คนที่เป็นนักสังคมสงเคราะห์ควรปฏิบัติธรรมข้อใดให้มาก

๙๑

- เสด็จประพาสเพื่อธรรม คือเที่ยวนมัสการปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาและแนะนำสั่งสอน
ประชาชนให้รู้และปฏิบัติธรรม


- ทรงปฏิวติสังคมโดยธรรม คือยกเลิกพิธีกรรมต่างๆ ที่มีการเบียดเบียนทำลายล้างห้ามการฆ่า
สัตว์บูชายัญ ด้วยกฎ “มา ฆาต” คือห้ามฆ่า แม้ภายในพระราชวังเองก็ห้ามฆ่าสัตว์

- ทรงใช้ระบบรัฐสวัสดิการ ด้วยการสร้างโรงพยาบาลขึ้นรักษาคน และโรงพยาบาลรักษาสัตว์

ปลูกสมุนไพรไว้ในส่วนต่างๆ ของประเทศ ขุดบ่อน้ำ สระน้ำ สร้างถนนคูคลอง เพื่ออำนวยความสะดวก
แก่ประชาชน

- ให้เลิกพิธีกรรมทุกชนิดที่ไม่เป็นธรรม และได้นำเอาหลักของมงคลสูตร สิงคาลสูตรให้คน
ปฏิบัติต่อกันตามสมควรแก่ฐานะหน้าที่ เน้นให้ประชาชนรู้จักคุณค่าของธรรมทาน เห็นคุณค่าของการ

แนะนำ การรับการแนะนำสั่งสอนกันด้วยเมตตา กรุณา

- ทรงตั้งข้าหลวงแทนพระองค์เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรม โดยให้ข้าหลวงเหล่านั้นสร้าง
ความรู้สึกต่อประชาชนว่า เป็นเหมือนลูกหลานของตน ให้พยายามสอดส่องดูแลสุขทุกข์ของเขาดุจบิดา

เอาใจใส่ดูแลบุตรธิดาของตน การกระทำทุกอย่างทรงเน้นหนักไปที่ผลประโยชน์อันผู้กระทำถึงได้ในภพนี้

และภพหน้าผลจากการปกครองโดยระบบธรรมาธิปไตย ทำให้เพื่อนบ้านใกล้เคียงมีสัมพันธไมตรีกับ
พระองค์ มีเมืองเป็นอันมากที่ยอมเป็นข้าขอบขันธเสมา เพราะความเคารพศรัทธาต่อพระเจ้าอโศก

มหาราช ความสงบสุขจึงได้บังเกิดขึ้น
๑๐๓

เราจะเห็นว่าความเป็นมาของพระพุทธศาสนานั้น ก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาในแง่ของสังคม

สงเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น การนำมาใช้เป็นแนวทางในการบริหารประเทศ จะเห็นว่า จุดเด่นของการเผยแผ่
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่สำคัญนั้น จะเน้นการนับถือพระพุทธศาสนาจนสามารถ

นำเอาหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารประเทศ ซึ่งก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในทาง
พระพุทธศาสนา

๔.๒. ความสำคัญของพระพุทธศาสนา เชิงหลักการพื้นฐาน

การเป็นไปอย่างสมดุล และการสอดคล้องกับจุดหมายหลักของชีวิต โดยในหลักการดังกล่าว

นี้จะกล่าวถึง ๒ ส่วน โดยส่วนที่หนึ่งนั้นจะ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ การเป็นไปอย่างสมดุล และส่วนที่
๒ การสอดคล้องกับจุดหมายหลักของชีวิต

๑๐๓ สิริวัฒน์ คำวันสา, ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท จรัลสนิทวงศ์
การพิมพ์ จำกัด, ๒๕๔๒), หน้า ๑๐.

๙๒

ส่วนที่ ๑ การเป็นไปอย่างสมดุล กล่าวคือ เป็นหลักปฏิบัติให้พอเหมาะพอดี ไม่เคร่งเกินไป

ไม่เน้นการพัฒนาทางด้านวัตถุมากจนเกินไป และไม่เน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจมากจนเกินไป โดย
๑๐๔
พระพุทธองค์สอนให้ดำเนินชีวิตด้วยความพอดี พัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ และวัตถุไปพร้อมๆ กัน

ส่วนที่ ๒ การสอดคล้องกับจุดหมายหลักของชีวิต เราจะเห็นว่าหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนา ล้วนแต่มีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะสืบเนื่องมาจากหลักสัจธรรม

เดียวกัน เป็นไปเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน คือ ความดับทุกข์ หรือปัญหาอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
เพราะฉะนั้น การสังคมสงเคราะห์ตามแนวพุทธ จะต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายหลักของชีวิต คือ

การดับทุกข์หรือปัญหาได้ โดยส่วนนี้จะกล่าวถึงปลีกย่อยของการสอดคล้องกับจุดหมายหลักของ
๑๐๕

ชีวต ประกอบ ไปด้วยหลักทั้ง ๓ ประการ คือ ๑) การยึดทางสายกลาง ๒) การยึดหลักพึ่งตนเอง และ
๓) การคำนึงถึงหลักเหตุผล โดยจะมีรายละเอียดอย่างส่วนต่างๆ ประกอบกันดังต่อไปน ี้

๑) การยึดทางสายกลาง
ในหลักการแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญมาก ในธัมมจักกัปปวัตตน

สูตร พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาด ๒ ประการ คือ กามสุชัลลิกานุโยค คือ
๑๐๖
การหมกหมุ่นในความสุขทางกาม กับ อัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานตนให้ลำบาก พระองค์ตรัสว่า
การกระทำทั้งสองอย่างนี้ ไม่ใช่ทางที่จะทำให้บุคคลบรรลุถึงการดับทุกข์ได้ และทรงเสนอการปฏิบัติ

ตามหลักที่ถูกต้อง คือ มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง (มรรคมีองค์ ๘) โดยตามแนวทางที่กล่าวมานี้

เป็นการปฏิบัติที่ไม่ตึงจนเกินไปและไม่หย่อนจนเกินไป เป็นการปฏิบัติที่พอเหมาะพอดีและให้สำเร็จ
ประโยชน์ในแง่ของการสังคมสงเคราะห์ ทางกลางในความหมายนี้ คือ การไม่สงเคราะห์เน้นหลัก

ทางด้านวัตถุมากจนไปจนลืมด้านจิตใจ หรือไม่เน้นจิตใจจนลืมวัตถุ แต่เป็นการสงเคราะห์ทั้งทางด้าน

วัตถุ และจิตใจไปพร้อมๆ กันด้วย

๒) การยึดหลักพึ่งตนเอง
ในทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้ที่มีปัญหานั้น ต้องให้ความร่วมมือ

และปฏิบัติด้วยตนเอง “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน บุคคลอื่นใครเล่า จะเป็นที่พึ่งได้ เพราบุคคลที่ฝึกตนดี

๑๐๔ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์, (พระนครศรีอยุธยา : มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙), หน้า ๑๙๙

๑๐๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๐๐.
๑๐๖ วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๓/๒๐.

๙๓

๑๐๗
แล้ว ย่อมได้ที่พึ่งอันได้โดยยาก” โดยพระพุทธองค์ เป็นแต่เพียงผู้บอกหนทางไปสู่ความดับทุกข์
ส่วนการเดินทางนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ที่ต้องการพ้นทุกข์ หรือปัญหา จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติเอง ไม่สามารถ

ให้ใครมาลงมือปฏิบัติแทนได้ ดังพุทธพจน์ดังนี้ “เธอทั้งหลายควรทำความเพียรเองเถิด ตถาคตเป็น
เพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น ผู้บำเพ็ญภาวนาดำเนินตามทางนี้แล้ว เพ่งพินิจอยู่ จักพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาก

๑๐๘
ได้” ถ้าเรามองในแง่ของสังคมสงเคราะห์แล้วปัญหาต่างๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยใน
ลักษณะที่เป็นเหตุผลไม่ได้เกิดขึ้นเพราะอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก ในการแก้ไขปัญหานั้นเป็นเรื่อง
ของเหตุผล ซึ่งเรานั้นต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเหตุปัจจัยที่เป็นการแก้ไขปัญหาเอง หรืออาจกล่าวอีกนัย

หนึ่งว่า ช่วยเขา เพื่อให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ การพึ่งตนเองได้ตามทรรศนะของ
พระพุทธศาสนา ก็คือ การที่บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตนเองได้ ตามพุทธพจน์ว่าด้วย “วิริ

เยน ทุกขมจฺเจติ : บุคคลจะล่วงพ้นทุกข์ได้ ด้วยความเพียร”
๑๐๙

๓) การคำนึงถึงหลักเหตุผล

เราจะเห็นว่าพระพุทธศาสนานั้น มองว่าสิ่งต่างๆ ต้องดำเนินไปตามเหตุปัจจัย หรือ

ดำเนินไปอย่างมีเหตุผล ปัญหา ย่อมเป็นสิ่งที่เกิดแต่เหตุ ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาตามทรรศนะของ
พระพุทธศาสนา จะต้องแก้ไขที่เหตุของปัญหานั้น เมื่อบุคคลแก้ไขปัญหาที่เหตุของการก่อให้เกิด

ปัญหาแล้ว ย่อมจะเกิดผลของการดับปัญหานั้น ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติที่เป็นหลักทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งหลักของการแก้ไขปัญหานี้จะเห็นว่า พระอิสสชิเถระ กล่าวแก่ อุปตสสมาณพ (พระสารีบุตร) ว่า

“ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น

๑๑๐
พระมหาสมณะ มีปกติตรัสอย่างนี้” จะเป็นว่าการกล่าวลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการใช้หลักที่เป็น
เหตุและผลดังที่กล่าวไว้

เราจะเห็นว่า ในความสำคัญของพระพุทธศาสนานั้นประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ๑) การเป็นไป

อย่างสมดุล กล่าวคือ เป็นหลักปฏิบัติให้พอเหมาะพอดี ไม่เคร่งเกินไป ไม่เน้นการพัฒนาทางด้านวัตถุ

มากจนเกินไป และ ๒) ส่วนที่ ๒ การสอดคล้องกับจุดหมายหลักของชีวิต เราจะเห็นว่าหลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนา ล้วนแต่มีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นปลีกย่อยที่

สำคัญอันประกอบด้วย การยึดทางสายกลาง การยึดหลักพึ่งตนเอง และการคำนึงถึงหลักเหตุผลและ

๑๐๗ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑๖๐/๘๒.
๑๐๘ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒๗๖/๑๗๗.

๑๐๙ ขุ.อิติ. (ไทย) ๒๕/๒๘๖/๕๔๓.
๑๑๐ วิ.ม. (ไทย) ๔/๖๐/๗๓.

๙๔

การปฏิบัติธรรมนั้น ในส่วนดังกล่าวก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาตนเองและสังคม
สงเคราะห์เป็นอย่างมาก

๔.๓ ความสำคัญของพระพุทธศาสนา เชิงพระสอนศีลธรรม

ในปัจจุบันนั้นจะเห็นว่า กระทรวงศึกษาธิการได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้

พระพุทธศาสนาตลอดมา โดยเรียงลำดับความสำคัญของพระพุทธศาสนาในเชิงพระสอนศีลธรรมใน
รายละเอียดแต่ละปี ไว้ว่า

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ กระทรวงธรรมการได้กำหนดให้มี “วิชาจรรยา” ซึ่งมีเนื้อหาในด้าน
จริยธรรมและศีลธรรม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการปรับปรุงวิชาจรรยา โดยขยายออกไปเป็นวิชาหน้าที่พลเมืองและ
ศีลธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเป็นหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น

พ.ศ. ๒๕๒๑ และหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๒๔ วิชาศีลธรรมได้ถูกบูรณาการ
ให้อยู่ในวิชาบังคับและวิชาเลือก ภายหลังนั้นก็ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หลักจากที่ได้นำ
หลักสูตรที่ได้มีการปรับปรุงดังกล่าวไปดำเนินการแล้ว ได้มีข้อสังเกตจากองค์กรตลอดจนบุคคลที่หวัง

ดีต่อพระพุทธศาสนาว่าการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ได้ตัดทอนวิชาพระพุทธศาสนาให้ลดน้อยลงไป ทั้ง
คาบวิชาและเนื้อหา ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

พ.ศ. ๒๕๔๔ กระทรวงศึกษาธิการได้ออกคำสั่งให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๔๔ ซึ่งได้พัฒนาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งได้กำหนดให้จัดการศึกษาตามหลักสูตรต้องเป็นไป

เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้คู่คุณธรรม มีจริยธรรม
และวัฒนธรรมแห่งความเป็นคนไทยในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข

เพื่อให้เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ กรมวิชาการจึงได้เสนอขออนุมัติต่อ


กระทรวงศึกษาธการ เพื่อกำหนดมาตรฐานและสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนวิถีพุทธขึ้น

๙๕

ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นไป สำหรับคณะสงฆ์โดย มหาเถรสมาคมได้มีมติสนับสนุน
โรงเรียนวิถีพุทธ คณะสงฆ์ระดับต่างๆ ได้ให้การสนับสนุนจัดพระภิกษุเข้าไป เป็นครูสอนวิชา

พระพุทธศาสนา ในระยะเริ่มแรกกระทรวงศึกษาธิการได้ให้นโยบายกำหนดให้มีโรงเรียนวิถีพุทธนำ
ร่องจังหวัดละ ๒ โรงเรียน

พ.ศ. ๒๕๔๖ จนกระทั่งถึงปัจจุบันมีโรงเรียนวิถีพุทธมากกว่า ๑๕,๐๐๐ แห่ง การจัดตั้ง
โรงเรียนวิถีพุทธขึ้นก็ด้วยมีความเชื่อมั่นว่าโรงเรียนวิถีพุทธจะช่วยแก้ปัญหาในเด็กและเยาวชนไทยได้

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด เรื่องทางเพศหรือเรื่องอบายมุขต่างๆ ในปัจจุบัน สังคมไทยกำลัง
อ่อนแอเพราะปัญหาสังคมได้ระบาดหนักในเด็กและเยาวชน การแก้ไขปัญหานี้จะต้องมีการ ฟื้นฟูจิต

วิญญาณของเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีของสังคม รัฐบาลจึงมีแนวคิดว่า การนำหลักธรรมคำสอน

ของ พระพุทธศาสนาเข้าไปสอนในโรงเรียนนั้นได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ กระทรวงศึกษาธิการจึงขยาย
การสอนวิชา พระพุทธศาสนาไปยังโรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาให้

ครอบคลุมทั่วประเทศ
๑๑๑

ในส่วนของโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนได้กำหนดขึ้นและเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่

ปีงบประมาณ ๒๕๔๖ โดยมีข้อตกลงร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการใน
การสนับสนุนให้พระภิกษุสงฆ์ เข้าไปสอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา

ซึ่งในระยะแรกรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณผ่านทางกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จำนวน

๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เพื่ออุดหนุนเป็น ค่าใช้จ่ายถวายพระที่เข้าไปสอนในสถานศึกษาระดับ
ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและระดับอาชีวศึกษาทั้ง ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน ๘๐๐ รูป โดย

มีวัตถุประสงค์เริ่มแรกประกอบด้วย
๑) เพื่อจัดพระสงฆ์ที่มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติเข้าไปมีส่วนร่วมใน

การจัดการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและระดับอาชีวศึกษา

๒) เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
๓) เพื่อปลูกฝังให้นักเรียน นักศึกษามีความรู้คู่คุณธรรมสามารถนำความรู้และคุณธรรมไป

บูรณาการ พัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข จากการดำเนินงานพบว่าสถานศึกษา

สังกัดกระทรวงศึกษามีความต้องการพระสอนศีลธรรม ในโรงเรียนโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑๑๒

๑๑๑ สำนักงานพระสอนศีลธรรม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, แผนยุทธศาสตร์พระสอน
ศีลธรรม ในช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙), พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร :

หจก.เชนปริ้นติ้ง, ๒๕๕๘), หน้า ๑-๓.
๑๑๒ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓-๔.

๙๖

การที่จะให้พระสอนศีลธรรมนั้นมีคุณภาพ ควรต้องมีการกำหนคุณสมบัติที่จะผ่านการ
คัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่เป็นพระสอนศีลธรรม ให้ทำหน้าที่บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาให้แก่

นักเรียน นักศึกษา เพื่อให้โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่
กำหนดไว้ จะต้องเป็นพระภิกษุที่มีคุณสมบัติ อันประกอบด้วย

๑) เป็นพระภิกษุ มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่สูบบุหรี่ หรือต้องอธิกรณ์ต่างๆ

๒) มีสังกัดวัดที่ชัดเจน และต้องได้รับการอนุญาตจากพระสังฆาธิการผู้ปกครองในวัดที่ตน
สังกัดอยู่

๓) เป็นพระภิกษุที่ได้นักธรรมชั้นเอกขึ้นไปหรือ
๔) เป็นพระภิกษุสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ขึ้นไป มีพรรษา ๕

๕) เป็นพระภิกษุที่มีความสามารถในการสอนโดยได้รับการพิจารณาจากคณะสงฆ์ต้นสังกัด

ในทุกจังหวัด
๖) ผ่านการอบรมจากหน่วยฝึกอบรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๑๑๓

ความสำคัญที่เด่นชัดเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเชิงพระสอนศีลธรรม จะเห็นว่ามีระบบการ
จัดการที่ดี มหาเถรสมาคมมีการสนับสนุนทางพระพุทธศาสนา กับพระสอนศีลธรรมเป็นอันมาก ใน

ส่วนนี้จึงเป็นปัจจัยในการทำให้พระพุทธศาสนาดำรงสืบต่อไป นอกจากนี้รวมไปถึงการพัฒนา

คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพของพระสงฆ์อีกด้วย การที่พระพุทธศาสนาจะดำรงตอไปนั้นควรต้อง
มีการส่งเสริมในด้านคุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญ จึงจะทำให้ทำหน้าที่ในทางศาสนาได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง และหมู่คณะสงฆ์ต่อไป

๔.๔ แนวทางการเผยแผ่ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ในสังคมสงเคราะห์

ในส่วนนี้จะมีการกำหนดแนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่สำคัญ โดยจะแบ่งออกเป็น
ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่หนึ่ง คือ จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในแง่ของสังคม

สงเคราะห์ ส่วนที่สอง หลักการเผยแผ่ในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ในแง่ของสังคมสงเคราะห์

๔.๔.๑ จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในแง่ของสังคมสงเคราะห์

ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญ โดยระบุไว้ ๓ อย่าง ประกอบด้วย การเผย
แผ่เพื่อให้ฟังได้รับผลแห่งการปฏิบัติตามสมควร การเผยแผ่ให้ผู้ฟังได้ไตร่ตรองตามเห็นได้จริง และการ

๑๑๓ อ้างแล้ว, หน้า ๑๖.

