แนวคิดในการรวมตัวเป็นอาเซียนมีอยู่ในเอกสารใดและมีความสำคัญอย่างไร

1.ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

  • สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 (ค.ศ. 1967) ณ กรุงเทพฯ เป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความมั่นคงทางการเมือง การเจริญเติบโตทางการค้าและทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาทางสังคมของประเทศสมาชิก แรกเริ่ม อาเซียนประกอบด้วย 5 ประเทศคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาได้ขยายจำนวนประเทศสมาชิกเป็น 10 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • อาเซียนมีพัฒนาการต่อเนื่องมาเป็นลำดับ โดยเริ่มต้นจากความร่วมมือด้านความมั่นคงเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังจากภูมิภาคอาเซียนมีความมั่นคงทางการเมืองมากขึ้น จึงเปลี่ยนความสนใจมาเน้นที่เรื่องเศรษฐกิจ และเป็นที่มาของการจัดตั้ง "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2560 โดยขนาดเศรษฐกิจของอาเซียนรวมกันใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีประชากร 642.1 ล้านคน
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยให้การทำธุรกิจและการลงทุนร่วมกันภายในอาเซียนสะดวกมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง ขณะที่การนำจุดแข็งด้านเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมาส่งเสริมซึ่งกันและกันจะทำให้ผลิตภาพ (Productivity) ของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนดีขึ้น

    นอกจากนี้ การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านยังถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนอีกด้วย และอาเซียนยังถือเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

2.บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย

     กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบหลักด้านความร่วมมือทางการเงินและระบบสอดส่องดูแลเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกในภูมิภาค โดยดำเนินการภายใต้การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers' and Central Bank Governors Meeting – AFMGM) ซึ่ง ธปท. มีบทบาทส่งเสริมและผลักดันการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจในส่วนของการส่งเสริมความร่วมมือทางการเงิน โดยมีเป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมการรวมกลุ่มในภาคการเงิน (Integration) การส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Inclusion) และการส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินในประชาคมอาเซียน (Stability) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเงินของทุกประเทศสมาชิก

     การรวมกลุ่มทางการเงินมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในหลายด้านผ่านการดำเนินงานของคณะทำงานต่างๆ ดังภาพ ซึ่งในส่วนที่ ธปท. เกี่ยวข้อง ครอบคลุมการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายเงินทุน การพัฒนาตลาดทุนภูมิภาค การพัฒนาระบบชำระเงิน การเข้าถึงบริการทางการเงิน การเปิดเสรีภาคบริการทางการเงิน ตลอดจนการเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินในประเทศหนึ่งสามารถเข้าไปทำธุรกิจในอีกประเทศได้ง่ายและสะดวกขึ้น ตามกรอบความร่วมมือเปิดเสรีในภาคธนาคาร "Qualified ASEAN Bank (QAB)" ซึ่งเป็นการเจรจาทวิภาคีตามความสมัครใจและความพร้อมของประเทศสมาชิกเป็นคู่ ๆ ไป เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยกับธนาคารกลางมาเลเซียที่ได้เจรจาเสร็จแล้ว

     นอกจากการรวมกลุ่มทางการเงินแล้ว ธนาคารกลางอาเซียนยังมีความร่วมมือในการจัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง โดยได้ลงนามในสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียน (ASEAN Swap Arrangement – ASA) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2520 (ค.ศ. 1977) สัญญาดังกล่าวมีอายุ 2 ปีและได้รับการต่ออายุมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีวงเงินความช่วยเหลือรวม 2 พันล้านเหรียญ สรอ.

     เมื่อปี 2562 ไทยรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนภายใต้แนวคิดหลัก “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” (Advancing Partnership for Sustainability) ที่มุ่งหวังให้อาเซียนร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานการได้รับประโยชน์ร่วมกัน
เพื่อก้าวไปข้างหน้าสู่ความยั่งยืนในทุกภาคส่วน และภาคการเงิน ได้เน้นการทำงานที่สอดคล้องกับแนวคิดหลักดังกล่าวใน
3 ด้าน ได้แก่
1) ความเชื่อมโยง (Connectivity) เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มทางการเงินและส่งเสริมให้การบริการทางการเงินมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทำให้ภาคเอกชนสามารถทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย ธปท. มีการดำเนินการที่สำคัญ คือ การผลักดันการใช้เงินสกุลท้องถิ่น และการส่งเสริมการพัฒนาบริการชำระเงินระหว่างประเทศ

2) ความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อให้สถาบันการเงินและตลาดตราสารต่างๆ ที่เป็นตัวกลางทางการเงิน ทำหน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนไปสู่ภาคธุรกิจโดยเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและสังคมในระยะยาวมากกว่าผลตอบแทนในระยะสั้น โดย ธปท. จะผลักดัน Sustainable Finance เป็นวาระหลักของอาเซียนและยกระดับความตระหนักรู้เรื่อง Sustainable Banking

3) การสร้างภูมิคุ้มกัน (Resilience) เพื่อให้ระบบการเงินของภูมิภาคมีเสถียรภาพและปลอดภัย โดย ธปท. จะมุ่งเน้นการพัฒนากรอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาคการเงิน ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางไซเบอร์ในภาคการเงินที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาความรู้ด้าน Cybersecurity ของบุคลากรทางการเงินของอาเซียน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมความร่วมมือระหว่างประเทศ 1-2 ฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ

สายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร
โทร. 0-2283-6184 หรือ 0-2283-5168

e-mail:

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)

1. ภาพรวม

1.1 อาเซียนมีเป้าหมายจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ที่ประกอบด้วยสามเสาหลัก

ได้แก่ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม วิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำอาเซียน คือ การสร้าง

ประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็น

ศูนย์กลาง โดยเมื่อปี 2551 ได้มีการจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (Roadmap) ในทั้งสามเสาหลัก

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน คือการสร้างประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้าง

โอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยให้ประชาชนมี

ความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และประชาชนในอาเซียนมี

ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

1.2 ต่อมาในปี 2552 ไทยได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Connectivity)

เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชาคมอาเซียน และนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

(ค.ศ. 2015) อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในเวทีโลก

1.3 นอกจากการสร้างประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็งแล้ว อาเซียนยังให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์

กับนอกภูมิภาค โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมในภูมิภาค และ

เพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก

2. การดำเนินการเพื่อรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

2.1 สามเสาหลักของประชาคมอาเซียน

2.1.1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ 1) มีกติกาและมีการพัฒนา

ค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน โดยยึดมั่นหลักการของการไม่แทรกแซงกิจการภายในและการส่งเสริมค่านิยมของ

ประชาคมควบคู่กันไป 2) มีความเป็นเอกภาพ ความสงบสุข และความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกัน

เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนพึ่งพาอาศัยกลไกของตนมากขึ้นใน

การแก้ไขปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ในภูมิภาค และ 3) มีพลวัตและมีปฏิสัมพันธ์กับนอกภูมิภาคอาเซียน

2.1.2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) การเป็นตลาดและฐาน

การผลิตเดียวสำหรับประชากร 600 ล้านคนในอาเซียน โดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและบุคลากร

วิชาชีพต่าง ๆ อย่างสะดวกมากขึ้น และมีการไหลเวียนอย่างเสรียิ่งขึ้นสำหรับเงินทุน 2) การสร้างขีดความสามารถใน

การแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทาง

เศรษฐกิจ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยการพัฒนา SMEs และการเสริมสร้าง

ขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration:

IAI) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และ 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยเน้นการปรับประสาน

นโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน รวมทั้งส่งเสริม

การสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก

2.1.3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม มีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สังคม

ที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

ของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน โดยให้ความสำคัญ

กับการดำเนินการใน 6 สาขา ได้แก่ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และการลดช่องว่างทางการพัฒนา

2.2 ความเชื่อมโยง อาเซียนได้จัดทำแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Master

Plan on ASEAN Connectivity) ในปี 2553 เพื่อเป็นกรอบในการร่วมมือในการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันใน 3 มิติ

คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยความเชื่อมโยงดังกล่าว

จะเน้นอาเซียนในเบื้องต้น และจะเป็นพื้นฐานในการเชื่อมโยงไปภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ

อื่น ๆ ต่อไป

3. ความสัมพันธ์กับนอกภูมิภาค

3.1 การรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนเป็นผู้ขับเคลื่อน

กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ในภูมิภาค ได้แก่ ASEAN+1 ASEAN+3 East Asia Summit (EAS) และ ASEAN Regional

Forum (ARF) ทั้งนี้ อาเซียนสามารถผลักดันให้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ เกิดประโยชน์สูงสุดกับอาเซียน

3.2 การเพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีโลก อาเซียนมีส่วนร่วมในการประชุม G20 อย่างต่อเนื่อง และมีการประชุม

ระหว่างผู้นำอาเซียนกับเลขาธิการสหประชาชาติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งได้จัดทำความเป็นหุ้นส่วนรอบด้านกับ

