ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมักเกิดโรคใดมากที่สุด

กลุ่มคนแรงงาน คือ กลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่กลุ่มแรงงานเองก็มักจะประสบปัญหาซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิตมาโดยตลอด หนึ่งในปัญหาเหล่านั่นก็คือ ปัญหาเรื่องสุขภาพ ซึ่งมีข้อมูลระบุว่า มีกลุ่มแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบเป็นจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการทำงานในสถานประกอบการ

สถานการณ์โรคและการเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ

การเจ็บป่วยของแรงงานในระบบจากฐานข้อมูลประกันสังคม พ.ศ. 2551 ยังพบว่า มีผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานทั่วประเทศจำนวน 176,502 ราย โดยจำแนกออกเป็นผู้ป่วยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากที่สุด จำนวน 111,740 ราย รองลงมาได้แก่ เขตภาคกลาง จำนวน 40,892 ราย เขตภาคใต้ จำนวน 8,220 ราย เขตภาคเหนือ จำนวน 8,165 ราย และเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7,485 ราย ตามลำดับ 

จากผลการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี พ.ศ. 2552 มีแรงงานนอกระบบที่เคยได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุมีจำนวนถึง 4.6 ล้านคน หรือ คิดเป็นร้อยละ 18.9 ของกลุ่มแรงงานนอกระบบ และพบว่ามีแรงงานนอกระบบที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุมีจำนวนเฉลี่ยวันละ 12,603 คนต่อวัน โดยลักษณะของการเกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากการถูกของมีคมบาด หรือทิ่มแทงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.7 รองลงมาเป็น การพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 13.5 การชนและกระแทก ร้อยละ 7.8 ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ร้อยละ 3.9 อุบัติเหตุจากยานพาหนะ ร้อยละ 3.7 ได้รับสารเคมี ร้อยละ 1.2 ไฟฟ้าช็อต ร้อยละ 0.4 และอื่นๆ ร้อยละ 0.8 ตามลำดับ 

อย่างไรก็ตาม สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รายงานสถานการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคจากสารเคมีจากการประกอบอาชีพทั่วประเทศไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2551 พบผู้ป่วยทั้งหมด 2,141 ราย ในจำนวนนี้ป่วยด้วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์มากที่สุดเป็นจำนวน 1,705 ราย รองลงมาได้แก่ โรคพิษจากสารเคมีจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 165 ราย โรคปอดนิวโมโคนิโอซิส 135 ราย โรคพิศจากก๊าซและไอระเหย 69 ราย โรคพิษแมงกานีส พิษปรอทและพิษสารหนู 42 ราย และโรคพิษตะกั่ว 25 ราย เมื่อวิเคราะห์การเจ็บป่วยในแต่ละโรคแล้ว พบว่า โรคต่างๆ นั้นมีความสำพันธ์กับการทำงาน ซึ่งสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคได้รายงานสิถิติการเจ็บป่วยของแต่ละกลุ่มโรคซึ่งจำแนกตามกลุ่มอาชีพไว้ดังนี้ 

โรคจากการประกอบอาชีพที่สำคัญ 

1. โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide poisoning) 

สารเคมีกำจัดเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ถูกนำมาใช้ทั้งในการเกษตรและกำจัดแมลงในบ้านเรือน ดังนั้นทั้งตัวเกษตรกรเองและคนทั่วไปจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีจากการสัมผัสต่างๆ เช่น ทางผิวหนัง ช่องปาก และทางลมหายใจ ในปี พ.ศ. 2543 – 2552 มีรายงานผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ยปีละ 1,996 ราย สูงสุดในปี พ.ศ.2543 จำนวน 3,109 ราย ต่ำสุดในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 1,251 ราย โดยหลังจากนั้นมีแนวโน้มการป่วยลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการแยกการรายงานที่มีสาเหตุจากการทำร้ายตนเองออก (ดังภาพที่ 1) 

ที่มา :รายงานโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide Poisoning) อ้างใน สรุปรายการการเฝ้าระวังโรค 2552 

จากการรายงานข้อมูลในปี พ.ศ. 2552 พบว่า อาชีพที่ป่วยด้วยโรคนี้สูงสุด ได้แก่ อาชีพเกษตรกร จำนวน 694 ราย (ร้อยละ 41.04) รองลงมา คือ รับจ้าง 420 ราย (ร้อยละ 24.84) เด็กในปกครองและเด็กนักเรียน 448 (ร้อยละ 26.49) และอาชีพอื่นๆ 129 (ร้อยละ 7.63) 

ตลอดทั้งปีของทุกปีจะพบผู้ป่วยสูงในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ในปี พ.ศ. 2552 สถิติที่พบผู้ป่วยสูงสุดจะอยู่ในเดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม รวม 561 ราย (ร้อยละ 33.18) ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนเกษตรกรเริ่มเพาะปลูกและมีการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูร่วมด้วย (ดังภาพที่ 2) 

ที่มา :รายงานโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide Poisoning) อ้างใน สรุปรายการการเฝ้าระวังโรค 2552 

2.โรคพิษจากสารทำละลายอินทรีย์ (Organic solvent poisoning)

สารระเหยและสารทำละลายอินทรีย์เป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ มากมาย อาทิเช่น อุตสาหกรรมการผลิตอิเลคทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ ทอผ้า ย้อมผ้า ฯลฯ ซโดยสารพิษดังกล่าวส่งผลกระทบให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตต่อผู้สัมผัส สารละลายอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดพิษที่สำคัญ ได้แก่ เบนซีน โทลูอีน สไตรีน ไตรคลอโรเอธีนลีน และอื่นๆ เป็นต้น 