๙๗

ให้ผู้เผยแผ่ได้รู้แจ้งในสิ่งที่ควรเห็น โดยจุดมุ่งหมายดังกล่าวเมื่อพิจารณาตามปลีกย่อยจะมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้

๑) การเผยแผ่เพื่อให้ฟังได้รับผลแห่งการปฏิบัติตามสมควร


พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมะมีคุณเป็นมหัศจรรย์ สามารถยังผู้ปฏบัติตามให้ได้รับผล
ตามสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน เช่นในมหาปรินิพพานสูตร เมื่อพระองค์ใกล้จะปรินิพพาน
ทอดพระเนตรเห็นมหาชนนำเครื่องสักการะเป็นอันมากมาบูชาพระองค์จึงตรัสกับพระอานนท์ว่า

การทำการบูชาอย่างนั้นไม่ชื่อว่าบูชาพระองค์ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง แต่ผู้ใดจะเป็น
ภิกษุ หรือภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ก็ตาม ปฏิบัติธรรมสมควร ปฏิบัติชอบ ผู้นั้นแหละชื่อว่าบูชาด้วย

การบูชาอย่างยิ่ง เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร ว่าอีก ๔ เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน

ดังนี้ภิกษุหลายพันรูปเที่ยวแวดล้อมพระองค์อยู่ ปรึกษากันว่า “พวกเราจะทำอย่างไรหนอ”? ภิกษุรูป
หนึ่งชื่อธรรมมาราม ไม่ยอมร่วมกลุ่มกับภิกษุทั้งหลาย ถามถึงความรู้สึกเกี่ยวกับปรินิพพานของพระ

ศาสดา ท่านมิได้ให้คำตอบว่าประการใด แต่คิดว่า “อีก ๖ เดือนข้างหน้า พระศาสดาจะปรินิพพาน

แล้ว เราเป็นผู้ที่ยังราคะอยู่ เราจะพยายามเพื่อบรรลุอรหัตผลในช่วงเวลาที่พระศาสดายังคงพระชนม์
อยู่นั่นเอง เพื่อเป็นการบูชาพระองค์”
๑๑๔

๒) การเผยแผ่ให้ผู้ฟังได้ไตร่ตรองตามเห็นได้จริง

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอย่างมีเหตุผลที่ผู้ฟังพอไตร่ตรองตามให้เห็นด้วยตนเอง

เช่น พระองค์ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าภิกษุจะพึงจับชายสังฆาฏิของเรา ติดตามรอยเท้าเรา ติดตาม

ไปข้างหลัง แต่ภิกษุนั้นมีความละโมบ กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตพยาบาท คิดประทุษร้าย
หลงลืมสติไม่รู้ตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น กระสับกระส่าย ไม่สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้ว ภิกษุนั้นก็ยังชื่อว่าอยู่

ห่างไกลเรา เราก็ห่างไกลภิกษุนั้น นั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นยังไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม

ชื่อว่าไม่เห็นเรา...
ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าภิกษุอยู่ไกลเรา ๑๐๐ โยชน์ แต่ภิกษุนั้นไม่มีความละโมบ ไม่

กำหนัดยินดีอย่างแรงกล้าในกาม มีจิตไม่พยาบาท ไม่คิดประทุษร้าย มีสติมั่น มีความรู้สึกตัว มีจิตตั้ง

มั่น แน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ แท้จริงแล้วภิกษุนั้นก็ชื่อว่าอยู่ใกล้เรา เราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น นั้นเป็นเพราะ
เหตุไร เพราะภิกษุนั้นเห็นธรรม แม้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นเรา”
๑๑๕

๑๑๔ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๗๘/๑๒๖.
๑๑๕ ขุ.อิติ. (ไทย) ๒๕/๙๒๑/๔๖๕.

๙๘

๓) การให้ผู้เผยแผ่ได้รู้แจ้งในสิ่งที่ควรเห็น
จุดมุ่งหมายข้อนี้หมายความว่า ทรงสอนให้รู้แจ้งเห็นจริงเฉพาะเท่าที่จำเป็นสำหรับ

สาวกนั้นๆ สิ่งใดที่ทรงรู้แล้วแต่เห็นว่าไม่จำเป็นสำหรับผู้ฟังหรือผู้รับการสอน ก็จะไม่สอนสิ่งนั้น ทรง
สอนให้รู้แจ้งเห็นจริงเฉพาะเท่าที่ควรรู้และจำเป็นเท่านั้น โดยยกตัวอย่างสมัยพระพุทธกาลดังต่อไปน ี้

“พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมาแล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจะเข้าใจความหมายนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราหยิบมากับใบไม้ที่มีอยู่บนต้น

อย่างไหนมากกว่ากัน ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ใบไม้ที่อยู่บนต้นไม้นั้นแหละมากกว่าใบ
ประดู่ ๒-๓ ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมาเพียงเล็กน้อยพระพุทธเจ้าข้า

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน เพราะเหตุไร

เราจึงมิได้บอก เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มตนแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย

ไม่เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่เป็นไป

เพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะฉะนั้นเราจึงมิได้บอกสิ่งอะไรเล่าที่เราบอก

แล้ว คือเราบอกไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะเหตุไร เราจึง
บอกเพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ตรัสรู้เพื่อนิพพานเพราะเหตุนั้น เราจึงบอก

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัด ตามความเป็นจริงนี้ทุกข์ ฯลฯ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
๑๑๖

เราจะเห็นว่าจุดมุ่งหมายที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้ง ๓ ที่กล่าวไว้นั้นจะเห็นว่ามี
ความสำคัญเป็นอย่างมากในการบริหาร เพื่อให้ผู้นำไปเผยแผ่ได้รู้จุดประสงค์ที่นำไปใช้ในการบริหาร

ว่าควรจะต้องมีการวางแผนอย่างไร และกระทำสิ่งใดจึงจะเหมาะสมและถูกต้องตามหลัก
พระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมสงเคราะห์

๔.๔.๒ หลักการเผยแผ่ในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ในแง่ของสังคมสงเคราะห์
ว่าด้วยหลักการเผยแผ่ในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ในแง่ของสังคมสงเคราะห์จะต้องมีการ

พิจารณาถึงคุณสมบัติเล่มต้นของผู้เผยแผ่ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร โดยลักษณะนั้นจะกอบไปด้วย

๑) คุณสมบัติของผู้สอนหรือนักเผยแผ่ ๒) ลีลาการสอน ๓) และวิธีการสอน โดยดังกล่าวจะอธิบาย
ตามปลีกย่อยดังต่อไปนี้

๑๑๖ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๑๐๑/๖๑๓.

๙๙

๑) คุณสมบัติของผู้สอนหรือนักเผยแผ่
พุทธวิธีในการสอนนั้นต้องเริ่มต้นจากปรัชญาขั้นพื้นฐานอันได้แก่ กัลยาณมิตรและมี

สติปัญญาไหวพริบที่ชาญฉลาดเป็นเบื้องต้น จากนั้นต้องประกอบด้วยหลักของนักเผยแผ่กับผู้ฟังหรือ
ผู้สอนกับผู้เรียนที่มีความสัมพันธ์กันในฐานะเป็นกัลยาณมิตรเป็นอันดับต่อไป เพราะในทาง

พระพุทธศาสนาถือว่า ผู้เผยแผ่กับผู้ฟังหรือผู้สอนกับผู้เรียนนั้นต้องประสานสัมพันธ์กัน มีความกรุณาต่อ

กันโดยเฉพาะในด้านการอบรมสั่งสอนนั้น ย่อมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญให้เกิดคุณลักษณะของผู้สอนซึ่ง
เรียกว่า องค์คุณของกัลยาณมิตร ดังนั้น พระธรรมกถึกหรือนักเผยแผ่ พุทธธรรมที่ดีจึงมีลักษณะ

๑๑๗
คุณสมบัติซึ่งเป็นองค์ของกัลยาณมิตร ๗ ประการ คือ ๑) ปิโย เป็นที่รักเป็นที่พอใจ ๒) ครุ เป็นที่
เคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ เป็นที่พึ่งพาได้ ๓) ภาวนีโย เป็นที่ยกย่อง ๔) วตฺตา จ เป็นนักพูด

รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร ๕) วจนกฺขโม เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๖) คมฺภีรญฺจ

กถํ กตฺตา เป็นผู้พูดด้วยถ้อยคำลึกซึ้งได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้ ๗) โน จฏฺฐาเน
๑๑๘
นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐานะ คือไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย ๔

๒) ลีลาการสอน
การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง แม้ที่เป็นเพียงธรรมมีกถา หรือการสนทนาทั่วไป

ซึ่งมิใช่คราวที่มีความมุ่งหมายเฉพาะพิเศษ ก็จะดำเนินไปอย่างสำเร็จผลดี โดยมีองค์ประกอบที่เป็น
คุณลักษณะที่เรียกได้ว่า เป็นลีลาในการสอน มี ๔ ประการ คือ ๑) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด คือจะ
๑๑๙
สอนอะไร ก็ชี้แจงจำแนกแยกแยะอธิบาย ๒) สมาทปนา ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ ๓) สมุตเตชนา

เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ๔) สัมปหังสนา ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
๑๒๐

๓) หลักการสอน
๑๒๑
พระพุทธองค์ได้ตรัสองค์แห่งธรรมกถึก ๕ ประการ คือ ๑) อนุปุพฺพิกถํ กล่าว
ความไปตามลำดับ คือแสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาวชาตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์

ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ ๒) ปริยายทสฺสาวี ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือชี้แจงให้เข้าใจชัดใน

๑๑๗ ม.ม. (ไทย) ๒๓/๓๗/๕๗.

๑๑๘ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๓,

(กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร.พร้นต้ง แมส โปรดักสจำกัด, ๒๕๔๘), หน้า ๒๐๔.




๑๑๙ ที.สี. (ไทย) ๙/๓๒๒/๑๒๔.
๑๒๐ ที.สี. (ไทย) ๙/๓๒๒/๑๕๘ - ๑๕๙.
๑๒๑ อง.ปญจก. (ไทย) ๒๒/๑๕๙/๒๖๓.

๑๐๐

แต่ละแง่แต่ละประเด็น ๓) อนุทยตํ ปฏิจฺจ แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา ๔) น อามิสนฺตโร ไม่แสดง
๑๒๒
ธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือสอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภ หรือผลประโยชน์ตอบแทน

เราจะเห็นได้ว่าหลักการเผยแผ่นั้นมีความสำคัญอย่างมากในแง่ของสังคมสงเคราะห์ไม่ว่าจะ

เป็น คุณสมบัติของนักเผยแผ่ ลักษณะในการสอน และแนวทางที่ใช้ในการสอนที่พึงมีนอกจากนี้แล้ว

เมื่อผู้ใดได้ปฏิบัติตามลักษณะดังกล่าวได้ถือว่าผู้นั้น มีคุณสมบัติที่ดีเป็นนักเผยแผ่ที่สามารถถ่ายทอดได้
ทั้งการสอนและมีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะกับการเป็นมหาบุรุษที่ผ่านการฝึกฝนตนอบรมตนเองมาแล้ว

๔.๔.๓. รูปแบบการเผยแผ่ในพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ในแง่ของสังคมสงเคราะห ์

เราจะเห็นว่ารูปแบบในการเผยแผ่ในพระพุทธศาสนามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนนี้

จะกล่าวถึงรูปแบบที่สำคัญของการเผยแผ่ทั้งหมด ๔ อย่าง อันประกอบด้วย ๑) แบบวางกฎข้อบังคับ
๒) แบบบรรยาย ๓) แบบตอบปัญหา และ ๔) แบบสากัจฉาหรือสนทนา โดยมีรูปแบบที่สำคัญโดยมี

รายละเอียดตามปลีกย่อยซึ่งมีดังต่อไปน ี้


๑) แบบวางกฎข้อบังคับ ใช้วิธกำหนดหลักเกณฑ์ กฎ และข้อบังคับให้พระสาวกหรือ
สงฆ์ปฏิบัติ หรือยึดถือปฏิบัติด้วยความเห็นชอบพร้อมกัน รูปแบบนี้เป็นลักษณะของการออกคำสั่งให้ผู้
ศึกษาปฏิบัติตาม ซึ่งถือว่าเป็นการวางระเบียบปฏิบัติร่วมกันเพื่อความสงบสุขแห่งหมู่คณะ ดังจะเห็น

ได้จาก การที่พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยต่างๆ ซึ่งใช้เป็นข้อบังคับให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตาม และที่

สำคัญกฎข้อบังคับที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้น สามารถเป็นตัวแทนของพระองค์ได้ ดังที่ทรงตรัสในวันที่
เสด็จปรินิพพานว่า “ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว ปัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป

ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย”
๑๒๓

๒) แบบบรรยาย พระพุทธเจ้าทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ ในการแสดงธรรมประจำวัน
ซึ่งมีประชาชนและพระสาวกเป็นจำนวนมากมารับฟัง ถือว่าเป็นรูปแบบที่พระพุทธองค์ทรงใช้มาก

ที่สุดในการแสดงธรรม มีทั้งการแสดงธรรมที่มีใจความยาว และที่มีใจความสั้นๆ ตามแต่สถานการณ์ที่
เห็นว่าเหมาะสม เช่น ในพรหมชาลสูตร พระองค์ก็ได้บรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาของศีลซึ่งแบ่งออกเป็น

๓ ระดับ คือ ระดับที่ ๑ ศีลระดับต้น ที่เรียกว่า จุลศีล ระดับที่ ๒ ศีลระดับกลาง ที่เรียกว่า มัชฌิมศีล

และ ระดับที่ ๓ ศีลระดับสูง ที่เรียกว่า มหาศีล และในตอนท้ายก็ทรงแสดงเรื่องทิฏฐิ ทฤษฏีหรือ
ปรัชญาของลัทธิต่างๆ ร่วมสมัยพุทธกาล ซึ่งมีทั้งหมด ๖๒ ทิฏฐิ โดยพระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงหรือ

๑๒๒ อง.ปญจก. (ไทย) ๒๒/๑๕๙/๑๖๔.


๑๒๓ ขุ.ขุ. (ไทย) ๒๕/๙๑/๕๗.

๑๐๑

บรรยายและชี้ให้เห็นว่า พระพุทธศาสนามีความเห็นหรือมีหลักคำสอนที่ต่างจากทฤษฎีทั้ง ๖๒
๑๒๔
ประการนี้อย่างไร เป็นต้น

๓) แบบตอบปัญหา พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาดูลักษณะและใช้วิธีตอบให้เหมะสม

กัน ซึ่งในการตอบปัญหาของพระองค์นั้น ทรงพิจารณาจากความเหมาะสมตามลำดับแห่งภูมิปัญญา

ของผู้ถามเป็นสำคัญ เช่น ในเทวตาสังยุต ที่มีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “บุคคลให้อะไรชื่อว่าให้
กำลัง ชื่อว่าให้วรรณะ ชื่อว่าให้ความสุข ชื่อว่าให้จักษุ ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่างฯ พระพุทธเจ้าก็ตรัส

ตอบว่า “บุคคลให้ข้าวชื่อว่าให้กำลัง ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ และผู้ที่
๑๒๕
ให้ที่พักชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนผู้พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมตะ” ซึ่งในเนื้อหาดังกล่าว แสดงให้
เห็นถึงลักษณะการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบตอบปัญญา

๔) แบบสากัจฉาหรือสนทนา เป็นการสอนโดยใช้วิธีการถามคู่สนทนา เพื่อทำให้เกิด

ความเข้าใจธรรมะและความเลื่อมใสศรัทธา วิธีการนี้จะเห็นได้จากการที่พระองค์ ใช้โปรดบุคคลที่มี

จำนวนจำกัดที่สามารถ พูดโต้ตอบกันได้ การสอนแบบนี้มีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายๆ ที่ เช่น กรณี
จองปริพาชกชอว่า วัจฉโคตร ที่เข้าไปทูลถามเรื่องความเห็นสุดโต่ง ๑๐ ประการ กับพระพุทธองค์
ื่
และก็ได้มีการสนทนาแบบถามตอบ ในเรื่องดังกล่าว ระหว่างปริพาชกกับพระพุทธองค์ เป็นต้น
๑๒๖

เราจะเห็นว่าการเผยแผ่ที่สำคัญนี้จะต้องมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ ๑) แบบวางกฎ

ข้อบังคับ ๒) แบบบรรยาย ๓) แบบตอบปัญหา และ ๔) แบบสากัจฉาหรือสนทนา จาก ๔ อย่างที่
กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำไปใช้ในการสอน เป็นแนวทางที่ดี สามารถ

นำไปใช้ปฏิบัติ เมื่อเรารู้จักการฝึกฝนแล้วจะทำให้เราเป็นผู้ที่มีคุณภาพเป็นอย่างยิ่ง

๔.๕ บุคลากรทางศาสนาพุทธที่สำคัญต่อสงคมสงเคราะห์

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงบุคคลสำคัญที่ทำคุณประโยชน์สำคัญทางพระพุทธศาสนาในแง่ของการ

สังคมสงเคราะห์ โดยจะกล่าวต่อไปใน คือ “ส่วนที่เป็นรายละเอียดของบุคลากรทางศาสนาพุทธที่เป็น
พระสงฆ์ที่เป็นผู้มีความสำคัญในบทที่ ๔ ส่วนในรายละเอียดของบุคคลที่สำคัญทางฆราวาสนั้น อยู่ใน

ส่วนของบุคคลที่มีความสำคัญในการพัฒนาสังคม จริยธรรม ทรัพยากรมนุษย์ โดยกล่าวไว้ในบทที่ ๗”

๑๒๔ ที.สี. (ไทย) ๙/๒๘-๑๐๔/๑๑-๓๙.

๑๒๕ สํ.ส. (ไทย) ๑๕/๔๒/๔๘.
๑๒๖ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๑๘๓-๑๘๙/๒๑๙-๒๒๓.

๑๐๒

ในการนำเสนอดังต่อไปนี้นั้นจะนำเสนอประวัติ และแนวคิดที่สำคัญของบุคลากรทางพรสงฆ์ ซึ่งมี
ดังต่อไปนี้

๑) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) (๓

ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ – ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖) เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ในรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่า
สมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดตและเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา

๑๐๐ ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ในด้าน

การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์ หลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม ๙ แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงาน
อันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยัง

เป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนก

ธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ ๙ ประโยค
ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ พระองค์ทรง

รับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้น
อุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จ


พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย เมื่อมีพระชันษาได้ ๔ ปี พระองค์ได้รับ
พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือก
จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดย


ราชทินนามทั้ง ๒ ข้างต้นนั้นเปนราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและ

เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสน

โสภณ พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ และยังคงดำรงตำแหน่ง
มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนา

ไว้มากมาย

๑๐๓

พ.ศ. ๒๕๑๕ พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร
ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน

สถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จ
พระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชา

คณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.

๒๓๕๙ ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่
สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่ง

พิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระ
เถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น

เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ทำให้

ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย
เดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ

สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหา
สังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณ

สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราช

ทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ
สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดย

ปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการ
ใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนา

ธุระของพระองค์( ในพระนาม ใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ) ในส่วนของบทบาทการ

พัฒนาด้านสาธารณูปการ สมเด็จพระสังฆราชทรงบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็น
ประโยชน์จำนวนมาก อาทิ พระอารามวัดต่าง ๆ มณฑลประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์

วัดบวรนิเวศวิหาร พระบรมธาตุ ขณะเดียวกันก็ยังทรงก่อสร้างอาคารเรียน ๒ หลัง คือ โรงเรียน

สมเด็จพระญาณสังวร ยโสธร และโรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี อีกทั้งยังได้
ประทานทุนการศึกษาให้แก่เด็กเรียนดีแต่ยากจนเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในด้านสาธารณสุขและสา

ธารณกุศล พระองค์ท่านทรงอำนวยการก่อสร้างตึกหลายแห่งในหลาย ๆ โรงพยาบาล อาทิ การสร้าง

ตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาล
สมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี, โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี,

๑๐๔

และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปริณายก พร้อมทั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราช ณ
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ในทางบทบาทด้านการพระพุทธศาสนา สมเด็จพระสังฆราชทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้ง
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย และยังทรง

เป็นพระอาจารย์รุ่นแรก รวมถึงมีพระดำริส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ขยาย

การศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รวมทั้งประทานทุนการศึกษาแก่พระภิกษุให้ไปศึกษา
ต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในต่างประเทศที่ผ่านมา พระองค์ท่านได้ทรงสั่งสอนพุทธบริษัท

และประทานโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสามเณรบวชใหม่ในฐานะพระอุปัชฌาย์อย่างไม่ว่างเว้น รวมทั้งได ้
นิพนธ์ตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนาอีกมากมาย ทั้งประเภทตำราเรียน พระธรรมเทศนา งาน

แปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า ๑๐๐ เรื่อง และงานเขียนทั่วไปอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเสด็จไป

ทรงปฏิบัติพระศาสนกิจและเยี่ยมเยือนพุทธศาสนิกชนในภาคต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี และด้วยทรงมี
ความเชี่ยวชาญในด้านภาษาเป็นอย่างดี ทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และสันสกฤต

พระองค์จึงได้นำความรู้ด้านภาษามาใช้ประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังนานาประเทศ

สำหรับพระกรณียกิจด้านการพระศาสนาในต่างประเทศนั้น พระองค์ทรงเป็นประธานกรรมการ
อำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ และเสด็จไปดูงารพระศาสนาและการศึกษาใน


ประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชย นับเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ได้
ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ต่อมาพระองค์ท่านได้สร้างวัดพุทธรังษีขึ้น

ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นการนำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลีย

เป็นครั้งแรก และยังให้กำเนิดคณะสงฆ์นิกายเถรวาทขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งยังช่วยฟื้นฟู
พระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จ

ไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาล
เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังทรงเป็นพระประมุข

แห่งศาสนจักรพระองค์แรกที่ได้รับทูลเชิญให้เสด็จ

เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการใน
ประวัติศาสตร์จีน
๑๒๗

๑๒๗ วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, [ค้นข้อมูล

: ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ ], แหล่งที่มา : //sites.google.com/site/class23102/smdec-phra-yan-sangwr-
smdec-phra-sangkhrach-skl-mha-sangkh-prinayk

