Problem Based Learning มีลักษณะอย่างไร

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

  1. แนวคิดของการจัดการเรียนรู้แบบPBL การจัดการเรียนการสอนแบบ PBL เป็นจัดการเรียนรู้ที่เน้นในสิ่งที่นักศึกษาอยากเรียนรู้ โดยสิ่งที่อยากเรียนรู้นั้นจะต้องเริ่มมาจากปัญหาที่นักศึกษาสนใจหรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียน อาจเป็นปัญหาของตนเองหรือปัญหาของกลุ่ม ซึ่งครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจของนักศึกษาตามความเหมาะสม จากนั้นครูและนักศึกษาร่วมกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหานั้น โดยปัญหาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้บางครั้งอาจเป็นปัญหาของสังคมที่ครูเป็นผู้กระตุ้นให้นักศึกาคิดจากสถานการณ์ ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา นักศึกษาต้องเรียนรู้จากการเรียน (learning to learn) เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่นักศึกษามีมาก่อนหน้านี้
  2. จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบPBL กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ PBL มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่นักศึกษาโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การบันทึกและการอภิปราย
  3. ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบPBL

– เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของนักศึกษาหรือนักศึกษาอาจมีโอกาสได้เผชิญกับ
ปัญหานั้น

-เป็นปัญหาที่พบบ่อยมีความสำคัญมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการค้นคว้า

-เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ตายตัวหรือแน่นอนและเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนคลุมเครือหรือนักศึกษาเกิดความสงสัย

-ปัญหาที่อาจมีคำตอบ หรือแนวทางการแสวงหาคำตอบได้หลายทางครอบคลุมการเรียนรู้ที่กว้างขวางหลากหลายเนื้อหา

-เป็นปัญหาที่มีความยากง่ายเหมาะสมกับพื้นฐานของนักศึกษา

-เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาคำตอบของปัญหาได้ทันที ต้องมีการสำรวจ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล หรือทดลองดูก่อน จึงจะได้คำตอบ ไม่สามารถคาดเดา หรือทำนายได้ง่ายๆ ว่าต้องใช้ความรู้อะไร ยุทธวิธีในการสืบเสาะหาความรู้เป็นอย่างไร หรือคำตอบ หรือผลของความรู้เป็นอย่างไร

-เป็นปัญหาที่ส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา

  1. การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้

– ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ครูเกิดความเข้าใจจุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ต่างๆอย่างละเอียดและสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางตามเป้าหมายการเรียนรู้ได้

– วางแผนผังการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่จะสอน โดยครูต้องหาความรู้ที่เชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องในการกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ คือมีการออกแบบกิจกรรมด้วยตนเอง ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้กับเด็ก ออกแบบกิจกรรมใช้สื่อให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทันกับคำตอบของนักศึกษา และเชื่อมโยงกับสิ่งที่นักศึกษาเรียนรู้   โดยเน้นออกแบบกิจกรรมการสอนแบบบูรณาการรายวิชา

– ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ครูผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างรัดกุมให้รายละเอียดการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน คือ  จะต้องจัดทำคู่มือครู และคู่มือผู้เรียนให้ชัดเจน ไม่ว่าครูท่านใดอ่านแผนการจัดการเรียนรู้แล้วสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนดังกล่าวได้

– ครูผู้สอนสอบถามความต้องการในการเรียนและสร้างความคุ้นเคยกับนักศึกษา ครูจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียนและถามความต้องการของนักศึกษาเพื่อสำรวจความต้องการของนักศึกษาไว้เป็นแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องระหว่างหลักสูตรและความต้องการของนักศึกษา เพื่อความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมและเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ

  1. ขั้นตอนการเรียนรู้แบบPBL

การจัดการเรียนรู้แบบ PBL มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

– ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอนก่อนเรียน เพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานของนักศึกษาเป็นรายบุคคลในเรื่องดังกล่าว และเป็นแนวทางในการออกแบบหรือปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาด้วย

– ให้ความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานจะนำไปสู่การเรียนรู้ของนักศึกษาในกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัติ ดังนั้น ครูจึงต้องอธิบายเนื้อหาคร่าวๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจในเบื้องต้น อาจจะเป็นการเปิดประเด็นกลุ่มใหญ่ของนักศึกษาทั้งชั้นก็ได้ก่อนการแยกตามกลุ่มย่อย

– แบ่งกลุ่มนักศึกษาในการทำกิจกรรม เพื่อให้นักศึกษารู้จักวางแผนคือ ให้นักศึกษารู้จักกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง และในขณะเดียวกันสามารถแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ตนเองและเพื่อนในกลุ่มได้

– สร้างกติกาในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษารู้จักเคารพในเงื่อนไขและกติกาที่กำหนดขึ้น โดยทุกคนในชั้นเรียนจะต้องยอมรับและปฏิบัติตาม

– ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ครูเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติได้กิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง โดยครูจะคอยเป็นผู้แนะนำ ตอบคำถามและสังเกตนักศึกษาขณะทำกิจกรรม

– ครูให้นักศึกษาสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและให้นักศึกษาได้นำเสนอผลงานของตน โดยครูเป็นผู้คอยสนับสนุนให้เกิดการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์  ไม่จำกัดแนวคิดในการนำเสนอ

– ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ประเมินผลจากผลงานและพฤติกรรมที่นักศึกษาแสดงออกขณะร่วมกิจกรรม โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะสอนเป็นหลัก

  1. การประเมินผลการเรียนรู้แบบPBL

– การประเมินตามสภาพจริง เป็นการวัดผลหรือประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยตรงผ่านชีวิตจริง เช่น การดำเนินการด้านการสืบสวน ค้นคว้า การร่วมมือกันทำงานกลุ่มในการแก้ปัญหา การวัดผลจากการปฏิบัติงานจริง

– การสังเกตอย่างเป็นระบบ ครูต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจน

  1. บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบPBL

การจัดการเรียนรู้แบบ PBL ครูผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา คอยให้คำปรึกษา กระตุ้นให้นักศึกษาเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม การใช้ IT ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของนักศึกษาและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการพัฒนาตนเอง

  1. ข้อเสนอแนะ

          – ควรใช้โปรแกรมที่สนับสนุนการเรียนการสอนที่เหมาะสำหรับการให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นสามารถตรวจสอบนักศึกษาที่แสดงความคิดเห็นได้ทั้งกลุ่ม

– ใช้คำถามที่เป็นข้อสอบในการถามนักศึกษาเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และพยายามค้นคว่าหาคำตอบให้ได้

– จัดรูปแบบการเรียนรู้แบบ PBL online ซึ่ง วพบ. นพรัตน์วชิระ ทำแล้วประสบความสำเร็จ

← Previous post

Next post →

3 Comments

  1. นางสาว ดาริณี สมศรี สิงหาคม 20, 2017 at 09:44

    การเรียนโดยใช้โจทย์ปัญหา ช่วยกระตุ้นการคิดของนักศึกษา พัฒนาทักษะการทำงานจากรายบุคคล เป็นกลุ่ม สู่การทำงานเป็นทีม สืบค้นข้อมูลได้ทั้งจาก primary resource และ secondary resource ทั้งยังพัฒนาทักษะการฟัง การเขียน การอ่าน การพูด และร่วมกันวิเคราะห์แก้ปัญหาตามสถานการณ์ ทั้งนี้จริตผู้เรียนก็สำคัญ เพราะนักศึกษาบางส่วนไม่ถนัด ไม่สนใจ สุดท้ายของ PBL ถึงจะมีคะแนนกลุ่ม คะแนนรายงาน แต่ก็มีคะแนนจากการสอบ ซึ่งนักศึกษากังวลกลัวทำคะแนนได้ไม่ดี เพราะยังไม่ค่อยเชื่อถือสิ่งที่เพื่อนมานำเสนอ ถ้าผู้สอนช่วยสรุปประเด็นเนื้อหาทั้งหมด ช่วยนักศึกษามีความั่นใจมากขึ้นว่าความรู้ที่ได้ ไม่น้อยไปกว่าที่ผู้สอนสอนแบบบรรยาย

    เข้าสู่ระบบเพื่อตอบ

  2. นางสาว สุนทรี รักความสุข สิงหาคม 20, 2017 at 17:31

    การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้าง ความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลกเป็นการเรียนรู้(Learning Context) เพื่อให้ผู้เรียน เกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา ทำให้ได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาไปพร้อมกันด้วย การศึกษาพยาบาลศาสตร์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผู้เรียนต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยดังนั้นการเรียนการสอน PBL จึงเป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลง มือปฏิบัติด้วยตนเอง เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จึงจะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

    เข้าสู่ระบบเพื่อตอบ

  3. นาย ศุกภร หวานกระโทก สิงหาคม 21, 2017 at 08:15

    การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีความสำคัญเพราะจะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการคิดแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยใช้ปัญหาเป็นตัวเริ่มต้นในการคิดวิเคราะห์และจัดการแก้ไขปัญหาเพื่อตอบสนองปัญหานั้น ๆ เพราะวิชาชีพพยาบาลมักต้องพบเจอกับปัญหาด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วย ซึ่งปัญหาที่พบกับผู้ป่วยมีทั้งเล็กน้อยจนถึงรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้ ดังนั้น เมื่อนักศึกษาได้เรียนรู้ด้วยวิธีนี้อย่างต่อเนื่องจะทำให้นักศึกษามองปัญหาออกและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที และนอกจากนี้นักศึกษาจะต้องฝึกการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้