรณ์ในฐานะเป็น เครื่องช่วยให้เกิดการปฏิบัติ ดำเนินไปได้ โดย
ปราศจากอุปสรรค ตั้งแต่ต้น จนถึง จุดหมายปลายทาง

//www.buddhadasa.com/rightstudydham/itibath4.html

04 พ.ย. 2563 เวลา 22:00 น. 3.4k

"ธรรมะที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการงาน" : คอลัมน์ ทำมา​...ธรรมะ โดย​ ราช​ รามัญ

ต้องยอมรับว่าในยุคนี้ใครๆ ก็แสวงหาความสำเร็จกันด้วยกันทั้งสิ้น หลายคนแสวงหาทางรัดเพื่อให้ตนเองประสำเร็จความสำเร็จแบบก้าวกระโดดรวดเร็ว
 

ส่วนหนึ่ง อาจมาจากค่านิยม รูปแบบของชาวตะวันตกที่ชื่นชอบความสำเร็จและก็เกษียณอายุ ในการทำงานก่อนวัยเกษียณจริง ถ้าเรามองแต่ความเป็นจริงแล้ว ความสำเร็จที่ได้มาแบบเร็วๆ โดยมากจะเป็น ความสำเร็จที่ไม่มั่นคง เป็นความสำเร็จฉาบฉวย เป็นความสำเร็จแบบชั่วคราวมากกว่า ชีวิตจริงของมนุษย์นั้น เราต้องเรียนรู้ผ่านโลกผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควรกับช่วงวัยหนึ่ง จึงจะทำให้ได้รับความสำเร็จได้อย่างมั่นคงอย่างแท้จริง
 

พระพุทธเจ้าเองก็สอนเรื่องของความสำเร็จในชีวิตเอาไว้ สำหรับคนที่ทำงานไม่ว่าจะเป็นงานธุรกิจส่วนตัวหรือทำงานออฟฟิศหรือจะงานรูปแบบองค์กรต่างๆ ทรงสอนว่า

1. ​มีศรัทธา​ คือ​  มีความรัก ความเชื่อมั่น กับงานที่ทำอยู่
 

2. มีศีล คือ มีความจริงใจในอาชีพ อย่างมีจริยธรรม คุณธรรม ไม่ทรยศต่ออาชีพของตัวเอง
 

3. มีสุตะ คือ มีการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆตลอดเวลา หาประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ
 

4. มีจาคะ คือ รู้จักแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่มีให้แก่ผู้ร่วมงานตามโอกาสเหมาะสม
 

5. มีปัญญา​ ​คือ แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ด้วยสติปัญญา มากกว่าการใช้อารมณ์

ถ้าเราสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ที่พระพุทธเจ้าสอน ความสำเร็จย่อมเกิดขึ้นในชีวิตของเราอย่างแน่นอนและเป็นความสำเร็จที่มั่นคงเป็นความสำเร็จที่มั่งคั่ง และอยู่กับเราอย่างยาวนาน

ลองกลับมาทบทวนดูว่าทั้ง 5 ข้อนี้เราขาดข้อใดบ้าง ถ้าเรายังปรารถนาความสำเร็จอย่างแท้จริงเราต้องปฏิบัติได้ทุกข้ออย่างเคร่งครัดอย่างต่อเนื่อง

ความสำเร็จแบบนี้ใครๆก็พึงปรารถนาด้วยกันทั้งสิ้น
 

ทุกคนบนโลกใบนี้ต่างมีเมล็ดพันธุ์แห่งความสำเร็จอยู่ในตัวของตัวเองกันทุกคนเพียงแต่เราบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์นั้นได้ถูกต้องทั้งกาลเวลาถูกต้อง ทั้งอุณหภูมิของชีวิตหรือไม่ก็เท่านั่น
 

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนในเชิงปรัชญา เพื่อทำให้เราเกิดความสุขคิดแบบฉับพลันได้นั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากมาย และเป็นปรัชญาที่สามารถนำเอามาใช้ได้จริง​จึงเรียกว่า
 

"ทำมา.. ธรรมะ"
 

ทำมา​คือ​ทำมาหากิน
 

ธรรมะ​คือ​ ความจริงที่ถูกต้อง
 

เมื่อเราไม่ได้แสวงหาความรู้สึกผลใดๆแต่เราแสวงหาความสุขความสงบในจิตใจ และดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุข ประสบความสำเร็จในด้านการงานก็ต้องพึงปฏิบัติเช่นนี้

ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติเป็นความหมายของข้อใด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎแห่งศีลธรรม

ข้อใดหมายถึงคุณธรรม

คุณธรรม หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์ ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์มีชีวิต จิตใจ มีสติ ปัญญา มีความรู้สึกนึกคิดที่ดีกันทุกคน หรือที่ เรียกว่า “ คิดดี ” ส่วนจะมีมากหรือมีน้อยแตกต่างกันไป

คุณธรรมสําหรับครูหมายถึงข้อใด

ดังนั้น คุณธรรมสำหรับครู ก็คือคุณงามความดีของบุคคลที่เป็นครู ซึ่งได้กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าเป็นการกระทำความดี หรือเป็นพฤติกรรมทีดีซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น ครูที่มีความเสียสละ ครูที่มีน้ำใจงาม ครูที่มีความเกรงใจ ครูที่มีความยุติธรรม ครูที่รักเด็กและรักเพื่อนมนุษย์ ครูที่มีความเห็นอกเห็นใจ ...

ข้อใดหมายถึงความสัมพันธ์ของคุณธรรมและจริยธรรม

ประวัติ พื้นผาสุข (2549 : 12) ได้สรุปลักษณะความสัมพันธ์ของคุณธรรมกับจริยธรรมไว้ว่า คุณธรรม เป็นคุณลักษณะที่เป็นสภาพแห่งความดีความงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล อันเป็นหลักในการด าเนินชีวิต ส่วนจริยธรรม เป็นแนวทางเป็นเครื่องชี้แนะ หรือกฎเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติของบุคคล

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้