๑๐๕

๒) พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศ

ไทย ท่านมีผลงานคำบรรยายธรรมและหนังสือออกมาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นพระสังฆาธิ
การและพระนักพัฒนาด้านการศึกษา ที่ผ่านมาท่านได้รับรางวัลและดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลาย

สถาบันทั้งในและนอกประเทศ ปัจจุบันพระพรหมบัณฑิต ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีและ

ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยการทำงานนั้นท่านมีหลักคิดใน
การเผยแผ่ศาสนาที่เป็นนโยบายอย่างชัดเจน เรียกว่า “ธรรมประกาศโนบาย” หรือวิธีประกาศธรรม

๕ ข้อ เป็นนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ท่านประยุกต์มาจากพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าทรง

ประทานให้แก่พระอรหันต์ ๐ รูป เพื่อไปทำหน้าที่พระธรรมทูตในการออกไปประกาศ
พระพุทธศาสนา ประกอบกับประสบการณ์ของพระพรหมบัณฑิตในการทำหน้าที่เผยแผ่

พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท่านจึงได้ตกผลึกทางความคิดจากพระพุทธพจน์และ
ประสบการณ์ออกมาเป็นนโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้ง ๕ ข้อมีดังต่อไปน ี้

นโยบายข้อที่ ๑ “ตกปลานอกบ้าน” มาจากพุทธ
พจน์ของพระพุทธเจ้าที่ว่า “เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป”

หมายถึง การให้พระสงฆ์จาริกออกไปนอกวัดเพื่อนำคนเข้า
หาธรรม กล่าวคือพระสงฆ์จะต้องไม่เทศน์เพียงแค่อยู่ในวัด

เท่านั้น แต่จะต้องออกไปเทศน์ตามที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน

โรงงาน บริษัทและสถานที่ราชการ

นโยบายข้อที่ ๒ “ประสานสิบทิศ” เป็นทาง
ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวบรวมคนที่มี

ความสามารถให้เข้ามาช่วยทำงานด้านที่พระสงฆ์ไม่ถนัด และช่วยงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้

ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เช่น ช่วยวางแผนงาน ช่วยทำสื่อเผยแพร่คำสอน ช่วยแปลบทเทศนาเป็น
ภาษาต่างประเทศ อันเนื่องมาจากพระสงฆ์มีความสามารถและมีเวลาจำกัด จึงต้องหาคนเหล่านี้มา

ช่วยงานพระศาสนา

นโยบายข้อที่ ๓ “ผูกมิตรทั่วหล้า” เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาจะต้องผูกมิตรกับผู้คนทั่ว

โลกเพราะมุ่งทำประโยชน์ให้ชาวโลก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการเผยแผ่ศาสนาจะต้องมุ่งออกไปสร้างมิตร

ไม่ใช่การออกไปสร้างศัตรู ต้องผูกมิตรกับผู้คนให้มากซึ่งรวมไปถึงผู้นำศาสนาอื่น ๆ เช่นกัน การที่

๑๐๖

พระสงฆ์ผูกมิตรกับผู้นำศาสนาอื่น ๆ จะ
ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่าง

ศาสนา และอยู่ร่วมกันโดยไม่เกิดความ
ขัดแย้ง

นโยบ ายข้อ ๔ “บริหาร
ปัญญา” คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนา

จะต้องเป็นผู้นำในทางสติปัญญาของ
สังคม ต้องมีสิ่งที่เรียกว่าอัตตหิตตสมบัติ

มีความพร้อมส่วนตัวในเรื่องสติปัญญา ซึ่ง

หากมีความพร้อมนี้ก็จะสามารถบำเพ็ญ
ประโยชน์เพื่อผู้อื่นต่อไปได ้

นโยบายข้อที่ ๕ “สาลิกาป้อน
เหยื่อ” เป็นลีลาในการสอนธรรมให้

เหมาะสมกับระดับของผู้ฟัง โดยเปรียบเทียบกับการที่แม่นกสาลิกาเมื่อป้อนเหยื่อให้ลูกนกจะทำเหยื่อ
แต่ละคำให้เล็กพอดีกับปากของลูกนก และนโยบายนี้ยังสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่ว่า “จงแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด” การสอนธรรมที่ดีต้องรู้จักเลือกวิธีการให้เหมาะสม

กับระดับปัญญาของผู้ฟังดังที่พระพุทธเจ้าได้แยกระดับของผู้ฟังธรรมออกเป็น ๔ ระดับเหมือนกับ
ดอกบัว ๔ เหล่า และแต่ละประเภทนั้นจะมีลักษณะการสอนไม่เหมือนกัน

นโยบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพรหมบัณฑิต ที่กลั่นกรองได้จากประสบการณ์การทำงาน

ด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของท่านด้านการเผย

แผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงหลักคิดในการนำเอาพุทธพจน์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้
กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และปรับความเหมาะสมให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้

พระพรหมบัณฑิตยังมีบทบาทด้านการทำงานบริการองค์กรและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยพระ

พรหมบัณฑิตมีความสนใจที่จะเผยแผ่ธรรมะอันนำไปสู่สันติภาพของสังคม จึงปรากฏงานที่เกี่ยวข้อง
กับธรรมะในเรื่องดังกล่าวอยู่มากมาย เช่น ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านได้รับเชิญบรรยายเรื่อง

“พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพ

โลก ณ องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา บรรยายพิเศษเรื่อง “การเผยแผ่พุทธ
ศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก” ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่ธรรมะของท่านใน

๑๐๗

รอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาท่านได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรม และแสดงปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษหลาย
ครั้งในที่ประชุมนานาชาติ รวมทั้งสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ในบทบาททางการเผยแพร่

ในฐานะนักวิชาการ ท่านดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนา
แห่งโลก พร้อมกับการจัดประชุมสุดยอดผู้นำเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และเป็น

ประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่ ๑ หัวข้อ

“เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ” ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ
กรุงเทพมหานคร โดยจากนั้นเป็นต้นมา ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงเป็น

หน่วยงานอาสาการจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชา ซึ่งสามารถระดมผู้นำทางพุทธศาสนา จนเกิด
เป็นเครือข่ายทางพุทธศาสนาที่สำคัญของโลก

พระพรหมบัณฑิต มีแนวคิดว่า เมื่อสังคมมีความต้องการให้พระสงฆ์ช่วยแก้ปัญหาความ
ขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน พระสงฆ์ก็ย่อมมีส่วนสำคัญในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้ โยการ

ประยุกต์สอดแทรกหลักธรรมทางพุทธศาสนาร่วมกับการศึกษา เพราะการศึกษากับศาสนานั้นเป็นสิ่ง

ที่ดำเนินไปพร้อมกันได้ โดยสิ่งสำคัญของเรื่องนี้คือการปลูกฝังให้คนเห็นคุณค่าของสันติภาพ ป้องกัน
ไม่ให้คนมีความรุนแรงในจิตใจ เพราะหากผู้คนมีความรุนแรงในจิตใจ ก็มักจะใช้ความรุนแรงในการ

แก้ไขปัญหา ในแง่ของการเสริมสร้างสันติภาพระหว่างศาสนาร่วมกับศาสนาอื่น ๆ พระพรหมบัณฑิต
ยังได้นำเสนอแนวคิดในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่าสันติ

ธรรมหรือขันติธรรม คือมีการเคารพยอมรับนับถือในความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและความ

เชื่อของศาสนา หรือการแสดงออกที่แตกต่างกัน ทั้งนี้พระพรหมบัณฑิตยังมีแนวคิดเชิญชวนให้ผู้นำ
ศาสนาต่าง ๆ ร่วมป้องกันความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้น ด้วยการเผยแพร่คำสอนต่อศาสนิกชนด้วยหลัก

ขันติธรรม ทำลายความมีอคติในจิตใจออกไปจากผู้คน และควรมอบโอกาสในการเรียนรู้ ทำความรู้จัก
เพื่อนศาสนาอื่น ๆ ให้กับศาสนิกชนของตน ในส่วนของบทบาทด้านการพัฒนาสังคม พระพรหม

บัณฑิตได้มีผลงานและการศึกษาของพระพรหมบัณฑิตที่สามารถนำมาสะท้อนสังคมของประเทศไทย

ในขณะนี้ได้เป็นอย่างดีอีกตัวอย่างหนึ่งคือ พุทธศาสนากับปรัชญาที่เกี่ยวเนื่องกับคุณธรรมในสังคม
คุณธรรมสำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมคือความยุติธรรมและการเคารพในสิทธิมนุษยชน

สังคมใดที่ยึดถือตามหลักคุณธรรมทั้งสองอย่างนี้จะทำให้คนในสังคมนั้นมีความสุขและความสามัคคี

ดังนั้นความยุติธรรมในสังคมจึงควรได้รับการปฏิบัติและการเอาใจใส่กับคนในสังคม เพราะความ
ยุติธรรมไม่ได้เกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ แต่อาศัยความร่วมมือจากคนในสังคมร่วมกันสร้างสรรค์ให้มีความ

ยุติธรรมเกิดขึ้น เราจึงไม่สามารถละเลยความยุติธรรมได้ ในหลักธรรมนั้นพระพรหมบัณฑิตได้สรุปคำ

สอนของพระพุทธศาสนาโดยได้จำแนกประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับคนและสังคมไว้ ๓ ประการ ซึ่งเป็น

๑๐๘

เสมือนหลักในการพัฒนาจิตใจของคนให้สำนึกในประโยชน์ส่วนรวม และมีจิตใจจที่จะสร้างประโยชน์
เพื่อสังคม อันได้แก่

อัตตัตถะ หมายถึง ประโยชน์ส่วนตัว เป็น

การบรรลุจุดหมายระดับต่าง ๆ ที่ชีวิตคนต้องการ

เช่น การได้เงินเดือนในแต่ละเดือนของข้าราชการและ
พนักงานเอกชน

ปรัตถะ หมายถึง ประโยชน์ของผู้อื่นหรือการ
ที่ช่วยให้ผู้อื่นได้สิ่งที่เขาต้องการ เช่น ครูอาจารย์ช่วย

สอนให้เด็กนักเรียนมีความรู้ เมื่อเด็กมีความรู้ก็

จัดเป็นประโยชน์ของเด็กที่สามารถนำความรู้ไปใช้ใน
การศึกษาหรือประกอบอาชีพต่อไปได้ในอนาคต

อุภยัตถะ หมายถึง ประโยชน์ส่วนรวมหรือ

ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือประโยชน์ที่เกิดกับตนเองและคนอื่น ๆ เช่น รัฐสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้น
พื้นฐาน ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์กับทุกคนเพราะมีโอกาสที่จะได้ใช้ร่วมกัน

พระพุทธศาสนาในความสำคัญกับการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยสอนให้เคารพสิทธิมนุษยชน

พื้นฐาน คือทุกคนมีสิทธิอันชอบธรรมเหนือชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง โดยไม่ไปสร้างความ

เดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น สิทธิพื้นฐานของคน เช่น การมีเสรีภาพในการคิด การพูด การย้ายที่อยู่ มีสิทธิใน
ทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยกำลังความสามารถของตนเอง พระพุทธศาสนาจึงสอนให้คนเคารพในสิทธิ

มนุษยชนของผู้อื่น คนที่เบียดเบียนหรือไม่เคารพสิทธิเสรึภาพของผู้อื่นถือว่าไม่ใช่พุทธศาสนิกชนที่ดี
ดังที่พรพุทธเจ้าสอนว่า “บุคลไม่ควรทำตนและคนอื่นให้เดือดร้อน พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา เรา

รักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด ผู้อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น”
๑๒๘

๓) พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

พระนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ที่มีมุมมองต่อการแก้ไขปัญหาสังคม โดยใช้หลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน พระพรหมคุณาภรณ์ ได้ให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงของ

สังคมไทยอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากผลงานทางวิชาการทั้งในรูปแบบของงานนิพนธ์ การแสดงปาฐกถา

๑๒๘ ชลวิทย์ เจียรจิตต์, ศาสนากับการพัฒนา, (กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๘)

๑๐๙

และบรรยายธรรม ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการผสมผสานแนวความคิดทาง
พระพุทธศาสนา ที่จะนำมาประยุกต์กับศาสตร์สมัยใหม่ในการนำผลแก้ไขปัญหาสังคมไทยที่เกิดขึ้น

เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา พระพรหมคุณาภรณ์ มีพื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอศรีประจันต์ จังหวัด

สุพรรณบุรี เมื่อได้ บวชเรียนภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนาแล้ว ได้สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุดของ
คณะสงฆ์คือ เปรียญธรรม ๙ ประโยค และสำเร็จการศึกษาเป็นพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ.) เกียรติ

นิยม อันดับ ๑ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระ

บรมราชูปถัมภ์ในสมัยนั้น) และต่อมามีตำแหน่งปกครองทางคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์

กรุงเทพมหานคร และไดเป็นอาจารย์สอน
ประจำ พร้อมทั้งเป็นผู้บริหารระดับสูง

ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งในระหว่างที่ทำหน้าที่

ทั้งสองอย่าง ดังกล่าว พระพรหมคุณา

ภรณ์ ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง
ทางการบริหารของคณะสงฆ์ เพื่อไปทำ

หน้าที่ในแวดวงวิชาการคือ งานเผยแผ่

๑๒๙
ธรรมะแก่สังคมโลกเป็นส่วนรวม

พระพรหมคุณาภรณ์ เมื่อได้ย้าย
ไปอยู่วัดที่ สร้างใหม่คือ วัดญาณเวศกวัน

ที่มีผู้สร้างถวายและมีการจดทะเบียนวัดเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้

เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวันตราบเท่าทุกวันนี้ แม้จะดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์อยู่ พระพรหมคุณา
ภรณ์ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาส่วนนี้อย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากผลงานทาง


วิชาการที่มีการตีพิมพ์แล้วร่วม ๒๐๐ เรื่อง ซึ่งนับว่ามากที่สุดกว่าบุคคลใดๆ ที่ผลิตผลงานทางวชาการ
ในประเทศนี้

แน่นอนทีเดียว ผลงานทางวิชาการที่ล้ำค่าของพระพรหมคุณาภรณ์มีมากเล่ม แต่เล่มที่สังคมยอมรับวา

เป็นผลงานทางวิชาการที่ยอดเยี่ยม นั่นก็คือ "พุทธธรรม" ซึ่งเป็นการประมวลสาระสำคัญของ

พระพุทธศาสนาจากหลักฐานของพระพุทธศาสนาโดยตรง จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และ

๑๒๙ อาภา จันทรสกุล, ชีวประวัติพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก
จำกัด, ๒๕๓๘).

๑๑๐

คัมภีร์อื่นๆ กว่า ๑๐๐ เล่ม โดยการ
นำเสนออย่างเป็นระบบ ทันสมัย อ่าน

เข้าใจง่าย และสามารถสืบค้นคว้าต่อไป
๑๓๐
ได้ง่ายอีกด้วย เกียรติคุณของพระ
พรหมคุณาภรณ์ มิใช่มีเพียงเฉพาะงาน

ทางวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ มีจริยา
วัตรและปฏิปทาที่งดงามยิ่งนัก สมดังที่

ส ม เด็ จพ ระญ าณ สั งวร สม เด็ จ
พ ร ะ สั งฆ ร า ช ได้ ป ร ะ ท า น ว ร

สั ม โม ท นี ย ก ถ า ใน ค ร า ว ที่

กระทรวงศึกษาธิการในนามของรัฐบาล
จัดงานเชิดชูเกียรติและแสดงมุทิตาจิต ที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้รับการถวายรางวัลการศึกษา เพื่อ

สันติภาพ จากองค์การยูเนสโก ความตอนหนึ่งว่า "...ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ หรือท่านเจ้าคุณ

ประยุทธ์ ของเรา ท่านเป็นผู้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงให้แก่เรา ให้แก่ประเทศชาติของเรา ให้แก่คณะ
สงฆ์ของเราอย่างมากมาย ที่จริงก่อนที่องค์กรการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสห-

ประชาชาติจะถวายรางวัลการศึกษาหรือสันติภาพ ท่านเจ้าคุณท่านก็เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติยศของคน
ไทย ของไทย ของพระสงฆ์ไทยอยู่ตลอดมาแล้ว เพราะท่านเป็นคนดีจริง เป็นพระดีจริง ผู้ที่รู้จักท่าน

หรือไม่ได้ยินกิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่าน นิยมยกย่อง สรรเสริญเป็นอันมาก..."
๑๓๑
สำหรับแนวคิดและทัศนคตินั้น พระพรหมคุณาภรณ์ได้แสดงทัศนะ ในหลายวาระ หลาย
โอกาส และหลายเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน ผู้เขียนเห็นว่า ถ้อยคำที่พระธรรมปิฎกได้แสดงไว้นั้น เป็น

ถ้อยคำ ที่มีความลึกซึ้ง เป็นเหตุ เป็นผลที่อธิบายให้เชื่อมโยงกันได้อย่างน่ารับฟังยิ่ง ควรค่าแก่การ
นำมา เผยแพร่ โดยยกหลักลักษณะสำคัญ ๒ อย่างของสังคมประชาธิปไตย คือวิถีชีวิตแห่งความพอดี

ที่เป็นสายกลาง ซึ่งองค์ประกอบและปฏิบัติการทั้งหลายได้สัดส่วนสมดุลกัน...อีกอย่างหนึ่งคือ การ

ยอมรับศักยภาพของมนุษย์ว่า บุคคลแต่ละคนมีความสามารถที่พัฒนาได้... ศักยภาพนั้น จะต้องได้รับ
การพัฒนา คือ ต้องมีการศึกษา เพื่อให้บุคคลมีสติปัญญา สามารถคิดวินิจฉัย เลือกตัดสินใจ และใช้

เสรีภาพเป็นต้น ได้อย่างถูกต้องพอดี. .. การจะมีประชาธิปไตยที่ดีนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เอาอย่างรูปแบบ

เขามาใช้ตามไปเท่านั้นก็สำ เร็จ แต่มีสิ่งที่จะต้องเพียรพยายามทำด้วยความตั้งใจจริง เฉพาะอย่างยิ่ง

๑๓๐ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑).

๑๓๑ สำนักงานสถาบันราชภัฏ, กระทรวงศึกษาธิการ. ป.อ. ปยุตฺโต, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก
จำกัด, ๒๕๓๘), หน้า ๒-๓.

๑๑๑

ต้องมีการแสวงหาปัญญา และใช้ปัญญาอย่างจริงจังโดย ให้บุคคลมีเสรีภาพที่จะพัฒนาศักยภาพของ
ตน และให้ศักยภาพนั้นอำนวยผลดีในการที่จะใช้เสรีภาพในการที่จะเกื้อกูลต่อชีวิตและสังคม ทำให้

๑๓๒
เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปอย่าง สมดุล โดยเป็นเสรีภาพของคนที่ปกครองตนเองได้"

นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า "สังคมประชาธิปไตย จะต้องมีเครื่องผูกพันคนให้มีความสามัคคี

ร่วมมือร่วมใจกัน... การร่วมมือกันและอยู่ร่วมกันด้วยดีนั้น มีลักษณะการแสดงออกต่างๆ กัน ซึ่งเน้น
ความ มีเมตตาปรารถนาดี หวังประโยชน์สุขต่อกัน อันจะโยงไปหาหลักการพื้นฐาน คือ การที่คนเรา

จะต้องใช้ปัญญา...เป็นสังคมแห่งสามัคคีเอกีภาพ ที่คนมีเมตตาหรือไมตรีต่อกันเป็นพื้นฐานรองรับ
๑๓๓
ความเป็นอยู่ และการแสดงออกเสรีที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน"

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย ถ้าหากไม่ถึงธรรมาธิปไตย เพราะประชาธิปไตยที่
เป็นอัตตาธิปไตยนั้นไม่ดีไปกว่าราชาธิปไตยที่เป็นอัตตาธิปไตย คือนำไปสู่ความพินาศเช่นเดียวกัน...จะ

เป็นธรรมาธิปไตยก็ต้องเริ่มตั้งแต่รู้ว่าอะไรเป็นธรรม ความรู้เกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัยปัญญา จะให้มี

ปัญญาก็ต้องให้มีการศึกษา ฉะนั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่ให้การศึกษา

"การศึกษาที่พรั่งพร้อม ที่จะให้เกิดประชาธิปไตย ก็ต้องมี ๓ องค์...คือมีทั้งศีล มีทั้งสมาธิ มี
ทั้งปัญญา...การศึกษาที่ขาดศีล ขาดระเบียบวินัย ขาดสมาธ ขาดการสร้างจิตใจ ที่เข้มแข็งมั่นคง จึงไม่

อาจจะเป็นพื้นฐานที่ดีของการสร้างประชาธิปไตยได้" "การปกครองตามความหมายใน
๑๓๔

พระพทธศาสนา จึงเป็นการปกครองเพื่อการศึกษา การปกครองจากความสงบเรียบร้อยที่เกิดจากการ
ปกครองนั้น มิใช่จุดหมายในตัว แต่เป็นเพียงปัจจัยคือสภาพเอื้อ เพื่อช่วยให้แต่ละบุคคลบรรลุ

จุดหมายแห่งการศึกษา หรือเพื่อเป็นหลักประกันของการศึกษา จึงถือเป็นมติได้ว่า การปกครองที่มีขึ้น
เป็นเรื่องของการศึกษาและเพื่อการศึกษาทั้งสิ้น

๑๓๒ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา
จุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย, ๒๕๒๖), หน้า ๗๑-๗๒.
๑๓๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๙๖-๙๘.