จากการรายงานข้อมูลผู้ป่วยในปีพ.ศ. 2547-2552 พบว่า แนวโน้มของผู้ป่วยด้วยโรคพิษจากสารละลายอินทรีย์มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2550 แต่หลังจากนั้นก็มีแนวโน้มลดลงในปีถัดมา (ดังภาพที่ 3) 

ที่มา :รายงานโรคพิษจากสารทำละลายอินทรีย์ (Organic solvent Poisoning) อ้างใน สรุปรายการการเฝ้าระวังโรค 2552 

โดยข้อมูลในปี พ.ศ. 2552 พบว่า อาชีพที่ป่วยด้วยโรคนี้สูงสุดคือ อาชีพรับจ้าง 35 ราย (ร้อยละ 23.64) รองลงมาคือ เกษตรกรรม 30 ราย (ร้อยละ 20.27) และนักเรียน 11 ราย (ร้อยละ 7.43) และ ไม่ทราบอีก 53 ราย (ร้อยละ 35.81) 

3. โรคปอดจากการประกอบอาชีพ 

โรคปอดเกิดจากการสูดเอาอณูของสารพิษเข้าไปข้างในทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจ ปอดจะถูกทำลายหรือเป็นพังผืดที่เนื้อปอด และสูญเสียการทำงานไปในที่สุด 

จากการรวบรวมข้อมูลย้อนหลังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 จนถึง ปีพ.ศ. 2552 พบว่า แนวโน้มของผู้ป่วยด้วยโรคปอดจากการประกอบอาชีพมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ดังภาพที่ 4) 

ที่มา :รายงานโรคปอดจากการประกอบอาชีพ (Occupational lung diseases) อ้างใน สรุปรายการการเฝ้าระวังโรค 2552 

ทั้งนี้ โรคปอดยังจำแนกออกเป็นโรคปอดที่เกิดจากการทำงาน โดยการสัมผัสฝุ่นอนินทรีย์ เช่น ซิลิโคลิส และฝุ่นแร่อื่นๆ ดังมีข้อมูลผู้ป่วยดังนี้ 

3.1 โรคปอดจากฝุ่นหินทราย (Silicosis) 

จากรายงานผลการเฝ้าระวังโรคปอดจากฝุ่นหินทรายในช่วงปี 2545- 2552 ของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของพนักงานโรงโม่หิน ชุมชนโรงโม่หิน และกลุ่มสกัดครกหิน พบว่า มีแนวโน้มของผู้ที่มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น โดยในปี 2552 จากการตรวจสุขภาพรายใหม่ด้วยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกของโรงพยาบาลจังหวัดชลบุรี ในกลุ่มพนักงานโรงโม่หินจำนวน 861 คน กลุ่มสกัดครกหินอ่างศิลา จำนวน 58 คน กลุ่มชุมชนโรงโม่หิน จำนวน 31 คน พบว่า มีอุบัติการณ์โรคปอดฝุ่นหินในกลุ่มสกัดครกหินมากที่สุด ร้อยละ 10.34 รองลงมา ได้แก่ กลุ่มชุมชนโรงโม่หิน ร้อยละ 9.68 และกลุ่มพนักงานโรงโม่หิน ร้อยละ 3.48 

3.2 โรคปอดจากแร่ใยหิน (Asbestosis) 

จากรายงานการเฝ้าระวังและค้นหาโรคปอดจากแร่ใยหินของกรมควบคุมโรคในปี 2551 ในกิจการประเภทเดียวกันจำนวน 14 แห่งในกลุ่มคนงานที่เสี่ยง พบว่า มีผู้ผิดปกติเป็นโรคนี้ จำนวน 39 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.9 และมีคนทำงานที่คาดว่าจะป่วยจากแร่ใยคิดในอนาคตจำนวน 20 ราย โดยการทำ High-Resolution CT Scan 

ทั้งนี้มีผลการตรวจฝุ่นแร่ใยหินในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เกินเกณฑ์มาตรฐานของ ACGIH (American Conference of Industrial Hygienists) จำนวน 16 ตัวอย่าง และเกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย จำนวน 2 ตัวอย่าง 

4. สารพิษจากตะกั่ว (Leading poisoning) 

ตะกั่วเป็นแร่ธาตุประเภทโลหะหนักถูกนำมาใช้ในขบวนการผลิต เช่น โรงงานถลุงและหลอมตะกั่ว โรงงานทำแบตเตอรี่ ทำหม้อน้ำรถยนต์ สีทาบ้าน เป็นต้น สาเหตุของการป่วยเกิดจากการสูดไอตะกั่ว หรือกิน หรือสัมผัสสารตะกั่ว (ดูดซึมผ่านผิวหนัง) เป็นเวลานาน จนร่างกายมีการสะสมสารตะกั่ว ถึงระดับที่เป็นพิษมักเกิดจากการประกอบอาชีพในโรงงานที่มีสารตะกั่ว 

จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา พบว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2552 มีรายงานผู้ป่วยพิษสารตะกั่ว จำนวน 397 ราย เฉลี่ยปีละ 39.7 ราย จากแนวโน้มการป่วย พบ ผู้ป่วยสูงสุดในปี พ.ศ. 2544 จำนวน 104 ราย และพบผู้ป่วยต่ำสุดในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 14 ราย หลังจากนั้นแนวโน้มการเจ็บป่วยก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ (ดังภาพที่ 5) 

ที่มา : รายงานพิษโลหะหนัก (Occupational lung diseases) สรุปรายการการเฝ้าระวังโรค 2552

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้