สหประชาชาติ (ASEAN-UN Comprehensive Partnership) โดยส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นที่มีผลประโยชน์

ร่วมกัน นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนได้ลงนาม Bali Declaration on the ASEAN Community in the Global

Community of Nations (Bali Concord III) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะมีบทบาทสร้างสรรค์ในเวทีโลก

มากขึ้น และผลักดันให้อาเซียนมีท่าทีที่สอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้นในประเด็นที่ประเทศสมาชิก

อาเซียนให้ความสำคัญ และล่าสุด ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ผู้นำ

อาเซียนได้รับรอง Bali Concord III Plan of Action เพื่อวางแนวทางการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว

4. ภาพรวมพัฒนาการในอาเซียน

• การสร้างประชาคมอาเซียน อาเซียนให้ความสำคัญกับการเร่งรัดการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานสู่

ประชาคมอาเซียนในทั้งสามเสา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยเฉพาะการเร่งรัด

การรวมตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตภายในภูมิภาคเป็นหลัก และลดการพึ่งพาเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน

ในขณะเดียวกัน ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้มีความเสมอภาคกันระหว่างสมาชิกมากขึ้น ทั้งนี้

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ผู้นำอาเซียนได้ตกลงที่จะกำหนดวันที่อาเซียนจะเป็นประชาคมอาเซียน

อย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม 2558

• การขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา FTA ของอาเซียน 6

ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ได้ประกาศเริ่มการเจรจา RCEP อย่างเป็นทางการ

ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 โดย RCEP จะเป็น FTA ระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมตลาดครึ่งหนึ่งของโลก

• การบริหารจัดการภัยพิบัติ อาเซียนได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานอาเซียนสำหรับความช่วยเหลือด้าน

มนุษยธรรมในการจัดการภัยพิบัติ (AHA Center) ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อเป็นกลไกกลางในการประสานข้อมูลเกี่ยวกับ

การเกิดภัยพิบัติในภูมิภาคและการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบภัยพิบัติ นอกจากนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพ

ร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีจัด ARF Disaster Relief Exercise 2013 (DiREx 2013) ในเดือนพฤษภาคม 2556 เพื่อ

ฝึกซ้อมการรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในภูมิภาค

• สิทธิมนุษยชน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 ได้รับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

(ASEAN Human Rights Declaration) ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

ในภูมิภาคและสะท้อนเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียนในการยึดมั่นหลักการสิทธิมนุษยชนซึ่ง

ถือเป็นค่านิยมสากล

• สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation -

AIPR) ในการประชุมสุดยอด ครั้งที่ 21 ได้มีการเปิดตัวสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ ซึ่ง

เป็นองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน (Track II) โดยมีหน้าที่หลักในการดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องสันติภาพ

การจัดการความขัดแย้ง และการแก้ไขความขัดแย้ง

• ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Mine Action Center - ARMAC) ผู้นำอาเซียน

เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยมีเป้าหมาย

ให้ภูมิภาคอาเซียนปราศจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดที่หลงเหลือจากสงคราม รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหา

ด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากทุ่นระเบิด

กลุ่มงานนโยบาย

กรมอาเซียน

พฤศจิกายน 2555

แนวคิดในการรวมตัวเป็นอาเซียนมีอยู่เอกสารใด

กฎบัตรอาเซียน กำหนดขึ้นมาโดยมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ ซึ่งกฎบัตรอาเซียนนี้มีผลทำให้องค์กรอาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล โครงสร้างของกฎบัตรอาเซียน

แนวคิดในการรวมตัวเป็นอาเซียนมีสาระสำคัญอย่างไร

ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน คือการสร้างประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้าง โอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยให้ประชาชนมี ความเป็นอยู่ที่ดีและสามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และประชาชนในอาเซียนมี

เอกสารสำคัญที่ก่อให้เกิดอาเซียนคืออะไร

เอกสารสำคัญอาเซียน.
Master Plan on ASEAN Connectivity. ... .
Roadmap for an ASEAN Community 2009-2015. ... .
การจัดทำความตกลงว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของอาเซียน ... .
กฎบัตรอาเซียน ... .
Bali Concord II 2003. ... .
Bali Concord III 2011. ... .
ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration of the Conduct of Parties in the South China Sea - DOC).

สาระสําคัญของกฎบัตรอาเซียนครอบคลุมเรื่องใดบ้าง

สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน มีสาระสำคัญ คือ เพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงาน การเคลื่อนย้ายทุนเสรียิ่งขึ้น ด้านการเมืองความมั่นคง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้