ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึงอะไรและมีองค์ประกอบกี่ประการ

ความหลากหลายทางชีวภาพ ของสวนป่า อ.อ.ป. ที่ผ่านการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานสากล

จากการที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้เข้าร่วมโครงการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ อ.อ.ป. มีสวนป่าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล ตั้งแต่ปี 2554-2558 จำนวน 23 สวนป่า ครอบคลุมพื้นที่ 299,653.69 ไร่ (47,944.59 ha) และดัชนีชี้วัดที่ทางองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ FSC มีอยู่หลายประการ ซึ่งการกันพื้นที่ของสวนป่าไว้ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนป่า นับว่าเป็นหนึ่งในกฎเกณฑ์สำคัญ เพื่อคงพื้นที่ดังกล่าวไว้สำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่าของภูมิภาคให้ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต่อไปได้อย่างสมดุลกับการดำเนินกิจการการทำไม้ ซึ่งทุกสวนป่าได้ดำเนินการจัดทำรายงานการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพด้วยความตระหนักถึงความสำคัญและการทำวิจัยทรัพยากรชีวภาพเพื่อมุ่งพัฒนาระบบนิเวศและนำผลการศึกษาไปต่อยอดในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขององค์กรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรชีวภาพและระบบนิเวศ เนื่องด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตมนุษย์ สร้างความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากปัญหาพื้นที่ป่าไม้ของไทยได้ถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของทรัพยากรชีวภาพ ทำให้ อ.อ.ป. ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้รวมถึงสวนป่าของ อ.อ.ป. โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่มีการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเสมอมา เพื่อมุ่งพัฒนาคุณค่าการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อรวบรวม และสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพพืชพรรณและสัตว์ป่าในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสวนป่า

 เป้าหมาย

เพื่อการรวบรวม และสำรวจข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพพืชพรรณและสัตว์ป่าในพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสวนป่า และจัดทำรายงานผลการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพพืชพรรณและสัตว์ป่า ภายในพื้นที่อนุรักษ์ของสวนป่าเป้าหมายโครงการฯ โดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ ออป. และชุมชนท้องถิ่น อันเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของ ออป. ในการวางแผนการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและพัฒนาการใช้ประโยชน์โดยชุมชนบนฐานความหลากหลายของทรัพยากรในท้องถิ่น เป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติเพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามหลักเกณฑ์ของ FSC

พื้นที่ดำเนินการ

ดำเนินการศึกษาในพื้นที่สวนป่าภายใต้การดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ทั้งหมด 23 สวนป่า

ขอบเขตการดำเนินงาน

1 รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่เป้าหมายเพื่อจำแนกทางอนุกรมวิธาน และนิเวศวิทยา รวมถึงวิเคราะห์สถานภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเน้นชนิดพันธุ์หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (หากมีการรายงานหรือสำรวจพบ) รวมถึงสำรวจข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติมในพื้นที่ที่ไม่ปรากฏการรายงานความหลากหลายทางชีวภาพพรรณพืชและสัตว์ป่า

2 ระบุพื้นที่ที่สำคัญของชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (หากมีการรายงานหรือสำรวจพบ) และชนิดพันธุ์ที่มีการรายงานการพบใหม่

3 ขั้นตอนการศึกษาภาคสนาม จะแบ่งวิธีการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ความหลากหลายของพรรณพืช และ 2) ความหลากหลายของสัตว์ป่า

ขั้นตอนการศึกษาภาคสนาม จะแบ่งวิธีการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. การศึกษาโครงสร้างป่าและองค์ประกอบพรรณพืช