๑๓๔ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พระพุทธศาสนากับสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๒๖), หน้า ๕๓-๕๖.

๑๑๒

เมื่อกล่าวถึงบทบาทสำคัญบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ
พระพรหมคุณาภรณ์ มีปรากฏในหลายลักษณะ ทั้งในด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การ

อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเหล่านักวิชาการ และการแสดงพระธรรมเทศนาทั้งในและ
ต่างประเทศ การความใฝ่รู้ ใฝ่ค้นคว้าวิจัย ทำให้พระพรหมคุณาภรณ์ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก และ

พระคัมภีร์ชั้นรองอื่น ๆ เสมอมา พร้อมทั้งศึกษาค้นคว้าศาสตร์ต่าง ๆ ทางโลกทั้งมนุษยศาสตร์

วิทยาศา สตร์ และสังคมศาสตร์ จนมีความรู้อย่างแตกฉานลึกซึ้ง สามารถแต่งตำรา และบรรยายทั้ง
หลักพุทธศาสนาโดยตรง และพระพุทธศาสนาประยุกต์กับวิชาการทางโลกแทบทุกสขา ดังปรากฏ

หลักฐานจากการแต่งหนังสือกว่า ๓๑๒
เรื่อง และการบรรยายนับพันครั้ง พระ

พรหมคุณาภรณ์ ท่านได้ช่วยชี้แจงให้คน

ได้ รับ ท ราบ ถึ งข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ
พระไตรปิฎกที่ถูกต้องเอาไว้หลายครั้ง

จากหนังสือพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธ

ต้องรู้ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านได้
อธิบายถึง ความสำคัญของพระไตรปิฏก

การสังคายนา การรักษาสืบทอด
พระไตรปิฎกมาจนถึงปัจจุบัน และยังได้

อธิบายหมวดหมู่ของพระไตรปิฎก ซึ่งจะ

เป็นพื้นฐานให้เราเข้าใจในการจัดหมวดหมู่ของพระไตรปิฎกและศึกษาค้นคว้าได้ต่อไป ในส่วนของ
บทบาทในการพัฒนาการศึกษา พระพรหมคุณาภรณ์มองว่าการศึกษาปัจจุบันล้มเหลวมาก

เนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ตัวอย่างเช่น การศึกษาเน้นการเรียนรู้ทางทฤษฎีหรือวิชาการและ
พัฒนาความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านเท่านั้น (Specialization) ซึ่งเป็นเพียงการสะสมข้อมูลและ

ทักษะความชำนาญเพื่อไปประกอบอาชีพ และทิ้งการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตด้านอื่น ๆ ไป โดย

การศึกษาลักษณะนี้เป็นการปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมลงไปในสมองผู้ศึกษา เช่น ให้การยกย่อง
ผู้เรียนที่เก่ง เน้นการศึกษาเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการงาน เพื่อให้ร่ำรวย เพื่อให้มีชื่อเสียง

อำนาจ บารมี ซึ่งล้วนแต่เป็นการสร้างความอยากเพื่อตอบสนองความโลภ การชิงดีชิงเด่น และความ

ขัดแย้งซึ่งกันและกัน พระพรหมคุณาภรณ์จึงให้ข้อคิดว่า การศึกษาเช่นนี้ไม่ใช่การศึกษาที่แท้จริง
เพราะมีอวิชชาครอบงำอยู่ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในชีวิต การศึกษาเพื่อสนองความโลภและความโกรธ

นั้นไม่สามารถจะแก้ปัญหาของตนเองตลอดจนสังคมได้เลย ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น การ

แบ่งแยก ความขัดแย้งของคนต่างเชื้อชาติ การขัดแย้งทางเศรษฐกิจ ล้วนมาจากปัญญาระดับบุคคล
ทั้งสิ้น ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องแก้โดยพัฒนาที่ตัวบุคคล โดยที่พระพรหมคุณาภรณ์ได้เสนอให้มองที่

๑๑๓


จุดเริ่มต้น นั่นคือการศึกษาเปนหลัก ในส่วนของเรื่องสังคมอุดมคติเพื่อมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทย นั่น
คือ หลักแม่บทของการบูรณาการที่จะทำให้มนุษย์ดำรงอยู่ด้วยดี คือ มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม ซึ่ง

องค์ประกอบทั้งสามข้อนี้จะต้องอิงอาศัยสัมพันธ์กันอย่างสอดคล้องสมดุลและเกื้อกูลกัน โดยที่มนุษย์
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่จะประสานองค์ประกอบทั้งสามให้สมดุล มนุษย์จะต้องได้รับ

การศึกษาและการพัฒนาให้เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ แล้วนำความรู้ในความจริงของธรรมชาตินั้น

มาจัดสรรสังคมให้มีสภาพเกื้อกูลต่อการพัฒนามนุษย์ แล้วจึงจะเกิดสังคมอุดมคติขึ้น
๑๓๕

๔) พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโน) หรือพระพุทธทาสภิกขุ
๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔ ที่ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรของ

นายเซี้ยง และนางเคลื่อน มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๓ คนคือ ๑) พุทธทาสภิกขุ ๒) นายยี่เกย ภายหลัง

เปลี่ยนชื่อเป็น นายธรรมทาส พานิช ๓) นางกิมช้อย พานิช ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว บิดามารดา
ประกอบอาชีพค้าขายในตลาดตำบลพุมเรียง เริ่มการศึกษาจากวัดโพธาราม โดยช่วงนี้ท่านได้ใช้ชีวิต

เด็กวัดเมื่ออายุ ปีได้ออกจากวัดมาอยู่บ้าน เพื่อเรียนหนังสือที่โรงเรียนโพธิพิทยากร จนจบชั้นมัธยมปี

ที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๖๓ แล้วมาเรียนต่อมัธยมที่
๓ ที่โรงเรียนสารภีอุทิศ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ ๓ ได้ออกมาช่วยทางบ้านค้าขายขณะที่

ท่านมีอายุได้ ๗ ปี พุทธทาสภิกขุได้อุปสมบท
เป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ.

๒๔๖ ณ วัดอุบล อาเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์


ธานี โดยมีพระครูเจตสิกราม เป็นพระอุปชฌาย์
มีพระปลัดทุ่ม อินฺทโชติ และพระครูศักดิ์

อมฺรกฺขิตฺโต เป็นพระคู่สวดได้รับฉายาว่า ”

อินทปญฺโญ” เมื่ออุปสมบทแล้วจึงไปจาพรรษา
๑๓๖
อยู่ที่วัดใหม่พุมเรียง

๑๓๕ ชลวิทย์ เจียรจิตต์, ศาสนากับการพัฒนา, (กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนค
รินทรวิโรฒ, ๒๕๕๘)

๑๓๖ ประเวศ วะสี, สวนโมกข์ ธรรมกาย สันติอโสก, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์หมอชาวบ้าน,
๒๕๓๐), หน้า ๓-๑๑.

๑๑๔

พุทธทาสภิกขุอุปสมบทนั้น ครั้งแรกตั้งใจเพียงอุปสมบทเพื่อโปรดโยมมารดา ตามประเพณีของ
สังคมไทยเพียงหนึ่งพรรษา และจะลาสิกขาจากสมณะเพศมาประกอบการค้าต่อไป แต่ท่านมีแรงจูงใจ

หลายประการที่ทาให้ท่านไม่ลาสิกขาจากสมณะเพศ ประการแรก คือ ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ก่อนที่ท่านจะ
อุปสมบทได้ ปี คณะสงฆ์

เมืองไชยาในยุคนั้ น ได้จัดตั้ง

โรงเรียนสอนนักธรรมขึ้น
ท่านสอบนักธรรมชั้นตรีได้

ในปีแรก ประการที่สอง
ท่านเป็นผู้แสดงธรรมให้กับ

ศรัทธาญาติโยม ทาให้มีกิจ

ธุระที่จะอยู่ในสมณะเพศ
ต่อไปประการที่สาม ท่าน

เป็ น ค รูส อ น นั ก ธ รร ม

สามารถสอนได้ดี นักเรียน
ส่วนใหญ่สอบได้ ท่านจึง

ตัดสินใจอยู่ในสมณะเพศ
ต่อไป ๑๓๗ ภายหลังพุทธทาส

ภิกขุตัดสินใจเลิกการศึกษาปริยัติธรรมในกรุงเทพมหานคร ท่านสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และ

ตัดสินใจไม่ศึกษาในระดับสูงกว่านั้น แต่หันกลับมาศึกษาด้วยตัวท่านเอง มุ่งศึกษาธรรมะทั้งวิปัสสนา
และคันถธุระไปพร้อมๆ กัน การศึกษาพระธรรม ท่านใช้พระไตรปิฎกทั้งภาษาบาลีและภาษาไทยเป็น

หลักในการค้นคว้า ตลอดจนอรรถกถาต่างๆ และพระไตรปิฎกฉบับแปลภาษาอังกฤษ ได้แก่ ฉบับชุด
ของ Pali Text Society เน้นการศึกษาบาลีและอรรกถาต่างๆ ประกอบ ที่ท่านค้นคว้ามากใน

สุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นเรื่องของการแสดงธรรมะ และพระไตรปิฎกที่ใช้ค้นคว้ามาก ได้แก่มัชฌิมนิกาย

รองลงมาคือสังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และทีฆนิกายตามลาดับ นอกเหนือจากการศึกษา
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแล้ว ท่านสนใจศึกษาธรรมะในนิกายมหายานและนิกายเซน เห็นได้จาก

ผลงานที่ท่านแปลพระสูตรของนิกายเซน จานวน ๒ เล่มด้วยกัน คือ สูตรของเว่ยหล่าง และคาสอน


๑๓๘
ของ ฮวงโป จากหลักการของท่าพุทธทาภกขุได้ให้หลักธรรมโดยกล่าวว่า การไม่เอาส่วนเกินนั้นเป็น
กฎของธรรมชาติ โดยท่านมองไปที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ที่เป็นไปตามธรรมชาติแล้วไม่มีใครเอาส่วนเกิน

๑๓๗ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓.

๑๓๘ พระประชา ปสนฺนธมฺโม, อัตตชีวประวัติของท่านพุทธทาสภิกขุ เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา ๓ ชีวิตแห่ง
การศึกษา, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๒๙.) หน้า ๕๗๗,

๑๑๕

ทุกชีวิตบริโภคตามความจาเป็น ไม่มียุ้งไม่มีฉาง ไม่มีที่เก็บไม่มีที่กักตุน ฉะนั้นจึงเอาส่วนเกินไม่ได้
มนุษย์ในระยะแรก ดารงชีวิตอยู่อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับธรรมชาติ โดยที่ถูกธรรมชาติควบคุม


ไม่ให้เอาส่วนเกินจึงไม่มีปัญหาสังคมมนุษย์จึงอยู่รอดมาไดหลายแสนปี จนมาเป็นพวกเราสมัยนี้เพราะ
เป็นสังคมนิยมโดยอัตโนมัติของธรรมชาติ ไม่มีการกอบโกยส่วนเกิน มีชีวิตอยู่ด้วยความเมตตากรุณา

ต่อกัน ทุกคนแบ่งไว้ที่จะเลี้ยงอัตภาพ ที่เหลือเป็นส่วนเกินแก่สังคม ๑๓๙

ในส่วนของการทำงานทางศาสนาพระธรรมโกศาจารย์ตั้งหลักปณิธานในชีวิต ๓ ข้อที่เป็นผลมาจาก

การทำความเข้าใจพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้ทั้งนิกายมหายานและหีนยาน รวมไปถึงการเข้าใจศาสนา
อื่น ๆ ของโลก ในการอยู่ร่วมกัน จน

เกิดเป็นหลักคิดปณิธานที่ท่านได้ทิ้งไว้

ให้กับคนรุ่นหลังในการศึกษาธรรม
เบื้องต้น คือ

การเข้าถึงหัวใจศาสนาของตน ได้
อธิบายว่า “ทุกศาสนามุ่งจะกำจัด

ความเห็นแก่ตัว เพื่อสร้างสันติสุขของ
โลก เพราะความเห็นแก่ตัวนั้น

ก่อให้เกิดความโลภ เมื่อมีอะไรมาทำให้

โลภ มักเกิดความโง่ เกิดความโง่เมื่อมี
อะไรมาทำให้โง่ มันเป็นผลแห่งการควบคุมสัญชาตญาณไว้ไม่ได้ นำมาซึ่งต้นเหตุแห่งความทุกข์”

ดังนั้นถ้าทุกคนเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตนแล้วก็ทำลายความเห็นแก่ตัวได้ การทำความเข้าใจแก่น
ของศาสนาจะสามารถแก้ปัญหาและหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัวลงได้

การทำความเข้าใจระหว่างศาสนา ท่านกล่าวไว้ว่า “การทำความเข้าใจระหว่างศาสนานี้เป็น
ธรรมะการเมือง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างศาสนาของคนในสังคมซึ่งเป็นสิ่ง

ที่เกิดขึ้นในสมัยนี้” ดังนั้นเราจึงต้องทำความเข้าใจระหว่างกันและกัน เพื่อให้เกิดการยอมรับกันเพราะ

ทุกศาสนามุ่งหมายที่จะควบคุมสัญชาตญาณแห่งความมีตัวตนที่จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา

๑๓๙ พุทธทาสภิกขุ, ธัมมิกสังคมนิยม, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์สยามประเทศ, ๒๕๓๘)
หน้า ๓๓.

๑๑๖

การนำโลกออกมาเสียจากวัตถุนิยม ท่านได้กล่าวถึงวัตถุนิยมว่า “สิ่งที่เรียกว่าวัตถุนิยม คือ
ศัตรูอันร้ายกาจของมนุษย์ยิ่งกว่าสิ่งใด โดยเฉพาะในโลกยุคปัจจุบัน วัตถุนิยมกำลังครองโลก กำลังจับ

จิตใจของมนุษย์ทุกคนในโลก บีบบังคับให้ดิ้นรนไปในทางลุ่มหลงต่อวัตถุ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเห็น
แก่ตัวและส่งเสริมความเห็นแก่ตัวให้ยิ่งขึ้นไป โลกจึงเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว” เพราะชีวิตคนเรา

ประกอบไปด้วยสองส่วนคือ วัตถุและจิตใจ ชีวิตถึงจะดำรงอยู่ได้ ซึ่งถ้สชีวิตเข้าถึงธรรมะแล้วเข้าถึง

ความจริงของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็จะเป็นการช่วยลดการเกิดปัญหาสังคมรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจจะ
เกิดขึ้นได้

ในส่วนของบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระธรรมโกศาจารย์ ได้ก่อตั้งสวนโมก

ขพลาราม ซึ่งในระยะ ๒ ปีแรก สวนโมกข์ไม่ต่างจากป่าช้าที่มีสภาพรกร้าง แต่เมื่อหนังสือพิมพ์ที่ท่าน

ได้จัดทำขึ้นเริ่มเผยแพร่และมีผู้อ่านมากขึ้นก็เริ่มมีผู้คนเข้ามาในสวนโมกข์แห่งนี้ ในปีที่ ๓ และเริ่มมี
มากขึ้น จนท่านได้สร้างที่พักสำหรับนักปฏิบัติธรรมมากขึ้น และได้ขยายมาเป็นสวนโมกข์ดังเช่นใน

ปัจจุบัน นอกจากสวนโมกข์ที่เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแล้ว ท่านยังได้เขียนหนังสืออีกหลายเล่มที่

เกี่ยวข้องกับหลักธรรมที่ท่านได้ทดลองและปฏิบัติ เช่น คู่มือมนุษย์ ธัมมิกกสังคม แก่นพุทธศาสน์ เป็น
ต้น เพื่อเผยแพร่สู่สังคมต่อไป ซึ่งนับได้ว่าตลอดชีวิตของท่านพุทธทาสได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิรูปคำ

สอนของพุทธศาสนาเพื่อให้พุทธสาวกและบุคคลทั่วไปเข้าถึงแก่นที่แท้จริงของศาสนา ไม่หลงมัวเมา
ยึดติดในรูปวัตถุและจิตใจลุ่มหลง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวทำให้เกิดกิเลสและความแตกร้าวทางสังคม

ตามมา
๑๔๐

๕) พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) หรือ

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) (๑๑ พฤษภาคม

พ.ศ. ๒๔๕๔ — ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐) หรือที่รู้จักกัน
ทั่วไปว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะ

พระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของ

พระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของ
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) และผู้อุทิศชีวิต

ให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต

๑๔๐ ชลวิทย์ เจียรจิตต์, ศาสนากับการพัฒนา, (กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนค
รินทรวิโรฒ, ๒๕๕๘)

๑๑๗

ประวัติของพระพรหมมังคลาจารย์กำเนิดที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ ๑๘ ปี ได้

บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จังหวัดระนอง โดยมีพระรณังคมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ
อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดนางลาด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยมีพระ

จรูญกรณีย์เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหา

หลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และ

กรุงเทพมหานคร จนหลวงพอปัญญานันทภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ ๑ ของสังฆมณฑล
ภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้
เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม ๔ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระ

ยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิด

สงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้หลวงพ่อ
ต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้ว

เดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้

เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้
รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนา

รามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนัง ประเทศ
มาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้

ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อ

เป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระ
๑๔๑
สัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป

สำหรับแนวคิดของหลวงพ่อปัญญานันท

ภิกขุนั้น ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับทางสังคมสมัยนี้ว่า ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะอุบัติขึ้นในโลก มนุษย์

ทั้งหลายได้พากันหาที่พึ่งเพื่อยึด เหนี่ยวจิตใจเช่นต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ฟ้าร้อง
ฟ้าผ่า ดิน ลม ไฟ ซึ่งมีความเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ให้คุณให้โทษแก่มวลมนุษย์จึงพากันนับถือบูชา ตาม
๑๔๒
บรรพบุรุษที่ได้กระทำสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน ครั้นต่อมาเมื่อมีการพัฒนาความเชื่อ โดยการที่มี

ผู้ติดต่อกับเทพเจ้าหรือผีได้ด้วย การทรงเจ้า หรือด้วยพิธีกรรมทางไสยศาสตร เพื่อให้เกิดความ

๑๔๑ กิตติ ทีนิวส์, ประวัติพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท) ปัญญานันทภิกขุ, [ค้นข้อมูล : ๒๔
มิถุนายน ๒๕๖๐], แหล่งที่มา ://www.tnews.co.th/contents/210569.

๑๔๒ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ), ปฏิวัติความงมงาย เลิกเชื่อไร้เหตุผล- พึ่งตนเองและพึ่ง
ธรรมะ, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ธรรมสภา,๒๕๔๐), หน้า ๑๕๗.

๑๑๘

น่าเชื่อถือ ทำการทำนาย ทายทักว่าหากสร้างสิ่งประดิษฐ์แล้วบูชากันขึ้นเทพหรือผีจะนำความสุขมาสู่
ตนได้ จึงเกิด การสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เหล่านี้เช่น เทวรูป ทองเหลือง ทองหล่อ รูปปั้น รูปหล่อ

ต่าง ๆ นับแต่นั้นมาจึงมีความเชื่อในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดก่อนที่ พระพุทธศาสนาจะอุบัติ
๑๔๓
ขึ้นในโลก ซึ่งทำให้สมัยนี้มีแต่การเชื่อแบบไม่มีเหตุผล หลวงพ่อท่านจึงให้แง่คิดเกี่ยวกับการปฏิวัต ิ
ความ งมงาย ว่า เลิกเชื่อไร้เหตุผลพึ่งตนเองและพึ่งธรรมะว่า ไสยศาสตร์เป็นความเชื่อในสิ่งที่


เหลวไหลและไร้สาระ ชาวพุทธตองขจัดให้สิ้นไป ควรสอนให้หันมาพึ่งตนและพึ่งธรรม เพื่อให้เป็นชาว
พุทธที่แท้จริงตามหลักค้าสอนของพระพุทธเจ้า เช่นในเรื่องเกี่ยวกับเคราะห์ กรรม การเกิดเหตุร้ายใน

ชีวิตซึ่งเชื่อกันว่ามีสิ่งดลบันดาลให้เกิดขึ้น เชื่อฤกษ์ยาม การนับ ถือศาลพระภูมิ ตลอดจนการเชื่อใน
มงคลตื่นข่าว โดยได้น้าหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นหลักในการพิจารณา อันได้แก่หลักกา

๑๔๔
ลามสูตรเป็นต้น ในส่วนของบทบาททางพระพุทธศาสนา หลวงพ่อปัญญาได้กล่าวถึง หัวใจของ
พระพุทธศาสนา คือ ในวันสําคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจา พระธรรม พระสงฆ มีอยู ๓ วัน เริ่มต้นปตั้งแต
มกราคม มาถึงเดือนกุมภา ก็มีวันเพ็ญมาฆะ เรียกวาเปนวันเกี่ยวกับวันพระอรหันต เรียกวาเปน วัน

พระสงฆก็ได หรือเปนวันพระอรหันตก็ได ในวันนั้นเปนวันที่ พระอรหันต ๑,๒๕๐ องค ลวนเปนผูได

รับการบวชจากพระพุทธเจา เรียกวา เอหิภิกขุอุปสมบท และไดมาประชุมพรอมกันโดย ไมไดมีการนัด
หมาย ในเวลาบายของวันเพ็ญมาฆะที่วัดเวฬุวัน ในเมืองราชคฤห นับวาเปนเรื่องอัศจรรยที่พระสงฆ

เหลานั้น ซึ่งไดไปเที่ยวจาริกกันสอนธรรมะในที่ตาง ๆ ตามคําสั่งของพระผูมีพระภาคเจาแลว ก็ได
เดินทางมาพรอมกันในวันเพ็ญเดือนสาม เปนจํานวนถึง ๑,๒๕๐ องค พระผูมีพระภาคเจา ก็เสด็จมาสู

สถานที่นั้นแล้ว ทรงประทานโอวาท เรียกวา โอวาทปาฏิโมกข ในทามกลางสงฆจึงถือวาเปนวันประวัต ิ

ศาสตรเกี่ยวข้องกับพระธรรมและพระสงฆสาวกของ พระผูมีพระภาคเจา เราทั้งหลายผูเกิดมาในชั้น
หลัง เมื่อระลึกถึงวันเชนนั้น จึงไดพรอมใจกัน กระทําสักการบูชา เรียกวา มาฆบูชา เปนการเคารพ

กราบไหวระลึกถึงพระอรหันตทั้งหลายในวัน เพ็ญมาฆะ คําวา มาฆะ เปนชื่อของดวงดาวดวงหนึ่ง วัน
เพ็ญมาฆะ พระจันทรไดโคจรมาถึงดาว ดวงนั้น เปนวันเพ็ญพอดี เราจึงเรียกวา เพ็ญมาฆะ เปนชื่อ

ของเดือน ๓ ซึ่งเปนวันหนึ่ง ที่เปนวันสําคัญในพระพุทธศาสนา แลวไปถึงวันเพ็ญเดือน ๖ อีก ๓ เดือน

นับตั้งแต่วันนี้ไป ถึงวันเพ็ญ เดือน ๖ เรียกวา วิสาขบูชา วิสาขะก็เปนชื่อเดือน ๖ แลวเราทําการบูชา
กันในวันนั้น เพราะเปน วันคลายกับวันประสูติ วันไดตรัสรูสัจธรรม และวันปรินิพพานของพระผูมี

พระภาคเจา ถือวาเปน วันสําคัญวันหนึ่ง ตอจากน ั้นไปอีก ๓ เดือน ก็ถึงวันเพ็ญเดือน ๘ เรียกวา วัน

เพ็ญอาสาฬหะ อาสาฬหบูชา คือ วันบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ นี้เปนวันของพระธรรม เพราะเปนวันที่
พระพุทธเจา ประกาศธรรมครั้งแรกประกาศสิ่งที่ พระองคไดรู ไดเห็นและนํามาเปดเผยใหพระภิกษุป

ญจวัคคีย ทั้ง ๕ ไดรับฟง แลวก็ไดผล รูปหนึ่งไดรูไดเขาใจ เรียกวา ไดเขาถึงกระแสธรรมะของพระผูมี

๑๔๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๖.
๑๔๔ อ้างแล้ว, หน้า คำนำ.

๑๑๙

๑๔๕
พระภาคเจา เราจึงถือวันนั้นเปนวันสําคัญ ในส่วนของแนวคิดนั้น หลวงพ่อปัญญาได้กล่าวอีกว่า
ขั้นตนของการกระทํานั้น สําคัญอยูที่ดานจิตใจ เรื่องจิตใจเปนเรื่องสําคัญสําหรับ ชีวิต เพราะความคิด

อยูที่ใจ การทําอะไรมันมาจากใจทั้งนั้น เราจะพูดหรือทําตองใจคิดกอน เรา จะมาวัด ใจก็คิดกอน
เออ! วันนี้วันมาฆะไปวัดหนอย วัดไหน

ดี ไปวัดชลประทานรังสฤษฏ แต ถาเรา

คิดวาวันนี้วันเสาร มีการแขงมา เราควร
จะไปเลนมา มันก็ไปหามา ใจมันคิดผิด

ใจมันตั้ง ไวผิด ก็ไปสนามมาไปสนาม
มวย หรือไปเที่ ยวเตรห าความ

สนุกสนาน ลวนเกิดจากใจ ใจนั้นเปน

ใจถูก หรือวาใจนั้นเปนใจผิด ใจนั้นอยู
กับมาร หรือว่าใจนั้นอยูกับพระ ถ

าใจอยูกับมารถูกมารดึง ไป ถาใจอยูกับ

พระก็พระจูงมา ถาเราถูกมารดึงไปเรา
มีความทุกขมีความเดือดรอนชีวิตตกต่ำ

แตถามีใจอยูกับพระ พระก็คอยดึงเรา
ออกไปที่ถูกที่ ชอบทําใหเราเจริญกาวหนาในชีวิต มันมาจากใจ สุขก็อยูที่ใจ ทุกขก็อยูที่ใจนรกก็อยูที่

ใจสวรรคก็อยูที่ใจ นิพพานก็อยูที่ใจนั่นแหละ ใจเป็นเรื่องสําคัญ เพราะฉะนั้นในแงของการปฏิบัติที่

สอนวา ใหละความชั่ว ใหประพฤติความดีที่เรียกวาเป็นขั้นปูพื้นฐาน แลวก็ไปประการสุดทายวา ทํา
ใจใหสะอาดปราศจากสิ่งเศราหมองใจ ละความชั่วด้วยการรักษาศีล ทําความดีก็ดวยการเจริญสมาธิ ก็

เริ่มที่ใจนั่นแหละ ละความชั่วก็ละที่ใจนั้นเอง
๑๔๖

ในบทบาทในการฟื้นฟูและเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพรหมมังคลาจารย์ ท่านได้เริ่มปฏิวัติ

รูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบ
พูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูด

ประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรก ๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมา

ภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าว
ว่า ท่านจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดท่านได้รับอาราธนาให้

๑๔๕ เจษฎากรณ์ รอดภัย, "การศึกษาวิเคราะห์หลักโอวาทปาฎิโมกข์ในทัศนะของพระเภระในประเทศ

ไทย", วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕), หน้า ๑๐๔.
๑๔๖ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๑๐.

๑๒๐

เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่าง ๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง
และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่าง ๆ นอกจากนี้ท่านยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น

สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำ
ปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย นอกจากนี้ท่านได้มีบทบาทในการ

พัฒนาเด็กด้วยหลักพุทธธรรม โดยเป็นงานที่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดของพระพรหมมังคลาจารย์คือ

งานด้านการศาสนศึกษาและงานศึกษาสงเคราะห์ ถือได้ว่าเป็นงานหลักสำคัญที่มุ่งเพื่อส่งเสริมด้าน
การพัฒนาเด็กด้วยหลักพุทธธรรม ท่านจึงได้ดำริให้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นภายในวัด เช่น งาน

ด้านการปลูกฝังจริยธรรมแก่เด็ก ได้เปิดการสอนโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งสามารถนำ
เด็กเข้าวัดได้ โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน โครงการอบรมคุณธรรมค่ายพุทธบุตร การจัดตั้ง

สมาคมยุวพุทธิกสมาคม เป็นต้น กระบวนการที่ท่านนำมาปรับประยุกต์ใช้ บูรณาการมาจากหลักการ

ของพระพุทธศาสนา ได้แก่หลักไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วย หลักของศีล สมาธิและปัญญา ทางด้าน
ร่างกาย ใช้หลักของศีล เลี้ยงดูเด็กโดยการเริ่มตั้งแต่ให้ยึดหลักของความพอเหมาะพอดีในการเลี้ยงดู

เด็ก การให้อาหาร หารให้พักผ่อน เป็นต้น ทางด้านจิตใจ จะยึดหลักของสมาธิ การบริหารจิตใจให้

บริสุทธิ์ คือ การสอนให้เด็กหัดนั่งสมาธิแบบง่าย ๆ ลดละอกุศล ส่วนทางด้านปัญญานั้น เป็น
แกนกลางในการพัฒนาทุกด้าน การประยุกต์หลักพัฒนาเด็กมาใช้ในสังคมปัจจุบัน ทำโดยผ่านสถาบัน

ครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา (บทบาทและหน้าที่ของพระสงฆ์) โดยการนำหลัก
พุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานะและบทบาทของตน เพื่อมุ่งให้เด็กและเยาวชนของชาติ

เป็นบุคคลที่เก่ง ดี และมีความสุขของสังคมต่อไป
๑๔๗

เราจะเห็นว่าบุคคลทั้ง ๕ ท่านอันประกอบด้วย ๑) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ๒) พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ๓) พระพรหม

คุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ๔) พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโน) หรือพระพุทธทาสภิกขุ ๕)
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) หรือหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ โดยบุคลากรทางพระสงฆ์

แต่ละท่านนั้นล้วนแต่มีบทบาท และเป็นอริยบุคคลที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในแง่ของการสังคมสงเคราะห์

และการพัฒนาประเทศชาติ รวมไปถึงสถาบันพระสงฆ์ โดยหลักคำสอนของบุคลากรทางสงฆ์ทั้ง ๕ ท่า
นั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

๑๔๗ ชลวิทย์ เจียรจิตต์, ศาสนากับการพัฒนา, (กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี
นครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๘)

๑๒๑

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย

ก. ข้อมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. เอกสารอ้างอิง

กิตติ ทีนิวส์, ประวัติพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปญฺญานนฺโท) ปัญญานันทภิกขุ, [ค้นข้อมูล : ๒๔

มิถุนายน ๒๕๖๐], แหล่งที่มา ://www.tnews.co.th/contents/210569.
เจษฎากรณ์ รอดภัย, "การศึกษาวิเคราะห์หลักโอวาทปาฎิโมกข์ในทัศนะของพระเภระในประเทศ

ไทย", วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย, ๒๕๕๕)
ชลวิทย์ เจียรจิตต์, ศาสนากับการพัฒนา, (กรุงเทพมหานคร : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนค

รินทรวิโรฒ, ๒๕๕๘)

ประเวศ วะสี, สวนโมกข์ ธรรมกาย สันติอโสก, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์หมอชาวบ้าน,
๒๕๓๐)


พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๓,




(กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส.อาร.พร้นต้ง แมส โปรดักสจำกัด, ๒๕๔๘)
__________, พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : โรง
พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑).
พระประชา ปสนฺนธมฺโม, อัตตชีวประวัติของท่านพุทธทาสภิกขุ เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา ๓ ชีวิตแห่ง
การศึกษา, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๒๙)

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ), ปฏิวัติความงมงาย เลิกเชื่อไร้เหตุผล- พึ่งตนเองและพึ่ง
ธรรมะ, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ธรรมสภา,๒๕๔๐)

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา

จุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย, ๒๕๒๖)
__________, พระพุทธศาสนากับสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง,

๒๕๒๖)

พุทธทาสภิกขุ, ธัมมิกสังคมนิยม, (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์สยามประเทศ, ๒๕๓๘)
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระพุทธศาสนากับสังคมสงเคราะห์, (พระนครศรีอยุธยา : มหาจุฬา

๑๒๒

ลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙)
วัดบวรนิเวศวหาร, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, [ค้นข้อมูล

: ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ ], แหล่งที่มา : //sites.google.com/site/class23102/
smdec-phra-yan-sangwr-smdec-phra-sangkhrach-skl-mha-sangkh-prinayk

สำนักงานพระสอนศีลธรรม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, แผนยุทธศาสตร์พระสอน

ศีลธรรม ในช่วงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙),
พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : หจก.เชนปริ้นติ้ง, ๒๕๕๘)

สำนักงานสถาบันราชภัฏ, กระทรวงศึกษาธิการ. ป.อ. ปยุตฺโต, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก

จำกัด, ๒๕๓๘)
สิริวัฒน์ คำวันสา, ประวัติพระพุทธศาสนาในประเทศไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท จรัลสนิทวงศ์

การพิมพ จำกัด, ๒๕๔๒)

อาภา จันทรสกุล, ชีวประวัติพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก

จำกัด, ๒๕๓๘).

๑๒๓

บทที่ ๕

บทบาทพระสงฆ์ และคฤหัสถ์ ที่มีต่อสังคมสงเคราะห์

๕.๑ บทนำ

การที่พระสงฆ์ และคฤหัสถ์ จะมีบทบาทต่อสังคมนั้นคุณภาพของพระสงฆ์เป็นสิ่งสำคัญมาก

ปัจจุบันพระสงฆ์มีคุณภาพลดน้อยลงในด้านข้อวัตรปฏิบัติ และความสามารถในการสอนการเผยแผ่

ธรรม จึงทำให้พระสงฆ์สูญเสียความเป็นผู้นำในด้านคุณธรรม และด้านสติปัญญาและสูญเสียความ
ศรัทธาจากญาติโยม ดังนั้นการบริหารปกครองและการดูแลพระสงฆ์เป็นเรื่องหนึ่งที่จะช่วยให้คุณภาพ

ของพระสงฆ์ดีขึ้นคุณภาพของพระสงฆ์จะดีขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยอย่างอื่นอีกทั้งนี้หากระบบการ

ปกครองสงฆ์เป็นระบบกำกับดูแลพระสงฆ์ให้มีความประพฤติที่ถูกต้องดีงามสิ่งที่จะต้องมาเสริมคู่กันก็
คือระบบการกลั่นกรอง และกล่อมเกลาระบบกลั่นกรองมีไว้สำหรับบุคคลที่จะมาบวช ส่วนระบบ

กล่อมเกลาสำหรับผู้ที่ผ่านการบวชมาแล้วอันที่จริงการกล่อมเกลาผู้บวชนั้นมีอยู่แล้วตามพระธรรม

วินัยโดยอุปัชฌาย์เป็นผู้มอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ และเป็นผู้รับรองต่อคณะสงฆ์ อุปัชฌาย์จะต้องมี
หน้าที่กลั่นกรอง และกล่อมเกลาการกลั่นกรองเป็นขั้นแรกสำหรับผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกคณะสงฆ์

ขั้นตอนสำคัญกว่านั้นคือการกล่อมเกลาในด้านความประพฤติ ความรู้ความเข้าใจในทางธรรมให้เจริญ
งอกงามทั้งในคุณธรรมและปัญญา นอกจากนี้ประเภทของวัดในประเทศไทยวัดทุกวัดในประเทศ
๑๔๘
ไทยมีฐานะทางกฎหมาย คือเป็นนิติบุคคลเท่าเทียมกัน ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้
จำแนกวัดออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ ๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ได้แก่ วัดที่เลื่อนฐานะมา

จากสำนักสงฆ์เพื่อประโยชน์ทางพระวินัยโดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วพร้อมที่จะใช้เป็น

สถานที่กระทำสังฆกรรมตามพระวินัยได้ทุกประการ เป็นวัดที่สมบูรณ์ด้วนฐานะทั้งทางกฎหมายและ
ทางพระวินัย ๒) สำนักสงฆ์ ได้แก่ วัดที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศตั้งเป็นวัดรวมถึงวัดที่ได้รับ

พระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น และยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแต่สามารถใช้เป็นสถานที่อยู่

อาศัยสำหรับพระภิกษุสงฆ์ได้ ซึ่งฐานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์แล้วแต่ฐานะทางพระ
วินัยยังไม่พร้อมที่จะใช้เป็นสถานที่กระทำสังฆกรรมตามพระวินัยทุกประการได้ เพราะยังไม่ได้รับ

พระราชทานวิสุงคามสีมา เราจะเห็นว่า บทบาทของวัดและพระสงฆ์ตอสังคมไทยพระพุทธศาสนาเป็น

๑๔๘ พระไพศาล วิสาโล, พระพุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤติ,
(กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์, ๒๕๔๖), หน้า ๒๗๕-๒๗๗.

๑๒๔

สถาบันที่มีความสำคัญต่อสังคมไทยเป็นอย่างมากวัดและพระสงฆ์เป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาที่มี
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนิกชนมาตั้งแต่เกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะในอดีต

กล่าวคือ วัดเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันสงฆ์เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นสถานที่
สงบ ร่มรื่น ร่มเย็น ทั้งกายและใจเหมาะแก่การบำเพ็ญพรหมจรรย์ว่า “วัด” เพราะสถานที่ดังกล่าว

เป็นเครื่องวัดภูมิธรรมและภูมิรู้ของศาสนิกผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระศาสดาวัดเกิดขึ้นเพราะ

มีผู้บรรลุธรรม ผู้เข้าใจธรรมชาติและชีวิตมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระ
บริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณมุ่งทำประโยชน์เพื่อความสุขของมหาชนในสังคม วัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของ

ความสุข ร่มเย็นสะอาดร่มรื่นทั้งกายวาจาและใจ เพราะเป็นที่พำนักของผู้มีบาปกรรมอันสงบระงับ
แล้ว ที่เรียกว่า สมณะเป็นที่ตั้งของผู้เห็นภัยในวัฏฏะและปัญหาที่เป็นภัยต่อสังคม ที่เรียกว่า “ภิกษุ”

เป็นผู้ละเว้นห่างไกลความชั่วทุกรูปแบบที่เรียกว่า บรรพชิตวัดจึงเป็นสถาบันอุดมคติเพราะเป็นตัว

เปลี่ยนแปลงทัศนคติด้านพื้นฐานของมนุษย์เปลี่ยนแปลงทัศนคติของสังคมโดยการตั้งสังคมอริยสงฆ์
ซึ่งมีปัญญาและกรุณาเป็นตัวนำ มีความบริสุทธิ์และความสะอาดเป็นพื้นฐานวัดส่วนใหญ่ในสังคมไทย

จะมีที่ดินประมาณ ๖ ไร่ขึ้นไป ประกอบด้วยบริเวณและเสนาสนะบริเวณอาจแบ่งได้เป็น ๓ หรือ ๔

ส่วน ถือเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาสและจัดเป็นเขตหาผลประโยชน์อีกส่วนหนึ่งด้วย เสนาสนะที่
สำคัญในวัดคือ โบสถ์ สำหรับพระสงฆ์ทำสังฆกรรมตามพุทธบัญญัติ วิหารหรือศาลาการเปรียญ

สำหรับสงฆ์แสดงธรรมะแก่ประชาชน และอาจจะใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมส่วนรวมของสังคมสำหรับ
กุฏิ ใช้เป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์บุคคลที่พำนักในวัดได้แก่ ภิกษุ สามเณร และศิษย์วัดสังคมที่

เจริญและสงบสุขโดยทั่วไป ในวัดหนึ่งๆ จะต้องมีภิกษุ สามเณรและลูกศิษย์วัดจำนวนพอสมควรแก่

๑๔๙
การที่จะทำหน้าที่ทางศาสนาให้กับสังคมอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้แล้วเราจะเห็นว่าพุทธบริษัททั้ง ๒ ฝ่าย ยังมีความจำเป็นที่จะต้องเอื้อต่อกันในด้าน
การเผยแผ่ดังพระพุทธพจน์ว่า "คฤหัสถ์และบรรพชิตต้องพึ่งพากันทางอามิสและทางธรรมพราหมณ์

และคฤหบดีเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอ บำรุงเธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช

บริขาร แม้เธอทั้งหลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมาก (ตอบแทน) แก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น เธอจง
แสดงธรรงอันงามเบื้องต้น ท่ามกลางและเบื้องปลาย ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งความหมายและ

อักขรวิธีอันบริสุทธิ์บริบูรณ์ทุกประการแก่พราหมณ์ และคฤหบดีเหล่านนั้น คฤหัสถ์กับบรรพชิตต้อง

พึ่งพาอาศัยกันด้วยอามิสทาน และธรรมทานอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อต้องการสลัดโอฆะ เพื่อ
๑๕๐
กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ" ในพุทธพจน์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า "บรรพชิตและคฤหัสถ์ เมื่อจิตหลุด

๑๔๙ กรมเสมียนตรา, “ฯ ยอยกพระพุทธศาสนา ฯ”, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แพร่วิทยา, ๒๕๑๐),

หน้า ๙๙-๑๐๐.
๑๕๐ ขุ.อิติ. (ไทย) ๒๕/๑๐๗/๔๘๖/๔๘๗

๑๒๕

พ้นอย่างนี้กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้น" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ไม่จำกัดว่า
จะต้องอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้นจึงจะสามารถบรรลุมรรคผลได้ แต่สิ่งแวดล้อมในสังคมของบรรพชิต

๑๕๑
และสังคมของคฤหัสถ์นั้นแตกต่างกัน จึงมีผลและเป็นเงื่อนไขให้การบรรลุธรรมนั้นแตกต่างกัน

เราจะเห็นได้ว่าการที่พระสงฆ์และคฤหัสถ์นั้นได้มามีบทบาทในหน้าที่ที่สำคัญ เมื่อเราได ้

ทำการศึกษาแล้วจะเห็นว่าทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์นั้นได้ตางต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น

พระสงฆ์นั้นต้องมีหน้าที่ในการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธศาสนา ส่งเสริมด้านหลักธรรม อบรมจิตใจ

ส่วนคฤหัสถ์ก็ต้องอยู่ในศีลในธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวืตต
นเองและอนาคตชาติต่อไป

๕.๒ บทบาทของพระสงฆ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ในส่วนนี้เราจะกล่าวถึงบทบาทของพระสงฆ์ โดยมีทั้งหมด ๓ ประเด็นหลัก อันประกอบด้วย

บทบาทของพระสงฆ์ในอดีต (สมัยพุทธกาล) สมัยปัจจุบัน และอนาคตที่เกิดขึ้น โดยกำหนดหัวข้อและ

จำแนกไว้โดยมีหลายละเอียดตามหัวข้อหลักดังต่อไปนี้

๕.๒.๑ บทบาทของพระสงฆ์ในอดีต

บทบาทของบพระสงฆ์ในอดีตนั้น พระสงฆ์จะมีความสัมพันธ์กับสังคม เพราะ พระสงฆ์เป็น

ผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ และพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าพระสงฆ์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก จึง
แสดงมรรคมีองค์ ๘ เพื่อให้พระสงฆ์สาวกนำไปสู่ความเป็นผู้เจริญอารยธรรม เมื่อตนเองได้ดับทุกข์

แล้ว ก็ควรนำไปเผยแผ่แจกจ่ายแนวทางนั้นให้แก่ผู้ด้วย จึงมีพุทธพจน์ไว้ตามที่กล่าวว่า "ภิกษุทั้งหลาย

เธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขของคนจำนวนมากเพื่ออนุเคราะห์โลก จงประกาศ
พรหมจรรย์อันมีความงามทั้งเบื้องหน้าท่ามกลางและที่สุดผู้มีกิเลสธุรีในดวงตาน้อยมีอยู่" และใน
๑๕๒
บทบาทของพระสงฆ์ในอดีตนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความผูกพันกับคนในสังคม ระหว่างบรรพชิตกับคฤหัส์

เกี่ยวกับการสงเคราะห์ปัจจัย ๔ ตามที่แสดงในพุทธพจน์ "ภิกษุทั้งหลาย พราหมณืและคฤหบดีทั้ง
เป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลายบำรุงเธอทั้ง ด้วยจีวร บิณฑยาตร เสนาสนะ และยารักษาโรค แม้

เธอทั้งหลาย ก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามใน

๑๕๑ สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๐๕๐/๕๗๔-๕๗๖.
๑๕๒ วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๓๒.

๑๒๖

เบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ
๑๕๓
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด"

ในการประกาศในเรื่องของการเผยแพร่ให้ทราบนั้น จะเห็นว่าการเผยแผ่เป็นศัพท์ที่มี

ลักษณะอะลุ่มอล่วย และแสดงถึงความมีใจกว้าง ไม่ผูกมัดผู้อื่นด้วยความคิดของตนเองหรือศาสนา

ของตน ส่วนคำว่า “เผยแพร่” คือ โฆษณาให้แพร่หลาย ถ้าคิดอย่างคนธรรมดาความหมายก็
คล้ายคลึงกัน ถ้าคิดให้ลึกและละเอียดลงไปจะเห็นว่า คำว่า เผยแผ่จะมีความหมายที่ชัดลึกลงไปเป็น

การเผยแผ่ให้บรรลุจุดหมายมีที่มาที่ไปไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อให้ทราบและเห็นด้วยเพียงอย่างเดียว ดังนั้น
๑๕๔
คณะสงฆ์จึงมักใช้คำนี้ในการเขียนในพระพุทธศาสนาว่าเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเผยแผ่
ธรรมะนั้นท่านมองเป็น ๒ ประเด็นคือ ศาสตร์ที่ต้องศึกษาคือปริยัติ ศิลป์คือ ปฏิบัต เส้นทางจากปริยัติ

สู่ปฏิบัตินั้นทั้งสองฝ่ายจะต้องผ่านขั้นตอนที่เรียกว่าพหูสูตร คือ ๑) สุตะ มีการศึกษาทางประสาท
สัมผัสในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะทางพุทธศาสตร์ ๒) ธตา สามารถทรงจำเรื่องที่คนได้ผ่านพบมาทาง

ประสาทสัมผัส ๓) วจสา ปริจิตา สามารถท่องเรื่องบางเรื่องได้ โดยเฉพาะที่เป็นวิชาหลัก ๔) มนสานุ

เปกฺขิตา นำเรื่องมาคิด ให้เกิดความเข้าใจด้วยตนเสียก่อนและต้องอิงหลักวิชาไม่ใช่เข้าใจเอาเอง โดย
ขาดหลักฐานสำหรับอ้างอิง ๕) ทิฏฐิยาสุปฏิวิทฺธา เข้าใจเรื่องเหล่านั้น คือสามารถขบเจาะเรื่อง

เหล่านั้นด้วยความคิดเห็นของตน สามารถที่จะหาอุปมา ซึ่งผู้ฟังอาจเข้าใจได้มาเปรียบเทียบเพื่อช่วย
ให้เกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น การพูดของคนเราเป็นศิลป์ขึ้นมาได้ต้องเข้าใจในเรื่องที่จะพูดโดยไม่มีความ

สงสัยในเรื่องเหล่านั้น เราจะเห็นได้ว่า บทบาทของพระสงฆ์นั้นมีสองประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ ๑
๑๕๕
บทบาทหลักของพระสงฆ์นั้น คือ การให้การศึกษาแก่ประชาชน ตามหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่า
บทบาทครู บทบาทในฐานครูเป็นบทบาทที่ถาวรตลอดมา ตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน


ประเดนที่สอง บทบาทรองลงมา คือ การให้คำปรึกษาในเรื่องสำคัญๆ ซึ่งคนในสังคมคฤหัสถ์โดยทั่วไป
ไม่กล้าตัดสินใจทำการอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป ก็จะไปปรึกษาพระสงฆ์ เหตุดังนั้นพระสงฆ์จึงต้องทำ

หน้าที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ประชาชน บทบาทนี้แสดงให้เห็นความเป็นผู้นำในด้านภูมิปัญญา ในอดีต

๑๕๓ วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๔๓/๑๕๘.
๑๕๔ กรมการศาสนา, คู่มือพระสังฆาธิการ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๒๔), หน้า
๙.

๑๕๕ พระเทพดิลก (ระแบบ ิต าโ ), ศาสนทายาทคุณภาพ, (กรุงเทพมหานคร : พรศิวการพิมพ์,
๒๕๔๓), หน้า ๓๒–๓๕.

๑๒๗

พระราชาหรือผู้นำประเทศจะต้องสนับสนุนให้พระสงฆ์ มีการศึกษาอย่างเต็มที่ เพื่อให้พระสงฆ์มี
๑๕๖
ความรู้ความสามารถ จะได้เป็นที่ปรึกษาของชาวบ้านได้อย่างถูกต้องดีงาม

พระสงฆ์ในอดีตนั้นได้มีการพัฒนาศาสนิกชน ให้เกิดความเจริญงอกงาม เรียกว่า พัฒนา โดย

แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ การพัฒนาภายนอกและการพัฒนาภายใน การพัฒนาภายนอกนั้น ได้

รวมเอาการพัฒนาทางด้านร่างกาย ด้านปัจจัย ๔ การกินดีอยู่ดีและการร่วมอยู่กันอย่างมีระเบียบวินัย
และเคารพกฎหมาย เป็นต้น การพัฒนาภายใน คือ คุณธรรมทางจิตและ การพัฒนาความคิด

สติปัญญาต่างๆ ให้มีคุณภาพที่ดี ซึ่งจะเห็นว่าบทบาทของสงฆ์ในอดีตนั้น มีหน้าที่ในการสร้างความ
๑๕๗
เจริญทั้งภายในและภายสังคมทุกระดับ ซึ่งบทบาทของพระสงฆ์ในอดีตนั้นจะมีหน้าที่ด้วยกัน ๒
ประการ ได้แก่

๑) หน้าที่ในการแนะนำสั่งสอน ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจธรรมะที่ถูกต้อง
เมื่อเข้าใจถูกต้อง ก็จะประพฤติอยู่ในศีลธรรม รู้จักฝึกอบรมจิตใจ ประชาชนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบ

สุข ประพฤติดี ก็เป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินเอง

๒) หน้าที่ในการเป็นผู้ให้การปรึกษา (Advisor) ให้ความรู้ความเข้าใจแก่พระราชา
ในทางธรรม และเรื่องที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แต่ไม่เข้าไปกุมอำนาจทางการเมือง อย่างนักบวช

บางศาสนา
๑๕๘

๕.๒.๒ บทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบัน

ในส่วนของบทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบันจะเห็นว่า การบริหารองค์การชาวพุทธจะกระจาย
อำนาจให้มากขึ้นแม้แต่การปกครองคณะสงฆ์ก็ไม่จำเป็นต้องเลียนแบบระบบราชการที่ชักช้าไม่ทัน

การ และคณะสงฆ์อาจจะคิดระบบการปกครองให้มุ่งพัฒนาให้วัดแต่ละวัด ให้เข้มแข็งเป็นที่พึ่งของ
ชุมชนอย่างแท้จริง จากนั้นวัดทั้งหลายก็ต้องสร้างเครือข่ายโยงใยร่วมกันทำงานทั่วประเทศ ทั้ง

พยายามลดขั้นตอนสายบังคับบัญชาที่ซ้ำซ้อนไม่ทันการณ์โดยปรับปรุงระบบพระสังฆาธิการหรือทำ

เอนจิเนียริ่งให้กับการบริหารกิจการคณะสงฆ์ อีกประกาหนึ่ง การปกครองคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ถือ
ว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน มีการบังคับบัญชา

กันลงไปตามลำดับชั้น นับตั้งแต่ระดับมหาเถระสมาคมลงไปจนถึงอาวาสอันเป็นการปกครองบังคับ

๑๕๖ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร
: ชวนการพิมพ์, ๒๕๓๙), หน้า ๒๑๔-๒๑๕.

๑๕๗ เรื่องเดียวกัน, ๒๑๖.
๑๕๘ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๒๗/๒๑๖.

๑๒๘

๑๕๙
บัญชาตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์(ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๓๕ บทบาท คือ
พฤติกรรมที่แสดงออกตามสถานของบุคคลในสังคม บทบาท เป็นแบบแผน ความต้องการ

เป้าประสงค์ ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมและการกระทำของสมาชิกที่ชุมชนคาดหวังว่าจะต้องเป็นตาม
ลักษณะของตำแหน่งนั้นๆ หรืออาจกล่าวสั้นๆ ว่า บทบาทคือสิทธิหน้าที่ในการกระทำของบุคคลหนึ่ง

ที่มีต่อบุคคลอื่นในสังคมตามสถานภาพของตนเอง เราจะเห็นว่าในปัจจุบันผู้ที่มีบทบาทผู้บริหารงาน

กิจการคณะสงฆ์ คือ พระสังฆาธิการได้ดำเนินการบริหารกิจการของคณะสงฆ์ตามบทบาทหน้าที่ของ
พระสังฆาธิการซึ่งมีอยู่ ๖ ด้านคือ ๑) บทบาทด้านการปกครอง ๒) บทบาทด้านการศึกษา ๓) บทบาท

ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ๔) บทบาทด้านการเผยแผ่ ๕) บทบาทด้านการสาธารณูปการ ๖) บทบาท
ด้านการสาธารณสงเคราะห์ โดยมีรายละเอียดดังกล่าวไว้ต่อไปน ี้

๑) บทบาทด้านการปกครอง
การควบคุมและส่งเสริมรักษาความเรียบร้อยดีงาม หมายถึง งานในหน้าที่ของพระ


สังฆาธการในการปกครองดูแลพระภิกษุ สามเณรในเขตปกครองของตน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย และตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ทั้งนี้ คำว่า การปกครอง แปลว่า
การควบคุมดูแล รักษา ควบคุมให้ท่านอยู่ในที่ท่านควรจะอยู่ ด้วยเหตุนี้พระสังฆาธิการจึงต้อง

ดำเนินการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมาย กฎ

มหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ และบัญชาของสมเดจพระสังฆราชนอกจากนน
ั้
พระสังฆาธิการยังจะต้องทำหน้าที่ระงับอธิกรณ์ วินิจฉัยการลงนิคหกรรม การวินิจฉัยลงข้ออุทธรณ์

คำสั่ง ตลอดถึงการควบคุมบังคับบัญชาพระภิกษุสามเณรผู้อยู่ใต้เขตปกครองของตนชี้แจง แนะนำการ
ปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ในบังคับบัญชาให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยพร้อมทั้งการตรวจตรา การประชุม

๑๖๐
พระสังฆาธิการในเขตปกครองของตน

๒) บทบาทด้านการศึกษา

บทบาทที่วัดและพระสงฆ์จะทำได้ คือ การศึกษา การเผยแผ่และการสงเคราะห์ ซึ่ง
ในส่วนของการศึกษานั้น เป็นการให้บริการด้านการศึกษาแก่พระสงฆ์ คือ การมีโรงเรียน

พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ นับเป็นทางหนึ่งในการสร้างอุบาสก อุบาสิกา ให้ได้พุทธศาสนิกชนที่มี

คุณภาพ และเป็นกำลังของศาสนา อีกประการหนึ่งก็คือ การไปสอนวิชาศีลธรรมตามโรงเรียนต่างๆ

๑๕๙ พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), การปกครองคณะสงฆ์ไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๙, (กรุงเทพมหา นคร :
มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๓๙), หน้า ๗๖.

๑๖๐ พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโ ), การคณะสงฆ์และการพระศาสนา, (กรุงเทพมหานคร :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐), หน้า ๑๑.

๑๒๙

เป็นการอนุเคราะห์สังคมด้วยธรรมทาน การที่ให้พระสงฆ์ได้เข้าไปมีบทบาทในการศึกษาของชาติ
ดังกล่าวนี้จะทำให้เยาวชน และสังคมเห็นความสำคัญของวัด และพระสงฆ์ ทั้งนี้ องค์ประกอบในการ

จัดการศาสนศึกษาจะดีหรือไม่ประการใดขึ้นอยู่กับเจ้าสำนักเรียนหรือเจ้าสำนักศาสนศึกษา และครู
อาจารย์ผู้บริหารการศาสนศึกษาที่ได้ช่วยแบกภาระการศาสนศึกษาอย่างเต็มกำลัง อันเป็นการแสดง

ความกตัญญูต่อพระศาสนาและต่อพระสงฆ์ การจัดการศาสนศึกษานั้นแผนกที่ประสบปัญหามาก คือ

การจัดการศึกษาแผนกบาลี เพราะขาดแคลนทั้งครูและนักเรียน และอุปสรรคอื่นๆ ซึ่งคณะสงฆ์
จะต้องช่วยจัดการศึกษาแผนกบาลีอันเป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยตรง เพื่อให้พระสงฆ์เจริญ

ด้วยวิชาความรู้ และการศาสนศึกษาให้เจริญก้าวหน้า การศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกบาลี และแผนก
๑๖๑
ธรรมเป็นการศึกษาหลักและสำคัญของพระสงฆ์

๓) บทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์
เมื่อเรากล่าวถึง การสงเคราะห์การศึกษาเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ โดยส่วนรวม และ

ผลสะท้อนย้อนกลับถึงพระสงฆ์ การจัดการศึกษาเองก็ดี การช่วยเหลือทางด้านการศึกษาด้วยการ

จัดตั้งกองทุนก็ดี การช่วยพัฒนาการศึกษาก็ดี การช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การศึกษาก็ดี การช่วยเหลือ
เฉพาะบุคคลที่กำลังศึกษาก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่เป็นการจัดการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์โดยแท้มหา

เถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ ควบคุมและส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์และส่งเสริมการ
ดำเนินการการจัดการศึกษาสงเคราะห์ของเจ้าอาวาส เจ้าคณะทุกส่วนทุกชั้น ต้องมีส่วนควบคุมและ

ส่งเสริมให้เจ้าอาวาสดำเนินการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ตามสมควร ถ้าเพิกเฉยเสียย่อมเป็นการ

ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะการศึกษาประเภทนี้เป็นการของคณะสงฆ์ หรือพระพุทธศาสนา เป็น
กิจการของวัดตามหน้าที่ของเจ้าอาวาส ส่วนเจ้าคณะทุกส่วนทุกชั้นควรให้การช่วยเหลือเกื้อกูล

สถาบันการศึกษา หรือบุคคลผู้ศึกษาได้ โดยไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผนของ
พระสงฆ์ เช่น ช่วยขวนขวายในการสร้างอาคารเรียน ช่วยจัดหาอุปกรณ์การศึกษา จัดตั้งกองทุน

สงเคราะห์นักเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยม และอุดมศึกษา ตามหลักการประกาศของมหาเถรสามคม

ช่วยแก้ไขข้อขัดข้องของเจ้าอาวาสให้เป็นไปโดยชอบ และพิจารณาให้กำลังใจและบำรุงขวัญแก่เจ้า
๑๖๒
อาวาสตามสมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่

๑๖๑ พระมหาสมทรง สิรินฺธโร และคณะ, บทบาทของวัดและพระสงฆ์ไทยในอนาคต, (กรุงเทพมหานคร
: บริษัทเกล็ดไทย จำกัด, ๒๕๒๕), หน้า ๔๒-๔๓.
๑๖๒ พระวุฒิภัทร อาทโร (สระทองแพ), "บทบาทของพระสงฆ์ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอำเภอดอน

ตูม จังหวัดนครปฐม" วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, การจัดการเชิงพุทธ, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕), หน้า ๒๔-๒๕.