1) คัดเลือกพื้นที่ตัวอย่างในบริเวณพื้นที่ที่กันไว้สำหรับเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของสวนป่า เพื่อเป็นตัวแทนการศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบพรรณพืชภายในป่า และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการเปรียบเทียบองค์ประกอบชนิดพันธุ์พืชในป่าธรรมชาติบริเวณใกล้เคียง ว่าภายในพื้นที่ป่าอนุรักษ์นั้นมีการสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติ (natural regeneration) ของชนิดพันธุ์พืชดั้งเดิม (native species) มากน้อยเพียงใด ในที่นี้จะใช้การสุ่มแบบเจาะจง (purposive random sampling) บริเวณที่ถือว่าเป็นหมู่ไม้ที่เป็นตัวแทนที่ดีของพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ด้วยวิธีการวางแปลงตัวอย่างชั่วคราว (temporary plot) ขนาด 20 เมตร x50 เมตร (จำนวนอย่างน้อย 3 แปลงต่อหนึ่งพื้นที่) โดยแบ่งเป็นแปลงย่อยขนาด 10 เมตร x 10 เมตร, 4เมตร x 4 เมตร และ 1 เมตร x 1 เมตร จำนวนอย่างละ 10 แปลง เพื่อใช้ในการสำรวจ 1) ไม้ใหญ่ (tree) คือไม้ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 1.30 เมตร (Diameter at breast height, DBH) มากกว่า 4.5 cm 2) ไม้รุ่น (sapling) คือไม้ที่มีขนาด DBH น้อยกว่า 4.5 cm แต่สูงเกิน 1.3 m และ 3) กล้าไม้ (seedling) คือไม้ที่มีความสูงน้อยกว่า 1.30 เมตร ตามลำดับ สำหรับพรรณไม้ที่ไม่สามารถทำการจำแนกชนิดได้ในภาคสนามจะใช้วิธีเก็บตัวอย่าง (Specimens) จำนวนชนิดละ 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาจำแนกและเปรียบเทียบกับชนิดพรรณไม้ ในหอพรรณไม้ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชไม้ต่อไป

2) เก็บข้อมูลโครงสร้างด้านตั้ง (profile diagram) และการปกคลุมของเรือนยอด (crown cover diagram) โดยวางแปลงตัวอย่างขนาด 10 x 50 เมตร ที่เป็นตัวแทนที่ดีภายในสังคมพืช

3) ทำการประเมินค่าดัชนีความสำคัญของพรรณพืช (Importance Value Index, IVI) ของพืชแต่ละชนิดในสังคม เพื่อการวิเคราะห์หาชนิดพรรณไม้เด่นที่สามารถนำมาใช้เป็นตัวดัชนีชี้วัด (Indicator) ของแต่ละชนิดป่าได้ พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในที่นี้ใช้ค่าดัชนีความหลากหลายของ Shanon-Wiener Index สำหรับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศป่าไม้

4) การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการวิเคราะห์ค่าต่างๆ

2. การศึกษาความหลากหลายของสัตว์ป่า

จำแนกสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังออกเป็น 4 กลุ่ม คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (mammals) นก (birds) สัตว์เลื้อยคลาน (reptiles) และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (amphibians) จากนั้นทำการวางแผนการสุ่มตัวอย่าง โดยเลือกวาง Base line และวางแปลงแบบเป็นระบบ (systematic line plot system) โดยมีรายละเอียดการศึกษาแตกต่างกันตามกลุ่มของสัตว์ป่า

1) การสำรวจและรวบรวมข้อมูลสัตว์ป่าและการศึกษาสภาพนิเวศวิทยาของพื้นที่โครงการมีแนวทางการศึกษา คือ

- การรวบรวมข้อมูล: การรวบรวมข้อมูลความหลากชนิดของสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการและใกล้เคียงจากรายงานและเอกสารที่ได้ดำเนินงานที่ผ่านมา

- สำรวจภาคสนาม จากนั้นทำการวางแผนการสุ่มตัวอย่าง โดยเลือกวาง Base Line และวางแปลงแบบ Systematic Line Plot System โดยมีรายละเอียดการศึกษาแตกต่างกันตามกลุ่มของสัตว์ป่า

ข้อเสนอแนะ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)

1.       ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและศึกษาดูงานสำหรับการพัฒนาบุคลากร

2.      ควรมีแผนการดำเนินงานด้านการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพขององค์กร ทั้งในระดับนโยบายและระดับผู้ปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

3.      ควรมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนิงานด้านการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ

องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพมีอะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เเบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) เป็นความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน 2.ความหลากหลายทางชนิด (species diversity) เป็นความแปรผันที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต

ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึงอะไร มีกี่ประเภท

ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การที่มีสิ่งมีชีวิตมากมาย หลากหลายสายพันธุ์และชนิดในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ความหลากหลายของสปีซีส์ ความหลากหลายทางพันธุกรรม และความหลากหลายของระบบนิเวศ

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสําคัญอย่างไรบ้าง

ความสำคัญของความหลากหลายชีวภาพทางการเกษตร สร้างความมีเสถียรภาพและความยั่งยืนให้กับพื้นที่เกษตรกรรมและสภาพแวดล้อม การมีสายพันธุ์พืช สายพันธุ์สัตว์ ที่หลากหลายซึ่งช่วยป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชได้ มีส่วนช่วยในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความหมายว่าอย่างไร

ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้