๑๓๐

๔) บทบาทด้านการเผยแผ่
การเผยแผ่พุทธศาสนาเป็นบทบาทหน้าที่ของที่ต้องกระทำโดยการจัดการเทศนา

อบรม สั่งสอน ประชาชน ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติเป็น
พลเมืองดีของประเทศชาติ พระสงฆ์ยังจะต้องปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ คือ การเผยแผ่พระธรรมคำสอน

ของพระพุทธเจ้า การเผยแผ่พระธรรมจะได้ผลดีนั้น พระสงฆ์ต้องทำตนให้เป็น 'กัลยาณมิตร' คือเพื่อน

ที่แท้ ที่คอยชี้แนะแนวทางให้พุทธศาสนิกด้วยความหวังดี ซึ่งขอกล่าวโดยสรุป ๕ ประการ คือ

๔.๑) สร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี พระสงฆ์
ต้องพยายามชักชวนและชี้แจงให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้มั่นใจในหลักคำสอน

ของพระพุทธศาสนา เช่น ถ้ามีบางคนเช้าใจว่าพระพุทธศาสนาสอนหลักธรรมที่สูงเกินไปกว่าสามัญชน

จะปฏิบัติได้ ก็ชี้แจงให้เขาเข้าใจว่า ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนาสอนธรรมะไว้ถึง ๓ ระดับ คือ
ระดับพื้นฐาน เน้นไปที่การประสบความสำเร็จ การมีความสุขแบบชาวโลก การพึ่งตนได้ทางเศรษฐกิจ

ระดับกลาง เน้นไปที่ความมีคุณธรรมจริยธรรมและ ระดับสูง เน้นไปที่การลดละกิเลสได้เด็ดขาด


ธรรมะคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงเหมาะแก่คนทุกระดับ ใครพอใจหรือมีความสามารถปฏิบัตได้แค่
ไหนก็เอาแค่นั้น แล้วค่อยพัฒนาให้ก้าวสูงขึ้นไปตามลำดับ อนึ่ง วิธีสร้างศรัทธาที่ดีที่สุดก็คือการสอน

ด้วยตัวอย่าง พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ งดงามไปด้วยศีล สมบูรณ์ไปด้วยคุณธรรม มีสติปัญญา
เฉลียวฉลาด ถึงจะไม่สั่งสอนอะไรใครมาก ก็ทำให้ผู้พบปะเสวนาด้วยเกิดความเลื่อมใสได้เป็นอย่างดี

๔.๒) สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง
บางคนอาจจะไม่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มิใช่เพราะพระพุทธศาสนาสอนไม่ดี แต่เพราะไม่

เข้าใจหรือเข้าใจผิด จึงเหมาเอาว่าพระพุทธศาสนาไม่ดี ไม่น่าเลื่อมใสศรัทธา ยกตัวอย่างเช่น กล่าวหา
ว่าพระพุทธศาสนาสอนหลักธรรมที่ขัดกับการพัฒนาคนและสังคม เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้

กำจัดตัณหา โดยเขาให้เหตุผลว่า การจะพัฒนาอะไรได้นั้น ต้องเร้าให้คนเกิดความอยาก เกิดความ

ต้องการ เมื่อต้องการมากๆก็จะกระทำหรือพัฒนาตนมากขึ้นเอง พระพุทธศาสนาสอนให้ละความ
อยากก็เท่ากับสอนให้คนงอมืองอเท้า ไม่สร้างสรรค์นั่นเองพระสงฆ์ผู้เผยแผ่ธรรมะจะต้องสามารถ

ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจให้ได้ว่า ความอยากที่เรียกว่า 'ตัณหา' นั้น เป็นความโลภและทุจริต คนที่อยาก

ด้วยอำนาจความโลภและทุจริต ย่อมจะกระทำการอะไรเพื่อตนเองและสร้างความเดือดร้อนแก่สังคม
เป็นอย่างมาก ถ้ายิ่งเร้าให้คนเกิดความอยากชนิดนี้มากเท่าใด สังคมก็จะเต็มไปด้วยคนโลภ คนทุจริต

คนที่เอารัดเอาเปรียบสังคม หาความสงบสุขได้ยาก ความอยากอย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้

พยายามลดละให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ความอยากสร้างสรรค์ เช่น อยากทำความดี อยาก
ช่วยเหลือคนอื่น อยากเรียนหนังสือให้มีความรู้มากๆเพื่อออกไปรับใช้ชาติ ท่านเรียกว่า 'ธรรมฉันทะ'

๑๓๑

คนที่มีความอยากชนิดนี้เป็นคนไม่โลภ ไม่ทุจริต จะตั้งหน้าตั้งตาทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วย
ความซื่อสัตย์สุจริต ความอยากชนิดนี้เท่านั้นที่สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง สรุปให้

เข้าใจง่ายๆก็คือ 'พระพุทธศาสนาสอนให้กำจัดความ อยากที่เรียกว่าตัณหา แต่ให้พัฒนาความอยากที่
เรียกว่า ธรรมฉันทะ'

๔.๓) สอนให้ละความชั่ว คนทุกคนชอบความดีเกลียดความชั่ว แต่ทั้งๆที่
ชอบความดีเกลียดความชั่ว ในบางครั้งบางคนก็อดทำความชั่วไม่ได้ เพราะความหลงผิดบ้าง เพราะ

จิตใจไม่เข้มแข็งพอบ้าง หน้าที่ของพระสงฆ์อีกประการหนึ่งก็คือ พยายามหาวิธีให้คนละทำความชั่วแต่
ให้พึงทำความดีให้ได้ สิ่งใดบอกให้เข้าใจได้ก็บอก สิ่งใดบอกด้วยปากไม่ได้ผลก็ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ดังกรณีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เดินไปเห็นเนื้อติดบ่วงนายพรานอยู่จึงปล่อยเนื้อตัวนั้น แล้วเอา

บ่วงผูกขาตนเองแทน เมื่อนายพรานเจ้าของบ่วงมาพบเข้า จึงสำนึกว่าท่านมาแสดงปริศนาธรรม มา

สั่งสอนตนให้งดเว้นการฆ่าสัตวตัดชีวิต ซึ่งนายพรานก็ยอมทำตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์
จึงเลิกอาชีพการเป็นนายพรานนับตั้งบัดนั้น ดังนี้เป็นต้น

๔.๔) สนับสนุนให้ทำความดี พระสงฆ์ต้องสร้างเสริมกำลังใจให้คนทำความ

ดี มีเทคนิควิธีแนะนำที่เหมาะแก่บุคคล เพราะคนเรานั้นมีพื้นฐานและความสนใจไม่เหมือนกัน ผู้สอน
จึงต้องรู้จักปรับวิธีการแนะนำสั่งสอนให้เหมาะแก่คนแต่ละคนว่าจะเป็นเรื่องใด ดังกรณีผู้ปฏิบัติสมาธิ

บ่นกับอาจารย์สอนสมาธิรูปหนึ่งว่า เขาหมดกำลังใจปฏิบัติแล้ว ยิ่งปฏิบัติเท่าใดก็มีแต่ความฟุ้งซ่าน ไม่

ได้ผลอะไรเลย อาจารย์ตอบว่า 'อย่างน้อยโยมก็ได้แล้ว คือได้ความรู้ว่าจิตโยมฟุ้งซ่าน ถ้าปฏิบัติต่อไป
เรื่อยๆโยมก็อาจจะได้มากกว่านี้ ขอให้ทำต่อไปเถอะ ความดีมิใช่ว่าทำได้ในภายในวันสองวัน

๔.๕) สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพไว้สืบทอดพระพุทธศาสนา ถึงพระพุทธเจ้า

จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระธรรมวินัย (พระพุทธศาสนา) ก็ยังคงอยู่ เพราะได้รับการปฏิบัติ

สืบต่อกันมา พุทธบริษัททั้งหลาย โดยเฉพาะภิกษุบริษัทมีหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาโดยตรงจึง
๑๖๓
ต้องสร้างศาสนทายาทที่มีคุณภาพไว้ด้วย

๕) บทบาทด้านการสาธารณูปการ
การช่วยเหลืออุดหนุนหรือเกื้อกูลคนส่วนมากหรือคนทั่วไปหรือกิจการเกี่ยวกับการ

ดูแลรักษาและจัดการวัดให้อยู่ในความเรียบร้อยเป็นงานเกี่ยวการพัฒนาอาคาร สถานที่ และ

๑๖๓ เจ้าคณะอำเภอบ้านหมอ, งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา, [ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐],
แหล่งที่มา : www.songbanmoh.myreadyweb.com/article/topic-16209.html

๑๓๒

สิ่งแวดล้อมของวัดได้แก่ การก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ ศาสนวัตถุและศาสนสถานให้อยู่เรียบร้อยดี
งาม ซึ่งได้แก่การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนโดยมีพระภิกษุสงฆ์ เป็นผู้นำในการ

พัฒนาทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ ผู้นำทางศาสนาของชุมชน เป็นผู้ดูแลและรักษา และจัดการวัดของ
ประชาชนถือเป็นการช่วยเหลือประชาชนและกิจการอื่นๆ ของวัดล้วนเป็นกิจการที่ให้การช่วยเหลือ

อุดหนุนหรือเกื้อกูลประชาชนผู้เป็นเจ้าของวัด หรือประชาชนทั่วไป จึงได้เรียกกิจการเกี่ยวการดูแล

รักษาและการจัดการวัดว่าการสาธารณูปการในมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช
๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้บัญญัติให้เจ้าอาวาสมีหน้าที่ข้อแรกว่า บำรุงรักษาวัด จัด

กิจกรรม และศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดีการสาธารณูปการจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสและ
เป็นกิจการของวัดและคณะสงฆ์ตามกฎหมาย อนึ่งงานด้านสาธารณูปการ โดยในความหมาย การ

สาธารณูปการ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวว่า เป็นคำนาม หมายถึง

“การก่อสร้าง และการบูรณปฏิสังขรณ์” สำหรับสาธารณูปการ ที่จัดเป็นระเบียบการบริหารกิจการ
คณะสงฆ์ส่วนกลาง และระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง เรียกว่า “การสาธารณูปการ”

นั้นเอง
๑๖๔

๖) บทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์

ในส่วนนี้ จะเป็นการสาธารณสงเคราะห์ ที่เป็นกิจการของสงฆ์ที่ได้กำหนดไว้ใน
ระเบียบกฎมหาเถรสมาคมข้อหนึ่ง “ควบคุมและส่งเสริมการสาธารณะสงเคราะห์ของคณะสงฆ์” ใน

ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลางได้กำหนดว่า “เป็นวิธีดำเนินการสาธารณูปการ และ

สาธารณะสงเคราะห์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบมหาเถรสมาคม” การสาธารณะสงเคราะห์แยก
โดยลักษณะที่ควรจะมี ๔ ประการ ประกอบด้วย ๑) ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล ได้แก่ วัดหรือ

คณะสงฆ์ดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสาธารณประโยชน์ เช่น กิจการหน่วย
อบรมประชาชนประจำตำบล กิจการห้องสมุดเพื่อประชาชน การตั้งมูลนิธิเพื่อคนยากจนหรือกิจการ

อื่นๆ กิจการเหล่านี้อาจเป็นกิจการที่ทำเองหรือ โครงการที่กำหนดเองที่เป็นกิจการประจำหรือกิจการ

ชั่วคราวก็ได้ ๒) การช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่นซึ่งเป็นไปเพื่อการสาธารณประโยชน์ได้แก่ การ
ช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมกิจการของรัฐหรือเอกชน หรือผู้ใดผู้หนึ่งได้นำเนินการ เพื่อประโยชน์ ๓)

การช่วยเหลือเกื้อกูลสถานที่อันเป็นสาธารณสมบัติ ได้แก่ การช่วยเหลือเกื้อกูลสถานที่อันเป็นสาธารณ

สมบัติ เช่น การสร้างถนนหนทาง ขุดลอกคูคลอง สร้างฌาปนสถาน (นอกวัด) สร้างการประปา สร้าง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอื่นๆ ๔) ช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั่วไป ได้แก่ การช่วยเหลือประชาชนใน

กาลที่ควรช่วยเหลือ เช่น การประสบอุทกภัย การประกันอัคคีภัย การประสบวาตะภัย หรือคราว

๑๖๔ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโ ), การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, คู่มือพระสังฆาธิการว่า
ด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๐), หน้า ๔๔-๔๕.

๑๓๓

อากาศหนาวจัด หรือแม้ยามปกติตามโอกาส มีการจัดช่วยเหลือด้วยการจัดการสงเคราะห์ เช่น
๑๖๕
สงเคราะห์คนชรา สงเคราะห์คนพิการ และสงเคราะห์โดยประการอื่นๆ

๕.๒.๓ บทบาทของพระสงฆ์ในอนาคต

เราจะเห็นว่าสิ่งที่มีผลต่อบทบาทของพระสงฆ์ในอนาคตนั้น เป็นการที่พระสงฆ์ซึ่งเป็นศาสน

ทายาทหรือผู้สั่งสอนหลักธรรมในพระพทธศาสนานน ควรมีบทบาทที่เด่นชุดอยู่ ๒ อย่าง คือ ๑) เป็นผู้

ั้
มีความสามารถในการสั่งสอนพุทธศาสนิกชน ๒) เป็นผู้มีความหลากหลายในระดับการพัฒนา
พุทธศาสนิกชน โดยเป็นทั้งผู้สอนและผู้ปฏิบัติตามต้องเข้าใจในบทบาทของแต่ละฝ่าย เราไม่อาจรู้
๑๖๖
ได้ว่าบทบาทในอนาคตของพระสงฆ์นั้นจะออกมาเป็นแบบไหน แต่เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเป็น

อย่างไรต่อไปจากนี้ แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบันนั้นจะมีส่วนสะท้อนให้เห็นมี

บทบาทในอนาคตได้บ้าง เพราะฉะนั้น หากเราประสงค์ให้สถาบันพระสงฆ์ในอนาคตได้แสดงบทบาท
หน้าที่ที่ถูกที่ควรและสอบคล้องกับทัศนคติ (ที่ชอบธรรม) ของสังคมไว้แล้ว โดยเราจะต้องดำเนินการ

ตามหลักการดังต่อไปนี้ คือ

- ขจัดบทบาทที่ขัดต่อพระธรรมวินัย และทัศนคติที่ดีงามของพุทธศาสนิกชน

- ปรับปรุงพัฒนาบทบาที่ดี และสอดคล้องกับพระธรรมวินัย และทัศนคติที่ดีงามของชาวบ้าน
ในปัจจุบัน

- ฟื้นฟูบทบาทที่ดีในบางบทบาท

- กำหนดบางบทบาทที่เห็นว่าน่าจะเหมาะสมกับยุคสมัย และสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรมของไทยในปัจจุบัน
๑๖๗

ถ้ามองมาถึงในแนวทางการพัฒนาประเทศไทยเท่าที่เป็นอยู่นั้น ต้องเข้าใจว่าประเทศไทยได้

เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังที่ได้เห็นจากชื่อของแผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่แล้วๆ มา โดย

ไม่ได้ให้ความสนใจหรือให้ความสนใจน้อยมาก ต่อการพัฒนาทางจิตใจ จะเห็นว่าประเทศเกาหลีซึ่ง

๑๖๕ กรมการศาสนา, กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระ
ศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, พ.ศ. ๒๕๔๐), หน้า ๑๔๐.

๑๖๖ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), สถานการณ์พระพุทธศาสนาพลิกหายนะเป็นผู้พัฒนา,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๖), หน้า ๓๙.
๑๖๗ ไอศูรย์ อินทร์เพชร, "บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีพระเทพสาครมุนี

(แก้ว สุวณฺณโชโต)" วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๓),
หน้า ๙๖

๑๓๔

ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านทั่วประเทศของเขานั้น โดยใช้ขั้นตอนการพัฒนาจิตใจอยู่ใน
อันดับที่หนึ่ง ถ้ามองในส่วนของการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ถูกจัดไว้อันดับรอง ประเทศไทยมีภิกษุ

สามเณรอยู่เป็นจำนวนมาก หากรัฐประสงค์ที่จะกำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศโดยเน้น
ความสำคัญของจิตใจแล้ว สามารถอาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายออกไปปลุกเร้าชาวบ้านให้มีจิตสำนึก

ในคุณธรรมข้อต่างๆ เช่น ความรักในระเบียบวินัย ขยันหมั่นเพียร เป็นต้น และดูเหมือนจะหาบุคลากร

ในการปลุกเร้าชาวบ้านที่ดีเช่นนี้ที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการสายเกินแก้ เราจะต้องรีบเร่ง
ฟื้นฟูและพัฒนาชนบทที่ถูกต้องของพระสงฆ์เสียตั้งแต่บัดนี้ หากยักมัวรีรออยู่อาจจะสายเกินแก้ก็ได้

จะเห็นว่าเมื่อประเทศไทยได้มีการพัฒนาประเทศให้เท่าทันอารยธรรมตะวันตก ในช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่าน
มา และจะถือว่าเป็นผลดีต่อสังคม เพราะเป็นการทำให้เกิดความเจริญขึ้น แต่ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำ

ให้คนออกจากวัด คนห่างพระสงฆ์ ถึงจะมีสถานบริการของรัฐตั้งแต่อยู่ในบริเวณวัด แต่วัดและ

พระสงฆ์ก็ไม่มีบทบาทและไม่มีส่วนร่วมในการบริหารหน่วยงานนั้นๆ และปัจจัยที่สำคัญอีกประการ
หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้บทบาทของพระสงฆ์เปลี่ยนไป คือ ข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ทั้งหลาย ไม่งดงามใน

สายตาของประชาชน เพราะพระสงฆ์บางรูป มีความประพฤติที่ย่อหย่อนในพระวินัย ประพฤติในสิ่งที่

ขัดต่อความรู้สึกของชาวบ้าน เช่น การสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ขับขี่ยวดยานพาหนะด้วยตนเอง วัด
สกปรกไม่ปัดกวาด ทำความสะอาดเป็นต้น เมื่อพระสงฆ์มีความประพฤติเช่นนี้ ประชาชนก็เสื่อม


ศรัทธา ต่างหันหลังวด คนจะเข้าวัดบางก็ในโอกาสทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา และในการประกอบ
พิธีที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาโดยตรงเท่านั้น นอกจานี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้

เปลี่ยนจากการทำเพื่ออยู่ มาเป็นทำเพ่อขาย จึงส่งผลกระทบต่อชีวิต ชุมชน สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม

อย่างรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวมาจากปัจจัย ๔ ประการ คือ อารยธรรมตะวันตก การศึกษาแผนใหม่
๑๖๘
การพัฒนาแผนใหม่ และสื่อและการบันเทิงเพื่อการค้า จะเห็นได้ว่า ปัจจัยทั้ง ๔ ประการนี้เป็น
ปัจจัยให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ จากการทำกินเอง
ใช้เอง พึ่งตนเองได้ มาเป็นระบบซื้อขาย ทำให้เกิดความโลภ อันมีผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ของ

ประเทศต้องล้มละลายทางเศรษฐกิจ พึ่งตนเองไม่ได้ ธรรมชาติแวดล้อมส่วนใหญ่ถูกทำลายไป ชาวนา

เป็นหนี้สินมากขึ้น ทำใช้หนี้กันไม่มีวันจบสิ้น ครอบครัว ชุมชนและวัฒนธรรมแตกสลาย สุขภาพจิต
เสื่อมโทรมมากขึ้น ชีวิตเคยเป็นไทก็กลับมาเป็นทาสของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่อย่างสลับไม่หลุด


เมื่อสภาพสังคมเป็นเช่นนี้ องค์กรที่ผู้คนในสังคมนึกถึงวา น่าจะมีทางออกให้กับสังคมก็คือสถาบันสงฆ์
ดังนั้นจึงได้มีแนวคิดที่จะฟื้นฟูบทบาทของพระสงฆ์ได้มีส่วนช่วยในการแก่ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น
๑๖๙

๑๖๘ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย, หน้า ๒๒๒.
๑๖๙ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๒๑.

๑๓๕

เราจะเห็นว่าบทบาทของพระสงฆ์ทั้ง ๓ ประการอันประกอบด้วย บทบาทของพระสงฆ์อดีต

(สมัยพุทธกาล) สมัยปัจจุบัน และอนาคตที่เกิดขึ้น เมื่อเรามองออกไปลึกๆ แล้วจะเห็นว่าทั้งสามส่วน

นั้นมีความเชื่อมโยงกัน คือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ระหว่างทางโลกและทางธรรม อันมีผลต่อการ
เปลี่ยนสังคม เศรษฐกิจ คุณธรรม จริยธรรม และต่อประเทศชาติบ้านเมือง โดยส่วนที่กล่าวมานั้นล้วน

เกี่ยวกับทางสังคมสงเคราะห์ทั้งสิ้น

๕.๓ บทบาทของพระสงฆ์กับวัด การพัฒนา ที่มีต่อสังคมสงเคราะห์

โดยในส่วนของพระสงฆ์ที่มีบทบาทต่อวัด การพัฒนา ที่มีต่อสังคมสงเคราะห์ ในส่วนนี้ได้

กำหนดไว้ออกมาด้วยกันหลายแง่มุม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๕.๓.๑ บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อความสัมพันธ์กับวัด

เราจะเห็นว่าบทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทยนั้น เป็นการสงเคราะห์ทางจิตใจ ส่วนการ
สงเคราะห์ทางวัตถุจะกระทำโดยอ้อมด้วยการแนะนำชักจูงผู้อื่นให้กระทำหรือนำสิ่งของหรือบริการที่

๑๗๐
ได้รับจากผู้อื่นมาเฉลี่ยหรือแบ่งปันให้เป็นประโยชน์กว้างขวางออกไปโดยการสงเคราะห์ บทบาท
ของพระสงฆ์ในสังคมไทย ว่า งานที่กระทำโดยตรงคือ การสงเคราะห์ทางจิตใจ ส่วนการสงเคราะห์
ทางวัตถุจะกระทำโดยอ้อมด้วยการแนะนำชักจูงผู้อื่นให้กระทำหรือนำสิ่งของหรือบริการที่ได้รับจาก

๑๗๑
ผู้อื่นมาเฉลี่ยหรือแบ่งปันให้เป็นประโยชน์กว้างขวางออกไปโดยการสงเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงภารกิจ
และหน้าที่สำคัญนั้น จะเห็นภารกิจที่สำคัญยิ่งของพระสงฆ์ คือ การอบรมสั่งสอนชาวบ้านในทางที่ถูก

ที่ควร ชาวบ้านได้ให้การอุปการะปัจจัย ๔ แก่พระสงฆ์ ให้มีกำลังศึกษาปฏิบัติธรรมตามแนวทางของ
พระพุทธศาสนา พระสงฆ์ก็ควรอนุเคราะห์ชาวบ้านเป็นการตอบแทน เมื่อกล่าวถึงบทบาทของ
๑๗๒
พระสงฆ์นี้ จะขอกล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของวัดและพระสงฆ์กับสังคม ที่มีต่อสังคม

สงเคราะห์ โดยจะมีอยู่ ๑๑ ประการ ด้วยกันเกี่ยวกับวัดในแง่ของบทบาทของพระสงฆ์ที่มี
ความสัมพันธ์กับวัด ซึ่งมีดังต่อไปนี้

- เป็นสถานที่ศึกษาสำหรับชาวบ้านส่งกุลบุตรมารับใช้พระ รับการอบรมทาง

ศีลธรรมและเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ ตามที่มีสอนในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของเยาวชน


๑๗๐ อนันต์ วริยพินิจ, บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน, (กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๕), หน้า ๔๖.
๑๗๑ อนันต์ วริยพินิจ, บทบาทของพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชน, (กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยศึกษา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๕), หน้า ๔๖.
๑๗๒ เสถียรพงษ์ วรรณปก, ศาสนาเปรียบเทียบ, (กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร, ๒๕๒๙), หน้า ๗๑.

๑๓๖


- เป็นสถานสงเคราะห์บุตรหลานของชาวบ้านที่ยากจนได้มาอาศัยเลี้ยงชวิตอยู่และ
ศึกษาเล่าเรียนด้วย ตลอดถึงผู้ใหญ่ที่ขัดสนมาอาศัยวัด
- เป็นสถานพยาบาลที่แจกจ่ายพวกยารักษาผู้เจ็บป่วย
- เป็นที่พักคนเดินทาง

- เป็นสโมสรที่ชาวบ้านมาพบปะสังสรรค์ หย่อนใจ หาความรู้เพิ่มเติม

- เป็นสถานบันเทิงที่จัดงานเทศกาลและมหรสพต่าง ๆ สำหรับชาวบ้าน
- เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นที่ปรึกษาแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ต่าง ๆ

- เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมที่รวบรวมศิลปกรรมของชาติ เสมือนพิพิธภัณฑ์
- เป็นคลังวัสดุสำหรับเก็บของไว้ ซึ่งชาวบ้านจะได้ขอยืมไปใช้เมื่อคนมีงานต่างๆ

- เป็นศูนย์กลางการปกครอง ที่กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านจะเรียกลูกบ้านมาประชุมกัน

บอกแจ้งกิจกรรมต่าง ๆ
- เป็นที่ประกอบพิธีกรรมหรือให้บริการด้านพิธีกรรม อันเป็นเรื่องผูกพันกับชีวิตของ

ทุกคนในระยะต่าง ๆ ๑๗๓

๕.๓.๒ บทบาทของพระสงฆ์ในแง่ของการพัฒนา

เนื่องบทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคมไทยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ว่า สังคมไทย

ในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้พระสงฆ์ถูกชักนำเข้าสู่
กระบวนการทำงานทางการเมือง ทั้งที่ทำงานโดยอิสระและร่วมกับรัฐบาล เมื่อได้สรุปและชี้ชัดลงไป

แล้วจะเห็นว่ามีรายละเอียด ดังกล่าวต่อไปนี้

๑) ความเป็นผู้มีพื้นฐานทางจิตใจที่รักการทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

เมื่อพระสงฆ์ได้ออกธุดงค์ไปในพื้นที่ต่าง ๆ หรือเมื่อได้ไปอบรมประชาชนตาม
นโยบายพระธรรมทูตในหมู่บ้านต่าง ๆ ได้พบเห็นถึงปัญหาความทุกข์ยากต่าง ๆ ของประชาชนจึงปลุก

เร้าพื้นฐานทางจิตใจและพยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาชนบทเพื่อประโยชน์สุขของชุมชน

๒) จากประสบการณ์ของพระสงฆ์นักพัฒนาที่ได้พบเห็นชุมชนอื่น

จากประสบการณ์ของพระสงฆ์นักพัฒนาที่ได้พบเห็นชุมชนอื่นดีกว่าประชาชนได้รับ

การพัฒนาจนมีสภาพการดำรงชีวิตที่สุขสบายมากกว่า เมื่อนำมาเปรียบเทียบสภาพปัญหาและความ

๑๗๓ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยตฺโต), สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิ

โกมลคีมทอง, ๒๕๒๗), หน้า ๒๐๕-๒๐๖.

๑๓๗

ทุกข์ยากของคนภายในชุมชนจึงต้องการเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนของตนให้ทัดเทียมกับ

ชุมชนที่พัฒนาแล้ว
๓) พระสงฆ์มีความรู้เกี่ยวกับปัญหา และความยากจนเป็นอย่างดีเหมาะสมและ

สามารถแก้ปัญหาได้
เนื่องจากพระสงฆ์นักพัฒนาส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีพื้นเพเป็นคนในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น

เป็นผู้ที่เกิดและโตอยู่ในชุมชนนั้น จึงมีความรู้และเห็นสภาพปัญหา ความยากจนของประชาชนใน
ชุมชนมาโดยตลอด การใช้ชีวิตอยู่ในเพศบรรพชิต ถึงแม้จะสามารถตัดขาดจากเรื่องทางโลกได้ใน

ระดับหนึ่ง แต่ไม่มีทางที่จะตัดขาดได้โดยสิ้นเชิง จึงต้องเข้ามาพัฒนาชุมชน ซึ่งมองในอีกมุมมองหนึ่งก็

คือ การช่วยเหลือพ่อแม่ ญาติพี่น้องของตนในทางอ้อม นั่นเอง

๔) ความสัมพันธ์กับวัดและประชาชนต้องควบคู่กันไป

การเล็งเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ถ้าหากชุมชนขาดแคลน มีความทุกข์
ยาก หรือด้อยพัฒนาแล้ว วัดจะดำรงอย่างสวยงามหรือเจริญอยู่ได้อย่างไร เมื่อชาวบ้านไม่มีกิน

พระสงฆ์จะมีฉันอย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร ดังนั้น วัดหรือพระสงฆ์กับชาวบ้านจึงต้องพัฒนาไปควบคู่กัน
บ้านพึ่งวัด และวัดพึ่งบ้าน เป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย เพราะฉะนั้น เมื่อพบ


เห็นหมู่บ้านไม่เจริญ ประชาชนทุกข์ยากมีความลำบาก พระสงฆ์และชาวบ้านจึงตองรับผิดชอบร่วมกัน
ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชุมชน

๕) มีหลักคำสอนที่สามารถพัฒนาสังคมได ้
เนื่องจากพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสอนที่เหมาะสมจะนำมาประยุกต์ใช้ในการ

พัฒนาสังคมได้ อีกทั้งพระสงฆ์คือผู้ที่ชาวบ้านในชนบทให้ความเคารพนับถือมาก มีศักยภาพในการชัก

จูงชาวบ้านให้เข้าร่วมทำกิจกรรมใดๆ ได้ง่ายดังนั้น พระสงฆ์จึงมีบทบาทในการช่วยแบ่งเบาภาระของ
ชาวชนบทได้ดี อีกทั้งยังเป็นการช่วยเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีของพระสงฆ์ต่อชุมชนด้วย
๑๗๔

นอกจากนี้แล้วภารกิจของพระสงฆ์ที่พึงมีกับสังคม คือ ๑) การให้ความสะดวกในการบำเพ็ญ
กุศลแก่ประชาชนตามประเพณี เกี่ยวกับชีวิต เช่น ในพิธีทำบุญเกี่ยวกับการเกิด การแต่งงาน การ

ทำบุญอายุ เป็นต้น ๒) การให้ที่พักอาศัยแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาต่างท้องถิ่นที่มาศึกษาเล่าเรียนอยู่
ในเมือง การให้ที่พักอาศัยแก่บุคคลที่มารักษาศีล เช่น อุบาสก อุบาสิกา หรือคนชรา ทุพพลภาพ การ

ให้ที่ดินหรือให้เช่าที่ดินในราคาถูกแก่ประชาชนที่ขัดสนปลูกบ้านพักอาศัย ๓) การดูโชคชะตาราศี การ

ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ การให้ฤกษ์ยาม แม้บางกิจการหรือที่พระภิกษุบางรูป ดำเนินการอยู่จะเป็น

๑๗๔ สมบูรณ์ สุขสำราญ, การพัฒนาชนบทแนวพุทธศาสนา, หน้า ๕๑-๕๒.

๑๓๘

ที่ติเตียน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลื่อมใสศรัทธา ๔) การให้ทางราชการหรือส่วนรวมใช้สถานที่ของ
วัด เช่น ศาลาการเปรียญ ลานวัด บริเวณวัด ประชุม ราษฎร เป็นหน่วยเลือกตั้ง ทำกิจการบริการหรือ

สงเคราะห์ประชาชนด้านต่าง ๆ จัดงานรื่นเริง จัดงานหารายได้เพื่อสาธารณกุศล ตลอดจนการใช้ที่ดิน
ของวัดสร้างสาธารณสถานต่าง ๆ เช่น โรงเรียน สถานพยาบาล ห้องสมุด หรือที่อ่านหนังสือพิมพ์

ประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ๕) การช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การให้คำปรึกษาในหน้าที่การงาน การเป็นผู้นำ

ในการก่อสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ในท้องถิ่น และ๖) การให้ที่พักพิงแก่ประชาชนผู้ประสบสาธารณ
๑๗๕
ภัยและภัยธรรมชาติ การรวบรวมสิ่งของ ตลอดจนเงินทองจากผู้บริจาคไปให้แก่ผู้ประสบภัยต่างถิ่น

เราจะเห็นว่าพระสงฆ์ก็มีปัจจัยหลักที่มีความสัมพันธ์ระหว่างวดมาช้านาน โดยจะอยู่ส่วนของ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การจัดการศึกษา การช่วยเหลือเกลื้อกูลกันต่าง นอกจากนี้ยังเป็นส่วน

สำคัญในการพัฒนาซึ่งพระสงฆ์นั้นได้มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศชาติ โดย

พระพุทธศาสนาชี้ชัดในแง่ของการพัฒนา ได้ ๕ ประเด็น คือ ๑) ความเป็นผู้มีพื้นฐานทางจิตใจที่รัก
การทำงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ๒) จากประสบการณ์ของพระสงฆ์นักพัฒนาที่ได้พบเห็นชุมชน

อื่น ๓) พระสงฆ์มีความรู้เกี่ยวกับปัญหา และความยากจนเป็นอย่างดีเหมาะสมและสามารถแก้ปัญหา
ได้ ๔) ความสัมพันธ์กับวัดและประชาชนต้องควบคู่กันไป ๕) มีหลักคำสอนที่สามารถพัฒนาสังคมได้

เป็นต้น

๕.๔ บทบาทของเจ้าอาวาส พระสังฆาธิการ กับสงคมสงเคราะห์

เราจะเห็นในมุมมองของพระสงฆ์นั้นจะเห็น บทบาทของเจ้าอาวาส พระสังฆาธิการนั้น ก็มี

ความสำคัญกับวัดเป็นอันมาก เมื่อมีพระสงฆ์แล้วจะต้องมีผู้นำคอยบริหารและดูแลวัด คอยเผยแผ่คำ

สอน โดยในส่วนนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดส่วนที่สำคัญซึ่งมีดังต่อไปนี้

๕.๔.๑ ความสำคัญเจ้าอาวาส พระสังฆาธิการ ที่มีต่อสังคมสงเคราะห์

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติจะเจริญรุ่งเรืองถาวรสืบต่อไป ก็ด้วยจะต้องอาศัยพระ

สังฆาธิการเป็นสำคัญเนื่องจากพระสังฆาธิการเป็นผู้ใกล้ชิดประชาชนโดยเฉพาะพระสังฆาธิการระดับ

เจ้าอาวาส ซึ่งเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เจ้าอาวาสจึงมี

๑๗๕ ชำเลือง วุฒิจันทร์, การพระศาสนาเพื่อความมั่นคงของชาติ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา,
๒๕๒๖), หน้า ๓๙-๔๐.

๑๓๙

๑๗๖
อำนาจหน้าที่ในการบริหารและจัดการวัด ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีหน้าที่เป็นหัวหน้าของ
พระภิกษุสงฆ์ เป็นผู้ปกครองดูแลพระภิกษุในวัดให้อยู่อย่างปกติสุข เช่นเดียวกับหัวหน้าบ้านที่เรียกว่า

หัวหน้าครอบครัว เป็นผู้ปกครองดูแลคนในครอบครัวให้อยู่อย่างปกติสุข โดยเจ้าอาวาส หรือพระ
๑๗๗
สังฆาธิการนั้น มีบทบาทในความสำคัญในการบริหารกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของวัด วัดจะเจริญ

ขึ้นหรือเสื่อมลงนั้นเจ้าอาวาสเป็นผู้มีส่วนสำคัญ เพราะเจ้าอาวาสเป็นผู้นำ ผู้บริหาร เป็นผู้ปกครอง

เป็นผู้กำกับดูแล แนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณร ศิษย์วัดและคฤหัสถ์ผู้อาศัยอยู่ในวัด ตลอดผู้
ประพฤติปฏิบัติธรรมและประชาชนโดยทั่วไป ให้ละเว้นจากความชั่วทั้งปวง ให้ตั้งอยู่ในความดี

ทั้งหลาย และให้ทำจิตใจให้แจ่มใสตามหลักการแห่งพระพุทธศาสนา ตรงกันข้าม ถ้าหากเจ้าอาวาสไม่
เป็นผู้นำปกครองที่ดีเพิกเฉยในภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ความเสื่อมศรัทธาหรือความหายนะก็ย่อม

๑๗๘
บังเกิดโดยแท้ โดยความสำเร็จของวัดในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนย่อมขึ้นอยู่
กับการบริหารหมู่คณะหรือการปกครองดูแล ตลอดทั้งการแนะนำการสั่งสอนอบรมพระภิกษุสามเณร
และคฤหัสถ์ ที่มาพำนักในวัดให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระธรรมวินัย ปฏิบัติตนตามกฎหมายบ้านเมือง

ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งและประกาศของมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของคณะสงฆ์ไทยและผู้

ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารหมู่คณะเป็นหัวหน้าสงฆ์ในวัดก็คือ“เจ้าอาวาส” นั่นเอง เจ้าอาวาสจึงมี
บทบาทในการเป็นผู้นำระดับท้องถิ่น ซึ่งมีความใกล้ชิดกับชาวบ้านมาก ชาวบ้านจะให้ความเคารพยก

ย่องว่าพระสงฆ์เป็นผู้นำทางวิญญาณของชาวบ้านทุกหมู่เหล่า เพราะผู้ที่เป็นเจ้าอาวาสได้นั้นต้องมี
พรรษา ๕ ขึ้นไป เป็นผู้มีความรู้ความสามารถสมควรแก่ตำแหน่ง มีความประพฤติเรียบร้อยตามพระ

ธรรมวินัยมีศีลจารวัตรที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นผู้ทรงเกียรติ เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและ

คฤหัสถ์ในท้องถิ่นนั้น ถ้าในเชิงการดูแลและการปกครองนั้น เจ้าอาวาสเป็นผู้มีความสำคัญต่อวัด
๑๗๙
ที่สุด ทั้งต่อความเจริญรุ่งเรือง สันติสุข และความมั่นคงโดยทำหน้าที่เป็นผู้บริหารกิจการต่างๆ ของวัด

เป็นผู้ปกครองบัญชา กำกับดูแลแนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณร และฆราวาสผู้อยู่ในวัดให้มีความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยดีงาม ให้อยู่ในศีลธรรมอันดี ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของวัดให้มี

๑๗๖ กรมการศาสนา, คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา,
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๐), คำนำ.
๑๗๗ บุญร่วม เทียมจันทร์, เจ้าอาวาส เจ้าพนักงาน ใครกำหนด, (กรุงเทพมหานคร : สามดีพรินติ้งอีควิป
เม้นท์, ๒๕๔๖) หน้า ๓๙ - ๔๐.

๑๗๘ พระครูปรีชาวชิรธรรม สุวชิโร (โล่ทอง), "การศึกษาพฤติกรรมมนุษยสัมพันธ์ตามหลักพุทธธรรมของเจ้า
อาวาสพระอารามหลวง ตามทัศนะของพระภิกษุ สามเณร และกรรมการวัด ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๑",
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, ๒๕๔๙), หน้า ๒๘.

๑๗๙ พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล, การบริหารวัด, (กรุงเทพมหานคร : วีชั่นอาร์ต คอร์ปอเรชั่น, ๒๕๔๑),
หน้า ๑๐๔.

๑๔๐

ความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงเป็นศูนย์กลางของชุมชนในการศึกษาอบรมศีลธรรม จริยธรรม และภาวนา
ธรรม
๑๘๐
๕.๔.๒ อำนาจและหน้าที่ของ เจ้าอาวาส พระสังฆาธิการ

นอกจากนี้การปกครองคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน ถือว่าเป็นการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน มีการบังคับบัญชากันลงไปตามลำดับชั้น

นับตั้งแต่ระดับมหาเถระสมาคมลงไปจนถึงเจ้าอาวาส และพระสังฆาธิการอันเป็นการปกครองบังคับ
บัญชาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๓๕ พระราชบัญญัติคณะ
๑๘๑
สงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓๗ ได้กำหนดอำนาจ หน้าที่ของเจ้าอาวาสไว้ดังนี้
ตามมาตรา ๓๗ เจ้าอาวาส พระสังฆาธิการ มีหน้าที่ดังน
ี้
๑๘๒
(๑) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี

(๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่ หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้น
ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

(๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์

(๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล

จากหน้าที่ของเจ้าอาวาส และพระสังฆาธิการ ดังที่กล่าวมานี้ เป็นหน้าที่โดยภาพรวม
ลักษณะอย่างกว้างๆ มิได้ชี้ ชัดถึงวิธีปฏิบัติแต่อย่างใด เพราะวิธีปฏิบัตินั้นได้กำหนดหรือจะกำหนดไว้

ในกิจการประเภทนั้นๆ แต่พอกำหนดได้โดยลักษณะงานเป็น ๔ คือ
๑๘๓

๑) หน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ประกอบด้วย การบำรุงรักษาวัดให้เป็นไปด้วยดี จัด

กิจการของวัดให้เป็นไปด้วยดี และ การจัดศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี โดยแบ่งเป็น
รายละเอียดประกอบย่อยดังต่อไปนี้

๑๘๐ ไพบูลย์ เสียงก้อง, "หลักการบริหารงานในวัด" ใน วัดพัฒนา ๔๔, หน้า ๑๗.
๑๘๑ พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), การปกครองคณะสงฆ์ไทย, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธ
ธรรม, ๒๕๓๙), หน้า ๗๖.
๑๘๒ พระวิสุทธิภัทรธาดา (ประสิทธิ์ พฺรหฺมรํสี), พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม,

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๔๗), หน้า ๘๔.
๑๘๓ พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโ ), “หน้าที่และอำนาจเจ้าอาวาส” ในคู่มือพระสังฆาธิการ ว่า

ด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา, (ฝ่ายฝึกอบรม กองแผนงาน กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ,
๒๕๔๐), หน้า ๗๖ - ๗๘.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้